ขณะเขียนบทความชิ้นนี้เพิ่งเช้าวันที่ 1 ธันวาคม 2556 นักศึกษารามคำแหงสังเวยชีวิตไปแล้ว 1 ศพ การเคลื่อนขบวนครั้งใหญ่ของมวลมหาประชาชนภายใต้การนำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณในนามขององค์กรชื่อยาวที่ย่อว่า กปปส. ยังไม่เริ่มต้น
แต่เป็นที่ชัดเจนว่านี่คือการเคลื่อนขบวนเพื่อโค่นล้มระบอบเดิม
ระบอบเดิมที่เรียกว่าระบอบทักษิณ
หรือ...
“เผด็จการรัฐสภา”
ระยะหลังๆ นี้คำว่า “เผด็จการรัฐสภา” กลายเป็นวาทกรรมที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อยเป็นพิเศษในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภา
พรรคประชาธิปัตย์พุ่งเป้าโจมตีไปที่คุณทักษิณ ชินวัตร
แต่ที่ฮือฮาที่สุดครั้งหนึ่งต้องย้อนไปเมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2548 คุณเสนาะ เทียนทองก็อภิปรายในทำนองเดียวกันแม้จะไม่ได้เอ่ยคำว่า “เผด็จการรัฐสภา” ออกมาตรงๆ ก็ตาม
เช่นกัน เป้าหมายโจมตีเมื่อเกือบ 6 ปีก่อนก็เป็นคุณทักษิณ ชินวัตรคนเดียวกันนี้แหละ
ก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็จะยกข้อถกเถียงด้วยประเด็นง่ายๆ เดิมๆ ว่ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.ข้างมากในสภาฯ ก็มาจากการเลือกตั้ง จะมาบอกว่าเป็นเผด็จการได้อย่างไร บ้าหรือเปล่า ปะปนกันหรือเปล่า อคติเกินไปหรือเปล่า จะเอาอะไรกันแน่ ฯลฯ
ส่วนผู้ที่เห็นด้วยนั้น ก็มีวิธีให้เหตุผลแตกต่างกันออกไป
มีบ้างที่ยกตัวบุคคลขึ้นมากล่าวถึง โดยเฉพาะคุณทักษิณ ชินวัตร แต่ก็มีบ้างที่พูดถึงระบอบ หรือภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า regime
ผมเองเป็นส่วนหนึ่งในผู้ที่เห็นด้วยประเภทหลัง
ไม่ว่าจะเป็นคุณทักษิณ ชินวัตร หรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือใครก็ตาม ระบอบการเมืองที่ดำรงอยู่ก็คือเผด็จการรัฐสภา
เรา – คนไทยทั้งหลาย – อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการรัฐสภามานานแล้ว!
ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภายุคปัจจุบันนี้ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่ถือว่าพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรย่อมได้เป็นรัฐบาล ทำให้การบริหารประเทศอยู่ในลักษณะเผด็จการรัฐสภาโดยอัตโนมัติ เพราะพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรจะไม่มีทางชนะรัฐบาลในการลงคะแนนเสียงเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายและมติสำคัญอื่นๆ ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีหลักการของรัฐธรรมนูญบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง และมติพรรคการเมืองต้องได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจถูกขับออกจากพรรคการเมืองได้ จะมีผ่อนคลายลงบ้างก็ในรัฐธรรมนูญ 2550
บทบัญญัติตามลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ว่ารัฐสภาควบคุมการบริหารของรัฐบาลจึงผิดไปจากความเป็นจริง
เพราะรัฐบาลกับเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มเดียวกัน!
นี่คือธรรมชาติของระบบรัฐสภายุคปัจจุบันที่ภาษาวิชาการเรียกว่าระบบรัฐสภาอำนาจเดี่ยว หรือ Monist คือเป็นระบบที่การใช้อำนาจในองค์กรบริหารและในองค์กรนิติบัญญัติตกอยู่กับกลุ่มบุคคลเดียวกัน
ในทางวิชาการนั้น ระบบรัฐสภาวิวัฒนาการมาเป็นระยะยาวนับร้อยๆ ปี โดยอาจแยกเป็น 2 ระยะ
ระบบรัฐสภาอำนาจคู่ หรือ Dualist
ในระยะแรกเป็นรูปแบบที่สภาผู้แทนราษฎรคือองค์กรที่ประชาชนเลือกตั้งผู้แทนขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกควบคุมการทำงานของรัฐบาลซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางที่เป็นจริง ไม่ใช่แค่ลายลักษณ์อักษร พระมหากษัตริย์ยังคงมีอำนาจอยู่ แต่เริ่มถูกตรวจสอบและถ่วงดุล ระบบรัฐสภาดั่งว่าจึงมีกลไกถ่วงดุลอำนาจที่แท้จริงระหว่าง 2 องค์กร โดยองค์กร 2 องค์กรต่างฝ่ายต่างควบคุมซึ่งกันและกัน
ระบบรัฐสภาอำนาจเดี่ยว หรือ Monist
เพิ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เพราะการถือกำเนิดขึ้นของพรรคการเมือง และระบบพรรคการเมือง พร้อมๆ กับการเสื่อมถอยอำนาจลงเรื่อยๆ ของพระมหากษัตริย์ กฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือพรรคการเมืองที่ควบคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ให้เข้ามาเป็นรัฐบาล ความเข้าใจที่ว่าสภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรที่ควบคุมรัฐบาลจึงไม่ถูกต้อง เพราะทั้งรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรได้กลายมาเป็นองค์กรเดียวกัน
ข้อเท็จจริงประการนี้แหละที่ทำให้การปกครองระบบรัฐสภารูปแบบเดียวกันมีผลแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
อย่างน้อยมีปัจจัยอยู่ 3 ประการที่เป็นเงื่อนไขส่งตรงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ
ปัจจัยที่หนึ่ง เงื่อนไขกลไกการบริหารของประเทศนั้นๆ ที่อยู่นอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
ปัจจัยที่สอง เงื่อนไขพฤติกรรมของนักการเมือง และ/หรือพรรคการเมือง ของประเทศนั้นๆ
ปัจจัยที่สาม เงื่อนไขความเอาใจใส่และมาตรฐานทางการเมือง และ ฯลฯ ของสื่อมวลชน และของประชาชนโดยทั่วไป กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสภาพการณ์ทางสังคมวิทยาการเมือง หรือ Political Sociology นั่นเอง
ระบบรัฐสภาไทยลอกแบบมาจากระบบรัฐสภาอังกฤษ เหตุไฉนผลที่ได้ไม่เหมือนกัน ก็ต้องพิจารณาจาก 3 ปัจจัยข้างต้นโดยละเอียด
เผด็จการรัฐสภาไม่ใช่เรื่องใหม่
เผด็จการรัฐสภาเป็นผลโดยธรรมชาติ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และไม่ได้ดีหรือเลวโดยตัวของมันเอง
นักวิชาการกฎหมายมหาชน โดยเฉพาะกลุ่มนักกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ในภาคพื้นยุโรป รู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นอย่างดีมาตั้งแต่อย่างต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประมาณปี 2488 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว จึงได้พยายามอุดช่องโหว่หรือขจัดจุดอ่อนของระบบรัฐสภากันอย่างเต็มกำลัง
ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสมัยใหม่” ที่ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดเดิมต่อไป
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ได้รับการนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นจำนวนมาก นักวิชาการกฎหมายมหาชนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าจะเยียวยาโรคเผด็จการรัฐสภาได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เพราะยังคงบทบัญญัติบังคับให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง ในขณะที่ไปมีมาตรการเสริมความเข้มแข็งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากจะเยียวยาไม่ได้ผลแล้ว ยังไปช่วยทำให้ “โรคเผด็จการรัฐสภา” ออกอาการรุนแรงยิ่งขึ้นเสียอีก จนทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
การรักษาโรคเผด็จการรัฐสภาไม่ง่าย ที่ยากที่สุดก็คือความเชื่อของประชาชน
เผด็จการรัฐสภานั้นไม่สลายไปง่ายๆ เพียงเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ หรือรัฐประหารแล้วนำระบอบเผด็จการทหารมาแทนที่
แต่จะชี้ขาดด้วย 3 ปัจจัยดังกล่าวมาข้างต้น
(1) กลไกการบริหารนอกเหนือรัฐธรรมนูญ (2) พฤติกรรมของนักการเมือง และ (3) ความเอาใจใส่และมาตรฐานทางการเมืองของสื่อมวลชนและประชาชน
การต่อสู้ครั้งใหญ่จะจบลงอย่างไรเมื่อไรยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า
เผด็จการรัฐสภาจะล่มสลายหรือดำรงอยู่??
