ASTVผู้จัดการรายวัน - เอสซีจี เคมิคอลส์ใช้ไทย อินโดฯและเวียดนามเป็นฐานการผลิตตั้งเป้าปี61 เป็นผู้ผลิตปิโตรฯใหญ่สุดในอาเซียนหลังขยายกำลังการผลิตโอเลฟินส์ที่อินโดฯและผุดปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนาม โดยใช้ไทยเป็นฐานผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม (HVA) ลดความผันผวนด้านราคา เผยปีหน้าราคาดีขึ้นโดยเข้าสู่ช่วงพีคสุดในปี2559-2560
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ ในเครือปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เปิดเผยว่า บริษัทฯดำเนินกลยุทธ์สร้างการเติบโตเพื่อความยั่งยืนโดยขยายการลงทุนปิโตรเคมีในอาเซียนโดยจะใช้ 3 ประเทศ คือไทย เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นฐานการผลิต และ สร้างเครือข่ายปิโตรเคมีที่เชื่อมโยงในภูมิภาคเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้ ปี2561 เอสซีจี
เคมิคอลส์มีกำลังการผลิตปิโตรเคมีใหญ่สุดในอาเซียน โดยมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 5.8 ล้านตันต่อปี และผลิตเม็ดพลาสติกได้หลากหลายชนิด
พร้อมทั้งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) เพื่อลดความผันผวนของวัฎจักรราคาปิโตรเคมี สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ โดยไทยจะเป็นฐานการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม (HVA) เนื่องจากโรงงานเก่าและมีขนาดเล็ก จึงเน้นปรับปรุงเพื่อผลิตสินค้าHVA แทน ส่วนอินโดนีเซียจะเน้นการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดทั่วไปและสินค้า HVAเพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้บริษัท พีที จันทรา แอสซรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีครบวงจรที่อินโดนีเซียที่เอสซีจีฯถือหุ้นอยู่ 30% จะขยายกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มขึ้นจาก 6 แสนตันเป็น 8.5 แสนตันต่อปี รวมทั้งจันทรา แอสซรี ได้จับมือกับมิชลิน ร่วมลงทุนทำยางสังเคราะห์ประเภท อีโค ไทรส์ (Eco Tyres) เงินลงทุน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนที่เวียดนามจะเป็นฐานการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดทั่วไปเพื่อป้อนตลาดในประเทศและส่งออก ซึ่งโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนามมูลค่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น โครงการนี้มีความคืบหน้าไปมาก ได้ส่งหนังสือไปยังผู้รับเหมาเข้ามาประมูลก่อสร้างโครงการแล้ว คาดว่าปีหน้าจะได้ข้อสรุป รวมทั้งแหล่งเงินกู้จะได้ข้อยุติในปลายปีหน้าโดยกลุ่มเอสซีจีจะถือหุ้นใหญ่สุด 46%ที่เหลือจะเป็นเวียดนาม และกาตาร์ฯ
นายชลณัฐ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการขายสินค้าHVAจากปัจจุบัน 50%เป็น 60%ของรายได้รวมในปี 2561 โดยนวัตกรรมสินค้าที่เอสซีจี เคมิคอลส์มุ่งพัฒนา แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินค้าประเภท Petrochemical HVA เน้น บรรจุภัณฑ์ และคอมพาวด์ อาทิ พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ท่อเพื่อการก่อสร้างและสาธารณูปโภค พลาสติกที่ใช้ในวงการแพทย์และสาธารณสุข
ส่วนสินค้าประเภท Non Petrochemical HVA การขายเทคโนโลยี สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Products) เช่น Emisspro (สารเคลือบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสำหรับเตาเผา) และสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากน้ำมันน้อย เช่น พีวีซี เป็นต้น
สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปีหน้า คาดว่าราคาปิโตรเคมีจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีนี้ แม้ว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่เข้าสู่ตลาดโลกแต่ไม่มากนัก โดยราคาปิโตรเคมีจะปรับขึ้นไปสูงสุดในปี 2559-2560 หลังจากนั้นจะเข้าสู่วัฎจักรขาลง เนื่องจากมีกำลังการผลิตเอทิลีนใหม่จากสหรัฐฯเข้ามา โดย 9 เดือนแรกปี 2556 มาร์จินเม็ดพลาสติกปรับขึ้นมาอยู่ที่ 500-600 เหรียญสหรัฐ/ตัน
โดยทิศทางรายได้ของเอสซีจี เคมิคอลส์จะเติบโตปีละ 5-10%ในช่วง 5ปีข้างหน้าจากปัจจุบันมีรายได้ 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมรายได้จากอินโดนีเซียและเวียดนาม
นายชลณัฐ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯไม่มีนโยบายที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกต้นน้ำ แต่จะผลิตไบโอพลาสติก คอมพาวด์เพื่อใช้พัฒนาเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นท่ออายุการใช้งาน 100ปี รีไซเคิลได้ 100% เป็นต้น
ส่วนการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือการเพิกถอนหุ้นบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (TPC) ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นอยู่ 91%ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยปีนี้กำไรจากธุรกิจพีวีซีต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่ารายได้จากการขายพีวีซีและท่อพีวีซีจะมากขึ้นกว่าปีก่อน 5-6%ก็ตามแต่เชื่อว่าปีหน้าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ (สเปรด) พีวีซีจะเกินระดับ 400 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 380 เหรียญสหรัฐ/ตัน และราคาพีวีซีน่าจะเห็นตันละ 1,000 เหรียญสหรัฐ
