นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ในช่วงเช้าวานนี้ (3ธ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เรียกประชุมคณะทำงานเพื่อหารือถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ด้วยเกรงว่าสถานการณ์จะขัดแย้งรุนแรงขึ้น และต้องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และหาทางออกให้กับประเทศ การใช้อาวุธและความรุนแรงทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และรมว.กลาโหม ยังลอยตัวเหนือปัญหา ไม่ใส่ใจหรือสนใจรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเป็นเพราะผู้ที่กระทำการเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งดูได้จากคำพูดของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. ที่ปราศรัยปลุกระดม ยั่วยุ
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ และพรรคจะรวบรวมหลักฐานยื่นถอนประกัน นายจตุพร และนายณัฐวุฒิ ที่ปลุกปั่นทำให้เกิดความรุนแรง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และพรรคจะยื่นป.ป.ช.เอาผิดในคดีอาญากับส.ส.และส.ว. 312 คน กรณีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. การใช้แก๊สน้ำตาและสารเคมีสีม่วงผสม ซึ่งผิดหลักอนุสัญญาของสหประชาชาติที่ไทยมีต่อสหประชาชาติ ที่ระบุว่า การใช้อาวุธเคมี หรือสารเคมีจะต้องแจ้งต่อประชาชนว่า มีส่วนผสมอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน พรรคจึงได้มอบให้ นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ไปประสานกับองค์กรระหว่างประเทศในเรื่องการละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ส่วนนายสากล ม่วงศิริ ส.ส.กทม.ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาฯ จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาชี้แจง และมอบหมายให้ นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการชุมนุมในครั้งนี้ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมด เป็นการทำงานของพรรคการเมือง เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนคนไทย ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
"การดำเนินการทั้งหมด เป็นการทำงานของพรรคการเมือง เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนคนไทย ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และผู้ที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เวลานี้จะทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนไม่ได้แล้ว และการที่รัฐบาลปล่อยให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปยังทำเนียบฯและบช.น. เป็นเพราะไม่ต้องการให้ผู้ชุมนุมนำประเด็นเรื่องความรุนแรงมาล้มล้างรัฐบาล แต่หากรัฐบาลยังคงคิดร้ายต่อประชาชนเชื่อว่าสุดท้ายรัฐบาลจะไปไม่รอดและสถานการณ์ไม่จบลงง่ายๆ" นายชวนนท์ กล่าว
**ชี้ "น้ำม่วง"ด่างทับทิมผสมโซเดียมไธโอซัลเฟต
พญ.ฉันทนา ผดุงทศ นักวิชาการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีตำรวจใช้น้ำสีม่วงฉีดใส่ผู้ชุมนุมซึ่งกลุ่มผู็ชุมนุมคาดว่าเป็นน้ำผสมแก๊สน้ำตานั้น จากการสอบถามข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ และการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (cdc) และองค์กรอาวุธเคมีระดับสากล พบว่า สารเคมีที่ใช้คือ โปแตสเซียมเปอร์มังกาเนต หรือ ด่างทับทิม ผสมกับโซเดียมไธโอซัลเฟต ซึ่งสารเคมี 2 ชนิดนี้ เมื่อทำปฏิกิริยากันแล้ว จะทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุตา ทางเดินหายใจ และเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ ก็จะกลายเป็นกรดกำมะถันอ่อนๆ เป็นเหตุให้ผู้ถูกน้ำสีม่วงจะมีอาการแสบคันตามผิวหนัง
"น้ำสีม่วงไม่ใช่อาวุธเคมี มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ หากจะเทียบความเข้มข้น จะสูงกว่าน้ำส้มสายชูเล็กน้อย และไม่ใช่เป็นการนำแก๊สน้ำตามาผสมเพื่อฉีดพ่น เพราะแก๊สน้ำตาไม่ละลายน้ำ ความเข้มข้นของน้ำไม่ใช่ฝนกรด ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาอาวุธเคมียังมีความก่ำกึ่งว่า การใช้สารควบคุมจราจล ต้องมีการขออนุญาตการใช้หรือไม่ เมื่อยังมีความก่ำกึ่งก็แปลว่า ไม่ต้องขอก็ได้" พญ.ฉันทนา กล่าว
