ASTVผู้จัดการรายวัน-"คำนูณ" เผยคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ สอนประชาธิปไตยที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ใช่ใช้วิธีพวกมากลากไป สร้างระบอบเผด็จการรัฐสภา "ปานเทพ" เผยแม้ยุบพรรคไม่ได้ แต่สามารถเอาผิด 312 ส.ส. และ ส.ว. ได้ ผ่านทางป.ป.ช. หรือฟ้องศาลอาญาโดยตรง "ทนายสุวัตร" ลั่นพร้อมเป็นทนายฟ้องคดีให้
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาในคดีที่ ส.ส. และ ส.ว. 312 คนลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ว่า คำพิพากษาที่ออกมาชี้ให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องควรจะต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง หลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรค 2 คืออะไร และการกระทำของเสียงข้างมากที่มีลักษณะขัดกันแห่งผลประโยชน์คืออะไร โดยองค์รวมของคำพิพากษาเสมือนจะบรรยายให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าระบอบเผด็จการของเสียงข้างมากหรือระบอบเผด็จการรัฐสภาคืออะไร ซึ่งศาลเห็นว่าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ทั้งนี้ ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงแม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง มีเสียงข้างมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่ากระทำการตามอำเภอใจ กดขี่เสียงข้างน้อย ปิดปากเสียงข้างน้อยโดยที่ไม่รับฟังอะไรเลย โดยภาพรวมศาลบรรยายความหมายของระบอบประชาธิปไตยที่จำเป็นต้องกำกับด้วยหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจนมาก
ส่วนคำวินิจฉัยที่เฉพาะตัวคดีนี้ ศาลอธิบายว่าผิดทั้งกระบวนการ ผิดทั้งเนื้อหา โดยด้านกระบวนการตั้งแต่การปลอมร่างรัฐธรรมนูญ การตัดสิทธิ์ผู้แปรญัตติ การกำหนดวันย้อนหลัง การกดบัตรแทนกัน ซึ่งถือว่าผิดหมด และศาลใช้คำที่หนักหนาสาหัสและร้ายแรง ทุจริต
สำหรับด้านเนื้อหา ชัดเจนว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง แน่นอนที่สุด เพียงแต่ว่านี่คือสิ่งที่ศาลชี้ ส่วนกระบวนการจากนี้ไป ก็คือ ถ้าไปอ่านมาตรา 68 เท่ากับว่าเป็นการชี้สิ่งที่กระทำครั้งนี้ ในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าผิดอย่างไร ส่วนที่ว่าผู้กระทำความผิดนั้นจะต้องได้รับโทษอย่างไร ก็ต้องเป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการดำเนินคดีทางอาญา ซึ่งการดำเนินคดีทางอาญาจะไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไปศาลอาญา ก็ไปได้หลายทาง แต่ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นชัดเจน และรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้า มีผลผูกพันทุกองค์กร สมมติว่ามีคดีในศาลใด มีคดีใน ป.ป.ช. คำวินิจฉัยอันนี้แทบไม่ต้องไต่สวนอะไรอีกแล้ว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า คำวินิจฉัยครั้งนี้ถือเป็นคำวินิจฉัยที่เป็นประวัติศาสตร์ อธิบายคำว่าเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งหรือเผด็จการรัฐสภาว่าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยจะชนะแค่การเลือกตั้ง แต่ศาลได้ย้ำคำว่านิติธรรมหลายครั้งมาก ย้ำถึงความชอบธรรมในการบริหารโดยเสียงข้างมาก ที่ไม่ใช่ลุแก่อำนาจ ทำทุกอย่างตามอำเภอใจ กลั่นแกล้งเสียงข้างน้อย หรือไปดำเนินการยึดอำนาจทุกอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดการถ่วงดุลตรวจสอบได้ ถือเป็นคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่สวยงาม งดงามที่สุด และควรจะเผยแพร่ให้ประชาชนให้รับรู้กว้างที่สุดเท่าที่จะกว้างได้
