ในเวลานี้เดินไปไหน และพบหน้าใครซึ่งมีความสนใจปัญหาบ้านเมือง คำถามแรกที่มักจะได้ยินก็คือ ประเทศไทยจะไปรอดมั้ย และไปรอดด้วยวิธีใด และคำตอบที่มักจะได้ยินทุกครั้งที่มีการถามในทำนองนี้ก็คือ จะต้องปฏิรูปประเทศโดยเร่งด่วน และเมื่อถามต่อจะปฏิรูปด้านใดก่อน คำตอบที่ได้รับค่อนข้างจะตรงกันเป็นส่วนใหญ่ก็คือ จะต้องปฏิรูปการเมืองก่อน และเหตุผลที่ให้เกี่ยวกับเรื่องนี้อนุมานในเชิงตรรกะได้ดังต่อไปนี้
1. วันนี้และเวลานี้ ประชาชนคนทั้งประเทศเดือดร้อน เพราะการกระทำของนักการเมือง และพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายทุนผู้อยู่เบื้องหลัง และคอยบงการผู้นำพรรคการเมือง หรือเป็นทั้งนายทุน และเป็นผู้นำพรรคการเมืองเบ็ดเสร็จในคนคนเดียวกัน และภายใต้ระบบทุนการเมืองนี้เองคือที่มาของการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อเป็นทุนที่ลงไปในการบริหารจัดการพรรคการเมือง นับตั้งแต่การเลือกตั้งไปจนถึงการดูแล ส.ส.ในพรรค โดยการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวไป จนกระทั่งจ่ายเป็นรายเดือน
ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ การทุจริตคอร์รัปชันมิได้หยุดอยู่เพียงแค่จุดคุ้มทุน แต่ยังบวกกำไรนับร้อยนับพันเท่าเป็นเหตุให้ประเทศประสบปัญหาด้านการเงินการคลัง งบประมาณขาดดุลและยังแถมออก พ.ร.บ.กู้เงินนอกงบประมาณ ทำให้ประเทศต้องแบกรับภาระหนี้สินยาวนานนับเป็นหลายสิบปี
2. นอกจากนักการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่บริหาร ทำให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชนเดือดร้อนตามข้อ 1 แล้วนักการเมืองที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ก็ใช่ว่าจะก่อความเสียหายให้แก่ประเทศในด้านภาพลักษณ์ในทางลบ และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้ที่ควรจะได้รับความเป็นธรรมจากการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ กลับได้รับความไม่เสมอภาค และความไม่เป็นธรรมจากการออกกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพราะต้องใช้หนี้แทนผู้กู้คือรัฐบาล โดยการจ่ายภาษีเป็นเวลายาวนาน โดยที่ผู้ใช้หนี้ในอนาคตซึ่งเป็นลูกหลานไม่ได้มีส่วนในการเลือกผู้กู้เข้ามาเป็นรัฐบาล และที่สำคัญกว่านี้ ฝ่ายนิติบัญญัติกำลังใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลซึ่งเป็นคนผิดในข้อหาฉ้อโกง จึงเท่ากับว่าช่วยให้คนที่ทำความเสียหายแก่ประเทศ และทำความเดือดร้อนแก่ประชาชนพ้นผิดเป็นการทำลายนิติรัฐ นิติธรรมไปพร้อมๆ กัน
ด้วยเหตุผล 2 ประการดังกล่าวข้างต้น คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยในขณะนี้ จึงอยากเห็นการปฏิรูปการเมืองโดยมุ่งแก้ไขและป้องกันความเสียหายอันเกิดจากนักการเมือง
แต่ก็มีคำถามต่อมาว่า แล้วจะปฏิรูปอย่างไหน ด้วยการแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือด้วยการปฏิรูปการศึกษาปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมเป็นการสร้างคนที่มีคุณธรรมเพียงพอที่จะเป็นนักการเมืองเข้าไปทำหน้าที่ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร หรือแม้กระทั่งเป็นฝ่ายค้านเพื่อทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร ทั้งในด้านนิติบัญญัติ และด้านบริหาร
ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปประเทศควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปคนก่อน การปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงการปฏิรูปโครงการขั้นพื้นฐาน เพราะถ้าคนในประเทศส่วนใหญ่เป็นคนดีมีคุณธรรม นักการเมืองส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนดี และเมื่อใดนักการเมืองเป็นคนดี ผลงานที่เกิดจากนักการเมืองฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติก็จะดีตามไปด้วย
ด้วยเหตุดังที่ว่ามานี้ การปฏิรูปควรจะเริ่มด้วยการปฏิรูปคน
ส่วนการปฏิรูปการเมืองด้วยการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ถ้าย้อนไปดูความเป็นมาของการเมืองไทยจะพบว่า ทุกครั้งที่มีการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล ก็จะมีการร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้ง แต่ไม่นานหลังจากกิจการใช้เงิน ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการกิจการในทุกด้าน
ผลของงานเกิดจากความคิด และการกระทำของคน ถ้าคนซึ่งเป็นผู้กระทำเป็นคนดีมีความรู้ ความสามารถ และมากด้วยประสบการณ์ ผลงานที่ได้ก็จะเป็นไปในทางที่ดีมีมาตรฐาน และสนองความต้องการขององค์กรในทุกระดับ
ในทางกลับกัน ถ้าคนที่เป็นผู้กระทำกิจการเป็นคนไม่ดี ทั้งไม่มีความรู้ ความสามารถขาดประสบการณ์ ผลงานที่ได้ก็ไม่ดี ไม่มีมาตรฐาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ถ้าไม่ปฏิรูปคนอย่าพึงหวังว่าจะได้เห็นประเทศเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ดีเลิศเทียบเท่าประเทศที่เจริญ แล้วก็ตาม เพราะคนเป็นผู้ใช้กฎหมายจะบิดเบือนเนื้อหา และเจตนารมณ์ในการออกกฎหมาย ไปจนถึงการแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของตน ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ดังนั้น ถ้าประชาชนคนไทยต้องการจะเห็นประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ จะต้องออกมาต่อสู้กับกระบวนการชั่วร้ายอันเกิดจากการกระทำของคนที่เข้ามาเป็นนักการเมือง และแสวงหาอำนาจ และโอกาสในการหาประโยชน์เพื่อตนเองและพรรคพวก
นอกจากต่อสู้กับกระบวนการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบของนักการเมืองแล้ว ประชาชนจะต้องร่วมมือกันในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ มีประโยชน์รวมไปถึงการเลือกคนดีเข้ามาปกครองประเทศด้วย
ถ้าประชาชนทำได้เช่นนี้ เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าประชาชนเมินเฉย ไม่ออกมาแสดงบทบาทของพลเมืองที่ทุกคนควรจะพึงกระทำ อย่าว่าแต่จะให้ประเทศดีขึ้น จะเอาแค่ให้คงที่เท่าเดิมก็ยังจะยาก
จึงพูดได้ว่าวันนี้ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องลุกขึ้นต่อสู้กับสิ่งเลวร้าย อันเกิดจากการกระทำของนักการเมือง และร่วมกันสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่เพื่ออนาคตของลูกหลาน โดยยึดหลักตามแนวทางพุทธศาสนาดังต่อไปนี้
“ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง” (นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ)
ถ้าท่านคิดว่าเป็นคนดี เพราะไม่เคยนำความเดือดร้อนให้แก่ใคร แต่ปล่อยให้คนดีถูกคนรังแก ทั้งยังเป็นผู้ประกอบการกุศล แต่เพิกเฉยปล่อยให้คนชั่วรังแกคนดี และก่อความเสียหายแก่ประเทศชาติอันเป็นที่รักเป็นที่ทำมาหากิน ที่คนดีจะพึงกระทำ และสุดท้ายขอจบด้วยกลอนบทนี้
ตื่นเถิดชาวไทย ไยเฉยนิ่ง
ไม่ไหวติงต่อเหตุการณ์คืบคลานหา
ทั้งของแพงไม่เป็นธรรม ซ้ำเติมมา
ชาวพารา ร้อนรุ่มไฟสุมทรวง
ออกมา ออกมา อย่านิ่งเฉย
อย่าละเลยความเป็นคน จนของหวง
ล่มลายหายใจ หายไปไกลเกินทวง
ปากบอกห่วง แต่อยู่บ้าน ท่านจะเสียใจ.
