ASTVผู้จัดการรายวัน-ส่งออกต.ค.หัวทิ่มอีกติดลบ 0.67% เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เหตุคู่ค้าลดการนำเข้า เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ส่วนยอด 10 เดือนกลับมาลบ 0.02% “พาณิชย์”ยังหวังทั้งปีโตได้ 1% ตามที่คาดไว้ ส่วนปี 57 ทำได้ 5% แน่ หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น
น.ส.อุรวี เงารุ่งเรือง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยเดือนต.ค.2556 มีมูลค่า 1.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.67% การนำเข้ามีมูลค่า 2.11 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.37% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า มูลค่า 1,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ยอดการส่งออกรวม 10 เดือนปี 2556 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 1.91 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.02% การนำเข้าช่วง 10 เดือน มีมูลค่า 2.10 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.40% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าช่วง 10 เดือน มูลค่า 1.94 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเดือนต.ค.2556 เป็นการส่งออกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ส่งออกเป็นบวกได้ในเดือนส.ค.2556 ที่ 3.92% และมาติดลบในเดือนก.ย.2556 ที่ 7.09% ส่วนยอดส่งออก 10 เดือน ก็กลับมาติดลบ หลังจากที่ช่วง 9 เดือนขยายตัวเป็นบวกได้ 0.05% สาเหตุที่ทำให้การส่งออกเดือนต.ค. ชะลอตัว เป็นผลมาจากกำลังซื้อสินค้าของประเทศต่างๆ ยังลดลงต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น แม้เศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่เงินเยนอ่อนค่า จึงมีการนำเข้าลดลง จีน แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมเริ่มลดลง อินเดีย การนำเข้าติดลบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ฮ่องกง และเกาหลี มีการนำเข้าลดลง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง จากผลผลิตทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่ขยายตัวมาก ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น มีปัญหาการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น และสินค้าหลายๆ ตัวมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงยืนยันเป้าหมายการส่งออกปี 2556 จะขยายตัวได้ในระดับ 1% ตามที่ประเมินไว้ล่าสุด โดยหากการส่งออกในช่วง 2 เดือนสุดท้ายที่เหลือของปีนี้ มีการส่งออกเฉลี่ย 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ส่วนการชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ ยังไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย ซึ่งต้องประเมินต่อไป ขณะที่การส่งออกในปี 2557
คาดว่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมาย 5% เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีทิศทางดีขึ้น
สำหรับรายละเอียดสินค้าส่งออกเดือนต.ค.2556 กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 4.3% มูลค่า 3,158 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญลดลง ได้แก่ ข้าว ลด 25.3% อาหาร ลด 3.4% น้ำตาล ลด 7.6% เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ลดลง 0.8% มูลค่า 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ลด 0.6% วัสดุก่อสร้าง ลด 33.5% ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 2.9% ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2.2% สิ่งทอ 3.3%
ด้านตลาดส่งออก พบว่า ตลาดหลัก ลดลง 0.1% ได้แก่ ญี่ปุ่น ลด 12.1% สหรัฐฯ เพิ่ม 6.5% สหภาพยุโรป เพิ่ม 7.0% ตลาดศักยภาพสูง เพิ่ม 1.9% ได้แก่ อาเซียน เพิ่ม 2.5% จีน เพิ่ม 14.5% อินเดีย ลด 21.4% ฮ่องกง ลด 14.5% เป็นต้น ตลาดศักยภาพระดับรอง ลด 5.5% เช่น ทวีปออสเตรเลีย ลด 7.9%ตะวันออกกลาง 0.8% แอฟริกา ลด 19.0% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 4.1% กลุ่มซีไอเอสและรัสเซีย ลด 1.4% ตลาดอื่นๆ ลด 23.1% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ลด 30%
ขณะที่สินค้านำเข้าเดือนต.ค.2556 กลุ่มเชื้อเพลิงนำเข้า 4,912 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 20.4% สินค้าทุน 5,417 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.3% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 7,573 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.4% สินค้าอุปโภคบริโภค 2,009 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 6.9%
น.ส.อุรวี เงารุ่งเรือง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยเดือนต.ค.2556 มีมูลค่า 1.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.67% การนำเข้ามีมูลค่า 2.11 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.37% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า มูลค่า 1,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ยอดการส่งออกรวม 10 เดือนปี 2556 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 1.91 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.02% การนำเข้าช่วง 10 เดือน มีมูลค่า 2.10 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.40% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าช่วง 10 เดือน มูลค่า 1.94 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเดือนต.ค.2556 เป็นการส่งออกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ส่งออกเป็นบวกได้ในเดือนส.ค.2556 ที่ 3.92% และมาติดลบในเดือนก.ย.2556 ที่ 7.09% ส่วนยอดส่งออก 10 เดือน ก็กลับมาติดลบ หลังจากที่ช่วง 9 เดือนขยายตัวเป็นบวกได้ 0.05% สาเหตุที่ทำให้การส่งออกเดือนต.ค. ชะลอตัว เป็นผลมาจากกำลังซื้อสินค้าของประเทศต่างๆ ยังลดลงต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น แม้เศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่เงินเยนอ่อนค่า จึงมีการนำเข้าลดลง จีน แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมเริ่มลดลง อินเดีย การนำเข้าติดลบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ฮ่องกง และเกาหลี มีการนำเข้าลดลง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง จากผลผลิตทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่ขยายตัวมาก ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น มีปัญหาการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น และสินค้าหลายๆ ตัวมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงยืนยันเป้าหมายการส่งออกปี 2556 จะขยายตัวได้ในระดับ 1% ตามที่ประเมินไว้ล่าสุด โดยหากการส่งออกในช่วง 2 เดือนสุดท้ายที่เหลือของปีนี้ มีการส่งออกเฉลี่ย 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ส่วนการชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ ยังไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย ซึ่งต้องประเมินต่อไป ขณะที่การส่งออกในปี 2557
คาดว่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมาย 5% เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีทิศทางดีขึ้น
สำหรับรายละเอียดสินค้าส่งออกเดือนต.ค.2556 กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 4.3% มูลค่า 3,158 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญลดลง ได้แก่ ข้าว ลด 25.3% อาหาร ลด 3.4% น้ำตาล ลด 7.6% เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ลดลง 0.8% มูลค่า 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ลด 0.6% วัสดุก่อสร้าง ลด 33.5% ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 2.9% ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2.2% สิ่งทอ 3.3%
ด้านตลาดส่งออก พบว่า ตลาดหลัก ลดลง 0.1% ได้แก่ ญี่ปุ่น ลด 12.1% สหรัฐฯ เพิ่ม 6.5% สหภาพยุโรป เพิ่ม 7.0% ตลาดศักยภาพสูง เพิ่ม 1.9% ได้แก่ อาเซียน เพิ่ม 2.5% จีน เพิ่ม 14.5% อินเดีย ลด 21.4% ฮ่องกง ลด 14.5% เป็นต้น ตลาดศักยภาพระดับรอง ลด 5.5% เช่น ทวีปออสเตรเลีย ลด 7.9%ตะวันออกกลาง 0.8% แอฟริกา ลด 19.0% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 4.1% กลุ่มซีไอเอสและรัสเซีย ลด 1.4% ตลาดอื่นๆ ลด 23.1% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ลด 30%
ขณะที่สินค้านำเข้าเดือนต.ค.2556 กลุ่มเชื้อเพลิงนำเข้า 4,912 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 20.4% สินค้าทุน 5,417 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.3% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 7,573 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.4% สินค้าอุปโภคบริโภค 2,009 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 6.9%