ทั้งนี้ เมื่อตัดสินแล้ว ก็มีอยู่หลายทางเลือก คือ 1.ให้ยกเลิกการกระทำ แต่ศาลก็ไม่ตัดสินให้ยกเลิกการกระทำ ศาลบอกแค่ว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะขั้นตอนกระบวนการเสร็จสิ้นกระบวนการทางรัฐสภา ไม่สามารถสั่งให้สมาชิกรัฐสภา 312 คนหยุดการกระทำได้แล้ว เพราะอยู่ระหว่างการทูลเกล้าฯ แต่ได้ชี้ชัดว่าขัดรัฐธรรมนูญ 2.ศาลเห็นว่าขั้นตอนทั้งหลายก็ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง เพราะถือว่าสมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คนนั้น พยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ อันนี้อันตราย เพราะโทษอันตรายอย่างมาก ถือว่ามีการทุจริต มีการฉ้อฉล ศาลก็เห็นว่าถ้าจะทำอย่างนี้เมื่อสั่งให้เลิกการกระทำไม่ได้ จะสั่งให้ใครทำตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปกติศาลต้องสั่งให้พรรคการเมืองหยุดการกระทำ และสามารถยุบพรรคได้ ถ้ายุบพรรคได้ก็จะเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรคได้ ซึ่งญัตติครั้งนี้มี ส.ว. ปนด้วย ซึ่งไม่สังกัดพรรคการเมือง และไม่สามารถจะชี้ชัดได้ว่าเป็นมติพรรค เนื่องจากเป็นมติของรัฐสภา เพราะฉะนั้นศาลทำได้แค่สูงสุด ก็คือบอกว่ามันขัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่สามารถจะไปถึงขั้นยุบพรรค เมื่อยุบพรรคไม่ได้ รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ก็บัญญัติไว้อีกว่าเมื่อยุบพรรคแล้วให้เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดด้วย ดังนั้น เมื่อยุบพรรคไม่ได้ ก็เลยเพิกถอนทั้งหมดไม่ได้ แต่โทษทางอาญาไม่หายไปไหน
"สามารถสานต่อได้โดยสมาชิกรัฐสภา 312 คนต้องถูกดำเนินคดีอาญาอย่างแน่นอน ไม่ฟ้องต่อศาลอาญาโดยตรง ก็เป็นการฟ้องผ่าน ป.ป.ช. ซึ่งข้อดีของ ป.ป.ช. คือ เมื่อชี้มูลความผิดแล้ว ทั้งหมดต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินอีกที ก็คือถูกบทลงโทษทางอาญาทันที นี่คือหนทางสั้นที่สุด แต่ข้อเสียคือ ป.ป.ช. คดีเยอะมาก อีกวิธีหนึ่งที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความเสนอ คือ ยื่นศาลอาญาดำเนินคดีความ คือ ฟ้องตรงในฐานะที่คิดจะมาเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ หรือว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรืออื่นใด ดำเนินคดีอาญาฟ้องตรง ข้อดีคือดำเนินคดีความโดยทุกคน เป็นปัจเจกบุคคลฟ้องได้หมดทั้งประเทศ ใครก็ได้ ศาลไหนก็ได้ แล้วดูว่าจะสู้ได้ยังไง ข้อแรกเลยคือต้องไปขึ้นทุกศาลเลย แต่ข้อเสียก็มี ก็คือ ต้องเสียเวลาในชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ก็อาจจะเป็นอีก 10 ปี หรืออีกนานกว่านั้น ซึ่งก็อาจจะไม่ทันการณ์กับวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้ เพราะฉะนั้นทุกทางที่ทำได้ ทำหมด ก็ถือว่าคำวินิจฉัยครั้งนี้สุดซอยแล้ว เท่าที่ศาลจะพอทำได้ ไม่มีอะไรไปไกลกว่านี้ได้แล้ว ที่คาดหวังกันก่อนหน้านี้เป็นการคาดหวังที่ศาลทำไม่ได้เท่านั้นเอง” นายปานเทพ กล่าว
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในเรื่องนี้ว่า พิสูจน์ให้เห็นว่าฝั่งรัฐบาลแพ้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเสียบบัตรแทนกันหรืออื่นๆ แต่ส่วนที่คำวินิจฉัยไปไม่ถึงหรือไปไม่สุดซอย ก็คือ เป็นส่วนที่เกี่ยวโยงกับกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม ซึ่งการดำเนินการในขั้นต่อไป ต้องดำเนินการฟ้องร้องไปที่ศาลอาญา โดยไม่ควรไปยื่นต่อป.ป.ช. ซึ่งจะเกิดความล่าช้าอย่างมาก