1. วันนี้และเวลานี้ ประชาชนคนทั้งประเทศเดือดร้อน เพราะการกระทำของนักการเมือง และพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายทุนผู้อยู่เบื้องหลัง และคอยบงการผู้นำพรรคการเมือง หรือเป็นทั้งนายทุน และเป็นผู้นำพรรคการเมืองเบ็ดเสร็จในคนคนเดียวกัน และภายใต้ระบบทุนการเมืองนี้เองคือที่มาของการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อเป็นทุนที่ลงไปในการบริหารจัดการพรรคการเมือง นับตั้งแต่การเลือกตั้งไปจนถึงการดูแล ส.ส.ในพรรค โดยการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวไป จนกระทั่งจ่ายเป็นรายเดือน
ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ การทุจริตคอร์รัปชันมิได้หยุดอยู่เพียงแค่จุดคุ้มทุน แต่ยังบวกกำไรนับร้อยนับพันเท่าเป็นเหตุให้ประเทศประสบปัญหาด้านการเงินการคลัง งบประมาณขาดดุลและยังแถมออก พ.ร.บ.กู้เงินนอกงบประมาณ ทำให้ประเทศต้องแบกรับภาระหนี้สินยาวนานนับเป็นหลายสิบปี
2. นอกจากนักการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่บริหาร ทำให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชนเดือดร้อนตามข้อ 1 แล้วนักการเมืองที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ก็ใช่ว่าจะก่อความเสียหายให้แก่ประเทศในด้านภาพลักษณ์ในทางลบ และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้ที่ควรจะได้รับความเป็นธรรมจากการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ กลับได้รับความไม่เสมอภาค และความไม่เป็นธรรมจากการออกกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพราะต้องใช้หนี้แทนผู้กู้คือรัฐบาล โดยการจ่ายภาษีเป็นเวลายาวนาน โดยที่ผู้ใช้หนี้ในอนาคตซึ่งเป็นลูกหลานไม่ได้มีส่วนในการเลือกผู้กู้เข้ามาเป็นรัฐบาล และที่สำคัญกว่านี้ ฝ่ายนิติบัญญัติกำลังใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลซึ่งเป็นคนผิดในข้อหาฉ้อโกง จึงเท่ากับว่าช่วยให้คนที่ทำความเสียหายแก่ประเทศ และทำความเดือดร้อนแก่ประชาชนพ้นผิดเป็นการทำลายนิติรัฐ นิติธรรมไปพร้อมๆ กัน
ด้วยเหตุผล 2 ประการดังกล่าวข้างต้น คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยในขณะนี้ จึงอยากเห็นการปฏิรูปการเมืองโดยมุ่งแก้ไขและป้องกันความเสียหายอันเกิดจากนักการเมือง
แต่ก็มีคำถามต่อมาว่า แล้วจะปฏิรูปอย่างไหน ด้วยการแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือด้วยการปฏิรูปการศึกษาปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมเป็นการสร้างคนที่มีคุณธรรมเพียงพอที่จะเป็นนักการเมืองเข้าไปทำหน้าที่ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร หรือแม้กระทั่งเป็นฝ่ายค้านเพื่อทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร ทั้งในด้านนิติบัญญัติ และด้านบริหาร
ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปประเทศควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปคนก่อน การปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงการปฏิรูปโครงการขั้นพื้นฐาน เพราะถ้าคนในประเทศส่วนใหญ่เป็นคนดีมีคุณธรรม นักการเมืองส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนดี และเมื่อใดนักการเมืองเป็นคนดี ผลงานที่เกิดจากนักการเมืองฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติก็จะดีตามไปด้วย
