ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยแค่ไตรมาสเดียวภาคธุรกิจมีปริมาณหนี้เสียเพิ่มขึ้น 2.43 พันล้านบาท ซึ่งหนี้เพิ่มขึ้น 5 ไตรมาสติดต่อกัน เฉพาะตัวธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีหนี้เพิ่มขึ้น 5.24 พันล้านบาท
มากสุดในระบบ ทั้งลูกหนี้รายใหม่และลูกหนี้กลุ่มรี-เอ็นทรีกลับมาเพิ่มหนี้ เฉพาะลูกหนี้กลุ่มรี-เอ็นทรีก่อตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากสุดในระบบ 1.55 พันล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศข้อมูลยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ทั้งระบบจำแนกตามประเภทธุรกิจล่าสุดไตรมาส 3 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมียอดคงค้างเอ็น
พีแอลทั้งสิ้น 2.66 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.22%ของสินเชื่อรวม จากไตรมาสก่อนที่มียอดคงค้างเอ็นพีแอล 2.64 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.20%ของสินเชื่อรวมแม้เอ็นพีแอลในระบบมีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม
เพิ่มขึ้นไม่มากนัก 0.02% แต่ในแง่ของปริมาณเพิ่มขึ้น 2,431 ล้านบาทภายในไตรมาสเดียว ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมานับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี55
เมื่อพิจารณาในแต่ละภาคธุรกิจ พบว่า ปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น อันดับแรกธุรกิจเกี่ยวกับอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 5,237 ล้านบาท อันดับสองธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 910 ล้านบาท
อันดับสามธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 821 ล้านบาท นอกจากนี้ธุรกิจการเกษตร ป่าไม้ และประมงมีปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 387 ล้านบาท ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 176 ล้านบาท และธุรกิจเหมืองแร่และเหมือง
หินมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 75 ล้านบาท
ขณะเดียวกันธุรกิจการผลิตมียอดเอ็นพีแอลลดลงมากที่สุด 3.53 พันล้านบาท ซึ่งปัจจุบันที่มียอดคงค้างอยู่ในระบบมากที่สุด 8.17 หมื่นล้านบาท หรือมีเอ็นพีแอลคิดเป็น 3.89% ธุรกิจบริการ 1.18 พันล้านบาท
กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 302 ล้านบาท สาธารณูปโภคและการขนส่ง 130 ล้านบาท และธุรกิจอื่นๆ มีเอ็นพีแอลลดลง 33 ล้านบาท
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เพราะแม้ธุรกิจนี้จะพยายามปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น แต่มีหลากหลายสาเหตุให้หนี้เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้น
ลูกหนี้ขอปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้ใหม่อีกครั้ง(รี-เอ็นทรี)เพิ่มขึ้น เป็นต้น โดยในไตรมาสนี้ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีลูกหนี้รายใหม่ ลูกหนี้กลุ่มรี-เอ็นทรี และสาเหตุอื่นๆ ที่มีผลให้หนี้เพิ่มขึ้น 530 ล้าน
บาท 275 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับวิธีการอื่นๆ ที่ภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเลือกใช้ให้หนี้ลดลง อาทิ กรณีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่โอนเป็นหนี้ปกติ หรือใช้วิธีโอนหนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงวิธีการตัดหนี้สูญของหนี้ที่มหสิทธิ
เรียกร้อง การขายหนี้เสีย เป็นต้น วิธีเหล่านี้ทำน้อยลง 2.36 พันล้านบาท แม้ธุรกิจนี้จะพยายามปรับโครงสร้างหนี้ได้เพิ่มขึ้น 440 ล้านบาทก็ตาม
นอกเหนือจากธุรกิจอุปโภคฯ เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวม พบว่า ธุรกิจที่มีเอ็นพีแอลเพิ่มจากลูกหนี้รายใหม่ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างเพิ่มขึ้น 407 ล้านบาท ธุรกิจเกษตร ป่าไม้ และประมง 199 ล้านบาท ธุรกิจการปลิต 53
ล้านบาท รวมทั้งเหมืองแร่และเหมืองหิน 34 ล้านบาท ลูกหนี้ในกลุ่มรี-เอ็นทรีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบ 1.55 พันล้านบาท การผลิต 1.11 พันล้านบาท และธุรกิจ
เกษตร ป่าไม้ ประมง 59 ล้านบาท และธุรกิจสาธารณูปโภคและการขนส่ง 52 ล้านบาท.