"สิ่งที่ศาลไปไม่สุด ส่วนนั้นเป็นส่วนของมาตรา 157 มันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นสำคัญที่ต่อไปจากนี้ คือ เราต้องเอาคำพิพากษาของส่วนนี้ฟ้องไปที่ศาลยุติธรรม ซึ่งฟ้องไปยังศาลอาญาได้เลยว่าทุกคนต้องรับโทษ ใครที่ลงมติไว้ ใครที่เสียบบัตรแทนกัน ใครที่ทำการอะไรต่างๆ เพราะไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยได้ ณ บัดนี้ สามารถยื่นได้เลย ฟ้องตรงได้เลย ไม่มีบทบัญญัติใดเลยว่าจะต้องไปผ่าน ป.ป.ช. ในเมื่อมาตรา 68 ไปศาลรัฐธรรมนูญได้ เรื่องนี้ก็สามารถไปที่ศาลอาญาได้เลย"นายสุวัตรกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ตนเป็นทนายฟ้องในคดีนี้ ตนก็ยินดี โดยเฉพาะหากให้นายคมสัน โพธิ์คง ซึ่งมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญก็น่าจะยิ่งมีน้ำหนัก
ขณะที่นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ความจริงแล้วบรรดาสมาชิกรัฐสภาทั้งหลายต้องขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว เพราะตอนปฏิญาณว่าตนจะยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้วศาลชี้ว่าคุณล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คุณขาดคุณสมบัติไปแล้ว การเป็นสมาชิกรัฐสภา ถ้าพูดในเชิงวินิจฉัยไปในแง่ตัวบุคคล ให้ใครไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วินิจฉัยคุณสมบัติบรรดาสมาชิกรัฐสภา 312 คน เพราะว่าไปเข้าข่ายมาตรา 90 และ 91 ของรัฐธรรมนูญ
ส่วนนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมานี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ต้องรับผิดชอบในฐานะที่นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่ดีขึ้นทูลเกล้าฯ โดยอ้างว่าทำตามรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่มีเวลาอีก 20 วัน กลับตาลีตาเหลือกทูลเกล้าฯ ตั้งแต่วันแรก ทั้งๆ ที่การกระทำของสมาชิกรัฐสภา 312 คนเป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ซึ่ง ป.ป.ช. ต้องไต่สวน ส่วนการแถลงข่าวไม่ยอมรับอำนาจศาลนั้น ก็ต้องถูกดำเนินคดีอีกข้อหาหนึ่ง หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ และ ป.ป.ช. ชี้มูลตั้งอนุกรรมการหรือใช้คณะ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ไต่สวนเสร็จ หากมีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 312 คน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาในคดีที่ ส.ส. และ ส.ว. 312 คนลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ว่า คำพิพากษาที่ออกมาชี้ให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องควรจะต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง หลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรค 2 คืออะไร และการกระทำของเสียงข้างมากที่มีลักษณะขัดกันแห่งผลประโยชน์คืออะไร โดยองค์รวมของคำพิพากษาเสมือนจะบรรยายให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าระบอบเผด็จการของเสียงข้างมากหรือระบอบเผด็จการรัฐสภาคืออะไร ซึ่งศาลเห็นว่าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ทั้งนี้ ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงแม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง มีเสียงข้างมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่ากระทำการตามอำเภอใจ กดขี่เสียงข้างน้อย ปิดปากเสียงข้างน้อยโดยที่ไม่รับฟังอะไรเลย โดยภาพรวมศาลบรรยายความหมายของระบอบประชาธิปไตยที่จำเป็นต้องกำกับด้วยหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจนมาก
ส่วนคำวินิจฉัยที่เฉพาะตัวคดีนี้ ศาลอธิบายว่าผิดทั้งกระบวนการ ผิดทั้งเนื้อหา โดยด้านกระบวนการตั้งแต่การปลอมร่างรัฐธรรมนูญ การตัดสิทธิ์ผู้แปรญัตติ การกำหนดวันย้อนหลัง การกดบัตรแทนกัน ซึ่งถือว่าผิดหมด และศาลใช้คำที่หนักหนาสาหัสและร้ายแรง ทุจริต
