ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังหารายได้อุดประชานิยม เตรียมชงรัฐบาลขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหวังเก็บภาษีเพิ่มอีก 5 หมื่นล้านบาท พร้อมปัดฝุ่นกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยันไม่กระทบประชาชนทั่วไปที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์อยู่อาศัย จะนำร่องที่ดินรกร้างว่างเปล่า-สิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายเพื่อเก็งกำไร
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. มีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ (VAT) โดยปรับเพิ่มขึ้นอีก 1% หรือจากปัจจุบัน 7% เป็น 8% ซึ่งการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุก 1% จะทำให้รัฐบาลมีรายเพิ่มขึ้นประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท หากรัฐบาลสามารถปรับขึ้นอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้ในระบบเพิ่มมากขึ้น
สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องระวัง หากเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม จะส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อประชาชน ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้น หากรัฐบาลจะปรับเพิ่มภาษี ควรจะปรับในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี เพื่อลดผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชน อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม คงจะยังไม่มีการปรับโครงสร้างในเร็วๆ นี้ เนื่องจากเป็นเพียงแนวคิด นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าประเทศไทยยังมีฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและจะสามารถขยายตัวเติบโตได้ในอีก 3-4 ปี ข้างหน้า
นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังมีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างภาษีและกฎหมายการเงินการคลังของประเทศ โดยเฉพาะภาษีแม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเชื่อว่าจะต้องปรับปรุงกฎหมายทั้ง 2 ประเภทให้สอดคล้องกับปัจจัยเศรษฐกิจการและการบริโภคในประเทศ เนื่องจากเป็นฐานรายได้สำคัญที่ภาครัฐจะนำมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาประเทศ
ขณะเดียวกันภาพรวมปัจจุบันฐานภาษีของไทยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ยังต่ำมาก เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สำคัญหลังจากนี้ สศค.เตรียมเดินหน้าผลักดันการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือพร็อพเพอร์ตี้แท็ก ซึ่งมีการผลักดันมาแล้วในรัฐบาลที่ผ่านมา และสศค.นำกลับมาเสนอรัฐบาลปัจจุบันพิจารณาอีกครั้ง โดยนำโครงสร้างภาษีดังกล่าวเสนอนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พิจารณาแล้ว
ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ให้การดำเนินการขั้นแรกของภาษีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วไปที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ดังนั้น สศค.จะพิจารณานำร่องจัดเก็บภาษีดังกล่าวกับที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการซื้อขายเพื่อการเก็งกำไร ก็จะผลักดันให้การจัดเก็บภาษีดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ เบื้องต้นพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้การนำภาษีดังกล่าวมาใช้สอดคล้องกับสถานการณ์และไม่ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการมากเกินไป.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. มีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ (VAT) โดยปรับเพิ่มขึ้นอีก 1% หรือจากปัจจุบัน 7% เป็น 8% ซึ่งการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุก 1% จะทำให้รัฐบาลมีรายเพิ่มขึ้นประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท หากรัฐบาลสามารถปรับขึ้นอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้ในระบบเพิ่มมากขึ้น
สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องระวัง หากเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม จะส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อประชาชน ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้น หากรัฐบาลจะปรับเพิ่มภาษี ควรจะปรับในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี เพื่อลดผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชน อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม คงจะยังไม่มีการปรับโครงสร้างในเร็วๆ นี้ เนื่องจากเป็นเพียงแนวคิด นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าประเทศไทยยังมีฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและจะสามารถขยายตัวเติบโตได้ในอีก 3-4 ปี ข้างหน้า
นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังมีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างภาษีและกฎหมายการเงินการคลังของประเทศ โดยเฉพาะภาษีแม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเชื่อว่าจะต้องปรับปรุงกฎหมายทั้ง 2 ประเภทให้สอดคล้องกับปัจจัยเศรษฐกิจการและการบริโภคในประเทศ เนื่องจากเป็นฐานรายได้สำคัญที่ภาครัฐจะนำมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาประเทศ
ขณะเดียวกันภาพรวมปัจจุบันฐานภาษีของไทยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ยังต่ำมาก เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สำคัญหลังจากนี้ สศค.เตรียมเดินหน้าผลักดันการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือพร็อพเพอร์ตี้แท็ก ซึ่งมีการผลักดันมาแล้วในรัฐบาลที่ผ่านมา และสศค.นำกลับมาเสนอรัฐบาลปัจจุบันพิจารณาอีกครั้ง โดยนำโครงสร้างภาษีดังกล่าวเสนอนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พิจารณาแล้ว
ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ให้การดำเนินการขั้นแรกของภาษีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วไปที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ดังนั้น สศค.จะพิจารณานำร่องจัดเก็บภาษีดังกล่าวกับที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการซื้อขายเพื่อการเก็งกำไร ก็จะผลักดันให้การจัดเก็บภาษีดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ เบื้องต้นพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้การนำภาษีดังกล่าวมาใช้สอดคล้องกับสถานการณ์และไม่ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการมากเกินไป.