ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ด กนง.ลงมติ 6 ต่อ 1 เสียง ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% กระตุ้นเศรษฐกิจหลังพบหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ เผยชั่งน้ำหนักปัจจัยรอบด้าน ยอมรับการลดดอกเบี้ยช่วยลดการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อัตโนมัติ พร้อมปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 3% ปีหน้า 4%
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด กนง.เมื่อวานนี้ (27พ.ย.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% โดยให้มีผลทันที ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 2.25%ต่อปี เนื่องจากกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มากและตัวเลขล่าสุดเดือนต.ค.ที่จะประกาศในวันที่ 29 พ.ย.นี้อ่อนแอลง จึงเห็นว่าขณะนี้ความเสี่ยงการขยายตัวเศรษฐกิจมากกว่าความเสี่ยงเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพการเงิน
“กนง.มีความเป็นห่วงการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้อาจจะชะลอตัวค่อนข้างมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ พบว่า ความเสี่ยงด้านราคาและการเงินในระยะสั้นลดลงมากไม่ว่าจะเป็นความห่วงใยเรื่องหนี้ครัวเรือนปรับตัวทิศทางเหมาะสมขึ้น เพราะการขยายตัวสินเชื่อชะลอลงตามทิศทางเศรษฐกิจ ภาคอสังหาริมทรัพย์ลดร้อนแรงได้ระดับหนึ่ง ทำให้นโยบายการเงินสามารถมีพื้นที่ในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ฉะนั้น นโยบายการเงินไม่มีขาวดำชัดเจนต้องชั่งน้ำหนักปัจจัยต่างๆ”
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางการเมืองอย่างเดียว แต่ยอมรับเป็นปัจจัยหนึ่งจากหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบกัน และว่าในที่ประชุมไม่ได้กำชับเรื่องการเมืองอะไรพิเศษ ส่วนอีก 1 เสียงของกรรมการที่เห็นต่างมองว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ซึ่งปัจจุบันนโยบายมีการผ่อนปรนเหมาะสมอยู่แล้ว จึงห่วงว่าถ้าลดดอกเบี้ยลงอีกจะมีผลการออมระยะยาวด้วย ซึ่งลดดอกเบี้ยลง 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยอยู่ระดับใกล้เคียงกับ 0% แสดงถึงความผ่อนปรนนโยบายการเงินที่ต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยและลดความเสี่ยงเศรษฐกิจ
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะขาขึ้น ลง หรือนิ่งยังตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลใหม่ที่เข้ามาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยนั้นๆ เป็นสำคัญ และการผ่อนคลายดอกเบี้ยในครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวและยืนยันว่าลดดอกเบี้ยไม่ใช่ทดแทนแรงกระตุ้นภาคการคลังลดลง
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้ลดลงเหลือ 3% จากเดิม 3.7% และคาดว่าปีหน้ากว่า 4% เล็กน้อย จากเดิมประเมินไว้ 4.8% ถือว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยมีความหวัง แต่ปีหน้าเศรษฐกิจจะทยอยดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ การปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้เหลือ 3% ยังไม่พิจารณาผลกระทบเหตุการณ์ทางการเมือง เพราะความไม่แน่นอนสูงอยู่ จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ฉะนั้น การปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจเกิดจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและการวิเคราะห์ปัจจัยแนวโน้มต่างๆ
ขณะนี้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากจากการลงทุนและการใช้จ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน การส่งออกยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ในระยะต่อไปเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งความล่าช้าและการเบิกจ่ายน้อยกว่าเดิมในแง่การลงทุนของรัฐ ความเชื่อมั่นภาคเอกชนเปราะบางจากความไม่สงบทางการเมือง ส่วนภาคการส่งออกอาจจะไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก เพราะสินค้าส่งออกไม่ใช่กระแสสินค้าโลกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
การลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จะส่งผ่านเศรษฐกิจจริงหลายช่องทางทั้งดอกเบี้ยตลาดการเงิน ดอกเบี้ยตราสารหนี้ ราคาสินทรัพย์ในตลาดด้วย ส่วนการส่งผ่านดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชย์ในการประเมินภาวะข้างหน้าจะเป็นอย่างไรไม่ว่าจะเป็นความต้องการสินเชื่อ ความเพียงพอสภาพคล่อง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นไปตามกลไกตลาดที่เกิดขึ้น และการลดดอกเบี้ยจะช่วยลดความร้อนแรงของเงินทุนเคลื่อนย้ายได้อัตโนมัติ อีกทั้งธปท.เองมีเครื่องมือในการดูแลความผันผวน โดยเฉพาะกรณีที่เกิดความผันผวนมากจนกระทบภาคเศรษฐกิจจริง รวมถึงขณะนี้ไทยมีเงินทุนสำรองเพียงพอรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ด กนง.ครั้งที่ 8 ถือเป็นครั้งสุดท้ายของปี 56 ได้เปลี่ยนที่ประชุมเป็นโรงพิมพ์ธนบัตรของธปท.พุทธมณฑล สาย 7 แทนการประชุมสำนักงานใหญ่ของ ธปท.ที่บางขุนพรหม อีกทั้งในวันเดียวกันก็มีการจัดการประชุมคณะกรรมการ ธปท. (กกธ.) หรือบอร์ดแบงก์ชาติในช่วงเวลาบ่ายเช่นกัน โดยกรรมการนั่งในบอร์ด กนง.