มากสุดในระบบ ทั้งลูกหนี้รายใหม่และลูกหนี้กลุ่มรี-เอ็นทรีกลับมาเพิ่มหนี้ เฉพาะลูกหนี้กลุ่มรี-เอ็นทรีก่อตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากสุดในระบบ 1.55 พันล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศข้อมูลยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ทั้งระบบจำแนกตามประเภทธุรกิจล่าสุดไตรมาส 3 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมียอดคงค้างเอ็น
พีแอลทั้งสิ้น 2.66 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.22%ของสินเชื่อรวม จากไตรมาสก่อนที่มียอดคงค้างเอ็นพีแอล 2.64 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.20%ของสินเชื่อรวมแม้เอ็นพีแอลในระบบมีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม
เพิ่มขึ้นไม่มากนัก 0.02% แต่ในแง่ของปริมาณเพิ่มขึ้น 2,431 ล้านบาทภายในไตรมาสเดียว ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมานับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี55
เมื่อพิจารณาในแต่ละภาคธุรกิจ พบว่า ปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น อันดับแรกธุรกิจเกี่ยวกับอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 5,237 ล้านบาท อันดับสองธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 910 ล้านบาท
อันดับสามธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 821 ล้านบาท นอกจากนี้ธุรกิจการเกษตร ป่าไม้ และประมงมีปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 387 ล้านบาท ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 176 ล้านบาท และธุรกิจเหมืองแร่และเหมือง
หินมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 75 ล้านบาท
ขณะเดียวกันธุรกิจการผลิตมียอดเอ็นพีแอลลดลงมากที่สุด 3.53 พันล้านบาท ซึ่งปัจจุบันที่มียอดคงค้างอยู่ในระบบมากที่สุด 8.17 หมื่นล้านบาท หรือมีเอ็นพีแอลคิดเป็น 3.89% ธุรกิจบริการ 1.18 พันล้านบาท
กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 302 ล้านบาท สาธารณูปโภคและการขนส่ง 130 ล้านบาท และธุรกิจอื่นๆ มีเอ็นพีแอลลดลง 33 ล้านบาท
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เพราะแม้ธุรกิจนี้จะพยายามปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น แต่มีหลากหลายสาเหตุให้หนี้เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้น
ลูกหนี้ขอปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้ใหม่อีกครั้ง(รี-เอ็นทรี)เพิ่มขึ้น เป็นต้น โดยในไตรมาสนี้ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีลูกหนี้รายใหม่ ลูกหนี้กลุ่มรี-เอ็นทรี และสาเหตุอื่นๆ ที่มีผลให้หนี้เพิ่มขึ้น 530 ล้าน
บาท 275 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับวิธีการอื่นๆ ที่ภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเลือกใช้ให้หนี้ลดลง อาทิ กรณีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่โอนเป็นหนี้ปกติ หรือใช้วิธีโอนหนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงวิธีการตัดหนี้สูญของหนี้ที่มหสิทธิ
เรียกร้อง การขายหนี้เสีย เป็นต้น วิธีเหล่านี้ทำน้อยลง 2.36 พันล้านบาท แม้ธุรกิจนี้จะพยายามปรับโครงสร้างหนี้ได้เพิ่มขึ้น 440 ล้านบาทก็ตาม
นอกเหนือจากธุรกิจอุปโภคฯ เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวม พบว่า ธุรกิจที่มีเอ็นพีแอลเพิ่มจากลูกหนี้รายใหม่ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างเพิ่มขึ้น 407 ล้านบาท ธุรกิจเกษตร ป่าไม้ และประมง 199 ล้านบาท ธุรกิจการปลิต 53
ล้านบาท รวมทั้งเหมืองแร่และเหมืองหิน 34 ล้านบาท ลูกหนี้ในกลุ่มรี-เอ็นทรีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบ 1.55 พันล้านบาท การผลิต 1.11 พันล้านบาท และธุรกิจ
เกษตร ป่าไม้ ประมง 59 ล้านบาท และธุรกิจสาธารณูปโภคและการขนส่ง 52 ล้านบาท.