แต่เป็นที่ชัดเจนว่านี่คือการเคลื่อนขบวนเพื่อโค่นล้มระบอบเดิม
ระบอบเดิมที่เรียกว่าระบอบทักษิณ
หรือ...
“เผด็จการรัฐสภา”
ระยะหลังๆ นี้คำว่า “เผด็จการรัฐสภา” กลายเป็นวาทกรรมที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อยเป็นพิเศษในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภา
พรรคประชาธิปัตย์พุ่งเป้าโจมตีไปที่คุณทักษิณ ชินวัตร
แต่ที่ฮือฮาที่สุดครั้งหนึ่งต้องย้อนไปเมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2548 คุณเสนาะ เทียนทองก็อภิปรายในทำนองเดียวกันแม้จะไม่ได้เอ่ยคำว่า “เผด็จการรัฐสภา” ออกมาตรงๆ ก็ตาม
เช่นกัน เป้าหมายโจมตีเมื่อเกือบ 6 ปีก่อนก็เป็นคุณทักษิณ ชินวัตรคนเดียวกันนี้แหละ
ก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็จะยกข้อถกเถียงด้วยประเด็นง่ายๆ เดิมๆ ว่ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.ข้างมากในสภาฯ ก็มาจากการเลือกตั้ง จะมาบอกว่าเป็นเผด็จการได้อย่างไร บ้าหรือเปล่า ปะปนกันหรือเปล่า อคติเกินไปหรือเปล่า จะเอาอะไรกันแน่ ฯลฯ
ส่วนผู้ที่เห็นด้วยนั้น ก็มีวิธีให้เหตุผลแตกต่างกันออกไป
มีบ้างที่ยกตัวบุคคลขึ้นมากล่าวถึง โดยเฉพาะคุณทักษิณ ชินวัตร แต่ก็มีบ้างที่พูดถึงระบอบ หรือภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า regime
ผมเองเป็นส่วนหนึ่งในผู้ที่เห็นด้วยประเภทหลัง
ไม่ว่าจะเป็นคุณทักษิณ ชินวัตร หรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือใครก็ตาม ระบอบการเมืองที่ดำรงอยู่ก็คือเผด็จการรัฐสภา
เรา – คนไทยทั้งหลาย – อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการรัฐสภามานานแล้ว!
ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภายุคปัจจุบันนี้ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่ถือว่าพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรย่อมได้เป็นรัฐบาล ทำให้การบริหารประเทศอยู่ในลักษณะเผด็จการรัฐสภาโดยอัตโนมัติ เพราะพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรจะไม่มีทางชนะรัฐบาลในการลงคะแนนเสียงเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายและมติสำคัญอื่นๆ ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีหลักการของรัฐธรรมนูญบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง และมติพรรคการเมืองต้องได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจถูกขับออกจากพรรคการเมืองได้ จะมีผ่อนคลายลงบ้างก็ในรัฐธรรมนูญ 2550
บทบัญญัติตามลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ว่ารัฐสภาควบคุมการบริหารของรัฐบาลจึงผิดไปจากความเป็นจริง
เพราะรัฐบาลกับเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มเดียวกัน!