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ ในเครือปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เปิดเผยว่า บริษัทฯดำเนินกลยุทธ์สร้างการเติบโตเพื่อความยั่งยืนโดยขยายการลงทุนปิโตรเคมีในอาเซียนโดยจะใช้ 3 ประเทศ คือไทย เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นฐานการผลิต และ สร้างเครือข่ายปิโตรเคมีที่เชื่อมโยงในภูมิภาคเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้ ปี2561 เอสซีจี
เคมิคอลส์มีกำลังการผลิตปิโตรเคมีใหญ่สุดในอาเซียน โดยมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 5.8 ล้านตันต่อปี และผลิตเม็ดพลาสติกได้หลากหลายชนิด
พร้อมทั้งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) เพื่อลดความผันผวนของวัฎจักรราคาปิโตรเคมี สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ โดยไทยจะเป็นฐานการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม (HVA) เนื่องจากโรงงานเก่าและมีขนาดเล็ก จึงเน้นปรับปรุงเพื่อผลิตสินค้าHVA แทน ส่วนอินโดนีเซียจะเน้นการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดทั่วไปและสินค้า HVAเพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้บริษัท พีที จันทรา แอสซรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีครบวงจรที่อินโดนีเซียที่เอสซีจีฯถือหุ้นอยู่ 30% จะขยายกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มขึ้นจาก 6 แสนตันเป็น 8.5 แสนตันต่อปี รวมทั้งจันทรา แอสซรี ได้จับมือกับมิชลิน ร่วมลงทุนทำยางสังเคราะห์ประเภท อีโค ไทรส์ (Eco Tyres) เงินลงทุน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนที่เวียดนามจะเป็นฐานการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดทั่วไปเพื่อป้อนตลาดในประเทศและส่งออก ซึ่งโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนามมูลค่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น โครงการนี้มีความคืบหน้าไปมาก ได้ส่งหนังสือไปยังผู้รับเหมาเข้ามาประมูลก่อสร้างโครงการแล้ว คาดว่าปีหน้าจะได้ข้อสรุป รวมทั้งแหล่งเงินกู้จะได้ข้อยุติในปลายปีหน้าโดยกลุ่มเอสซีจีจะถือหุ้นใหญ่สุด 46%ที่เหลือจะเป็นเวียดนาม และกาตาร์ฯ
นายชลณัฐ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการขายสินค้าHVAจากปัจจุบัน 50%เป็น 60%ของรายได้รวมในปี 2561 โดยนวัตกรรมสินค้าที่เอสซีจี เคมิคอลส์มุ่งพัฒนา แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินค้าประเภท Petrochemical HVA เน้น บรรจุภัณฑ์ และคอมพาวด์ อาทิ พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ท่อเพื่อการก่อสร้างและสาธารณูปโภค พลาสติกที่ใช้ในวงการแพทย์และสาธารณสุข
ส่วนสินค้าประเภท Non Petrochemical HVA การขายเทคโนโลยี สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Products) เช่น Emisspro (สารเคลือบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสำหรับเตาเผา) และสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากน้ำมันน้อย เช่น พีวีซี เป็นต้น
สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปีหน้า คาดว่าราคาปิโตรเคมีจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีนี้ แม้ว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่เข้าสู่ตลาดโลกแต่ไม่มากนัก โดยราคาปิโตรเคมีจะปรับขึ้นไปสูงสุดในปี 2559-2560 หลังจากนั้นจะเข้าสู่วัฎจักรขาลง เนื่องจากมีกำลังการผลิตเอทิลีนใหม่จากสหรัฐฯเข้ามา โดย 9 เดือนแรกปี 2556 มาร์จินเม็ดพลาสติกปรับขึ้นมาอยู่ที่ 500-600 เหรียญสหรัฐ/ตัน
โดยทิศทางรายได้ของเอสซีจี เคมิคอลส์จะเติบโตปีละ 5-10%ในช่วง 5ปีข้างหน้าจากปัจจุบันมีรายได้ 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมรายได้จากอินโดนีเซียและเวียดนาม
นายชลณัฐ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯไม่มีนโยบายที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกต้นน้ำ แต่จะผลิตไบโอพลาสติก คอมพาวด์เพื่อใช้พัฒนาเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นท่ออายุการใช้งาน 100ปี รีไซเคิลได้ 100% เป็นต้น
ส่วนการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือการเพิกถอนหุ้นบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (TPC) ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นอยู่ 91%ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยปีนี้กำไรจากธุรกิจพีวีซีต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่ารายได้จากการขายพีวีซีและท่อพีวีซีจะมากขึ้นกว่าปีก่อน 5-6%ก็ตามแต่เชื่อว่าปีหน้าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ (สเปรด) พีวีซีจะเกินระดับ 400 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 380 เหรียญสหรัฐ/ตัน และราคาพีวีซีน่าจะเห็นตันละ 1,000 เหรียญสหรัฐ