พญ.ฉันทนา กล่าวอีกว่า สำหรับอาวุธเคมี หมายถึงสารที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายอย่างรุนแรง จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ แต่การใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมนั้น ไม่ได้หวังมุ่งเอาชีวิต ทั้งนี้ อาวุธเคมีแบ่งตามพิษ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แบ่งได้เป็น 1.Choking agent หรือ สารเคมีทำให้เกิดอาการปอดบวมน้ำ เช่น คลอรีน ฟอสจีน 2.blister/vesicants หรือ สารเคมีที่ทำให้เกิดแผลพุพองที่ผิวหนังคล้ายถูกไฟไหม้ เช่น ก๊าซมัสตาร์ด 3.Blood agent หรือ สารเคมีที่ทำให้เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจนได้น้อยลง เช่น ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ 4.Nerve agent หรือ สารเคมีที่ทำให้ไม่สามารถส่งกระแสประสาทได้ เกิดอาการอัมพฤกษ์ต่างๆ เช่น ออร์กาโนฟอสเฟต (ซาริน โซมาน) 5. กรดหรือด่างอย่างแรง เช่น กรดกัดแก้ว และ 6.พิษจากสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อโบทูลินั่ม(หน่อไม้ปี๊ป) ไรซิน ทั้งนี้ จากข้อมูลวิชาการ พบว่า แก๊สน้ำตา มีหลายกลุ่มแต่ที่นิยมใช้ คือ Chloroacetophenone(CN) และ Chlorobenzyidenemalononitrile (CS) โดย CN จะเป็นสารเคมีในกลุ่มของแข็งไม่ใช่แก๊ส และไม่ละลายน้ำ ส่วน CS สามารถละลายน้ำได้แต่น้อยมาก แต่จะสามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายสารอินทรีย์ โดยการจะทำให้สารเคมีออกฤทธิ์ต้องใช้วิธียิงและทำให้ระเบิดในลักษณะของดอกไม้ไฟ และไม่สามารถนำไปผสมน้ำเพื่อฉีดพ่น
สำหรับวิธีการสลายการชุมนุมที่เป็นไปตามหลักสากลนั้น มีหลายวิธีแต่ต้องมีจุดประสงค์คือ กันคนออกจากพื้นที่ การทำให้คนแตกกระจายหรือ ทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จะช่วยลดการทำร้ายร่างกายและเผชิญหน้าลง วิธีที่ใช้จะแบ่งเป็น 1.ไม่ใช่สารเคมี เช่น ปืนฉีดน้ำ กระสุนพลาสติก กระสุนยาง หรือใช้สารโมเลกุลใหญ่มีความหนืดเทลงบนถนน และ 2.การใช้สารเคมี แบ่งเป็น 4 ชนิดย่อย คือ สารเคมีที่มีฤทธิ์ระคายเคืองระบบประสาทส่วนปลาย เช่น แก๊สน้ำตา สเปรย์พริกไทย การใช้เม็ดสี หรือ สีผสมสารเรืองผสม สารเคมีที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง และ ควันที่ไม่มีฤทธิ์ระคายเคือง
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ และพรรคจะรวบรวมหลักฐานยื่นถอนประกัน นายจตุพร และนายณัฐวุฒิ ที่ปลุกปั่นทำให้เกิดความรุนแรง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และพรรคจะยื่นป.ป.ช.เอาผิดในคดีอาญากับส.ส.และส.ว. 312 คน กรณีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. การใช้แก๊สน้ำตาและสารเคมีสีม่วงผสม ซึ่งผิดหลักอนุสัญญาของสหประชาชาติที่ไทยมีต่อสหประชาชาติ ที่ระบุว่า การใช้อาวุธเคมี หรือสารเคมีจะต้องแจ้งต่อประชาชนว่า มีส่วนผสมอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน พรรคจึงได้มอบให้ นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ไปประสานกับองค์กรระหว่างประเทศในเรื่องการละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ส่วนนายสากล ม่วงศิริ ส.ส.กทม.ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาฯ จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาชี้แจง และมอบหมายให้ นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการชุมนุมในครั้งนี้ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมด เป็นการทำงานของพรรคการเมือง เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนคนไทย ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