และบอร์ดแบงก์ชาติประกอบด้วย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ นางทองอุไร ลิ้มปิติ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ นายศิริ การเจริญดี.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด กนง.เมื่อวานนี้ (27พ.ย.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% โดยให้มีผลทันที ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 2.25%ต่อปี เนื่องจากกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มากและตัวเลขล่าสุดเดือนต.ค.ที่จะประกาศในวันที่ 29 พ.ย.นี้อ่อนแอลง จึงเห็นว่าขณะนี้ความเสี่ยงการขยายตัวเศรษฐกิจมากกว่าความเสี่ยงเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพการเงิน
“กนง.มีความเป็นห่วงการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้อาจจะชะลอตัวค่อนข้างมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ พบว่า ความเสี่ยงด้านราคาและการเงินในระยะสั้นลดลงมากไม่ว่าจะเป็นความห่วงใยเรื่องหนี้ครัวเรือนปรับตัวทิศทางเหมาะสมขึ้น เพราะการขยายตัวสินเชื่อชะลอลงตามทิศทางเศรษฐกิจ ภาคอสังหาริมทรัพย์ลดร้อนแรงได้ระดับหนึ่ง ทำให้นโยบายการเงินสามารถมีพื้นที่ในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ฉะนั้น นโยบายการเงินไม่มีขาวดำชัดเจนต้องชั่งน้ำหนักปัจจัยต่างๆ”
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางการเมืองอย่างเดียว แต่ยอมรับเป็นปัจจัยหนึ่งจากหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบกัน และว่าในที่ประชุมไม่ได้กำชับเรื่องการเมืองอะไรพิเศษ ส่วนอีก 1 เสียงของกรรมการที่เห็นต่างมองว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ซึ่งปัจจุบันนโยบายมีการผ่อนปรนเหมาะสมอยู่แล้ว จึงห่วงว่าถ้าลดดอกเบี้ยลงอีกจะมีผลการออมระยะยาวด้วย ซึ่งลดดอกเบี้ยลง 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยอยู่ระดับใกล้เคียงกับ 0% แสดงถึงความผ่อนปรนนโยบายการเงินที่ต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยและลดความเสี่ยงเศรษฐกิจ
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะขาขึ้น ลง หรือนิ่งยังตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลใหม่ที่เข้ามาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยนั้นๆ เป็นสำคัญ และการผ่อนคลายดอกเบี้ยในครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวและยืนยันว่าลดดอกเบี้ยไม่ใช่ทดแทนแรงกระตุ้นภาคการคลังลดลง
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้ลดลงเหลือ 3% จากเดิม 3.7% และคาดว่าปีหน้ากว่า 4% เล็กน้อย จากเดิมประเมินไว้ 4.8% ถือว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยมีความหวัง แต่ปีหน้าเศรษฐกิจจะทยอยดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ การปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้เหลือ 3% ยังไม่พิจารณาผลกระทบเหตุการณ์ทางการเมือง เพราะความไม่แน่นอนสูงอยู่ จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ฉะนั้น การปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจเกิดจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและการวิเคราะห์ปัจจัยแนวโน้มต่างๆ
ขณะนี้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากจากการลงทุนและการใช้จ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน การส่งออกยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ในระยะต่อไปเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งความล่าช้าและการเบิกจ่ายน้อยกว่าเดิมในแง่การลงทุนของรัฐ ความเชื่อมั่นภาคเอกชนเปราะบางจากความไม่สงบทางการเมือง ส่วนภาคการส่งออกอาจจะไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก เพราะสินค้าส่งออกไม่ใช่กระแสสินค้าโลกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
การลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จะส่งผ่านเศรษฐกิจจริงหลายช่องทางทั้งดอกเบี้ยตลาดการเงิน ดอกเบี้ยตราสารหนี้ ราคาสินทรัพย์ในตลาดด้วย ส่วนการส่งผ่านดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชย์ในการประเมินภาวะข้างหน้าจะเป็นอย่างไรไม่ว่าจะเป็นความต้องการสินเชื่อ ความเพียงพอสภาพคล่อง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นไปตามกลไกตลาดที่เกิดขึ้น และการลดดอกเบี้ยจะช่วยลดความร้อนแรงของเงินทุนเคลื่อนย้ายได้อัตโนมัติ อีกทั้งธปท.เองมีเครื่องมือในการดูแลความผันผวน โดยเฉพาะกรณีที่เกิดความผันผวนมากจนกระทบภาคเศรษฐกิจจริง รวมถึงขณะนี้ไทยมีเงินทุนสำรองเพียงพอรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ด กนง.ครั้งที่ 8 ถือเป็นครั้งสุดท้ายของปี 56 ได้เปลี่ยนที่ประชุมเป็นโรงพิมพ์ธนบัตรของธปท.พุทธมณฑล สาย 7 แทนการประชุมสำนักงานใหญ่ของ ธปท.ที่บางขุนพรหม อีกทั้งในวันเดียวกันก็มีการจัดการประชุมคณะกรรมการ ธปท. (กกธ.) หรือบอร์ดแบงก์ชาติในช่วงเวลาบ่ายเช่นกัน โดยกรรมการนั่งในบอร์ด กนง.และบอร์ดแบงก์ชาติประกอบด้วย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ นางทองอุไร ลิ้มปิติ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ นายศิริ การเจริญดี.