**ASTVผู้จัดการรายวัน – บล.เออีซี น้องใหม่ผู้มาพร้อมคอนเนคชั่น และทีมผู้บริหารมากประสบการณ์ วางเป้า3ปี มาร์เกตแชร์5% จากรายย่อย-สถาบัน –วีไอพี พร้อมขึ้นสู่โบรกเกอร์ชั้นนำ ในการบุกตลาดอาเซียน**
เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี2558 ในด้านธุรกิจหลักทรัพย์ มีการเปลี่ยนแปลง หรือแต่งตัวรอรับการเปิดเสรีไร้พรมแดนกันมาล่วงหน้าหลายปี หริษัทหลักทรัพย์บางแห่งมีการควบรวมกิจการระหว่างกัน บางรายเทกโอเวอร์กิจการอื่นเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง และบางรายก็เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้น แต่ประสบการณ์ของผู้บริหารไม่ได้ใหม่ตามบริษัท เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เออีซี จำกัด (มหาชน)
**กอบเกียรติ บุญธีรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เออีซี จำกัด (มหาชน) (AEC)** กล่าวถึงที่มาของบล.เออีซี ว่า บล.เออีซี เกิดจากนักลงทุนกลุ่มใหม่คืออาจารย์ประพน มิลินทจินดา พร้อมผู้ร่วมลงทุนได้เข้ามาเทกโอเวอร์บล.ยูไนเต็ด จาก บล.ยูโอบี เค เฮียน เพราะมองว่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เชื่อว่าการเคลื่อนย้ายของทุนจะมีบทบาทมากขึ้น จึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามาทำธุรกิจหลักทรัพย์ เพราะธุรกิจนี้ไม่เพียงเป็นแค่ตัวแทนในการซื้อขายหุ้น แต่ยังสามารถเชื่อมโยงคนหรือบริษัทให้เข้ามาถึงแหล่งทุนได้ เช่นคนที่ต้องการทุน ต้องการขายกิจการ หรือต้องการพาร์ทเนอร์ และด้วยคอนเนคชั่นของผู้ถือหุ้น คณะกรรมกรรมบริษัท หรือแม้แต่คณะที่ปรึกษา เช่นอาจารย์สุรเกียรติ เสถียรไทย ทำให้บริษัทเชื่อว่าด้วยคอนเนคชั่นที่มี จะช่วยตอบโจทย์แก่ลูกค้าของบริษัทได้
ทั้งนี้ บล.เออีซี มีใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจ 5 ไลเซนส์ ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ ธุรกรรมซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกรรมprop trade ธุรกรรมวาณิชธนกิจ และที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจะเป็นรายได้หลักของบริษัทในอนาคต และธุรกรรมซื้อขายนายหน้าหน่วยลงทุน (Selling Agent) ซึ่งจะเป็นตัวเสริมธุรกิจต่างๆช่วยให้บล.เออีซีมีการให้บริการครบวงจร
**นอกจากนี้ บล.เออีซี วางเป้าเข้าเจาะกลุ่มลูกค้าสถาบัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) สำนักงานประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาใช้บริการบริษัท ซึ่งจะเข้ามาเสริมให้ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์)ของบล.เออีซีให้แข็งแกร่งขึ้น **
ขณะเดียวกัน บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อธุรกรรมวาณิชธนกิจด้วย เพราะมองว่าเป็นจังหวะที่ดีหลายธุรกิจเริ่มตื่นตัวกับการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่มีแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นหลายบริษัท เช่นเดียวกับธุรกรรมM&A การซื้อขายควบรวมกิจการ ซึ่งได้รับความนิยมมาก อีกทั้งบริษัทมีคอนเนคชั่นกับกลุ่มทุนจากจีน ทำให้ช่วยตอบโจทย์บริษัทจดทะเบียนไทยหลายราย
นอกจากนี้ บล.เออีซีสนใจจัดตั้งบลจ.ของตนเองเพราะมองว่าการเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวจะช่วยเป็นการขยายฐานลูกค้า และตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้อย่างครบวงจร
