ASTVผู้จัดการรายวัน – บสย.เล็งแก้กฎหมายหวังขยายขอบเขตการทำธุรกรรมค้ำประกันสินเชื่อสู่นอนแบงก์ เล็งช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีที่ไม่มีหลักประกัน พร้อมขอขยายวาระบอร์ดจาก 1 ปีเป็น 3 ปีหวังให้การดำเนินงานต่อเนื่อง แนะตั้งกองทุนเจียดเงินจากแบงก์อุดหนุนค่าธรรมเนียมค้ำประกัน
นายเลิศชัย กิตติรัตนไพบูลย ประธานกรรมการบริหาร บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่าบสย.อยู่ระว่างพิจารณาแก้ไขกฎหมายจัดตั้งบสย.เดิมในหลายประเด็น ทั้งเรื่อของการกำหนดวาระของคณะกรรมการและการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจหรือค้ำประกันการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้บสย.บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ในการค้ำประสินเชื่อในอีก 5 ปีข้าหน้าถึงระดับ 6.6 แสนล้านบาทจำนวนลูกค้า 7 หมื่นราย
สำหรับข้อเสนอที่จะให้กระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายจัดตั้งบสย.ในส่วนของประเด็นการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจนั้น จะขอให้ขยายการค้ำประกันจากสถาบันการเงินที่ทำอยู่ในปัจจุบันไปสู่ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือนอนแบงก์ด้วย เพราะปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) จำนวนไม่น้อยที่หันไปกู้เงินกับบริษัทดังกล่าวซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสถาบันการเงินทางบสย.จึงอยากเข้าไปช่วยลดภาระความเสี่ยงของผู้ปล่อยกู้และช่วยให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงินได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
"บสย.ค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทและเป็นส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก บางส่วนจึงไปขอสินเชื่อบุคคลจากนอนแบงก์ซึ่งมีดอกเบี้ยที่สูง หากบสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้และร่วมกับความเสี่ยงกับนอนแบงก์น่าจะทำให้เราขยายฐานลูกค้าได้อีกมาก เช่น อิออนที่มีลูกค้าจำนวนมาก หรือบริษัทบัตรกรุงไทยที่ปล่อยสินเชื่อบุคคลในอัตราที่สูง เป็นต้น แต่ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย" นายเลิศชัย กล่าว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบสย.ที่มีวาระเพียง 1 ปีเท่านั้น ตนเห็นว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไปการเปลี่ยนแปลงบอร์ดบ่อยครั้ง อาจส่งผลให้การดำเนินงานไม่มีความต่อเนื่อง จึงเห็นว่าควรขยายวาระออกไปเป็น 3 ปีสอดคล้องตามแผนการดำเนินธุรกิจของบสย.ที่ปัจจุบันมีการขออนุมัติโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 ไว้ต่อเนื่อง 3 ปีวงเงินรวม 2.4 แสนล้านบาท
นายวิเชษฐ์ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปสายงานธุรกิจ บสย. กล่าวว่าล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการอนุมัติการขยายระยะเวลาโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 1-4 ออกไปอีก 7 ปีจากที่จะทยอยครบกำหนดตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปจนถึงปี 2560 เพื่อให้ลูกค้าในโครงการที่มีกว่า 4 หมื่นรายวงเงินกว่า 1.2 แสนล้านบาทมีหลักประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่อไปโดยมีบสย.ให้การค้ำประกัน
ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวไม่ต้องเสนอเข้าสู่การอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากทางบสย.ไม่ได้ขอรับการสนับสนุนเงินจากรัฐบาลในการคิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อจากผู้ประกอบการเหมือนที่ดำเนินการมาระยะแรกในช่วง 5 ปีทีผ่านมา เนื่องจากขณะนี้บสย.มีความเข้มแข็งและสามารถรับภาระเองได้ อีกทั้งการคิดค่าธรรมเนียมก็อยู่ในระดับต่ำเพราะบสย.ไม่ได้เป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร
อย่างไรก็ตามตนมีแนวคิดว่าเพื่อให้การช่วยเหลือเอสเอ็มอีของไทยเป็นไปอย่างยั่งยืนโดยที่บสย.ทำหน้าที่ได้โดยไม่รบกวนเงินงบประมาณของภาครัฐในการอุดหนุนค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในอนาคต จึงเห็นว่าควรตั้งเป็นกองทุนเพื่ออุดหนุนค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีโดยที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับประโยชน์จากการค้ำประกันของบสย.ควรเข้าร่วมสมทบเงินในกองทุนซึ่งอาจจะเป็นสัดส่วนตามสินเชื่อเอสเอ็มอีของแต่ละแบงก์เหมือนการส่งเงินเข้าสถาบันประกันเงินฝาก ซึ่งในระบบธนาคารมีเม็ดเงินสินเชื่อเอสเอ็มอีกว่า 4 ล้านล้านบาท หากคิดแค่ส่วนต่างที่แบงก์ได้รับแค่ 4% ก็เป็นเงิน 1.6 แสนล้านบาท แต่เชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวอาจจะเกิดยากหากแบงก์ไม่ให้ความร่วมมือเพราะไม่อยากมีภาระที่เพิ่มขึ้น.
นายเลิศชัย กิตติรัตนไพบูลย ประธานกรรมการบริหาร บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่าบสย.อยู่ระว่างพิจารณาแก้ไขกฎหมายจัดตั้งบสย.เดิมในหลายประเด็น ทั้งเรื่อของการกำหนดวาระของคณะกรรมการและการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจหรือค้ำประกันการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้บสย.บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ในการค้ำประสินเชื่อในอีก 5 ปีข้าหน้าถึงระดับ 6.6 แสนล้านบาทจำนวนลูกค้า 7 หมื่นราย
สำหรับข้อเสนอที่จะให้กระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายจัดตั้งบสย.ในส่วนของประเด็นการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจนั้น จะขอให้ขยายการค้ำประกันจากสถาบันการเงินที่ทำอยู่ในปัจจุบันไปสู่ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือนอนแบงก์ด้วย เพราะปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) จำนวนไม่น้อยที่หันไปกู้เงินกับบริษัทดังกล่าวซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสถาบันการเงินทางบสย.จึงอยากเข้าไปช่วยลดภาระความเสี่ยงของผู้ปล่อยกู้และช่วยให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงินได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
"บสย.ค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทและเป็นส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก บางส่วนจึงไปขอสินเชื่อบุคคลจากนอนแบงก์ซึ่งมีดอกเบี้ยที่สูง หากบสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้และร่วมกับความเสี่ยงกับนอนแบงก์น่าจะทำให้เราขยายฐานลูกค้าได้อีกมาก เช่น อิออนที่มีลูกค้าจำนวนมาก หรือบริษัทบัตรกรุงไทยที่ปล่อยสินเชื่อบุคคลในอัตราที่สูง เป็นต้น แต่ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย" นายเลิศชัย กล่าว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบสย.ที่มีวาระเพียง 1 ปีเท่านั้น ตนเห็นว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไปการเปลี่ยนแปลงบอร์ดบ่อยครั้ง อาจส่งผลให้การดำเนินงานไม่มีความต่อเนื่อง จึงเห็นว่าควรขยายวาระออกไปเป็น 3 ปีสอดคล้องตามแผนการดำเนินธุรกิจของบสย.ที่ปัจจุบันมีการขออนุมัติโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 ไว้ต่อเนื่อง 3 ปีวงเงินรวม 2.4 แสนล้านบาท
นายวิเชษฐ์ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปสายงานธุรกิจ บสย. กล่าวว่าล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการอนุมัติการขยายระยะเวลาโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 1-4 ออกไปอีก 7 ปีจากที่จะทยอยครบกำหนดตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปจนถึงปี 2560 เพื่อให้ลูกค้าในโครงการที่มีกว่า 4 หมื่นรายวงเงินกว่า 1.2 แสนล้านบาทมีหลักประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่อไปโดยมีบสย.ให้การค้ำประกัน
ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวไม่ต้องเสนอเข้าสู่การอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากทางบสย.ไม่ได้ขอรับการสนับสนุนเงินจากรัฐบาลในการคิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อจากผู้ประกอบการเหมือนที่ดำเนินการมาระยะแรกในช่วง 5 ปีทีผ่านมา เนื่องจากขณะนี้บสย.มีความเข้มแข็งและสามารถรับภาระเองได้ อีกทั้งการคิดค่าธรรมเนียมก็อยู่ในระดับต่ำเพราะบสย.ไม่ได้เป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร
อย่างไรก็ตามตนมีแนวคิดว่าเพื่อให้การช่วยเหลือเอสเอ็มอีของไทยเป็นไปอย่างยั่งยืนโดยที่บสย.ทำหน้าที่ได้โดยไม่รบกวนเงินงบประมาณของภาครัฐในการอุดหนุนค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในอนาคต จึงเห็นว่าควรตั้งเป็นกองทุนเพื่ออุดหนุนค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีโดยที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับประโยชน์จากการค้ำประกันของบสย.ควรเข้าร่วมสมทบเงินในกองทุนซึ่งอาจจะเป็นสัดส่วนตามสินเชื่อเอสเอ็มอีของแต่ละแบงก์เหมือนการส่งเงินเข้าสถาบันประกันเงินฝาก ซึ่งในระบบธนาคารมีเม็ดเงินสินเชื่อเอสเอ็มอีกว่า 4 ล้านล้านบาท หากคิดแค่ส่วนต่างที่แบงก์ได้รับแค่ 4% ก็เป็นเงิน 1.6 แสนล้านบาท แต่เชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวอาจจะเกิดยากหากแบงก์ไม่ให้ความร่วมมือเพราะไม่อยากมีภาระที่เพิ่มขึ้น.