สำหรับด้านเนื้อหา ชัดเจนว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง แน่นอนที่สุด เพียงแต่ว่านี่คือสิ่งที่ศาลชี้ ส่วนกระบวนการจากนี้ไป ก็คือ ถ้าไปอ่านมาตรา 68 เท่ากับว่าเป็นการชี้สิ่งที่กระทำครั้งนี้ ในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าผิดอย่างไร ส่วนที่ว่าผู้กระทำความผิดนั้นจะต้องได้รับโทษอย่างไร ก็ต้องเป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการดำเนินคดีทางอาญา ซึ่งการดำเนินคดีทางอาญาจะไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไปศาลอาญา ก็ไปได้หลายทาง แต่ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นชัดเจน และรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้า มีผลผูกพันทุกองค์กร สมมติว่ามีคดีในศาลใด มีคดีใน ป.ป.ช. คำวินิจฉัยอันนี้แทบไม่ต้องไต่สวนอะไรอีกแล้ว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า คำวินิจฉัยครั้งนี้ถือเป็นคำวินิจฉัยที่เป็นประวัติศาสตร์ อธิบายคำว่าเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งหรือเผด็จการรัฐสภาว่าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยจะชนะแค่การเลือกตั้ง แต่ศาลได้ย้ำคำว่านิติธรรมหลายครั้งมาก ย้ำถึงความชอบธรรมในการบริหารโดยเสียงข้างมาก ที่ไม่ใช่ลุแก่อำนาจ ทำทุกอย่างตามอำเภอใจ กลั่นแกล้งเสียงข้างน้อย หรือไปดำเนินการยึดอำนาจทุกอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดการถ่วงดุลตรวจสอบได้ ถือเป็นคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่สวยงาม งดงามที่สุด และควรจะเผยแพร่ให้ประชาชนให้รับรู้กว้างที่สุดเท่าที่จะกว้างได้
ทั้งนี้ เมื่อตัดสินแล้ว ก็มีอยู่หลายทางเลือก คือ 1.ให้ยกเลิกการกระทำ แต่ศาลก็ไม่ตัดสินให้ยกเลิกการกระทำ ศาลบอกแค่ว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะขั้นตอนกระบวนการเสร็จสิ้นกระบวนการทางรัฐสภา ไม่สามารถสั่งให้สมาชิกรัฐสภา 312 คนหยุดการกระทำได้แล้ว เพราะอยู่ระหว่างการทูลเกล้าฯ แต่ได้ชี้ชัดว่าขัดรัฐธรรมนูญ 2.ศาลเห็นว่าขั้นตอนทั้งหลายก็ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง เพราะถือว่าสมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คนนั้น พยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ อันนี้อันตราย เพราะโทษอันตรายอย่างมาก ถือว่ามีการทุจริต มีการฉ้อฉล ศาลก็เห็นว่าถ้าจะทำอย่างนี้เมื่อสั่งให้เลิกการกระทำไม่ได้ จะสั่งให้ใครทำตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปกติศาลต้องสั่งให้พรรคการเมืองหยุดการกระทำ และสามารถยุบพรรคได้ ถ้ายุบพรรคได้ก็จะเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรคได้ ซึ่งญัตติครั้งนี้มี ส.ว. ปนด้วย ซึ่งไม่สังกัดพรรคการเมือง และไม่สามารถจะชี้ชัดได้ว่าเป็นมติพรรค เนื่องจากเป็นมติของรัฐสภา เพราะฉะนั้นศาลทำได้แค่สูงสุด ก็คือบอกว่ามันขัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่สามารถจะไปถึงขั้นยุบพรรค เมื่อยุบพรรคไม่ได้ รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ก็บัญญัติไว้อีกว่าเมื่อยุบพรรคแล้วให้เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดด้วย ดังนั้น เมื่อยุบพรรคไม่ได้ ก็เลยเพิกถอนทั้งหมดไม่ได้ แต่โทษทางอาญาไม่หายไปไหน
