ASTVผู้จัดการรายวัน – ค่ายยักษ์ “โตโยต้า” ประกาศปรับเป้าหมายการขายปีนี้ลดลงเป็น 3.3 แสนคัน จากเดิมที่เคยหวังไว้ 4 แสนคัน ส่วนตลาดรวมปิดถึง 9.2 แสนคันลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ยิ้มยอดส่งออกยังประคองหรือเติบโตได้ 1% คาดปีหน้าตลาดรวมกลับมาฟื้นตัวถึง 1 ล้านคัน เหตุคนแห่ซื้อรถยนต์ก่อนการปรับโครงสร้างภาษีใหม่
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทปรับลดเป้าหมายการขายปีนี้เป็น 3.3 แสนคัน จากเดิมที่เคยประเมินไว้ 4 แสนคัน โดยลดลง 25% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่โตโยต้าทำได้ 4.4 แสนคัน สอดคล้องกับตลาดรวมที่คาดว่าจะมีจำนวน 9.2 แสนคัน ตก 30.9% เมื่อเทียบกับปี 2556 ซึ่งโตโยต้ายังครองส่วนแบ่งตลาด 35% ในจำนวนนี้แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 3.99 แสนคัน รถเพื่อการพาณิชย์ 5.21 แสนคัน
โดยยอดขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 4.4 แสนคัน ลดลง 40.5% โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายลดลง 33.8% ตลาดรถยนต์นั่งลดลง 47.8% และหากเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2556 จะพบว่ายอดขายได้ปรับตัวลง เป็นผลจากการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงต้นปี ที่ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ส่วนครึ่งปีหลังน่าจะมีแน้วโน้มดีขึ้นหรือตกเพียง 20% และเฉลี่ยทั้งปีตกประมาณ 30%
“แม้ตัวเลขการขายปีนี้จะไม่ดีเมื่อเทียบกับปี 2556 และ 2555 ที่ทำได้ 1.43 ล้านคัน และ 1.33 ล้านคันตามลำดับ แต่ถ้านับย้อนไป 3 – 4 ปี และที่เคยเจอวิกฤตน้ำท่วม ตัวเลขอยู่ระดับ 7.9-8 แสนคัน ดังนั้นปีนี้ถ้าทำได้ 9.2 แสนคันก็ถือว่าดีแล้ว”
อย่างไรก็ตามปัจจัยลบที่ต้องจับตาในครึ่งปีหลัง ยังอยู่ที่การธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติ ตลอดจนปัญหาภัยแล้ง และราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำทั้ง ข้าว ยาง และปาล์ม ตลอดจนปัจจัยภายนอกอย่างสงครามตะวันออกกลาง หากลุกลามและยืดเยื้อจะมีผลต่อการส่งออกรถยนต์เช่นกัน
บริษัทดำเนินกิจการในประเทศไทย มากกว่า 50 ปี เราเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและยังคงยืนยันว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและศูนย์กลางแห่งการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโตโยต้า เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตที่แข่งแกร่งในทุกด้าน และมีการสนับสนุนการผลิตครบวงจร
ขณะที่การผลิตรถยนต์ในปีนี้ ทางโรงงานได้ปรับลดการทำงานล่วงเวลาลงไปบ้าง แม้ยอดขายในประเทศจะลดลงแต่การส่งออกยังถือว่าน่าพอใจ ซึ่งมีบริษัทแม่คือ โตโยต้า มอเตอร์ คอปอเรชัน คอยดูแลและบริหารจัดการเรื่องกำลังการผลิตอยู่ ซึ่งตัวเลขการส่งออกปีน่าจะทำได้ 4.33 แสนคัน เติบโต 1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่สัดส่วนการส่งออกกับการขายในประเทศถูกปรับจาก 50/50 ในปีที่แล้วเป็น 60/40 ในปีนี้
อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าตลาดรถยนต์ในปีหน้าจะกลับมาฟื้นตัวอย่างแน่นอน คาดว่า GDP จะถึง 4-5% ยิ่งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 กำลังลังซื้อยังเพิ่มมากขึ้นจากการที่ผู้บริโภคต้องซื้อรถยนต์ก่อนการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ในปี2559 ประกอบกับการเปิดAEC จะช่วยให้เศรษฐกิจทั้งภูมิภาคดีขึ้น ดังนั้นตลาดรวมจะกลับมาอยู่ระดับ 1 ล้านคันอย่างแน่นอน
