ASTVผู้จัดการรายวัน – ปัจจัยลบซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยกรมศุลกากรเตรียมปรับเป้าหมายจัดเก็บรายได้ลงจาก 1.36 แสนล้านบาท เผยหลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและเหตุการณ์ทางการเมืองฉุดรายได้ต่ำกว่าประมาณการณ์แล้วปีละกว่า 20% คาดส่งผลกระทบต่อเนื่องกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้านำเข้าลดลงตามไปด้วย
นายยุทธนา หยิมการุณ รองอธิบดี กรมศุลกากร เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรใน ช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการนำเข้าที่ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วงที่ผ่านมา ต่ำกว่าเป้าหมาย และเมื่อมาเจอกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง มีการปิดล้อมสถานที่ราชการ จึงมาซ้ำเติมการจัดเก็บรายได้ ที่ปัจจุบันเฉลี่ยต่ำกว่าประมาณการเดือนละ 20% จากเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2557 ที่ 1.36 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับเป้าหมายตัวเลขอีกครั้ง เพราะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม น่าจะมีความชัดเจนขึ้น
"เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ทำให้ยอดคำสั่งซื้อขายสินค้าล่วงหน้าของผู้ส่งออกลดลง จึงมีผลต่อการนำเข้าสินค้าทุนไปด้วย เพราะผู้ประกอบการจะมีการเตรียมล่วงหน้า 3-6 เดือนอยู่แล้ว จึงกระทบต่อรายได้ของกรมศุลกากรโดยตรง และเมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มกปปส. มีผลกระทบต่อพิธีการศุลการบางส่วน ที่เป็นความล่าช้าบ้าง แต่ผู้ประกอบการยังพอใจ เป็นจุดที่ผู้ประกอบการยังรับได้" นายยุทธนากล่าว
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้ที่ลดลงของกรมศุลกากรจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพกรด้วย เพราะมีบางส่วนที่กรมศุลกากรจัดเแทน คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการนำเข้า ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านบาท ดังนั้นหากการนำเข้าลดลงประมาณ 20% ก็จะทำให้รายได้บางส่วนของกรมสรรพากรหายไปด้วยเช่นกัน
ด้านกรมสรรพสามิต นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมได้เตรียมมาตรการรองรับในการจัดเก็บภาษีของปีนี้ไว้แล้ว หากสถานการณ์ทางเมืองยืดเยื้อทำให้กระทบการ จัดเก็บรายได้ของกรมโดยยืนยันข้าราชการทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำงานได้ 100% ก็ตาม โดยแผนการดำเนินงานการจัดเก็บภาษีในปี 2557 นี้กรมจะนำเสนอมาตรการให้กับรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป อีกทั้งยังต้องเฝ้าติดตามการลักลอบนำเข้าสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ และโดยเฉพาะบารากุที่ปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม-ธันวาคม 2556) กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 104,372 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 10,387 ล้านบาท หรือ 9.1% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.3%) ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 7,907 ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.3% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.6%) เนื่องจากขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลออกไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 (2) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 7,339 ล้านบาท หรือคิดเป็น 21.1% (ต่ำกว่าปีที่แล้ว 42.5%)
ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 2,509 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15.0 % (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.3%) อย่างไรก็ดี ภาษีสุราและภาษีเบียร์ จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 4,259 และ 3,867 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28.8% และ 20.4% ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 46.6% และ 11.1% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุรา เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา.
นายยุทธนา หยิมการุณ รองอธิบดี กรมศุลกากร เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรใน ช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการนำเข้าที่ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วงที่ผ่านมา ต่ำกว่าเป้าหมาย และเมื่อมาเจอกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง มีการปิดล้อมสถานที่ราชการ จึงมาซ้ำเติมการจัดเก็บรายได้ ที่ปัจจุบันเฉลี่ยต่ำกว่าประมาณการเดือนละ 20% จากเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2557 ที่ 1.36 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับเป้าหมายตัวเลขอีกครั้ง เพราะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม น่าจะมีความชัดเจนขึ้น
"เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ทำให้ยอดคำสั่งซื้อขายสินค้าล่วงหน้าของผู้ส่งออกลดลง จึงมีผลต่อการนำเข้าสินค้าทุนไปด้วย เพราะผู้ประกอบการจะมีการเตรียมล่วงหน้า 3-6 เดือนอยู่แล้ว จึงกระทบต่อรายได้ของกรมศุลกากรโดยตรง และเมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มกปปส. มีผลกระทบต่อพิธีการศุลการบางส่วน ที่เป็นความล่าช้าบ้าง แต่ผู้ประกอบการยังพอใจ เป็นจุดที่ผู้ประกอบการยังรับได้" นายยุทธนากล่าว
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้ที่ลดลงของกรมศุลกากรจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพกรด้วย เพราะมีบางส่วนที่กรมศุลกากรจัดเแทน คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการนำเข้า ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านบาท ดังนั้นหากการนำเข้าลดลงประมาณ 20% ก็จะทำให้รายได้บางส่วนของกรมสรรพากรหายไปด้วยเช่นกัน
ด้านกรมสรรพสามิต นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมได้เตรียมมาตรการรองรับในการจัดเก็บภาษีของปีนี้ไว้แล้ว หากสถานการณ์ทางเมืองยืดเยื้อทำให้กระทบการ จัดเก็บรายได้ของกรมโดยยืนยันข้าราชการทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำงานได้ 100% ก็ตาม โดยแผนการดำเนินงานการจัดเก็บภาษีในปี 2557 นี้กรมจะนำเสนอมาตรการให้กับรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป อีกทั้งยังต้องเฝ้าติดตามการลักลอบนำเข้าสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ และโดยเฉพาะบารากุที่ปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม-ธันวาคม 2556) กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 104,372 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 10,387 ล้านบาท หรือ 9.1% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.3%) ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 7,907 ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.3% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.6%) เนื่องจากขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลออกไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 (2) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 7,339 ล้านบาท หรือคิดเป็น 21.1% (ต่ำกว่าปีที่แล้ว 42.5%)
ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 2,509 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15.0 % (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.3%) อย่างไรก็ดี ภาษีสุราและภาษีเบียร์ จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 4,259 และ 3,867 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28.8% และ 20.4% ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 46.6% และ 11.1% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุรา เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา.