xs
xsm
sm
md
lg

ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 7): สัมมนาตามหาความจริง "น้ำมันมะพร้าวแก้โรคความจำเสื่อม"(2)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

จากความเดิมในตอนที่แล้ว นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ แพทย์สาขาอายุรกรรมคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา ได้กล่าวถึงกรณีการเกิดโรคความจำเสื่อมจากเซลล์สมองมีความบกพร่องในการใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน นั้นสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการงดแป้งและน้ำตาล และเสริมด้วยน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง (Medium Chain Triglyceride : MCT) อยู่ในระดับสูง ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้สมองได้รับ "สารคีโตน" ซึ่งสังเคราะห์จากไขมันเป็นอาหารให้กับเซลล์จนสมองฟื้นตัวได้

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
นักเกษตรอาวุโสขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าว ได้รวบรวมงานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ซึ่งนำมาบรรยาเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจอยู่หลายประการ ในชั้นนี้จะกล่าวถึงเฉพาะงานวิจัยที่ ดร.ณรงค์นำมาบรรยายดังนี้

"จากงานวิจัยในปี พ.ศ. 2547 ของ Reger et al. (2004) รายงานว่า การใช้ไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง 40 มิลลิกรัม จะช่วงปรับปรุงเชาว์ปัญญาของผู้สูงวัยที่มีปัญหาในเรื่องความทรงจำได้ โดยการศึกษาครั้งนั้นได้มีการใช้อาสาสมัคร 20 คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือมีอาการขี้ลืม

ปรากฏว่ามีการเพิ่มระดับสารคีโตนที่ชื่อ beta-hydroxylutyrate (beta-OHB) ในพลาสมาของเลือด หลังจากเริ่มการทดลองไป 90 นาที และระดับของ beta-OHB เพิ่มสูงขึ้น หรือคงที่ระหว่างเวลาที่ดูดเลือด 90 และ 120 นาที

นอกจากนี้การตรวจเชาว์ปัญญา พบว่าการใช้ ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง ได้ช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และพบว่าค่าคีโตนที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับอาการที่ดีขึ้นอย่างมาก หลังการใช้ไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกในอาสาสมัครทุกคน

จากการทดสอบเมื่อปี พ.ศ. 2555 Krikorian (2012) ได้ใช้อาสาสมัครสูงวัยจำนวน 23 คน ที่มีอาการขี้ลืม ให้บริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรืออาหารปกติเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ตรวจผลของการกินอาหารทั้งสองต่อการทำหน้าที่รับความทรงจำในผู้ที่มีอาการขี้ลืม พบว่ามีการปรับปรุงคะแนนความทรงจำอย่างมีนัยสำคัญ

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
ยังได้กล่าวต่อว่า ในขณะอดอาหาร ร่างกายสามารถผลิตคีโตนจากไขมันที่สะสมไว้ แต่อาจผลิตได้จากไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง ที่มีอยู่ในอาหาร น้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งที่มากที่สุดของ ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง และช่วยฟื้นชีวิตของเซลล์ประสาท (Neuron) ได้ ทำให้สื่อประสาทต่างๆ ที่ถูกทำลายกลับฟื้นขึ้นมา นอกจากนี้มีการใช้อาหารที่มีไขมันสูงที่เปลี่ยนเป็นคีโตนได้ และมีการรักษาโรคลมชักในเด็กมานานแล้ว แต่เดี๋ยวนี้มีการนำมาใช้โรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ รวมทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิดที่ 2

ความหมายของโรคสมองเสื่อม ที่ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวถึงนั้น หมายรวมถึง โรคความจำเสื่อมรวมทั้งโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคฮันติงตัน โรคเส้นประสาทสันหลังเสื่อม โรคปลอกประสาทอักเสบ


ดร.ณรงค์ ได้อธิบายต่อว่า ไขมันในร่างกายจะถูกย่อยโดยน้ำดี ก่อนที่จะแตกตัวในระบบย่อยอาหาร แต่ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง จะเคลื่อนย้ายไปยังตับโดยตรง และตับจะเปลี่ยนไขมันให้เป็นคีโตน โดยไม่ผ่านการทำงานของน้ำดี จากนั้นตับก็จะปลดปล่อยคีโตนเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนหนึ่งจะเคลื่อนย้ายไปสู่สมองเพื่อใช้เป็นพลังงานที่นั่น และสรุปได้ว่าคีโตนเป็นแหล่งของอาหารที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรืออาการสมองเสื่อม ซึ่งเซลล์ประสาทในบางส่วนของสมองไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าไปได้ เพราะเกิดการดื้อต่ออินซูลินและค่อยๆตายไป และถ้าเซลล์มีคีโตนมันจะยังมีชีวิตอยู่ได้ และยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ

จากการศึกษาประวัติของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ได้บริโภคน้ำมันมะพร้าว แสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ไม่เพียงแต่ที่จะหยุดยั้งความก้าวหน้าของโรคนี้ แต่ยังก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้กรดไขมันสายโซ่ปานกลางมีผลทางบวกต่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เพราะมันแสดงว่าอาการที่ดีขึ้นนั้น เกิดขึ้นเกือบจะทันที ด้วยการดื่มเครื่องดื่มที่มีกรดไขมันสายโซ่ปานกลางเพียงครั้งเดียว และด้วยเหตุผลการศึกษาดังกล่าว องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึงได้อนุมัติทางการแพทย์ (Medical Foods) ที่มีกรดไขมันสายโซ่ปานกลางสำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์ จึงสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นโภชนะชั้นเยี่ยมสำหรับส่งเสริมสุขภาพของสมอง

ดร.ณรงค์ ได้กล่าวถึงการทำหน้าที่ของสารคีโตนว่า สารคีโตนจัดหาเชื้อเพลิงทดแทนที่เป็นที่ต้องการอย่างสูงสำหรับสมอง ที่สามารถเร่งกระบวนการทางด้านการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน ทำให้เกิดการปรับปรุงเชาว์ปัญญา สารคีโตนนี้มาจากการให้ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง ไตรกลีเซอร์ไรด์สายโซ่ปานกลางนั้นยังถูกดูดได้ง่ายกว่าอาหารไขมันส่วนใหญ่ที่เราบริโภคเข้าไป

และน้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดของไตรกลีเซอไรด์ โดยมีไตรกลีเซอร์ไรด์สายโซ่ปานกลางถึง 2 ใน 3 ส่วน (โดยปริมาตร)

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
ได้เล่าถึงกรณีศึกษา จากนิตยสารไทมส์ ฉบับเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ในหัวข้อ "Doctor says an oil lessened Alzheimer's effect on her husband." โดย Hosley-Moore แม้จะไม่ใช่งานวิจัยแต่ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีศึกษาที่อาจสร้างแรงบรรดาลใจให้คนที่สิ้นหวังหรือหมดหนทางในการบรรเทาหรือรักษาโรคอัลไซเมอร์

คือมีชายคนหนึ่งชื่อ สตีฟ นิวปอร์ท เป็นนักบัญชี เมื่ออายุ 53 ปี เริ่มมีปัญหาในการทำงาน เช่น ไม่เป็นระเบียบ ผิดพลาด มีภาวะกดดัน และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่เริ่มก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม สตีฟ นิวปอร์ มีภรรยาเป็นแพทย์ ชื่อ แพทย์หญิงแมรี่ นิวปอร์ท ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของ Neonatal Intensive Care Unit, Spring Hill Regional Hospital, Tampa, Florida, USA พยายามจะรักษาสามีตัวเอง จนพบข้อมูลอันหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ไขมันประเภทที่แสดงผลที่น่าพอใจสำหรับอาการทางประสาท

ไขมันที่กล่าวถึงนี้มีชื่อเรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง (Medium Chain Trigylcerides : MCT) อยู่ในปริมาณสูงที่สุด คือน้ำมันมะพร้าว

ดร.แมรี่ นิวปอร์ท ได้ให้น้ำมันมะพร้าวแก่สามีของเธอโยการใส่น้ำมันมะพร้าว 7 ช้อนชา ลงไปในอาหารทุกมื้อ ภายหลังจากการใช้ครั้งแรก ก็มีสิ่งที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้น

เพราะก่อนดื่มน้ำมันมะพร้าว 1 วัน สตีฟแทบจะวาดรูปนาฬิกาไม่ได้เลย ไม่สามารถวาดรูปได้แม้กระทั่งเรือนนาฬิกาได้เลย ไม่สามารถเรียงตัวเลขจาก 1-12 ได้

ปรากฏว่าหลังดื่มน้ำมันมะพร้าวทุกวันจนครบ 14 วัน เมื่อให้มาวาดรูปนาฬิกาใหม่ ปรากฏว่าสตีฟ นิวปอร์ท สามารถวาดรูปนาฬิกาได้ และเรียงตัวเลขได้ดีขึ้น คือสามารถวาดรูปเรือนนาฬิกาได้ และเรียงตัวเลขได้หมด แต่กอาจจะมีการขีดเส้นตรงแบ่งในวงกลมซ้ำไปมาอยู่บ้าง

หลังจากนั้นดื่มนำมันมะพร้าวจนครบ 37 วันปรากฏว่าสตีฟ นิวปอร์ท สามารถวาดรูปนาฬิกาได้เกือบจะสมบูรณ์

อีก 2 เดือนต่อมา สตีฟ นิวปอร์ท เริ่มมีอาการดีขึ้นอย่าเห็นได้ชัด พูดมากขึ้น และมีอารมณ์ขันกลับมาอย่างช้าๆ มีความตั้งใจและสามารถที่จะอยู่กับงานที่ทำอยู่ได้ดีขึ้น และในการสังสรรค์ในครอบครัว สตีฟสามารถจำชื่อญาติได้ ทั้งๆที่เมื่อ 1 ปีก่อนหน้าที่เขาจำใครไม่ได้เลย

หลังจากการใช้น้ำมันมะพร้าวหนึ่งปีครึ่ง สตีฟ นิวปอร์ท ได้เป็นอาสาสมัครในห้องเก็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง และสนุกกับงานและเพื่อนร่วมงาน อาการที่ก้าวเดินไม่ได้เมื่อก่อน ดีขึ้นจนสามารถวิ่งได้ สามารถอ่านหนังสืออย่างเข้าใจเนื้อหาได้อีกครั้ง รวมทั้งความทรงจำระยะสั้นดีขึ้น จนเขามีความรู้สึกว่าชีวิตเขากลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว

ดร.แมรี่ นิวปอร์ท ให้เหตุผลของการฟื้นจากอาการของโรคอัลไซเมอร์ว่าเป็นผลของสารคีโตน (Ketone) เพราะไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลาง มีพฤติกรรมไม่เหมือนกับ ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ยาว ที่มีในไขมันทั่วไป ทั้งที่เพราะมันมีขนาดโมเลกุลที่สั้นกว่า จึงถูกดูดซึม และถูกใช้ในการเปลี่ยนให้เป็นพลังงานที่ตับ และแทนที่จะเก็บไว้ในรูปของของไขมัน มันกลับไปเปลี่ยนเป็นสารคีโตนที่เป็นแหล่งของพลังงานทนแทนของร่างกาย"

อย่างไรก็ตามอาจมีคนโต้แย้งว่า สตีฟ นิวปอร์ท มีอาการแย่ลงหลังจากนั้น 2 ปี !?

ความจริงแล้ว ในช่วง 2 ปีที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวนั้น (พ.ศ. 2551 -2553) สตีฟ นิวปอร์ท มีอาการดีขึ้นค่อนข้างชัดเจนมากแล้ว แต่สุขภาพของของสตีฟแย่ลงหลังปี 2553 เมื่อ "พ่อของสตีฟ นิวปอร์ท เสียชีวิตจึงกระตุ้นให้ สตีฟ เกิดอาการสะเทือนใจอย่างรุนแรงครั้งใหม่"
โดยสตีฟบอกว่าเห็นเงาของพ่อของเขาที่เสียชีวิตในเงามืดของหน้าต่างในเวลากลางคืน

หลังจากความสะเทือนใจครั้งนั้นในต้นปี พ.ศ. 2555 สตีฟ เริ่มรับประทานยานอนหลับ 3 สัปดาห์ต่อมา เขาเริ่มเดินวนไปวนมาและพูดกับตัวเองไม่หยุด เมื่อตกกลางคืนก็จะมีอาการสั่น หวาดกลัว และสับสน

สตีฟ นิวปอร์ท ต้องเข้าไปในโรงพยาบาลและต้องให้ยาบำบัดโรคจิตเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แต่ปรากฏว่าความเชื่อในเรื่องยาได้ทำให้อาการของสตีฟแย่ลง คราวนี้แพทย์หญิงแมรี่ ตัดสินใจหยุดยาทุกชนิด รวมถึงยารักษาอัลไซเมอร์ด้วย ซึ่งเธอเชื่อว่ายากพวกนี้ไม่ได้ผล วันนี้เขารับประทานยาเฉพาะโรคเกาท์ หลังจากที่สัปดาห์ก่อนหน้าต้องรับประทานยารักษาโรคลมชัก

วันนี้ สตีฟ นิวปอร์ท ยังคงเดินได้แต่ช้า ไม่สามารถปล่อยให้อยู่คนเดียวได้ สตีฟเดินอยู่ในบ้าน ดูโทรทัศน์ฟังเพลง สตีฟ นิวปอร์ท มีความสับสนเมื่อมีคนที่ไม่เคยพบเห็นมาในช่วงเวลาไม่นานมานี้มาเยี่ยมที่บ้าน และบางวันสตีฟ เรียกชื่อภรรยาของเขาผิด แต่วันอื่นๆเขาก็จะถลานอนไปใกล้ภรรยาที่เก้าอี้ยาวแล้วถามถึงเรื่องราวในแต่ละวันกับภรรยาของเขา

น้ำมันมะพร้าวคงไม่ใช่คำตอบในการแก้ทุกสาเหตุของโรคความจำเสื่อมได้ โดยเฉพาะความเสียใจ ความเครียด หรือความสะเทือนใจอย่างรุนแรง แต่อย่างน้อยน้ำมันมะพร้าวก็ทำให้สตีฟ นิวปอร์ท มีอาการดีขึ้นจากโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างน่าอัศจรรย์เป็นเวลาถึง 2 ปี จากคีโตนที่ได้จากไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลางที่มีมากในน้ำมันมะพร้าว

แพทย์หญิงแมรี่ นิวปอร์ท กล่าวว่า :

"ก่อนให้สตีฟ นิวปอร์ท ดื่ม น้ำมันมะพร้าว อาการของสตีฟแย่ลงอย่างหนัก" เธอเชื่อว่าถ้าไม่มีน้ำมันมะพร้าวในวันนั้นเธอคงสูญเสียสามีของเธอไปหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
ยังได้กล่าวถึงกรณีของงานศึกษาของ Whitaker ในปี พ.ศ. 2552 แนะนำให้คนที่เป็นโรคสมองเสื่อม รวมทั้งอาการขี้ลืม ใช้วีบำบัดด้วยคีโตนโดยการบริโภคน้ำมันมะพร้าว และมีประจักษ์พยานที่การบำบัดวิธีนี้ สามารถใช้ได้กับคนไข้ที่เป็นโรคในกลุ่มดาวน์ ออติสซึม และเบาหวาน การบำบัดด้วยคีโตน และการบำดบัดด้วยคีโตนเป็นวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่น่าประทับใจ เพราะการเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปในเซลล์สมองได้ ทำให้เกิดอาการความเสื่อมของระบบประสาทอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องดีที่คนยังไม่มีอาการ ที่จะใช้วิธีบำบัดด้วยคีโตน ในการใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคอัลไซเมอร์

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้บรรยายว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาเพื่อรักษาอาการขี้ลืมอยู่เพียงขนาดเดียว คือยา"อะโซนา" เป็นยาที่ผลิตออกจำหน่ายในรูปของอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) โดยจุดเด่นของยานี้คือมีผลการศึกษามาเป็นอย่างดียของสารที่มีคุณสมบัติสร้างคีโตนในรูปของสารบริสุทธิ์ ที่เข้มข้นจากน้ำมันมะพร้าว ในขณะที่ขจัดองค์ประกอบที่เพิ่มปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ที่มันมีอยู่

ยาอะโซนา เป็นอาหารคีโตนที่มีองค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าว
ช่วยปรับปรุงความจำและเชาว์ปัญญา มีความเสี่ยงน้อยในเรื่องผลข้างเคียง เช่น อาการวิงเวียนและท้องร่วง และแม้ว่ายานี้จะได้รับรองจาก อย.ของสหรัฐอเมริกา แต่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาทั้งผลระยะยาวด้วย

สำหรับการบำบัดโรคความจำเสื่อมด้วยคีโตนนั้น ดร.ณรงค์ โฉมเฉลาแนะนำปริมาณในการบริโภคว่า:

"ระดับของไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลางที่ใช้เพื่อการรักษาโรคสมองเสื่อม อยู่ที่ 20 กรัม/วัน หรือเทียบเท่ากับน้ำมันมะพร้าว 35 มิลลิลิตร หรือ 7 ช้อนชา"!!!


กำลังโหลดความคิดเห็น