สกศ.จัดเวทีให้ภาคเอกชน ร่วมวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนตลอดชีวิต คาดเสร็จสิ้นปีนี้ ในส่วนภาคเอกชน แนะภาคการศึกษาจัดหลักสูตรปฐมวัย อยากให้สอนรู้กว้าง มัธยมศึกษา หนุนรู้จักการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์เป็น เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วม ตั้งเป้า ปี 2020 เยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน
วันนี้ (22 ต.ค.) ที่โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่องการจัดทำรายละเอียดแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต มีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคน โดย เฉพาะในอีก 8 ปี ข้างหน้า ภาคเอกชน อุตสาหกรรม การบริการ ต้องการคนลักษณะไหน จำนวนเท่าไหร่ และการผลิตคนในระบบการศึกษาจะได้ตรงกับความต้องการของประเทศ เพียงพอ และ มีคุณภาพ ทั้งนี้ สกศ.ได้ร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ จัดทำพิมพ์เขียวแผนการศึกษาฯ แต่คาดว่าอาจจะใช้เวลานานกว่าจะจัดทำแล้วเสร็จซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในโอกาสนี้ สกศ.ต้องการรับฟังความคิดเห็น หรือความต้องการของภาคเอกชน อุตสาหกรรม เพื่อที่จะนำไปดำเนินการเฉพาะในประเด็นที่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมทันที
ด้าน นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคเอกชน เห็นด้วยที่ต้องผลักดันการศึกษาให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะในการทำธุรกิจหรืออะไรก็ตามเมื่อก้าวสู่อาเซียน ต้องสู้กันด้วยคุณภาพของคน และการสร้างคนไม่ใช่หน้าที่ของภาคการศึกษาเท่านั้น แต่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ซึ่งสิ่งพวกเราอยากเห็น คือ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยในช่วงปฐมวัย อยากให้สอนให้รู้กว้าง เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน ควรมีกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ส่วนระดับมัธยมศึกษา ควรสนับสนุนให้รู้จักการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น ให้เข้าไปช่วยถกปัญหากับนักเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น และอยากให้การจัดกิจกรรมสร้างนิสัย ให้เด็กไทยเป็นคนดี ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ
“ควรตั้งเป้า ปี 2020 เยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน เพราะบางทีเก่งให้ตาย แต่เด็กแยกแยะไม่ออกว่าดีไม่ดีไม่ได้ประเทศก็จบ และระดับมหาวิทยาลัย ศธ.และภาคเอกชน ควรวางกลยุทธ์ร่วมกัน เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เช่น การดูงานช่วงปิดภาคฤดูร้อน การฝึกงาน ในภาคเอกชน โดยที่ภาครัฐอาจต้องช่วยเหลือเราในการสนับสนุน เพราะสถานประกอบการบางแห่งเมื่อต้องเข้าไปช่วยดูแลนักศึกษา ช่วยฝึกงานให้เด็กทำให้เสียเวลาในการทำงาน อาจส่งผลถึงผลผลิตที่ออกมา” นางกอบกาญจน์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ อยากให้มีการพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู โดยในส่วนของผู้อำนวยการ ควรคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานอยู่ได้ยาวๆ เพราะต่อให้แผนดีแต่ไม่มีการทำงานที่สานต่อ ก็จะกลายเป็นแผนที่ไร้ประสิทธิภาพ และควรมีการสนับสนุนให้นักเรียนมีสมุดพกการทำความดี เพราะขณะนี้ภาคเอกชนกำลังหารือร่วมกัน ซึ่งในอนาคตการรับคนเข้าทำงาน อาจจะไม่ได้ดูที่เกรดเฉลี่ยอย่างเดียวแต่จะดูสมุดพกการทำความดีร่วมด้วย
วันนี้ (22 ต.ค.) ที่โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่องการจัดทำรายละเอียดแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต มีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคน โดย เฉพาะในอีก 8 ปี ข้างหน้า ภาคเอกชน อุตสาหกรรม การบริการ ต้องการคนลักษณะไหน จำนวนเท่าไหร่ และการผลิตคนในระบบการศึกษาจะได้ตรงกับความต้องการของประเทศ เพียงพอ และ มีคุณภาพ ทั้งนี้ สกศ.ได้ร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ จัดทำพิมพ์เขียวแผนการศึกษาฯ แต่คาดว่าอาจจะใช้เวลานานกว่าจะจัดทำแล้วเสร็จซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในโอกาสนี้ สกศ.ต้องการรับฟังความคิดเห็น หรือความต้องการของภาคเอกชน อุตสาหกรรม เพื่อที่จะนำไปดำเนินการเฉพาะในประเด็นที่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมทันที
ด้าน นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคเอกชน เห็นด้วยที่ต้องผลักดันการศึกษาให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะในการทำธุรกิจหรืออะไรก็ตามเมื่อก้าวสู่อาเซียน ต้องสู้กันด้วยคุณภาพของคน และการสร้างคนไม่ใช่หน้าที่ของภาคการศึกษาเท่านั้น แต่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ซึ่งสิ่งพวกเราอยากเห็น คือ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยในช่วงปฐมวัย อยากให้สอนให้รู้กว้าง เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน ควรมีกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ส่วนระดับมัธยมศึกษา ควรสนับสนุนให้รู้จักการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น ให้เข้าไปช่วยถกปัญหากับนักเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น และอยากให้การจัดกิจกรรมสร้างนิสัย ให้เด็กไทยเป็นคนดี ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ
“ควรตั้งเป้า ปี 2020 เยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน เพราะบางทีเก่งให้ตาย แต่เด็กแยกแยะไม่ออกว่าดีไม่ดีไม่ได้ประเทศก็จบ และระดับมหาวิทยาลัย ศธ.และภาคเอกชน ควรวางกลยุทธ์ร่วมกัน เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เช่น การดูงานช่วงปิดภาคฤดูร้อน การฝึกงาน ในภาคเอกชน โดยที่ภาครัฐอาจต้องช่วยเหลือเราในการสนับสนุน เพราะสถานประกอบการบางแห่งเมื่อต้องเข้าไปช่วยดูแลนักศึกษา ช่วยฝึกงานให้เด็กทำให้เสียเวลาในการทำงาน อาจส่งผลถึงผลผลิตที่ออกมา” นางกอบกาญจน์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ อยากให้มีการพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู โดยในส่วนของผู้อำนวยการ ควรคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานอยู่ได้ยาวๆ เพราะต่อให้แผนดีแต่ไม่มีการทำงานที่สานต่อ ก็จะกลายเป็นแผนที่ไร้ประสิทธิภาพ และควรมีการสนับสนุนให้นักเรียนมีสมุดพกการทำความดี เพราะขณะนี้ภาคเอกชนกำลังหารือร่วมกัน ซึ่งในอนาคตการรับคนเข้าทำงาน อาจจะไม่ได้ดูที่เกรดเฉลี่ยอย่างเดียวแต่จะดูสมุดพกการทำความดีร่วมด้วย