ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังออกพันธบัตรกู้เงิน 7.5 หมื่นล้านให้ ธ.ก.ส.ใช้รับจำนำข้าวรอบใหม่ หลังชาวนาเริ่มนำข้าวเข้าโครงการแล้วแต่รอเงินเก้อ คาดเงินถึงมือชาวนาครบต้นเดือนธันวาคมนี้ พร้อมปรับโครงสร้างเงินกู้เดิมหันออกซีรี่บอนด์จำนำข้าวใหม่ทั้งหมด 1.8 แสนล้าน
นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้ รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังเตรียมออกพันธบัตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย อายุพันธบัตร 3 ปี วงเงิน 75,000 ล้านบาท โดยจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความสนใจของตลาดในวันที่ 25 พ.ย.นี้ และเปิดให้นักลงทุนสถาบันและรายใหญ่จองในวันที่ 27-28 พ.ย.นี้ ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวถือว่ามีเครดิตเทียบเท่าพันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยจึงน่าจะอยู่ที่ 3% หรือไม่เกิน 3.9% โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการกู้ยืมเพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าวปีการผลิต 2556/2557 ที่กำหนดวงเงิน 2.7 แสนล้านบาทและเป็นการกู้ยืมเงิน 1.4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ การกู้ยืมเพื่อใช้หมุนเวียนในโครงการจำนำข้าวจะต้องดูแลให้อยู่ภายใต้กรอบ 4.1 แสนล้านบาท โดยขณะนี้สามารถกู้ยืมใหม่ได้เนื่องจากมีเงินเข้ามาใช้หนี้ 1.05 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินส่วนที่เหลือก็จะใช้วิธีกู้ยืมจากสถาบันการเงินโดยเป็นเงินกู้แบบเทอมโลนและน่าจะดำเนินการในระยะเวลาใกล้เคียงกันโดยคาดว่าเงินแสนล้านบาทที่กู้ยืมน่าจะเพียงพอไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมปีนี้
อย่างไรก็ตามหากพันธบัตร ธ.ก.ส.ที่ระดมทุนเพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าวครั้งนี้ไม่ได้รับความสนใจ ทางสบน.ก็ได้เตรียมแผนสำรองไว้แล้วโดยจะใช้วิธีการกู้ยืมจากสถาบันการเงินแทน ซึ่งอาจมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเล็กน้อยแต่ดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการเบิกเงินจากสถาบันการเงินนั้นๆ นอกจากนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่เปลี่ยนรูปแบบของพันบัตรธ.ก.ส.เดิมมาเป็นรุ่นใหม่หรือเรียกว่า GGLB ด้วยแยกระหว่างพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจออกจากกันและให้มีความชัดเจนว่าเป็นพันธบัตรที่ใช้ในโครงการจำนำข้าว
นายสุวิชญ กล่าวว่าทางสบน.จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักลงทุนสถาบัน มาชี้แจงทำความเข้าใจถึงการออกพันธบัตรธ.ก.ส.ในครั้งนี้ โดยจะมีสถาบันการเงินของไทยและต่างชาติ 7 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย กสิกรไทย ซีเอเอ็มบีไทย แสตนดาร์ดชาร์ตเตอร์ด (ไทย) ดอยซ์แบงก์ เอจี ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตร และในอนาคตก็จะทยอยปรับจากพันธบัตรธ.ก.ส.รุ่นเดิมเป็นรุ่นใหม่ให้ครบทั้ง 1.8 แสนล้านบาทที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเน้นรุ่นอายุ 3 ปีเป็นหลัก ซึ่งนอกจากจะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ลดต้นทุนและลดความเสี่ยงในการถือครองแล้วยังช่วยสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดรองตราสารหนี้ด้วยซึ่งนอกจากพันธบัตรของธ.ก.ส.แล้วพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจอื่นๆก็จะนำมาปรับมาเป็นพันธบัตรรูปแบบใหม่ทั้งหมดด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันตราสารหนี้ของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบ มีจำนวน 706,978 ล้านบาท จากรัฐวิสาหกิจ 13 แห่งโดยมีตราสารหนี้นี้มากถึง 522 รุ่น อายุเฉลี่ย 4 ปี 4 เดือน เป็นพันธบัตรของธ.ก.ส.มากสุดวงเงิน 205,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินกู้ทั้งหมด 410,000 ล้านบาท ซึ่งการกู้เงินให้ธ.ก.ส.ที่ผ่านมามีวิธีการหลากหลาย และการกู้เงินครั้งนี้ไม่ได้เป็นวงเงินกู้ใหม่แต่เป็นการกู้เพื่อหมุนเวียนใช้ในโครงการต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีเงินจากการขายข้าวเหลือมากพอที่จะชำระหนี้คืน.
นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้ รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังเตรียมออกพันธบัตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย อายุพันธบัตร 3 ปี วงเงิน 75,000 ล้านบาท โดยจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความสนใจของตลาดในวันที่ 25 พ.ย.นี้ และเปิดให้นักลงทุนสถาบันและรายใหญ่จองในวันที่ 27-28 พ.ย.นี้ ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวถือว่ามีเครดิตเทียบเท่าพันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยจึงน่าจะอยู่ที่ 3% หรือไม่เกิน 3.9% โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการกู้ยืมเพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าวปีการผลิต 2556/2557 ที่กำหนดวงเงิน 2.7 แสนล้านบาทและเป็นการกู้ยืมเงิน 1.4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ การกู้ยืมเพื่อใช้หมุนเวียนในโครงการจำนำข้าวจะต้องดูแลให้อยู่ภายใต้กรอบ 4.1 แสนล้านบาท โดยขณะนี้สามารถกู้ยืมใหม่ได้เนื่องจากมีเงินเข้ามาใช้หนี้ 1.05 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินส่วนที่เหลือก็จะใช้วิธีกู้ยืมจากสถาบันการเงินโดยเป็นเงินกู้แบบเทอมโลนและน่าจะดำเนินการในระยะเวลาใกล้เคียงกันโดยคาดว่าเงินแสนล้านบาทที่กู้ยืมน่าจะเพียงพอไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมปีนี้
อย่างไรก็ตามหากพันธบัตร ธ.ก.ส.ที่ระดมทุนเพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าวครั้งนี้ไม่ได้รับความสนใจ ทางสบน.ก็ได้เตรียมแผนสำรองไว้แล้วโดยจะใช้วิธีการกู้ยืมจากสถาบันการเงินแทน ซึ่งอาจมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเล็กน้อยแต่ดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการเบิกเงินจากสถาบันการเงินนั้นๆ นอกจากนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่เปลี่ยนรูปแบบของพันบัตรธ.ก.ส.เดิมมาเป็นรุ่นใหม่หรือเรียกว่า GGLB ด้วยแยกระหว่างพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจออกจากกันและให้มีความชัดเจนว่าเป็นพันธบัตรที่ใช้ในโครงการจำนำข้าว
นายสุวิชญ กล่าวว่าทางสบน.จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักลงทุนสถาบัน มาชี้แจงทำความเข้าใจถึงการออกพันธบัตรธ.ก.ส.ในครั้งนี้ โดยจะมีสถาบันการเงินของไทยและต่างชาติ 7 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย กสิกรไทย ซีเอเอ็มบีไทย แสตนดาร์ดชาร์ตเตอร์ด (ไทย) ดอยซ์แบงก์ เอจี ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตร และในอนาคตก็จะทยอยปรับจากพันธบัตรธ.ก.ส.รุ่นเดิมเป็นรุ่นใหม่ให้ครบทั้ง 1.8 แสนล้านบาทที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเน้นรุ่นอายุ 3 ปีเป็นหลัก ซึ่งนอกจากจะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ลดต้นทุนและลดความเสี่ยงในการถือครองแล้วยังช่วยสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดรองตราสารหนี้ด้วยซึ่งนอกจากพันธบัตรของธ.ก.ส.แล้วพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจอื่นๆก็จะนำมาปรับมาเป็นพันธบัตรรูปแบบใหม่ทั้งหมดด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันตราสารหนี้ของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบ มีจำนวน 706,978 ล้านบาท จากรัฐวิสาหกิจ 13 แห่งโดยมีตราสารหนี้นี้มากถึง 522 รุ่น อายุเฉลี่ย 4 ปี 4 เดือน เป็นพันธบัตรของธ.ก.ส.มากสุดวงเงิน 205,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินกู้ทั้งหมด 410,000 ล้านบาท ซึ่งการกู้เงินให้ธ.ก.ส.ที่ผ่านมามีวิธีการหลากหลาย และการกู้เงินครั้งนี้ไม่ได้เป็นวงเงินกู้ใหม่แต่เป็นการกู้เพื่อหมุนเวียนใช้ในโครงการต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีเงินจากการขายข้าวเหลือมากพอที่จะชำระหนี้คืน.