ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ผมในฐานะสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจและเผยในเรื่องน้ำมันมะพร้าวได้ตระหนักอยู่เสมอว่า การติดอาวุธทางปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติน้ำมันพืชและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสุขภาพได้ จึงเข้าร่วมงานสัมมนาทางวิชาการในเรื่อง "ขี้ลืม! ความจำเสื่อม! น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยได้" ซึ่งได้จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นที่กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวและสถาบันพืชสวน ซึ่งมี ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา เป็นประธาน
การสัมมนาในครั้งนี้ได้รวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นแพทย์แผนปัจจุบันและนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น ดร.นพ.อุทัย อุดสุข อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนายกสมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย พ.อ.ดร.นพ.ดำรง เชี่ยวศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สภากาชาดไทย ดร.นพ.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ แพทย์สาขาอายุรกรรม คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา อดีตประธานวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย รศ.พญ.ลำดวน วงศ์สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านบูรณาการทางการแพทย์ Bangkok Health Clinic น.ส.วิไลศรี ลิมปพยอม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา นักเกษตรอาวุโสขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่ผลักดันในเรื่องน้ำมันมะพร้าวมาอย่างยาวนาน
ก่อนที่จะสรุปเนื้อหาในประเด็นที่น่าสนใจจากการสัมมนาของนักวิชาการคณะนี้ ก็ต้องขออธิบายเบื้องต้นก่อนเพื่อเป็นการปูพื้นเพื่อจะได้มีความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับ "ความยาวของกรดไขมัน" และความสัมพันธ์ระหว่าง "กรดไขมัน กับ ไตรกลีเซอไรด์" ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่จะเกี่ยวพันกับเรื่องที่จะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับโรคความจำเสื่อมที่จะกล่าวถึงต่อไป
น้ำมันพืชที่เราใช้กันอยู่นั้น ประกอบไปด้วย กรดไขมัน (Fatty Acids) 3 โมเลกุล รวมกับกลีเซอรอล เกิดเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) โดยในกรดไขมันนั้นสามารถแบ่งออกเป็นตามความยาวของกรดไขมันดังนี้
1.กรดไขมันสายโซ่สั้น (Short Chain Fatty Acids SCFAs) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันเป็นสายสั้นเพียง 2 ถึง 4 ตัวเท่านั้น เช่น กรดบิวไทริก (คาร์บอน 2 ตัว) กรดโปรปริออนิก (คาร์บอน 4 ตัว)
2.กรดไขมันสายโซ่ปานกลาง (Medium Chain Fatty Acids - MCFAs) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันเป็นสายปานกลางประมาณ 6-12 ตัวเท่านั้น เช่น กรดคาร์โปริก (คาร์บอน 6 ตัว) กรดคาร์ปริลิก (คาร์บอน 8 ตัว) กรดคาร์ปริก (คาร์บอน 10 ตัว) กรดลอริก (คาร์บอน 12 ตัว)
3.กรดไขมันสายโซ่ยาว (Long Chain Fatty Acid -LCFA) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนระหว่าง 14 ถึง 24 ตัว เช่น กรดไมริสติก (คาร์บอน 14 ตัว) กรดปาล์มิติก (คาร์บอน 16 ตัว) กรดสเตียริก (คาร์บอน 18 ตัว) กรดโอเลอิก (คาร์บอน 18 ตัว) กรดไลโนเลอิก (คาร์บอน 18 ตัว) กรดไลโนเลนิก (คาร์บอน 18 ตัว)