"สามารถสานต่อได้โดยสมาชิกรัฐสภา 312 คนต้องถูกดำเนินคดีอาญาอย่างแน่นอน ไม่ฟ้องต่อศาลอาญาโดยตรง ก็เป็นการฟ้องผ่าน ป.ป.ช. ซึ่งข้อดีของ ป.ป.ช. คือ เมื่อชี้มูลความผิดแล้ว ทั้งหมดต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินอีกที ก็คือถูกบทลงโทษทางอาญาทันที นี่คือหนทางสั้นที่สุด แต่ข้อเสียคือ ป.ป.ช. คดีเยอะมาก อีกวิธีหนึ่งที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความเสนอ คือ ยื่นศาลอาญาดำเนินคดีความ คือ ฟ้องตรงในฐานะที่คิดจะมาเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ หรือว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรืออื่นใด ดำเนินคดีอาญาฟ้องตรง ข้อดีคือดำเนินคดีความโดยทุกคน เป็นปัจเจกบุคคลฟ้องได้หมดทั้งประเทศ ใครก็ได้ ศาลไหนก็ได้ แล้วดูว่าจะสู้ได้ยังไง ข้อแรกเลยคือต้องไปขึ้นทุกศาลเลย แต่ข้อเสียก็มี ก็คือ ต้องเสียเวลาในชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ก็อาจจะเป็นอีก 10 ปี หรืออีกนานกว่านั้น ซึ่งก็อาจจะไม่ทันการณ์กับวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้ เพราะฉะนั้นทุกทางที่ทำได้ ทำหมด ก็ถือว่าคำวินิจฉัยครั้งนี้สุดซอยแล้ว เท่าที่ศาลจะพอทำได้ ไม่มีอะไรไปไกลกว่านี้ได้แล้ว ที่คาดหวังกันก่อนหน้านี้เป็นการคาดหวังที่ศาลทำไม่ได้เท่านั้นเอง” นายปานเทพ กล่าว
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในเรื่องนี้ว่า พิสูจน์ให้เห็นว่าฝั่งรัฐบาลแพ้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเสียบบัตรแทนกันหรืออื่นๆ แต่ส่วนที่คำวินิจฉัยไปไม่ถึงหรือไปไม่สุดซอย ก็คือ เป็นส่วนที่เกี่ยวโยงกับกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม ซึ่งการดำเนินการในขั้นต่อไป ต้องดำเนินการฟ้องร้องไปที่ศาลอาญา โดยไม่ควรไปยื่นต่อป.ป.ช. ซึ่งจะเกิดความล่าช้าอย่างมาก
"สิ่งที่ศาลไปไม่สุด ส่วนนั้นเป็นส่วนของมาตรา 157 มันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นสำคัญที่ต่อไปจากนี้ คือ เราต้องเอาคำพิพากษาของส่วนนี้ฟ้องไปที่ศาลยุติธรรม ซึ่งฟ้องไปยังศาลอาญาได้เลยว่าทุกคนต้องรับโทษ ใครที่ลงมติไว้ ใครที่เสียบบัตรแทนกัน ใครที่ทำการอะไรต่างๆ เพราะไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยได้ ณ บัดนี้ สามารถยื่นได้เลย ฟ้องตรงได้เลย ไม่มีบทบัญญัติใดเลยว่าจะต้องไปผ่าน ป.ป.ช. ในเมื่อมาตรา 68 ไปศาลรัฐธรรมนูญได้ เรื่องนี้ก็สามารถไปที่ศาลอาญาได้เลย"นายสุวัตรกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ตนเป็นทนายฟ้องในคดีนี้ ตนก็ยินดี โดยเฉพาะหากให้นายคมสัน โพธิ์คง ซึ่งมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญก็น่าจะยิ่งมีน้ำหนัก
ขณะที่นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ความจริงแล้วบรรดาสมาชิกรัฐสภาทั้งหลายต้องขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว เพราะตอนปฏิญาณว่าตนจะยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้วศาลชี้ว่าคุณล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คุณขาดคุณสมบัติไปแล้ว การเป็นสมาชิกรัฐสภา ถ้าพูดในเชิงวินิจฉัยไปในแง่ตัวบุคคล ให้ใครไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วินิจฉัยคุณสมบัติบรรดาสมาชิกรัฐสภา 312 คน เพราะว่าไปเข้าข่ายมาตรา 90 และ 91 ของรัฐธรรมนูญ
ส่วนนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมานี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ต้องรับผิดชอบในฐานะที่นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่ดีขึ้นทูลเกล้าฯ โดยอ้างว่าทำตามรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่มีเวลาอีก 20 วัน กลับตาลีตาเหลือกทูลเกล้าฯ ตั้งแต่วันแรก ทั้งๆ ที่การกระทำของสมาชิกรัฐสภา 312 คนเป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ซึ่ง ป.ป.ช. ต้องไต่สวน ส่วนการแถลงข่าวไม่ยอมรับอำนาจศาลนั้น ก็ต้องถูกดำเนินคดีอีกข้อหาหนึ่ง หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ และ ป.ป.ช. ชี้มูลตั้งอนุกรรมการหรือใช้คณะ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ไต่สวนเสร็จ หากมีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 312 คน