ASTVผู้จัดการรายวัน – โกลบอลแบรนด์มั่นใจศักยภาพประเทศไทย เดินหน้าลงทุนตามแผน แม้ไทยมีปัญหาการเมือง มองเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลก “เฟลชแมน” เอเจนซี่ให้คำปรึกษาด้านการสื่อสารครบวงจรจากอเมริกา พร้อมเปิดตัวให้บริการในไทย เชื่อส่งภาพรวมรายได้เอเชียแปซิฟิกปีหน้าเติบโต 30%เท่าปีนี้
นายเดฟ ซีเนย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เวิลด์วายด์ เปิดเผยว่า เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารครบวงจรชั้นนำระดับโลก มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นส่วนหนึ่งของออมนิคอม กรุ๊ป โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง มีสำนักงาน 19 แห่ง และไทยถือเป็นแห่งที่ 19 และเป็นแห่งที่5ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้บริษัทต้องการเป็น The World’s Most Complete Communication Firm ด้วยThe FH 8X8 Strategy ชูจุดแข็งหลัก คือ ความเชี่ยวชาญในงานกลยุทธ์ที่เน้นการบูรณาการผสมผสานการสื่อสารแบบองค์รวมและการสื่อสารยุคดิจิตอลเข้าด้วยกัน ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งลูกค้าองค์กร สินค้าเทคโนโลยี สถาบันการเงิน สินค้าอุปโภคและบริโภค และธุรกิจบริการ ภายใต้ 6กลยุทธ์หลัก คือ 1.Globalization 2.Social Engagement 3. The rise of Reputation 4.Strategic Integration Across peso 5.DATA, Analytics & Insights และ 6.Innovation ซึ่งปัจจุบันกว่า 200 แบรนด์ใช้บริการสร้างแบรนด์มากกว่า1ภูมิภาค และในช่วง6ปีที่ผ่านมา กว่า100แบรนด์ในเอเชียแปซิฟิก มุ่งสู่ความเป็นโกลบอลแบรนด์มากขึ้น
นายเดฟ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นและพบเห็นได้ทั่วโลก ส่งผลให้ธุรกิจมีขึ้นและมีลง แต่การลงทุนจะยังคงเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นของประเทศเป็นหลัก เช่นเดียวกับในประเทศไทย ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ยังพบว่าลูกค้าที่สนใจลงทุนในไทยก็ยังพร้อมเดินหน้าตามแผนเดิมที่วางไว้ ส่งผลให้บริษัทมั่นใจในการเปิดสำนักงานใหม่อย่างเป็นทางการที่ประเทศไทยเป็นสาขาล่าสุดในเอเชียแปซิฟิก
นางลินน์ แอนน์ เดวิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า บริษัทเชื่อมั่นว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเติบโตต่อเนื่อง และโตจากการที่โกลบอลแบรนด์มุ่งลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้น จากปัจจุบันภาพรวมรายได้ของเฟลชแมนฯ การเติบโตสูงสุดมาจากมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตราว 30% ในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตในระดับเดียวกัน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมารายได้เติบโตขึ้น 2 เท่าตัว ขณะที่สัดส่วนรายได้จากเอเชียแปซิฟิกคิดเป็น 10% ของรายได้รวมทั่วโลก ทั้งนี้เชื่อว่าจากการเปิดให้บริการที่ประเทศไทยเพิ่มเข้ามา ภายใน 5 ปีหลังจากนี้จะทำให้รายได้รวมของเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตเป็น 15-20% ได้
ด้านนางสาวโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าแล้ว 2-4 ราย มีทั้งลูกค้าเดิม 2-3 เช่น ฟิลิปส์ เป็นต้น และโลคอลแบรนด์ 1 ราย และในปีแรกมองว่าจะมีรายได้ค่อนข้างสูงจากฐานที่ยังเล็กอยู่
โดยมองโอกาสทางธุรกิจในไทยมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. การเติบโตของชนชั้นกลางคิดเป็น 65% ของประชากรทั้งประเทศที่มีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีไลฟ์สไตล์ที่อยู่กับโซเชี่ยลมีเดีย เป็นโอกาสในการวางกลยุทธ์ด้านดิจิตอลมีเดีย 2.การควบรวมกิจการ ที่พบว่ามีการลงทุนควบรวมกิจการในไทยคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 14.7 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย เป็นโอกาสวางกลยุทธ์แบบบูรณาการด้านการบริหารภาพลักษณ์องค์กรที่มีความแตกต่างระหว่าง 2 องค์กรที่ร่วมทุนกัน และ3. AEC โอกาสในการสร้างแบรนด์ มาร์เก็ตติ้ง ให้กับโกลบอลแบรนด์ และโลคอลแบรนด์สู่เออีซี
ทั้งนี้มองว่าในปี2557 ทิศทางการสื่อสารแบบครบวงจรในไทย จะไปในเรื่องของโซเชียลมีเดีย และดิจิตอลคอมมูนิคชั่นมากขึ้น จากเดิมเป็นแบบบีทูซีมาเป็นบีทูบีมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะมีการบูรณาการใช้สื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น ขณะที่ดิจิตอลทีวีและ3จีจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เครื่องมือการสื่อสารใหม่ๆเติบโตขึ้น เช่น โมบายโฟน เป็นต้น