แต่กรดไขมันสายสั้นและปานกลางนั้นมีคุณสมบัติเด่นคือสามารถดูดซึมเร็วเป็นพลังงานแก่ตับได้เร็วมากภายใน 1 ชั่วโมง โดยไม่ตกค้างหรือสะสมซึ่งต่างจากกรดไขมันสายยาว ซึ่งกรดไขมันสายสั้นและปานกลางมีมากที่สุดเฉพาะใน "น้ำมันมะพร้าว" โดยมีสัดส่วนสูงถึง 62% - 71%
ถ้าจะเปรียบเทียบอุปมาให้เข้าใจน้ำมันก็คือแหล่งเชื้อเพลิง ถ้าเรามีท่อนซุงขนาดใหญ่โยนลงไปในเปลวที่มีอยู่น้อยนิด นอกจากทำให้ไฟดับแล้วเราจะมีท่อนซุงสะสมค้างเป็นขยะอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าเรามีท่อนฟืนที่ผ่าเป็นซีกเล็กๆโยนเข้าไปในเปลวไฟที่มีอยู่น้อยนิดเปลวไฟนั้นก็จะลุกโชนขึ้นกลายเป็นกองไฟขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถเผาผลาญท่อนซุงที่อยู่ข้างเคียงให้เป็นพลังงานได้เกือบทั้งหมดด้วย
การเผาผลาญที่ดีทำให้เราได้แปลงไขมันเป็นได้ทั้งฮอร์โมน น้ำดี และเพราะน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายปานกลางมีโมเลกุลที่สั้นกว่า จึงถูกใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานให้ตับ และเปลี่ยนเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "คีโตน" ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูสมองได้
นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ซึ่งจบทั้งคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจบปริญญาเอกด้านชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นอาจารย์พิเศษให้คณะแพทย์ศาสตร์หลายแห่ง และเป็นแพทย์สาขาอายุรกรรมคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา ได้เขียนคำอธิบายถึงความสำคัญในเรื่อง กรดไขมันสายปานกลางในน้ำมันมะพร้าว ในเอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง "All Fats Are Not Created Equal" ความบางตอนดังนี้
"การศึกษาทางวิจัย พบว่า หากปรับเปลี่ยนอาหารการกิน โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่จำกัดแป้งและน้ำตาล (Restricted carbohydrate diet) จะบังคับให้เซลล์ในร่างกายต้องหันไปใช้พลังงานที่ได้จากการเผาผลาญไขมันแทน การเผาผลาญไขมันจะทำให้ร่างกายมีระดับสารคีโตน (Ketone bodies) เพิ่มขึ้น จึงเรียกสูตรอาหารนี้ว่าเป็นอาหารคีโตเจนนิก (Ketogenic dites) อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งสูตรอาหารนี้อาจนำไปใช้รักษาโรคบางอย่างได้
หากร่างกายได้รับกรดไขมันสายโซ่ปานกลางจากการบริโภคพบว่า กรดไขมันสายโซ่ปานกลางจะมีขบวนการดูดซึมและเผยผลาญเป็นพลังงานต่างจากกรดไขมันสายโซ่ยาว คือพบว่ากรดไขมันสายโซ่ปานกลางจะดูดซึมจากลำไส้ผ่านกระแสเลือดแล้วไปเข้าสู่ตับได้โดยตรง นอกจากนั้น กรดไขมันสายโซ่ปานกลางยังสามารถผ่านเข้าไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ได้ง่าย ผิดกับกรดไขมันสายยาวซึ่งหลังดูดซึม จะต้องเข้าสู่ระบบไหลเวียนในรูปไคโลไมครอน (Chylomicron) และการเข้าสู่เซลล์ก็ต้องอาศัยเอนไซม์ Lipoprotein Lipase และการผ่านเข้าไปในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) เพื่อการเผาผลาญก็ต้องอาศัย CPT-1 เป็นตัวพา นับว่ากรดไขมันสายโซ่ปานกลางจะผ่านเข้าไปในเซลล์และเผาผลาญเป็นพลังงานง่ายกว่ากรดไขมันสายโซ่ยาว และสามารถผลิตคีโตน (Ketone body) ได้มากกว่าด้วย
หากเรากินอาหารที่จำกัดแป้งและน้ำตาล แล้วให้เซลล์ใช้พลังงานจากไขมันที่คนเราสะสมอยู่เดิม พลังงานที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะได้จากการเผาผลาญกรดไขมันสายยาว
หรือบริโภคไขมันจากสัตว์เซลล์ก็จำเป็นต้องผลิตพลังงานจากกรดไขมันสายยาวเช่นกัน
ในรายที่ต้องการให้เซลล์ได้พลังงานจากไขมัน แต่เซลล์มีภาวะผิดปกติสามารถใช้กรดไขมันสายยาวได้น้อยลง หรือในรายที่ต้องการผลิตคีโตน (Ketone bodies) เพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้มีการบริโภคกรดไขมันสายโซ่ปานกลางเสริมขึ้นมา"
นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ยังได้ระบุด้วยว่าปัจจุบันได้มีการศึกษาใช้กรดไขมันสายปานกลางร่วมกับการอาหารคีโนเจนนิก (งดแป้งและน้ำตาล) สำหรับการ "โภชนะบำบัด" เช่น กลุ่มอาหารโรคกินเกิน (รวมอาหารอ้วนลงพุง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไขมันจุกตับ ฯลฯ), โรคลมชักและโรคไมเกรน, โรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์, โรคไมโตคอนเดรียทำงานผิดปกติและเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว, โรคเนื้องอกและมะเร็ง
นอกจากนี้ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ยังได้เขียนบทความอีกชิ้นหนึ่งในเอกสารประกอบบรรยายในการสัมมานาครั้งนี้ที่ชื่อ "ขี้ลืม! ความจำเสื่อม! - โรคที่คนแก่ไม่อยากเป็น" ว่านอกจากจะเกิดขึ้นในคนอายุมากตามวัยแล้ว ยังอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การเกิดจากกรรมพันธุ์หรือไม่ก็มีพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเดียวกัน, สมองได้รับการกระแทก (Cerebral concussion), ความเครียด (Mental Stress), ความบกพร่องในระบบเลือดไหลเวียน และในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสารคีโตนคือกรณีความจำเสื่อมจากเซลล์สมองมีความบกพร่องในการใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน
ที่กล่าวถึงเหตุผลนี้เพื่อจะบอกเหตุผลว่าการเกิดของโรคความจำเสื่อมนั้นเมื่อเกิดได้มาจากหลายสาเหตุ ก็ไม่ได้แปลเสมอไปว่าการรักษาด้วยวิธีการหนึ่งวิธีการใดจะเป็นการตอบโจทย์แก้ไขปัญหาโรคความจำเสื่อมได้
แต่สำหรับกรณีโรคความจำเสื่อมอันเนื่องมาจากเซลล์สมองมีความบกพร่องในการใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานนั้นถือได้ว่าเกี่ยวพันกับการเสริมด้วยน้ำมันมะพร้าวที่จะช่วยเรื่องอาการความจำเสื่อมได้ โดย นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้อธิบายว่า
"โดยปกติ เซลล์สมองในทารกแรกเกิดจะใช้สารคีโตนเป็นพลังงานหลัก สารคีโตนนี้ได้จากการเผาผลาญไขมันประเภท "ไตรกลีเซอไรด์สายโซปานกลาง" (Medium Chain Triglycerides - MCT) ที่มีค่อนข้างสูง (ประมาณ 15-20%)
ในนมมารดา เมื่อเด็กโตขึ้น เซลล์สมองจะหันมาใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานหลักจนถึงเป็นผู้ใหญ่ แต่คนแก่ที่มีความจำเสื่อม การฉีด (F-18) Fluorodeoxy-glucose แล้วถ่ายภาพสมองด้วย PET Scan พบว่าสมองส่วนที่ทำหน้าที่จดจำ มีการใช้น้ำตาลกลูโคสได้น้อยลงผิดปกติ บางท่านเปรียบเทียบปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น "เบาหวานประเภท 3"
ต่อมา การวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อม สมองสามารถใช้สารคีโตนเป็นพลังงานได้ดีกว่า และเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Bioenergetic shift ทั้งการวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าเซลล์สมองที่ป่วยเมื่อได้สารคีโตน สามารถทำงานดีขึ้น ทั้งสมองที่มี Beta-amyloid plaque ก็มีจำนวนลดลง ก็อาจเป็นการอธิบายว่า Beta-amyloid plaque เพราะเซลล์สมองได้สารคีโตน ก็อาจมีหลายวิธี