**“การขายธุรกิจของเรา เรามองว่าต้องเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้เพื่อรองรับการเปิดเสรีในปี 2558 เพราะเมื่อถึงวันนั้นเราก็สามารถทำตัวเราให้พร้อมเพื่อจะได้หาคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้ และมีโอกาสชักชวนเข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กัน เช่นในสิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงการร่วมมือกับโบรกเกอร์ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ **
**ทั้งนี้ ในด้านธุรกรรมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บล.เออีซี วงเป้าหมายภายใน3ปี จะมีมาร์เก็บแชร์5% หรือขึ้นมาเป็นโบรกเกอร์ขนาดใหญ่อันดับต้นๆของประเทศ นอกจากนี้ใสนปี 2557 บริษัทมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มเติม 3-4 แห่ง และรับสมัครงานเจ้าหน้าที่การตลาดจากทุกสารทิศที่ต้องการความท้าทาย และผลตอบแทนในระดับที่ดี**
“เป้า5%ไม่ใช่เรื่องง่าย โบรกเกอร์ใหญ่ ทุกวันนี้มีประมาณ 5 รายที่ทำได้ ที่เหลือ3%ประมาณ 10 กว่าราย ดังนั้นแผนเราคือทำสัดส่วนนักลงทุนทั่วไปให้ได้ 2-3% ขณะที่มีลูกค้าสถาบันอีก1% ที่เหลือเป็นมาร์เกตแชร์ของลูกค้ารายใหญ่ (วีไอพี) พวกอินเตอร์เน็ต พวกProp trade อีก1% ก็จะได้ครบ 5%ตามเป้าหมาย แต่ถ้าจะให้รุกลูกค้าทั่วไปอย่างเดียว5% คงยาก และอาจจะมีแต่วอลุ่มเพียงอย่างเดียว หรือหากรุกรายใหญ่แต่ค่าคอมมิชชั่นถูกเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ตรงนี้ต้องพยายามสร้างฐานให้บาลานซ์ ค่อยๆสร้างฐานลูกค้าสถาบัน ส่วนรายย่อยจะขยับขยายไปภูมิภาคเพื่อบริหารให้ทั่วถึง ด้วยการขยายสาขาไปต่างจังหวัด เพราะหากมุ่งหวังแต่ในกรุงเทพการจะได้มาเสริมมาร์เกตแชร์คงยาก เป้าหมายตรงนี้เราตั้งไว้ภายใน3ปี”
**สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมโบรกเกอร์ทั้งในและต่างประเทศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. เออีซี ให้คามเห็นว่า การแข่งขันกับโบรกเกอร์ต่างประเทศหรือในประเทศก็ตาม หากเรามองว่าน่ากลัวนั่นหมายถึงเราตั้งรับ แต่อยากให้มองว่าเค้กมันใหญ่ขึ้น การแข่งขันย่อมรุนแรงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ที่ว่าใครให้บริการได้ดีกว่า มีคุณภาพในบริการที่ดีกว่ากัน โบกเกอร์ไหนหากคิดแข่งขันตัดราคาอย่างเดียวมองว่าอยู่ไม่รอด **
เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี2558 ในด้านธุรกิจหลักทรัพย์ มีการเปลี่ยนแปลง หรือแต่งตัวรอรับการเปิดเสรีไร้พรมแดนกันมาล่วงหน้าหลายปี หริษัทหลักทรัพย์บางแห่งมีการควบรวมกิจการระหว่างกัน บางรายเทกโอเวอร์กิจการอื่นเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง และบางรายก็เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้น แต่ประสบการณ์ของผู้บริหารไม่ได้ใหม่ตามบริษัท เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เออีซี จำกัด (มหาชน)
**กอบเกียรติ บุญธีรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เออีซี จำกัด (มหาชน) (AEC)** กล่าวถึงที่มาของบล.เออีซี ว่า บล.เออีซี เกิดจากนักลงทุนกลุ่มใหม่คืออาจารย์ประพน มิลินทจินดา พร้อมผู้ร่วมลงทุนได้เข้ามาเทกโอเวอร์บล.ยูไนเต็ด จาก บล.ยูโอบี เค เฮียน เพราะมองว่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เชื่อว่าการเคลื่อนย้ายของทุนจะมีบทบาทมากขึ้น จึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามาทำธุรกิจหลักทรัพย์ เพราะธุรกิจนี้ไม่เพียงเป็นแค่ตัวแทนในการซื้อขายหุ้น แต่ยังสามารถเชื่อมโยงคนหรือบริษัทให้เข้ามาถึงแหล่งทุนได้ เช่นคนที่ต้องการทุน ต้องการขายกิจการ หรือต้องการพาร์ทเนอร์ และด้วยคอนเนคชั่นของผู้ถือหุ้น คณะกรรมกรรมบริษัท หรือแม้แต่คณะที่ปรึกษา เช่นอาจารย์สุรเกียรติ เสถียรไทย ทำให้บริษัทเชื่อว่าด้วยคอนเนคชั่นที่มี จะช่วยตอบโจทย์แก่ลูกค้าของบริษัทได้
ทั้งนี้ บล.เออีซี มีใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจ 5 ไลเซนส์ ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ ธุรกรรมซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกรรมprop trade ธุรกรรมวาณิชธนกิจ และที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจะเป็นรายได้หลักของบริษัทในอนาคต และธุรกรรมซื้อขายนายหน้าหน่วยลงทุน (Selling Agent) ซึ่งจะเป็นตัวเสริมธุรกิจต่างๆช่วยให้บล.เออีซีมีการให้บริการครบวงจร
**นอกจากนี้ บล.เออีซี วางเป้าเข้าเจาะกลุ่มลูกค้าสถาบัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) สำนักงานประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาใช้บริการบริษัท ซึ่งจะเข้ามาเสริมให้ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์)ของบล.เออีซีให้แข็งแกร่งขึ้น **
ขณะเดียวกัน บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อธุรกรรมวาณิชธนกิจด้วย เพราะมองว่าเป็นจังหวะที่ดีหลายธุรกิจเริ่มตื่นตัวกับการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่มีแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นหลายบริษัท เช่นเดียวกับธุรกรรมM&A การซื้อขายควบรวมกิจการ ซึ่งได้รับความนิยมมาก อีกทั้งบริษัทมีคอนเนคชั่นกับกลุ่มทุนจากจีน ทำให้ช่วยตอบโจทย์บริษัทจดทะเบียนไทยหลายราย
นอกจากนี้ บล.เออีซีสนใจจัดตั้งบลจ.ของตนเองเพราะมองว่าการเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวจะช่วยเป็นการขยายฐานลูกค้า และตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้อย่างครบวงจร
**“การขายธุรกิจของเรา เรามองว่าต้องเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้เพื่อรองรับการเปิดเสรีในปี 2558 เพราะเมื่อถึงวันนั้นเราก็สามารถทำตัวเราให้พร้อมเพื่อจะได้หาคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้ และมีโอกาสชักชวนเข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กัน เช่นในสิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงการร่วมมือกับโบรกเกอร์ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ **
**ทั้งนี้ ในด้านธุรกรรมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บล.เออีซี วงเป้าหมายภายใน3ปี จะมีมาร์เก็บแชร์5% หรือขึ้นมาเป็นโบรกเกอร์ขนาดใหญ่อันดับต้นๆของประเทศ นอกจากนี้ใสนปี 2557 บริษัทมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มเติม 3-4 แห่ง และรับสมัครงานเจ้าหน้าที่การตลาดจากทุกสารทิศที่ต้องการความท้าทาย และผลตอบแทนในระดับที่ดี**
“เป้า5%ไม่ใช่เรื่องง่าย โบรกเกอร์ใหญ่ ทุกวันนี้มีประมาณ 5 รายที่ทำได้ ที่เหลือ3%ประมาณ 10 กว่าราย ดังนั้นแผนเราคือทำสัดส่วนนักลงทุนทั่วไปให้ได้ 2-3% ขณะที่มีลูกค้าสถาบันอีก1% ที่เหลือเป็นมาร์เกตแชร์ของลูกค้ารายใหญ่ (วีไอพี) พวกอินเตอร์เน็ต พวกProp trade อีก1% ก็จะได้ครบ 5%ตามเป้าหมาย แต่ถ้าจะให้รุกลูกค้าทั่วไปอย่างเดียว5% คงยาก และอาจจะมีแต่วอลุ่มเพียงอย่างเดียว หรือหากรุกรายใหญ่แต่ค่าคอมมิชชั่นถูกเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ตรงนี้ต้องพยายามสร้างฐานให้บาลานซ์ ค่อยๆสร้างฐานลูกค้าสถาบัน ส่วนรายย่อยจะขยับขยายไปภูมิภาคเพื่อบริหารให้ทั่วถึง ด้วยการขยายสาขาไปต่างจังหวัด เพราะหากมุ่งหวังแต่ในกรุงเทพการจะได้มาเสริมมาร์เกตแชร์คงยาก เป้าหมายตรงนี้เราตั้งไว้ภายใน3ปี”
**สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมโบรกเกอร์ทั้งในและต่างประเทศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. เออีซี ให้คามเห็นว่า การแข่งขันกับโบรกเกอร์ต่างประเทศหรือในประเทศก็ตาม หากเรามองว่าน่ากลัวนั่นหมายถึงเราตั้งรับ แต่อยากให้มองว่าเค้กมันใหญ่ขึ้น การแข่งขันย่อมรุนแรงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ที่ว่าใครให้บริการได้ดีกว่า มีคุณภาพในบริการที่ดีกว่ากัน โบกเกอร์ไหนหากคิดแข่งขันตัดราคาอย่างเดียวมองว่าอยู่ไม่รอด **