“อย่าเชื่อในสิ่งที่เราคิด” ถ้าเราไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดปัจจัย องค์ประกอบต่างๆ ในสิ่งที่เราคาดหวังว่า “ควร” หรือ “ต้อง” เป็นอย่างนั้น เพราะมีเหตุการณ์ หรือความน่าจะเป็น ซึ่งเกี่ยวโยงกับบุคคล โดยที่เราไม่สามารถควบคุมความคิด หรือพฤติกรรมของคนเหล่านั้น
นี่เป็นเรื่องของภาวะหรือเหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งจะเกิดจากนี้ไปซึ่งจะชี้ชะตากรรมของบ้านเมืองว่าจะวุ่นวายมากน้อยเพียงใด และลงเอยเช่นใด โดยบุคคล องค์ประกอบต่างๆ ล้วนแต่อยู่เหนือการคาดคะเน เพราะหลักธรรมชาติของคนโดยทั่วไปเหมือนกัน
เมื่อถึงจุดสุดท้ายทุกคน หรือคนส่วนใหญ่ย่อมคิดถึงผลประโยชน์ของตัวเองเสมอ ดังนั้นความคาดหวัง การคาดหมายว่าบุคคลนั้น มีประวัติความเป็นมาเช่นนั้น น่าจะต้องตัดสินใจหรือกระทำการเช่นนั้น ย่อมไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวอีกต่อไป
ประเด็นนี้เกี่ยวโยงกับการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐระดับผู้นำ บุคคลในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น ป.ป.ช. กระบวนการยุติธรรม ว่าจะทนกับแรงกดดันในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะความเย้ายวนในผลประโยชน์ส่วนบุคคล จนกล้าทรยศต่อหน้าที่ผู้จ่ายเงินภาษี
ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐบางรายถูกถากถางเยาะเย้ยว่าเปลี่ยนจุดยืน ความคิด แบบหน้ามือเป็นหลังเท้า เป็นจิ้งจกกิ้งก่าเปลี่ยนสีแบบไร้ยางอาย เหลือเชื่อว่าคนมีพื้นฐานเช่นนั้นจะมีพฤติกรรมน่าอับอาย แต่ยังกล้าสู้หน้าสังคมแบบตาไม่กะพริบ
ช่วงนี้ประชาชนมีความคาดหวังในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยจนถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายอนาคตของนักการเมือง รัฐมนตรี หรือความอยู่รอดของรัฐบาล ซึ่งมีองค์ประกอบของการสนับสนุนโดย ส.ส. และ ส.ว.ส่วนใหญ่ในบทบาททาส
มีเสียงครหา ประณามว่าเป็น “สภาทาส” “ขี้ข้าคนหนีคุก” โดยพฤติกรรมอัปยศ แต่บุคคลเหล่านั้นยังเชิดหน้าชูคอเหมือนกับว่าการเป็น “ขี้ข้า” หรือ “ทาส” นั้นถือเป็นเกียรติภูมิ มีประกาศนียบัตรว่าได้รับความไว้วางใจจากคนหนีคุกพร้อมเบี้ยเลี้ยงขี้ข้า
การย่ำยีแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท และกฎหมายสร้างภาระผูกพันหนี้สินให้ประเทศ รวมทั้งพฤติกรรมขายชาติกรณีดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร ล้วนแต่เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติจะทำ
วันพุธนี้ ประชาชนรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยประการใดในกรณี ส.ส. และ ส.ว.ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เสนอร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญปลอม และการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน มีหลักฐานปรากฏชัดเจน จนยากที่มีคำวินิจฉัยว่า “ไม่ผิดเลย”
ส่วนผลคำวินิจฉัยของจริงจะมีขอบเขตครอบคลุมแค่ไหน มีผลกระทบต่อรัฐบาลนางโพยเพียงใด นั่นคือประเด็นที่ผู้คนอยากรู้ ขณะที่มีเสียงร่ำลือข้อกล่าวหาทางลบต่อตุลาการ รวมทั้งการปล่อยข่าวสร้างความสงสัย ความสับสนในบทบาทของตุลาการด้วยเช่นกัน
ข่าวปล่อยมีทั้งลักษณะ “ลวงพราง” แสร้งชี้นำให้สังคมรู้ว่าบางคนมีแนวคิดหรือฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงกลับมีความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเจตนาเพื่อปลดเปลื้องข้อสงสัยให้พ้นจากตัวเอง แม้คนวงในรู้ดีว่าตุลาการบางคนนั้นอยู่ฝ่ายใดแน่
โดยพฤติกรรมทิศทางของการวินิจฉัย ความล่าช้า ทำให้บางองค์กรอิสระแทบไม่เหลือความน่าเชื่อถือ ยิ่งมีข่าววงในว่ามีการทุ่มเงินพลิกแพลงคดีโดยคนหนีคุกในระดับร้อยล้าน พันล้านบาทด้วยแล้ว ได้สร้างความเสื่อมเสียร้ายแรงต่อกระบวนการยุติธรรม
ว่ากันแบบไม่อ้อมค้อม ตำรวจ และอัยการแทบไม่เหลือความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะคดีเกี่ยวโยงกับนักการเมืองในซีกรัฐบาล ปัจจุบันสภาพเช่นนี้ได้ลุกลามไปถึงขั้นองค์กรตุลาการบางแห่ง และตุลาการบางกลุ่ม เมื่อการวินิจฉัยคดีพลิกผลน่าเหลือเชื่อ
ไม่ใช่ประเด็นข้อกฎหมาย หลักฐาน หรือด้านเทคนิคเท่านั้น แต่ละครั้งจะมีเสียงครหาว่ามีการทุ่มเงินเพื่อกำหนดทิศทางของคดี ยิ่งถ้าผู้วินิจฉัยคดีใกล้วันเกษียณอายุด้วยแล้ว ความน่าสงสัย เสียงร่ำลือมีน้ำหนัก รวมทั้งการสั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง สั่งอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์
เมื่อเงินได้เป็นปัจจัยทรงอิทธิพลมาก และจำนวนสูงอย่างยิ่งจนผู้ได้รับการเสนอไม่ใจแข็งพอที่จะปฏิเสธ และผู้เสนอเป็นที่รู้กันมามั่งคั่งมีเงินระดับแสนๆ ล้านบาท ดังนั้นการซื้อคำวินิจฉัยตามเสียงร่ำลือว่า เป็นพันล้านบาทต่อหัวจึงน่าเชื่อถือไม่น้อย เพราะเงินจำนวนไม่กี่พันล้านถือเป็นเศษเงินเมื่อคำนึงถึงผลที่ได้รับจากการโกงกินอย่างมหาศาล
จึงมีเสียงร่ำลือ “โธ่! มันลงทุนซื้อแค่ไม่กี่คน 5-6 พันล้านบาท ถ้ารอดคดี โอกาสได้โกงเงินเป็นหมื่นๆ แสนๆ ล้านบาทจากโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง มันยิ่งกว่าเกินคุ้ม” ทั้งยังผูกติดเป็นพันธะสำหรับการใช้งานในเรื่องต้องวินิจฉัยต่อไป จึงเป็นการลงทุนทางการเมือง
เหมือนดังกรณีการซื้อตัวผู้ยกมือลงคะแนนในสภาฯ และวุฒิสภา ล่าสุดมีข้อครหาว่ามีการกำหนดเงินหัวละ 30 ล้านบาทสำหรับการให้โหวตเรื่องร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท นอกเหนือจากเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงประจำ จ่ายโดนนายทุน นอกเหนือจากผลประโยชน์อื่นๆ
ดังนั้นการสั่งไม่ฟ้อง การปล่อยคดีหมดสิ้นอายุความ การสั่งไม่อุทธรณ์ ในยุคนี้จึงถูกสงสัยว่ามีผลประโยชน์ ขณะที่ตัวบุคคลตามคำร่ำลือไม่รู้สึกร้อนหนาว เพราะไม่มีใครสามารถเอาผิดได้นั่นเอง จึงมีคนตัดใจยอมรับข้อเสนอ เพราะเงินร้อยล้าน พันล้านบาทนั้น ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ โดยสุจริตสำหรับคนทั่วไป ข้าราชการซึ่งไม่ใช่พ่อค้า นักลงทุน
ต่อให้ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งทุกงวด ก็ไม่ได้มากถึงพันล้านบาท!
ที่น่าเศร้าก็คือ ผู้ทรยศต่อวิชาชีพ ทรยศต่อประชาชน ไร้คุณธรรมเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงผลร้ายต่อชาติบ้านเมือง ดังเช่นการวินิจฉัยโดยตุลาการบางคนในคดีซุกหุ้น ซึ่งฉาวโฉ่ได้สร้างปัญหาต่อเนื่องให้แผ่นดิน เป็นเชื้อชั่วของระบอบกังฉินกินเมืองต่ำทรามจนทุกวันนี้
วันพุธนี้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีไม่เลื่อน ไม่หวั่นคำขู่ว่าจะเกิดความวุ่นวาย ไม่ว่าผลจะออกมาหนักเบาเช่นใด เป็นคุณเป็นโทษต่อฝ่ายใด จะส่งผลให้บ้านเมืองไม่ต่างจากการวินิจฉัยในคดีซุกหุ้นเช่นกัน และรูปแบบของการวินิจฉัยไม่น่าจะเป็นแบบวิน-วิน
อย่าให้มีปัญหาเรื่องความกล้าหาญ ข้อครหา ความเสื่อมมากกว่าที่เป็นอยู่ก็แล้วกัน
นี่เป็นเรื่องของภาวะหรือเหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งจะเกิดจากนี้ไปซึ่งจะชี้ชะตากรรมของบ้านเมืองว่าจะวุ่นวายมากน้อยเพียงใด และลงเอยเช่นใด โดยบุคคล องค์ประกอบต่างๆ ล้วนแต่อยู่เหนือการคาดคะเน เพราะหลักธรรมชาติของคนโดยทั่วไปเหมือนกัน
เมื่อถึงจุดสุดท้ายทุกคน หรือคนส่วนใหญ่ย่อมคิดถึงผลประโยชน์ของตัวเองเสมอ ดังนั้นความคาดหวัง การคาดหมายว่าบุคคลนั้น มีประวัติความเป็นมาเช่นนั้น น่าจะต้องตัดสินใจหรือกระทำการเช่นนั้น ย่อมไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวอีกต่อไป
ประเด็นนี้เกี่ยวโยงกับการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐระดับผู้นำ บุคคลในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น ป.ป.ช. กระบวนการยุติธรรม ว่าจะทนกับแรงกดดันในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะความเย้ายวนในผลประโยชน์ส่วนบุคคล จนกล้าทรยศต่อหน้าที่ผู้จ่ายเงินภาษี
ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐบางรายถูกถากถางเยาะเย้ยว่าเปลี่ยนจุดยืน ความคิด แบบหน้ามือเป็นหลังเท้า เป็นจิ้งจกกิ้งก่าเปลี่ยนสีแบบไร้ยางอาย เหลือเชื่อว่าคนมีพื้นฐานเช่นนั้นจะมีพฤติกรรมน่าอับอาย แต่ยังกล้าสู้หน้าสังคมแบบตาไม่กะพริบ
ช่วงนี้ประชาชนมีความคาดหวังในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยจนถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายอนาคตของนักการเมือง รัฐมนตรี หรือความอยู่รอดของรัฐบาล ซึ่งมีองค์ประกอบของการสนับสนุนโดย ส.ส. และ ส.ว.ส่วนใหญ่ในบทบาททาส
มีเสียงครหา ประณามว่าเป็น “สภาทาส” “ขี้ข้าคนหนีคุก” โดยพฤติกรรมอัปยศ แต่บุคคลเหล่านั้นยังเชิดหน้าชูคอเหมือนกับว่าการเป็น “ขี้ข้า” หรือ “ทาส” นั้นถือเป็นเกียรติภูมิ มีประกาศนียบัตรว่าได้รับความไว้วางใจจากคนหนีคุกพร้อมเบี้ยเลี้ยงขี้ข้า
การย่ำยีแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท และกฎหมายสร้างภาระผูกพันหนี้สินให้ประเทศ รวมทั้งพฤติกรรมขายชาติกรณีดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร ล้วนแต่เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติจะทำ
วันพุธนี้ ประชาชนรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยประการใดในกรณี ส.ส. และ ส.ว.ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เสนอร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญปลอม และการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน มีหลักฐานปรากฏชัดเจน จนยากที่มีคำวินิจฉัยว่า “ไม่ผิดเลย”
ส่วนผลคำวินิจฉัยของจริงจะมีขอบเขตครอบคลุมแค่ไหน มีผลกระทบต่อรัฐบาลนางโพยเพียงใด นั่นคือประเด็นที่ผู้คนอยากรู้ ขณะที่มีเสียงร่ำลือข้อกล่าวหาทางลบต่อตุลาการ รวมทั้งการปล่อยข่าวสร้างความสงสัย ความสับสนในบทบาทของตุลาการด้วยเช่นกัน
ข่าวปล่อยมีทั้งลักษณะ “ลวงพราง” แสร้งชี้นำให้สังคมรู้ว่าบางคนมีแนวคิดหรือฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงกลับมีความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเจตนาเพื่อปลดเปลื้องข้อสงสัยให้พ้นจากตัวเอง แม้คนวงในรู้ดีว่าตุลาการบางคนนั้นอยู่ฝ่ายใดแน่
โดยพฤติกรรมทิศทางของการวินิจฉัย ความล่าช้า ทำให้บางองค์กรอิสระแทบไม่เหลือความน่าเชื่อถือ ยิ่งมีข่าววงในว่ามีการทุ่มเงินพลิกแพลงคดีโดยคนหนีคุกในระดับร้อยล้าน พันล้านบาทด้วยแล้ว ได้สร้างความเสื่อมเสียร้ายแรงต่อกระบวนการยุติธรรม
ว่ากันแบบไม่อ้อมค้อม ตำรวจ และอัยการแทบไม่เหลือความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะคดีเกี่ยวโยงกับนักการเมืองในซีกรัฐบาล ปัจจุบันสภาพเช่นนี้ได้ลุกลามไปถึงขั้นองค์กรตุลาการบางแห่ง และตุลาการบางกลุ่ม เมื่อการวินิจฉัยคดีพลิกผลน่าเหลือเชื่อ
ไม่ใช่ประเด็นข้อกฎหมาย หลักฐาน หรือด้านเทคนิคเท่านั้น แต่ละครั้งจะมีเสียงครหาว่ามีการทุ่มเงินเพื่อกำหนดทิศทางของคดี ยิ่งถ้าผู้วินิจฉัยคดีใกล้วันเกษียณอายุด้วยแล้ว ความน่าสงสัย เสียงร่ำลือมีน้ำหนัก รวมทั้งการสั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง สั่งอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์
เมื่อเงินได้เป็นปัจจัยทรงอิทธิพลมาก และจำนวนสูงอย่างยิ่งจนผู้ได้รับการเสนอไม่ใจแข็งพอที่จะปฏิเสธ และผู้เสนอเป็นที่รู้กันมามั่งคั่งมีเงินระดับแสนๆ ล้านบาท ดังนั้นการซื้อคำวินิจฉัยตามเสียงร่ำลือว่า เป็นพันล้านบาทต่อหัวจึงน่าเชื่อถือไม่น้อย เพราะเงินจำนวนไม่กี่พันล้านถือเป็นเศษเงินเมื่อคำนึงถึงผลที่ได้รับจากการโกงกินอย่างมหาศาล
จึงมีเสียงร่ำลือ “โธ่! มันลงทุนซื้อแค่ไม่กี่คน 5-6 พันล้านบาท ถ้ารอดคดี โอกาสได้โกงเงินเป็นหมื่นๆ แสนๆ ล้านบาทจากโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง มันยิ่งกว่าเกินคุ้ม” ทั้งยังผูกติดเป็นพันธะสำหรับการใช้งานในเรื่องต้องวินิจฉัยต่อไป จึงเป็นการลงทุนทางการเมือง
เหมือนดังกรณีการซื้อตัวผู้ยกมือลงคะแนนในสภาฯ และวุฒิสภา ล่าสุดมีข้อครหาว่ามีการกำหนดเงินหัวละ 30 ล้านบาทสำหรับการให้โหวตเรื่องร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท นอกเหนือจากเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงประจำ จ่ายโดนนายทุน นอกเหนือจากผลประโยชน์อื่นๆ
ดังนั้นการสั่งไม่ฟ้อง การปล่อยคดีหมดสิ้นอายุความ การสั่งไม่อุทธรณ์ ในยุคนี้จึงถูกสงสัยว่ามีผลประโยชน์ ขณะที่ตัวบุคคลตามคำร่ำลือไม่รู้สึกร้อนหนาว เพราะไม่มีใครสามารถเอาผิดได้นั่นเอง จึงมีคนตัดใจยอมรับข้อเสนอ เพราะเงินร้อยล้าน พันล้านบาทนั้น ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ โดยสุจริตสำหรับคนทั่วไป ข้าราชการซึ่งไม่ใช่พ่อค้า นักลงทุน
ต่อให้ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งทุกงวด ก็ไม่ได้มากถึงพันล้านบาท!
ที่น่าเศร้าก็คือ ผู้ทรยศต่อวิชาชีพ ทรยศต่อประชาชน ไร้คุณธรรมเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงผลร้ายต่อชาติบ้านเมือง ดังเช่นการวินิจฉัยโดยตุลาการบางคนในคดีซุกหุ้น ซึ่งฉาวโฉ่ได้สร้างปัญหาต่อเนื่องให้แผ่นดิน เป็นเชื้อชั่วของระบอบกังฉินกินเมืองต่ำทรามจนทุกวันนี้
วันพุธนี้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีไม่เลื่อน ไม่หวั่นคำขู่ว่าจะเกิดความวุ่นวาย ไม่ว่าผลจะออกมาหนักเบาเช่นใด เป็นคุณเป็นโทษต่อฝ่ายใด จะส่งผลให้บ้านเมืองไม่ต่างจากการวินิจฉัยในคดีซุกหุ้นเช่นกัน และรูปแบบของการวินิจฉัยไม่น่าจะเป็นแบบวิน-วิน
อย่าให้มีปัญหาเรื่องความกล้าหาญ ข้อครหา ความเสื่อมมากกว่าที่เป็นอยู่ก็แล้วกัน