วิธีหนึ่ง คือการให้สารคีโตนเข้าทางหลอดเลือด ซึ่งก็อาจใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ในภาวะสมองขาดเลือดกะทันหัน
วิธีที่สอง คือกินคีโตน เอสเตอร์ Ketone ester (D-beta-hydroxybutyrate-(R)-1,3 butanediol) ที่ผลิตโดย R.Veech แห่ง สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH)
วิธีที่สาม คือง่ายกว่าสองวิธีแรก คือบริโภคอาหารที่มีโปรตีนและไขมัน แต่จำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เป็นการบังคับให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน และในเวลาเดียวกัน ตับก็จะสร้างคีโตนจำนวนมากสำหรับสมองและกล้ามเนื้อนำไปใช้เป็นพลังงานได้
ในการใช้วิธีที่สามนี้ หากการเผาผลาญไขมันจากไขมันสะสม หรือจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ที่บริโภค ส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายยาว (Long Chain Triglycerides -LCT) ซึ่งในบางกรณี ร่างกายเผาผลาญไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายยาวไม่ได้ดีเท่า ไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายปานกลาง (Medium Chain Triglycerides - MCT) จึงเกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า อาหาร ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลางผนวกเข้ากับอาหารคีโตเจนิก ( MCT-Ketogenic Diets) คืองดแป้งและน้ำตาล เน้นกินโปรตีนและไขมัน และเสริมด้วยน้ำมันที่มีไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางสูง"
และน้ำมันพืชที่มีไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางสูงที่สุดก็คือ "น้ำมันมะพร้าว" และนี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงได้มีการใช้น้ำมันมะพร้าวมาช่วยบรรเทาในเรื่องอาการสมองเสื่อมได้!!!
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ผมในฐานะสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจและเผยในเรื่องน้ำมันมะพร้าวได้ตระหนักอยู่เสมอว่า การติดอาวุธทางปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติน้ำมันพืชและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสุขภาพได้ จึงเข้าร่วมงานสัมมนาทางวิชาการในเรื่อง "ขี้ลืม! ความจำเสื่อม! น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยได้" ซึ่งได้จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นที่กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวและสถาบันพืชสวน ซึ่งมี ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา เป็นประธาน
การสัมมนาในครั้งนี้ได้รวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นแพทย์แผนปัจจุบันและนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น ดร.นพ.อุทัย อุดสุข อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนายกสมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย พ.อ.ดร.นพ.ดำรง เชี่ยวศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สภากาชาดไทย ดร.นพ.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ แพทย์สาขาอายุรกรรม คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา อดีตประธานวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย รศ.พญ.ลำดวน วงศ์สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านบูรณาการทางการแพทย์ Bangkok Health Clinic น.ส.วิไลศรี ลิมปพยอม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา นักเกษตรอาวุโสขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่ผลักดันในเรื่องน้ำมันมะพร้าวมาอย่างยาวนาน