นายเดฟ ซีเนย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เวิลด์วายด์ เปิดเผยว่า เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารครบวงจรชั้นนำระดับโลก มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นส่วนหนึ่งของออมนิคอม กรุ๊ป โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง มีสำนักงาน 19 แห่ง และไทยถือเป็นแห่งที่ 19 และเป็นแห่งที่5ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้บริษัทต้องการเป็น The World’s Most Complete Communication Firm ด้วยThe FH 8X8 Strategy ชูจุดแข็งหลัก คือ ความเชี่ยวชาญในงานกลยุทธ์ที่เน้นการบูรณาการผสมผสานการสื่อสารแบบองค์รวมและการสื่อสารยุคดิจิตอลเข้าด้วยกัน ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งลูกค้าองค์กร สินค้าเทคโนโลยี สถาบันการเงิน สินค้าอุปโภคและบริโภค และธุรกิจบริการ ภายใต้ 6กลยุทธ์หลัก คือ 1.Globalization 2.Social Engagement 3. The rise of Reputation 4.Strategic Integration Across peso 5.DATA, Analytics & Insights และ 6.Innovation ซึ่งปัจจุบันกว่า 200 แบรนด์ใช้บริการสร้างแบรนด์มากกว่า1ภูมิภาค และในช่วง6ปีที่ผ่านมา กว่า100แบรนด์ในเอเชียแปซิฟิก มุ่งสู่ความเป็นโกลบอลแบรนด์มากขึ้น
นายเดฟ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นและพบเห็นได้ทั่วโลก ส่งผลให้ธุรกิจมีขึ้นและมีลง แต่การลงทุนจะยังคงเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นของประเทศเป็นหลัก เช่นเดียวกับในประเทศไทย ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ยังพบว่าลูกค้าที่สนใจลงทุนในไทยก็ยังพร้อมเดินหน้าตามแผนเดิมที่วางไว้ ส่งผลให้บริษัทมั่นใจในการเปิดสำนักงานใหม่อย่างเป็นทางการที่ประเทศไทยเป็นสาขาล่าสุดในเอเชียแปซิฟิก
นางลินน์ แอนน์ เดวิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า บริษัทเชื่อมั่นว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเติบโตต่อเนื่อง และโตจากการที่โกลบอลแบรนด์มุ่งลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้น จากปัจจุบันภาพรวมรายได้ของเฟลชแมนฯ การเติบโตสูงสุดมาจากมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตราว 30% ในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตในระดับเดียวกัน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมารายได้เติบโตขึ้น 2 เท่าตัว ขณะที่สัดส่วนรายได้จากเอเชียแปซิฟิกคิดเป็น 10% ของรายได้รวมทั่วโลก ทั้งนี้เชื่อว่าจากการเปิดให้บริการที่ประเทศไทยเพิ่มเข้ามา ภายใน 5 ปีหลังจากนี้จะทำให้รายได้รวมของเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตเป็น 15-20% ได้
ด้านนางสาวโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าแล้ว 2-4 ราย มีทั้งลูกค้าเดิม 2-3 เช่น ฟิลิปส์ เป็นต้น และโลคอลแบรนด์ 1 ราย และในปีแรกมองว่าจะมีรายได้ค่อนข้างสูงจากฐานที่ยังเล็กอยู่
โดยมองโอกาสทางธุรกิจในไทยมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. การเติบโตของชนชั้นกลางคิดเป็น 65% ของประชากรทั้งประเทศที่มีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีไลฟ์สไตล์ที่อยู่กับโซเชี่ยลมีเดีย เป็นโอกาสในการวางกลยุทธ์ด้านดิจิตอลมีเดีย 2.การควบรวมกิจการ ที่พบว่ามีการลงทุนควบรวมกิจการในไทยคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 14.7 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย เป็นโอกาสวางกลยุทธ์แบบบูรณาการด้านการบริหารภาพลักษณ์องค์กรที่มีความแตกต่างระหว่าง 2 องค์กรที่ร่วมทุนกัน และ3. AEC โอกาสในการสร้างแบรนด์ มาร์เก็ตติ้ง ให้กับโกลบอลแบรนด์ และโลคอลแบรนด์สู่เออีซี
ทั้งนี้มองว่าในปี2557 ทิศทางการสื่อสารแบบครบวงจรในไทย จะไปในเรื่องของโซเชียลมีเดีย และดิจิตอลคอมมูนิคชั่นมากขึ้น จากเดิมเป็นแบบบีทูซีมาเป็นบีทูบีมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะมีการบูรณาการใช้สื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น ขณะที่ดิจิตอลทีวีและ3จีจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เครื่องมือการสื่อสารใหม่ๆเติบโตขึ้น เช่น โมบายโฟน เป็นต้น