คสช.กลับลำสั่งกระทรวงพลังงานลดราคาแอลพีจีที่ปรับขึ้นเมื่อ 1 มิ.ย. 50 สตางค์ต่อ กก.หันมาใช้ราคาเดิมคือเดือน พ.ค.ที่ 22.63 บาทต่อกก. จนกว่าจะปรับโครงสร้างภาพรวมเสร็จ ส่วนนโยบายดีเซลยังคงเดินหน้ายึดราคาไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรไปก่อนจนกว่าจะปรับโครงสร้างใหญ่ ด้านผู้ค้าน้ำมันลดแก๊สโซฮอล์ลง 40 สตางค์ต่อลิตร หลังเพิ่งขึ้นไปวันเดียวแบบไม่มีเหตุผล
พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานดําเนินการตรึงราคากาซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนโดยให้กลับไปใช้ราคาเดิมของเดือน พ.ค.ซึ่งจะมีราคาอยู่ที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) โดยการเปลี่ยนแปลงราคาจะรอจนกว่าจะดําเนินการปรับ โครงสร้างราคาแอลพีจีภาพรวมให้แล้วเสร็จ
“เกณฑ์ราคาเดิมที่จะต้องปรับขึ้นทุกเดือนๆ ละ 50 สตางค์ต่อกก.โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.57 ได้ปรับขึ้นอีก 50 สตางค์ต่อกก.ทำให้ราคาแอลพีจีครัวเรือนมีราคาอยู่ที่ 23.13 บาทต่อ กก. ก็ให้กลับมาใช้ในราคาเดือน พ.ค.แทนโดยเรื่องนี้ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพลังงานและบมจ.ปตท.ดำเนินการตรวจสอบราคาให้กลับมาจำหน่ายในราคาเดือน พ.ค.ไปก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจนในโครงสร้างใหม่” พล.อ.อ.ประจินกล่าว
นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ตรึงราคาน้ำมัน ดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรต่อไปตามนโยบายเดิมจนกว่าจะมีการปรับโครงสร้าง ราคานํามันและราคาพลังงานใหเสร็จในภาพรวม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1มิ.ย.) เวลา 17.00 น. บมจ.บางจากและ บมจ.ปตท.ได้แจ้งลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลงทุกชนิด40 สตางค์ต่อลิตร ยกเว้นแก๊สโซฮอล์อี 85 ลดลง 20สตางค์ต่อลิตรมีผลตั้งแต่วันนี้(2มิ.ย.)เป็นต้นไป หลังจากที่ผู้ค้าน้ำมันได้แจ้งเปลี่ยนแปลงราคาขึ้นไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค.และมีผลเพียงวันเดียวคือเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.อ ย่างไรก็ตาม การแจ้งลดราคาไม่ได้ให้เหตุผลถึงสาเหตุที่แท้จริงแต่อย่างใด
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในเขตกทม.และปริมณฑลเป็นดังนี้ เบนซิน 95คงเดิมที่ 49.15 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่41.13 บาทต่อลิตร อี 20 อยู่ที่ 36.18 บาทต่อลิตร อี 85 อยู่ที่ 24.78 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 38.68 บาทต่อลิตร และดีเซลคงเดิมที่ 29.99 บาทต่อลิตร
พล.องอ.ประจินยังสั่งให้คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่อัตรา 7% ออกไปอีก 1 ปี พร้อมกับเร่งปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยมอบหมายให้นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ยังมีโครงการเร่งด่วน คือ โครงการประกันภัยข้าวนาปี 2557 โดยให้เตรียมวงเงินไว้สำหรับจ่ายค่าเบี้ยประกัน และจ่ายค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้น และให้มีการเร่งลงทุนขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟฟ้า รางรถไฟ และถนน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงให้มีการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ทั้ง ไทย-มาเลเซีย, ไทย-ลาว และไทย-พม่าอย่างเป็นรูปธรรมให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้
"โครงการที่ต้องขับเคลื่อนเร่งด่วน เช่น การค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น และให้ผลักดันสินเชื่อที่อาศัย ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยจะปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีประวัติดี ไม่เป็นหนี้เสีย รายละ 1.5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 1-3 ปีคงที่ 4.125% และเร่งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
สำหรับโครงการเร่งด่วนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ 30 โครงการเร่งด่วนที่ต้องให้แล้วเสร็จในเดือนมิ.ย. ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 30 ด้าน ที่สามารถสรุปออกมาได้เป็น 10 เรื่อง คือ 1.การใช้งบประมาณไม่เกินตัวจนผิดวินัยการคลัง 2.สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน 3.เร่งงบประมาณปี 2557 ที่ค้างอยู่ 4.แก้ไขข้อจำกัดด้านกฏหมายที่ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ
5.เร่งรัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ 6.ยึดวินัยการคลัง กฎกติกาของบริษัทมหาชน 7.จัดตั้งกองทุนเอกชน ทดแทนการลงทุนภาครัฐ 8.เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานรัฐวิสาหกิจ 9.ผลักดันด้านพลังงานทดแทน และ 10.เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้.
พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานดําเนินการตรึงราคากาซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนโดยให้กลับไปใช้ราคาเดิมของเดือน พ.ค.ซึ่งจะมีราคาอยู่ที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) โดยการเปลี่ยนแปลงราคาจะรอจนกว่าจะดําเนินการปรับ โครงสร้างราคาแอลพีจีภาพรวมให้แล้วเสร็จ
“เกณฑ์ราคาเดิมที่จะต้องปรับขึ้นทุกเดือนๆ ละ 50 สตางค์ต่อกก.โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.57 ได้ปรับขึ้นอีก 50 สตางค์ต่อกก.ทำให้ราคาแอลพีจีครัวเรือนมีราคาอยู่ที่ 23.13 บาทต่อ กก. ก็ให้กลับมาใช้ในราคาเดือน พ.ค.แทนโดยเรื่องนี้ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพลังงานและบมจ.ปตท.ดำเนินการตรวจสอบราคาให้กลับมาจำหน่ายในราคาเดือน พ.ค.ไปก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจนในโครงสร้างใหม่” พล.อ.อ.ประจินกล่าว
นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ตรึงราคาน้ำมัน ดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรต่อไปตามนโยบายเดิมจนกว่าจะมีการปรับโครงสร้าง ราคานํามันและราคาพลังงานใหเสร็จในภาพรวม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1มิ.ย.) เวลา 17.00 น. บมจ.บางจากและ บมจ.ปตท.ได้แจ้งลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลงทุกชนิด40 สตางค์ต่อลิตร ยกเว้นแก๊สโซฮอล์อี 85 ลดลง 20สตางค์ต่อลิตรมีผลตั้งแต่วันนี้(2มิ.ย.)เป็นต้นไป หลังจากที่ผู้ค้าน้ำมันได้แจ้งเปลี่ยนแปลงราคาขึ้นไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค.และมีผลเพียงวันเดียวคือเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.อ ย่างไรก็ตาม การแจ้งลดราคาไม่ได้ให้เหตุผลถึงสาเหตุที่แท้จริงแต่อย่างใด
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในเขตกทม.และปริมณฑลเป็นดังนี้ เบนซิน 95คงเดิมที่ 49.15 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่41.13 บาทต่อลิตร อี 20 อยู่ที่ 36.18 บาทต่อลิตร อี 85 อยู่ที่ 24.78 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 38.68 บาทต่อลิตร และดีเซลคงเดิมที่ 29.99 บาทต่อลิตร
พล.องอ.ประจินยังสั่งให้คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่อัตรา 7% ออกไปอีก 1 ปี พร้อมกับเร่งปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยมอบหมายให้นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ยังมีโครงการเร่งด่วน คือ โครงการประกันภัยข้าวนาปี 2557 โดยให้เตรียมวงเงินไว้สำหรับจ่ายค่าเบี้ยประกัน และจ่ายค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้น และให้มีการเร่งลงทุนขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟฟ้า รางรถไฟ และถนน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงให้มีการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ทั้ง ไทย-มาเลเซีย, ไทย-ลาว และไทย-พม่าอย่างเป็นรูปธรรมให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้
"โครงการที่ต้องขับเคลื่อนเร่งด่วน เช่น การค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น และให้ผลักดันสินเชื่อที่อาศัย ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยจะปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีประวัติดี ไม่เป็นหนี้เสีย รายละ 1.5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 1-3 ปีคงที่ 4.125% และเร่งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
สำหรับโครงการเร่งด่วนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ 30 โครงการเร่งด่วนที่ต้องให้แล้วเสร็จในเดือนมิ.ย. ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 30 ด้าน ที่สามารถสรุปออกมาได้เป็น 10 เรื่อง คือ 1.การใช้งบประมาณไม่เกินตัวจนผิดวินัยการคลัง 2.สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน 3.เร่งงบประมาณปี 2557 ที่ค้างอยู่ 4.แก้ไขข้อจำกัดด้านกฏหมายที่ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ
5.เร่งรัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ 6.ยึดวินัยการคลัง กฎกติกาของบริษัทมหาชน 7.จัดตั้งกองทุนเอกชน ทดแทนการลงทุนภาครัฐ 8.เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานรัฐวิสาหกิจ 9.ผลักดันด้านพลังงานทดแทน และ 10.เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้.