ก่อนที่จะสรุปเนื้อหาในประเด็นที่น่าสนใจจากการสัมมนาของนักวิชาการคณะนี้ ก็ต้องขออธิบายเบื้องต้นก่อนเพื่อเป็นการปูพื้นเพื่อจะได้มีความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับ "ความยาวของกรดไขมัน" และความสัมพันธ์ระหว่าง "กรดไขมัน กับ ไตรกลีเซอไรด์" ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่จะเกี่ยวพันกับเรื่องที่จะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับโรคความจำเสื่อมที่จะกล่าวถึงต่อไป
น้ำมันพืชที่เราใช้กันอยู่นั้น ประกอบไปด้วย กรดไขมัน (Fatty Acids) 3 โมเลกุล รวมกับกลีเซอรอล เกิดเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) โดยในกรดไขมันนั้นสามารถแบ่งออกเป็นตามความยาวของกรดไขมันดังนี้
1.กรดไขมันสายโซ่สั้น (Short Chain Fatty Acids SCFAs) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันเป็นสายสั้นเพียง 2 ถึง 4 ตัวเท่านั้น เช่น กรดบิวไทริก (คาร์บอน 2 ตัว) กรดโปรปริออนิก (คาร์บอน 4 ตัว)
2.กรดไขมันสายโซ่ปานกลาง (Medium Chain Fatty Acids - MCFAs) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันเป็นสายปานกลางประมาณ 6-12 ตัวเท่านั้น เช่น กรดคาร์โปริก (คาร์บอน 6 ตัว) กรดคาร์ปริลิก (คาร์บอน 8 ตัว) กรดคาร์ปริก (คาร์บอน 10 ตัว) กรดลอริก (คาร์บอน 12 ตัว)
3.กรดไขมันสายโซ่ยาว (Long Chain Fatty Acid -LCFA) เป็นกรดไขมันที่มีธาตุคาร์บอนระหว่าง 14 ถึง 24 ตัว เช่น กรดไมริสติก (คาร์บอน 14 ตัว) กรดปาล์มิติก (คาร์บอน 16 ตัว) กรดสเตียริก (คาร์บอน 18 ตัว) กรดโอเลอิก (คาร์บอน 18 ตัว) กรดไลโนเลอิก (คาร์บอน 18 ตัว) กรดไลโนเลนิก (คาร์บอน 18 ตัว)
แต่กรดไขมันสายสั้นและปานกลางนั้นมีคุณสมบัติเด่นคือสามารถดูดซึมเร็วเป็นพลังงานแก่ตับได้เร็วมากภายใน 1 ชั่วโมง โดยไม่ตกค้างหรือสะสมซึ่งต่างจากกรดไขมันสายยาว ซึ่งกรดไขมันสายสั้นและปานกลางมีมากที่สุดเฉพาะใน "น้ำมันมะพร้าว" โดยมีสัดส่วนสูงถึง 62% - 71%
ถ้าจะเปรียบเทียบอุปมาให้เข้าใจน้ำมันก็คือแหล่งเชื้อเพลิง ถ้าเรามีท่อนซุงขนาดใหญ่โยนลงไปในเปลวที่มีอยู่น้อยนิด นอกจากทำให้ไฟดับแล้วเราจะมีท่อนซุงสะสมค้างเป็นขยะอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าเรามีท่อนฟืนที่ผ่าเป็นซีกเล็กๆโยนเข้าไปในเปลวไฟที่มีอยู่น้อยนิดเปลวไฟนั้นก็จะลุกโชนขึ้นกลายเป็นกองไฟขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถเผาผลาญท่อนซุงที่อยู่ข้างเคียงให้เป็นพลังงานได้เกือบทั้งหมดด้วย
การเผาผลาญที่ดีทำให้เราได้แปลงไขมันเป็นได้ทั้งฮอร์โมน น้ำดี และเพราะน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายปานกลางมีโมเลกุลที่สั้นกว่า จึงถูกใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานให้ตับ และเปลี่ยนเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "คีโตน" ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูสมองได้
นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ซึ่งจบทั้งคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจบปริญญาเอกด้านชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นอาจารย์พิเศษให้คณะแพทย์ศาสตร์หลายแห่ง และเป็นแพทย์สาขาอายุรกรรมคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา ได้เขียนคำอธิบายถึงความสำคัญในเรื่อง กรดไขมันสายปานกลางในน้ำมันมะพร้าว ในเอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง "All Fats Are Not Created Equal" ความบางตอนดังนี้
"การศึกษาทางวิจัย พบว่า หากปรับเปลี่ยนอาหารการกิน โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่จำกัดแป้งและน้ำตาล (Restricted carbohydrate diet) จะบังคับให้เซลล์ในร่างกายต้องหันไปใช้พลังงานที่ได้จากการเผาผลาญไขมันแทน การเผาผลาญไขมันจะทำให้ร่างกายมีระดับสารคีโตน (Ketone bodies) เพิ่มขึ้น จึงเรียกสูตรอาหารนี้ว่าเป็นอาหารคีโตเจนนิก (Ketogenic dites) อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งสูตรอาหารนี้อาจนำไปใช้รักษาโรคบางอย่างได้
หากร่างกายได้รับกรดไขมันสายโซ่ปานกลางจากการบริโภคพบว่า กรดไขมันสายโซ่ปานกลางจะมีขบวนการดูดซึมและเผยผลาญเป็นพลังงานต่างจากกรดไขมันสายโซ่ยาว คือพบว่ากรดไขมันสายโซ่ปานกลางจะดูดซึมจากลำไส้ผ่านกระแสเลือดแล้วไปเข้าสู่ตับได้โดยตรง นอกจากนั้น กรดไขมันสายโซ่ปานกลางยังสามารถผ่านเข้าไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ได้ง่าย ผิดกับกรดไขมันสายยาวซึ่งหลังดูดซึม จะต้องเข้าสู่ระบบไหลเวียนในรูปไคโลไมครอน (Chylomicron) และการเข้าสู่เซลล์ก็ต้องอาศัยเอนไซม์ Lipoprotein Lipase และการผ่านเข้าไปในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) เพื่อการเผาผลาญก็ต้องอาศัย CPT-1 เป็นตัวพา นับว่ากรดไขมันสายโซ่ปานกลางจะผ่านเข้าไปในเซลล์และเผาผลาญเป็นพลังงานง่ายกว่ากรดไขมันสายโซ่ยาว และสามารถผลิตคีโตน (Ketone body) ได้มากกว่าด้วย
หากเรากินอาหารที่จำกัดแป้งและน้ำตาล แล้วให้เซลล์ใช้พลังงานจากไขมันที่คนเราสะสมอยู่เดิม พลังงานที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะได้จากการเผาผลาญกรดไขมันสายยาว
หรือบริโภคไขมันจากสัตว์เซลล์ก็จำเป็นต้องผลิตพลังงานจากกรดไขมันสายยาวเช่นกัน
ในรายที่ต้องการให้เซลล์ได้พลังงานจากไขมัน แต่เซลล์มีภาวะผิดปกติสามารถใช้กรดไขมันสายยาวได้น้อยลง หรือในรายที่ต้องการผลิตคีโตน (Ketone bodies) เพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้มีการบริโภคกรดไขมันสายโซ่ปานกลางเสริมขึ้นมา"
นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ยังได้ระบุด้วยว่าปัจจุบันได้มีการศึกษาใช้กรดไขมันสายปานกลางร่วมกับการอาหารคีโนเจนนิก (งดแป้งและน้ำตาล) สำหรับการ "โภชนะบำบัด" เช่น กลุ่มอาหารโรคกินเกิน (รวมอาหารอ้วนลงพุง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไขมันจุกตับ ฯลฯ), โรคลมชักและโรคไมเกรน, โรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์, โรคไมโตคอนเดรียทำงานผิดปกติและเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว, โรคเนื้องอกและมะเร็ง
นอกจากนี้ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ยังได้เขียนบทความอีกชิ้นหนึ่งในเอกสารประกอบบรรยายในการสัมมานาครั้งนี้ที่ชื่อ "ขี้ลืม! ความจำเสื่อม! - โรคที่คนแก่ไม่อยากเป็น" ว่านอกจากจะเกิดขึ้นในคนอายุมากตามวัยแล้ว ยังอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การเกิดจากกรรมพันธุ์หรือไม่ก็มีพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเดียวกัน, สมองได้รับการกระแทก (Cerebral concussion), ความเครียด (Mental Stress), ความบกพร่องในระบบเลือดไหลเวียน และในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสารคีโตนคือกรณีความจำเสื่อมจากเซลล์สมองมีความบกพร่องในการใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน
ที่กล่าวถึงเหตุผลนี้เพื่อจะบอกเหตุผลว่าการเกิดของโรคความจำเสื่อมนั้นเมื่อเกิดได้มาจากหลายสาเหตุ ก็ไม่ได้แปลเสมอไปว่าการรักษาด้วยวิธีการหนึ่งวิธีการใดจะเป็นการตอบโจทย์แก้ไขปัญหาโรคความจำเสื่อมได้
แต่สำหรับกรณีโรคความจำเสื่อมอันเนื่องมาจากเซลล์สมองมีความบกพร่องในการใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานนั้นถือได้ว่าเกี่ยวพันกับการเสริมด้วยน้ำมันมะพร้าวที่จะช่วยเรื่องอาการความจำเสื่อมได้ โดย นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้อธิบายว่า
"โดยปกติ เซลล์สมองในทารกแรกเกิดจะใช้สารคีโตนเป็นพลังงานหลัก สารคีโตนนี้ได้จากการเผาผลาญไขมันประเภท "ไตรกลีเซอไรด์สายโซปานกลาง" (Medium Chain Triglycerides - MCT) ที่มีค่อนข้างสูง (ประมาณ 15-20%)
ในนมมารดา เมื่อเด็กโตขึ้น เซลล์สมองจะหันมาใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานหลักจนถึงเป็นผู้ใหญ่ แต่คนแก่ที่มีความจำเสื่อม การฉีด (F-18) Fluorodeoxy-glucose แล้วถ่ายภาพสมองด้วย PET Scan พบว่าสมองส่วนที่ทำหน้าที่จดจำ มีการใช้น้ำตาลกลูโคสได้น้อยลงผิดปกติ บางท่านเปรียบเทียบปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น "เบาหวานประเภท 3"
ต่อมา การวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อม สมองสามารถใช้สารคีโตนเป็นพลังงานได้ดีกว่า และเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Bioenergetic shift ทั้งการวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าเซลล์สมองที่ป่วยเมื่อได้สารคีโตน สามารถทำงานดีขึ้น ทั้งสมองที่มี Beta-amyloid plaque ก็มีจำนวนลดลง ก็อาจเป็นการอธิบายว่า Beta-amyloid plaque เพราะเซลล์สมองได้สารคีโตน ก็อาจมีหลายวิธี
วิธีหนึ่ง คือการให้สารคีโตนเข้าทางหลอดเลือด ซึ่งก็อาจใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ในภาวะสมองขาดเลือดกะทันหัน
วิธีที่สอง คือกินคีโตน เอสเตอร์ Ketone ester (D-beta-hydroxybutyrate-(R)-1,3 butanediol) ที่ผลิตโดย R.Veech แห่ง สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH)
วิธีที่สาม คือง่ายกว่าสองวิธีแรก คือบริโภคอาหารที่มีโปรตีนและไขมัน แต่จำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เป็นการบังคับให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน และในเวลาเดียวกัน ตับก็จะสร้างคีโตนจำนวนมากสำหรับสมองและกล้ามเนื้อนำไปใช้เป็นพลังงานได้
ในการใช้วิธีที่สามนี้ หากการเผาผลาญไขมันจากไขมันสะสม หรือจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ที่บริโภค ส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายยาว (Long Chain Triglycerides -LCT) ซึ่งในบางกรณี ร่างกายเผาผลาญไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายยาวไม่ได้ดีเท่า ไตรกลีเซอไรด์ห่วงโซ่สายปานกลาง (Medium Chain Triglycerides - MCT) จึงเกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า อาหาร ไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ปานกลางผนวกเข้ากับอาหารคีโตเจนิก ( MCT-Ketogenic Diets) คืองดแป้งและน้ำตาล เน้นกินโปรตีนและไขมัน และเสริมด้วยน้ำมันที่มีไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางสูง"
และน้ำมันพืชที่มีไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางสูงที่สุดก็คือ "น้ำมันมะพร้าว" และนี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงได้มีการใช้น้ำมันมะพร้าวมาช่วยบรรเทาในเรื่องอาการสมองเสื่อมได้!!!