นี่คือธรรมชาติของระบบรัฐสภายุคปัจจุบันที่ภาษาวิชาการเรียกว่าระบบรัฐสภาอำนาจเดี่ยว หรือ Monist คือเป็นระบบที่การใช้อำนาจในองค์กรบริหารและในองค์กรนิติบัญญัติตกอยู่กับกลุ่มบุคคลเดียวกัน
ในทางวิชาการนั้น ระบบรัฐสภาวิวัฒนาการมาเป็นระยะยาวนับร้อยๆ ปี โดยอาจแยกเป็น 2 ระยะ
ระบบรัฐสภาอำนาจคู่ หรือ Dualist
ในระยะแรกเป็นรูปแบบที่สภาผู้แทนราษฎรคือองค์กรที่ประชาชนเลือกตั้งผู้แทนขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกควบคุมการทำงานของรัฐบาลซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางที่เป็นจริง ไม่ใช่แค่ลายลักษณ์อักษร พระมหากษัตริย์ยังคงมีอำนาจอยู่ แต่เริ่มถูกตรวจสอบและถ่วงดุล ระบบรัฐสภาดั่งว่าจึงมีกลไกถ่วงดุลอำนาจที่แท้จริงระหว่าง 2 องค์กร โดยองค์กร 2 องค์กรต่างฝ่ายต่างควบคุมซึ่งกันและกัน
ระบบรัฐสภาอำนาจเดี่ยว หรือ Monist
เพิ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เพราะการถือกำเนิดขึ้นของพรรคการเมือง และระบบพรรคการเมือง พร้อมๆ กับการเสื่อมถอยอำนาจลงเรื่อยๆ ของพระมหากษัตริย์ กฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือพรรคการเมืองที่ควบคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ให้เข้ามาเป็นรัฐบาล ความเข้าใจที่ว่าสภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรที่ควบคุมรัฐบาลจึงไม่ถูกต้อง เพราะทั้งรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรได้กลายมาเป็นองค์กรเดียวกัน
ข้อเท็จจริงประการนี้แหละที่ทำให้การปกครองระบบรัฐสภารูปแบบเดียวกันมีผลแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
อย่างน้อยมีปัจจัยอยู่ 3 ประการที่เป็นเงื่อนไขส่งตรงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ
ปัจจัยที่หนึ่ง เงื่อนไขกลไกการบริหารของประเทศนั้นๆ ที่อยู่นอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
ปัจจัยที่สอง เงื่อนไขพฤติกรรมของนักการเมือง และ/หรือพรรคการเมือง ของประเทศนั้นๆ
ปัจจัยที่สาม เงื่อนไขความเอาใจใส่และมาตรฐานทางการเมือง และ ฯลฯ ของสื่อมวลชน และของประชาชนโดยทั่วไป กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสภาพการณ์ทางสังคมวิทยาการเมือง หรือ Political Sociology นั่นเอง
ระบบรัฐสภาไทยลอกแบบมาจากระบบรัฐสภาอังกฤษ เหตุไฉนผลที่ได้ไม่เหมือนกัน ก็ต้องพิจารณาจาก 3 ปัจจัยข้างต้นโดยละเอียด
เผด็จการรัฐสภาไม่ใช่เรื่องใหม่
เผด็จการรัฐสภาเป็นผลโดยธรรมชาติ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และไม่ได้ดีหรือเลวโดยตัวของมันเอง
นักวิชาการกฎหมายมหาชน โดยเฉพาะกลุ่มนักกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ในภาคพื้นยุโรป รู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นอย่างดีมาตั้งแต่อย่างต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประมาณปี 2488 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว จึงได้พยายามอุดช่องโหว่หรือขจัดจุดอ่อนของระบบรัฐสภากันอย่างเต็มกำลัง
ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสมัยใหม่” ที่ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดเดิมต่อไป
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ได้รับการนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นจำนวนมาก นักวิชาการกฎหมายมหาชนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าจะเยียวยาโรคเผด็จการรัฐสภาได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เพราะยังคงบทบัญญัติบังคับให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง ในขณะที่ไปมีมาตรการเสริมความเข้มแข็งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากจะเยียวยาไม่ได้ผลแล้ว ยังไปช่วยทำให้ “โรคเผด็จการรัฐสภา” ออกอาการรุนแรงยิ่งขึ้นเสียอีก จนทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
การรักษาโรคเผด็จการรัฐสภาไม่ง่าย ที่ยากที่สุดก็คือความเชื่อของประชาชน
เผด็จการรัฐสภานั้นไม่สลายไปง่ายๆ เพียงเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ หรือรัฐประหารแล้วนำระบอบเผด็จการทหารมาแทนที่
แต่จะชี้ขาดด้วย 3 ปัจจัยดังกล่าวมาข้างต้น
(1) กลไกการบริหารนอกเหนือรัฐธรรมนูญ (2) พฤติกรรมของนักการเมือง และ (3) ความเอาใจใส่และมาตรฐานทางการเมืองของสื่อมวลชนและประชาชน
การต่อสู้ครั้งใหญ่จะจบลงอย่างไรเมื่อไรยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า
เผด็จการรัฐสภาจะล่มสลายหรือดำรงอยู่??