สภา กทม.หนุนผู้บริหารยกเครื่องระบบการศึกษากทม.เร่งแบ่งเขตหวังกระจายอำนาจบริหารให้ทั่วถึง-รวดเร็ว ด้านข้าราชการครูเติบโตสู่สายงานบริหารสูงสุดได้
วันนี้ (15 ต.ค.) นางอนงค์ เพชรทัต ส.ก.เขตดินแดง กล่าวภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษา ว่า นโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครในการกระจายอำนาจปัจจุบัน พบว่ายังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากผู้อำนวยการเขตที่มีอำนาจในการกำกับดูแลโรงเรียน กทม.ในพื้นที่ ยังไม่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาและไม่ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเท่าที่ควร รวมทั้งผู้อำนวยการเขตปัจจุบันไม่ได้ถูกกำหนดคุณสมบัติให้มีความรู้ความเข้าใจด้านพัฒนาและปรับโครงสร้างบุคลากรศึกษา ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารและพัฒนาระบบการศึกษาในปัจจุบัน ทั้งนี้ควรกระจายอำนาจ โดยกำหนดสายบังคับบัญชาผู้บริหารด้านการศึกษาที่มีใบกระกอบวิชาชีพครูหรือคุณสมบัติด้านการศึกษา หรือผ่านการเป็นข้าราชการครูมาก่อนเพื่อบริหารงานด้านการศึกษาโดยเฉพาะ รวมทั้งปรับโครงสร้างสามารถเติบโตในสายบริหารสูงสุดสู่ปลัดกรุงเทพมหานครได้ นอกจากนี้ยังพบว่าครู กทม.ยังประสบปัญหาติดภารกิจด้านงานราชการให้กับหน่วยงานมากเกินไป จนทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเท่าที่ควร ทั้งในปัจจุบันพบว่าบุคลากรครูยังขาดแคลน ซึ่งผู้บริหารควรเตรียมแผนในการเพิ่มอัตตรากำลังในอนาคตอีกด้วย
ด้าน นายอรรถพร สุวัธนเดชา รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มว่า ผู้บริหารกรุงเทพมหานครกำลังประชุมและเตรียมปรับโครงสร้างในการกระจายอำนาจระบบการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรทางการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการศึกษาให้เป็นระบบสากลมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ในช่วงพิจารณาในการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาด้านโครงสร้างการศึกษาด้านกฎหมาย ด้านการประชาสัมพันธ์ และสอบถามความคิดเห็นจากบุคลากรการศึกษาของกทม.เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลในการมาพัฒนาการศึกษาของกทม. โดยผู้บริหารมีความเห็นตรงกันร่วมกับสภา กทม.ในการพัฒนานโยบายด้านการศึกษาของ กทม.ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาข้าราชการครูให้มีความรักและทุ่มเทในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งครูถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการพัฒนานักเรียนและระบบการศึกษา
นอกจากนี้ทางคณะกรรมการยังมีแนวคิดที่จะแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 เขต ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับกระบวนการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่จะมีการปรับให้เข้ากับการดำเนินการของโรงเรียนในสังกัด กทม.เพื่อเป็นการกระจายอำนาจในการบริหารด้านการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารบุคลกร ซึ่งหากมีเขตการศึกษาที่ชัดเจนการกระจายอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ก็จะคล่องตัวมากขึ้นในการบริหาร โดยการแบ่งแต่ละโรงเรียนทั้งหมด 483 โรงเรียนว่าจะอยู่ในเขตการศึกษาใดนั้นจะต้องดูบริบทพื้นที่ของโรงเรียนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวจะต้องมีการศึกษารายละเอียดทำประชาพิจารณ์ เพื่อสำรวจความคิดเห็น และเสนอแก้ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร คาดว่าประมาณกลางปี 57 จะสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น
วันนี้ (15 ต.ค.) นางอนงค์ เพชรทัต ส.ก.เขตดินแดง กล่าวภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษา ว่า นโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครในการกระจายอำนาจปัจจุบัน พบว่ายังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากผู้อำนวยการเขตที่มีอำนาจในการกำกับดูแลโรงเรียน กทม.ในพื้นที่ ยังไม่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาและไม่ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเท่าที่ควร รวมทั้งผู้อำนวยการเขตปัจจุบันไม่ได้ถูกกำหนดคุณสมบัติให้มีความรู้ความเข้าใจด้านพัฒนาและปรับโครงสร้างบุคลากรศึกษา ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารและพัฒนาระบบการศึกษาในปัจจุบัน ทั้งนี้ควรกระจายอำนาจ โดยกำหนดสายบังคับบัญชาผู้บริหารด้านการศึกษาที่มีใบกระกอบวิชาชีพครูหรือคุณสมบัติด้านการศึกษา หรือผ่านการเป็นข้าราชการครูมาก่อนเพื่อบริหารงานด้านการศึกษาโดยเฉพาะ รวมทั้งปรับโครงสร้างสามารถเติบโตในสายบริหารสูงสุดสู่ปลัดกรุงเทพมหานครได้ นอกจากนี้ยังพบว่าครู กทม.ยังประสบปัญหาติดภารกิจด้านงานราชการให้กับหน่วยงานมากเกินไป จนทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเท่าที่ควร ทั้งในปัจจุบันพบว่าบุคลากรครูยังขาดแคลน ซึ่งผู้บริหารควรเตรียมแผนในการเพิ่มอัตตรากำลังในอนาคตอีกด้วย
ด้าน นายอรรถพร สุวัธนเดชา รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มว่า ผู้บริหารกรุงเทพมหานครกำลังประชุมและเตรียมปรับโครงสร้างในการกระจายอำนาจระบบการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรทางการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการศึกษาให้เป็นระบบสากลมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ในช่วงพิจารณาในการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาด้านโครงสร้างการศึกษาด้านกฎหมาย ด้านการประชาสัมพันธ์ และสอบถามความคิดเห็นจากบุคลากรการศึกษาของกทม.เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลในการมาพัฒนาการศึกษาของกทม. โดยผู้บริหารมีความเห็นตรงกันร่วมกับสภา กทม.ในการพัฒนานโยบายด้านการศึกษาของ กทม.ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาข้าราชการครูให้มีความรักและทุ่มเทในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งครูถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการพัฒนานักเรียนและระบบการศึกษา
นอกจากนี้ทางคณะกรรมการยังมีแนวคิดที่จะแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 เขต ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับกระบวนการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่จะมีการปรับให้เข้ากับการดำเนินการของโรงเรียนในสังกัด กทม.เพื่อเป็นการกระจายอำนาจในการบริหารด้านการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารบุคลกร ซึ่งหากมีเขตการศึกษาที่ชัดเจนการกระจายอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ก็จะคล่องตัวมากขึ้นในการบริหาร โดยการแบ่งแต่ละโรงเรียนทั้งหมด 483 โรงเรียนว่าจะอยู่ในเขตการศึกษาใดนั้นจะต้องดูบริบทพื้นที่ของโรงเรียนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวจะต้องมีการศึกษารายละเอียดทำประชาพิจารณ์ เพื่อสำรวจความคิดเห็น และเสนอแก้ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร คาดว่าประมาณกลางปี 57 จะสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น