"การดำเนินการทั้งหมด เป็นการทำงานของพรรคการเมือง เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนคนไทย ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และผู้ที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เวลานี้จะทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนไม่ได้แล้ว และการที่รัฐบาลปล่อยให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปยังทำเนียบฯและบช.น. เป็นเพราะไม่ต้องการให้ผู้ชุมนุมนำประเด็นเรื่องความรุนแรงมาล้มล้างรัฐบาล แต่หากรัฐบาลยังคงคิดร้ายต่อประชาชนเชื่อว่าสุดท้ายรัฐบาลจะไปไม่รอดและสถานการณ์ไม่จบลงง่ายๆ" นายชวนนท์ กล่าว
**ชี้ "น้ำม่วง"ด่างทับทิมผสมโซเดียมไธโอซัลเฟต
พญ.ฉันทนา ผดุงทศ นักวิชาการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีตำรวจใช้น้ำสีม่วงฉีดใส่ผู้ชุมนุมซึ่งกลุ่มผู็ชุมนุมคาดว่าเป็นน้ำผสมแก๊สน้ำตานั้น จากการสอบถามข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ และการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (cdc) และองค์กรอาวุธเคมีระดับสากล พบว่า สารเคมีที่ใช้คือ โปแตสเซียมเปอร์มังกาเนต หรือ ด่างทับทิม ผสมกับโซเดียมไธโอซัลเฟต ซึ่งสารเคมี 2 ชนิดนี้ เมื่อทำปฏิกิริยากันแล้ว จะทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุตา ทางเดินหายใจ และเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ ก็จะกลายเป็นกรดกำมะถันอ่อนๆ เป็นเหตุให้ผู้ถูกน้ำสีม่วงจะมีอาการแสบคันตามผิวหนัง
"น้ำสีม่วงไม่ใช่อาวุธเคมี มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ หากจะเทียบความเข้มข้น จะสูงกว่าน้ำส้มสายชูเล็กน้อย และไม่ใช่เป็นการนำแก๊สน้ำตามาผสมเพื่อฉีดพ่น เพราะแก๊สน้ำตาไม่ละลายน้ำ ความเข้มข้นของน้ำไม่ใช่ฝนกรด ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาอาวุธเคมียังมีความก่ำกึ่งว่า การใช้สารควบคุมจราจล ต้องมีการขออนุญาตการใช้หรือไม่ เมื่อยังมีความก่ำกึ่งก็แปลว่า ไม่ต้องขอก็ได้" พญ.ฉันทนา กล่าว
พญ.ฉันทนา กล่าวอีกว่า สำหรับอาวุธเคมี หมายถึงสารที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายอย่างรุนแรง จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ แต่การใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมนั้น ไม่ได้หวังมุ่งเอาชีวิต ทั้งนี้ อาวุธเคมีแบ่งตามพิษ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แบ่งได้เป็น 1.Choking agent หรือ สารเคมีทำให้เกิดอาการปอดบวมน้ำ เช่น คลอรีน ฟอสจีน 2.blister/vesicants หรือ สารเคมีที่ทำให้เกิดแผลพุพองที่ผิวหนังคล้ายถูกไฟไหม้ เช่น ก๊าซมัสตาร์ด 3.Blood agent หรือ สารเคมีที่ทำให้เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจนได้น้อยลง เช่น ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ 4.Nerve agent หรือ สารเคมีที่ทำให้ไม่สามารถส่งกระแสประสาทได้ เกิดอาการอัมพฤกษ์ต่างๆ เช่น ออร์กาโนฟอสเฟต (ซาริน โซมาน) 5. กรดหรือด่างอย่างแรง เช่น กรดกัดแก้ว และ 6.พิษจากสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อโบทูลินั่ม(หน่อไม้ปี๊ป) ไรซิน ทั้งนี้ จากข้อมูลวิชาการ พบว่า แก๊สน้ำตา มีหลายกลุ่มแต่ที่นิยมใช้ คือ Chloroacetophenone(CN) และ Chlorobenzyidenemalononitrile (CS) โดย CN จะเป็นสารเคมีในกลุ่มของแข็งไม่ใช่แก๊ส และไม่ละลายน้ำ ส่วน CS สามารถละลายน้ำได้แต่น้อยมาก แต่จะสามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายสารอินทรีย์ โดยการจะทำให้สารเคมีออกฤทธิ์ต้องใช้วิธียิงและทำให้ระเบิดในลักษณะของดอกไม้ไฟ และไม่สามารถนำไปผสมน้ำเพื่อฉีดพ่น
สำหรับวิธีการสลายการชุมนุมที่เป็นไปตามหลักสากลนั้น มีหลายวิธีแต่ต้องมีจุดประสงค์คือ กันคนออกจากพื้นที่ การทำให้คนแตกกระจายหรือ ทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จะช่วยลดการทำร้ายร่างกายและเผชิญหน้าลง วิธีที่ใช้จะแบ่งเป็น 1.ไม่ใช่สารเคมี เช่น ปืนฉีดน้ำ กระสุนพลาสติก กระสุนยาง หรือใช้สารโมเลกุลใหญ่มีความหนืดเทลงบนถนน และ 2.การใช้สารเคมี แบ่งเป็น 4 ชนิดย่อย คือ สารเคมีที่มีฤทธิ์ระคายเคืองระบบประสาทส่วนปลาย เช่น แก๊สน้ำตา สเปรย์พริกไทย การใช้เม็ดสี หรือ สีผสมสารเรืองผสม สารเคมีที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง และ ควันที่ไม่มีฤทธิ์ระคายเคือง