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทปรับลดเป้าหมายการขายปีนี้เป็น 3.3 แสนคัน จากเดิมที่เคยประเมินไว้ 4 แสนคัน โดยลดลง 25% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่โตโยต้าทำได้ 4.4 แสนคัน สอดคล้องกับตลาดรวมที่คาดว่าจะมีจำนวน 9.2 แสนคัน ตก 30.9% เมื่อเทียบกับปี 2556 ซึ่งโตโยต้ายังครองส่วนแบ่งตลาด 35% ในจำนวนนี้แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 3.99 แสนคัน รถเพื่อการพาณิชย์ 5.21 แสนคัน
โดยยอดขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 4.4 แสนคัน ลดลง 40.5% โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายลดลง 33.8% ตลาดรถยนต์นั่งลดลง 47.8% และหากเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2556 จะพบว่ายอดขายได้ปรับตัวลง เป็นผลจากการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงต้นปี ที่ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ส่วนครึ่งปีหลังน่าจะมีแน้วโน้มดีขึ้นหรือตกเพียง 20% และเฉลี่ยทั้งปีตกประมาณ 30%
“แม้ตัวเลขการขายปีนี้จะไม่ดีเมื่อเทียบกับปี 2556 และ 2555 ที่ทำได้ 1.43 ล้านคัน และ 1.33 ล้านคันตามลำดับ แต่ถ้านับย้อนไป 3 – 4 ปี และที่เคยเจอวิกฤตน้ำท่วม ตัวเลขอยู่ระดับ 7.9-8 แสนคัน ดังนั้นปีนี้ถ้าทำได้ 9.2 แสนคันก็ถือว่าดีแล้ว”
อย่างไรก็ตามปัจจัยลบที่ต้องจับตาในครึ่งปีหลัง ยังอยู่ที่การธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติ ตลอดจนปัญหาภัยแล้ง และราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำทั้ง ข้าว ยาง และปาล์ม ตลอดจนปัจจัยภายนอกอย่างสงครามตะวันออกกลาง หากลุกลามและยืดเยื้อจะมีผลต่อการส่งออกรถยนต์เช่นกัน
บริษัทดำเนินกิจการในประเทศไทย มากกว่า 50 ปี เราเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและยังคงยืนยันว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและศูนย์กลางแห่งการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโตโยต้า เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตที่แข่งแกร่งในทุกด้าน และมีการสนับสนุนการผลิตครบวงจร
ขณะที่การผลิตรถยนต์ในปีนี้ ทางโรงงานได้ปรับลดการทำงานล่วงเวลาลงไปบ้าง แม้ยอดขายในประเทศจะลดลงแต่การส่งออกยังถือว่าน่าพอใจ ซึ่งมีบริษัทแม่คือ โตโยต้า มอเตอร์ คอปอเรชัน คอยดูแลและบริหารจัดการเรื่องกำลังการผลิตอยู่ ซึ่งตัวเลขการส่งออกปีน่าจะทำได้ 4.33 แสนคัน เติบโต 1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่สัดส่วนการส่งออกกับการขายในประเทศถูกปรับจาก 50/50 ในปีที่แล้วเป็น 60/40 ในปีนี้
อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าตลาดรถยนต์ในปีหน้าจะกลับมาฟื้นตัวอย่างแน่นอน คาดว่า GDP จะถึง 4-5% ยิ่งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 กำลังลังซื้อยังเพิ่มมากขึ้นจากการที่ผู้บริโภคต้องซื้อรถยนต์ก่อนการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ในปี2559 ประกอบกับการเปิดAEC จะช่วยให้เศรษฐกิจทั้งภูมิภาคดีขึ้น ดังนั้นตลาดรวมจะกลับมาอยู่ระดับ 1 ล้านคันอย่างแน่นอน