ด้วยเหตุดังที่ว่ามานี้ การปฏิรูปควรจะเริ่มด้วยการปฏิรูปคน
ส่วนการปฏิรูปการเมืองด้วยการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ถ้าย้อนไปดูความเป็นมาของการเมืองไทยจะพบว่า ทุกครั้งที่มีการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล ก็จะมีการร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้ง แต่ไม่นานหลังจากกิจการใช้เงิน ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการกิจการในทุกด้าน
ผลของงานเกิดจากความคิด และการกระทำของคน ถ้าคนซึ่งเป็นผู้กระทำเป็นคนดีมีความรู้ ความสามารถ และมากด้วยประสบการณ์ ผลงานที่ได้ก็จะเป็นไปในทางที่ดีมีมาตรฐาน และสนองความต้องการขององค์กรในทุกระดับ
ในทางกลับกัน ถ้าคนที่เป็นผู้กระทำกิจการเป็นคนไม่ดี ทั้งไม่มีความรู้ ความสามารถขาดประสบการณ์ ผลงานที่ได้ก็ไม่ดี ไม่มีมาตรฐาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ถ้าไม่ปฏิรูปคนอย่าพึงหวังว่าจะได้เห็นประเทศเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ดีเลิศเทียบเท่าประเทศที่เจริญ แล้วก็ตาม เพราะคนเป็นผู้ใช้กฎหมายจะบิดเบือนเนื้อหา และเจตนารมณ์ในการออกกฎหมาย ไปจนถึงการแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของตน ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ดังนั้น ถ้าประชาชนคนไทยต้องการจะเห็นประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ จะต้องออกมาต่อสู้กับกระบวนการชั่วร้ายอันเกิดจากการกระทำของคนที่เข้ามาเป็นนักการเมือง และแสวงหาอำนาจ และโอกาสในการหาประโยชน์เพื่อตนเองและพรรคพวก
นอกจากต่อสู้กับกระบวนการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบของนักการเมืองแล้ว ประชาชนจะต้องร่วมมือกันในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ มีประโยชน์รวมไปถึงการเลือกคนดีเข้ามาปกครองประเทศด้วย
ถ้าประชาชนทำได้เช่นนี้ เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าประชาชนเมินเฉย ไม่ออกมาแสดงบทบาทของพลเมืองที่ทุกคนควรจะพึงกระทำ อย่าว่าแต่จะให้ประเทศดีขึ้น จะเอาแค่ให้คงที่เท่าเดิมก็ยังจะยาก
จึงพูดได้ว่าวันนี้ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องลุกขึ้นต่อสู้กับสิ่งเลวร้าย อันเกิดจากการกระทำของนักการเมือง และร่วมกันสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่เพื่ออนาคตของลูกหลาน โดยยึดหลักตามแนวทางพุทธศาสนาดังต่อไปนี้
“ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง” (นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ)
ถ้าท่านคิดว่าเป็นคนดี เพราะไม่เคยนำความเดือดร้อนให้แก่ใคร แต่ปล่อยให้คนดีถูกคนรังแก ทั้งยังเป็นผู้ประกอบการกุศล แต่เพิกเฉยปล่อยให้คนชั่วรังแกคนดี และก่อความเสียหายแก่ประเทศชาติอันเป็นที่รักเป็นที่ทำมาหากิน ที่คนดีจะพึงกระทำ และสุดท้ายขอจบด้วยกลอนบทนี้
ตื่นเถิดชาวไทย ไยเฉยนิ่ง
ไม่ไหวติงต่อเหตุการณ์คืบคลานหา
ทั้งของแพงไม่เป็นธรรม ซ้ำเติมมา
ชาวพารา ร้อนรุ่มไฟสุมทรวง
ออกมา ออกมา อย่านิ่งเฉย
อย่าละเลยความเป็นคน จนของหวง
ล่มลายหายใจ หายไปไกลเกินทวง
ปากบอกห่วง แต่อยู่บ้าน ท่านจะเสียใจ.