ASTVผู้จัดการรายวัน-ผู้ว่าการแบงก์ชาติ หว่งการเมืองกระทบเศรษฐกิจ ระบุท่องเที่ยว การบริโภคชะลอตัว เชื่อการชุมนุมและความขัดแย้งยังไม่จบ เพราะประชาชนขาดความไว้ใจ ชี้แบงก์ชาติพร้อมทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและภาคการเงิน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวปาถกฐาในหัวข้อ“เศรษฐกิจไทยภายใต้ความผันผวน” ว่า เป็นห่วงการชุมนุมทางการเมืองของหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ผ่านมาเศรษฐกิจเริ่มมีผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวบ้างแล้ว โดยชัดเจนที่สุดคือการท่องเที่ยว การบริโภค ที่เริ่มมีสัญญาณออกมาว่าชะลอตัว ภาคธุรกิจหลายองค์กรออกมาเคลื่อนไหวส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเอกชนเริ่มลดลง เพราะมีความแตกแยกเกิดขึ้น
ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่กำกับดูแลเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน พร้อมที่จะทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่องรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งธปท.ได้เตรียมความพร้อมทำหน้าที่และมีเครื่องมือในการดูแลเสถียรภาพการเงินอยู่แล้ว
"การเคลื่อนไหวและการชุมนุมมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในวันนี้จันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่จะมีการการชุมนุมแบบดาวกระจายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่อาจเกิดการเผชิญหน้า รวมทั้งเป็นวันที่ศาลโลกจะอ่านคำพิพากษาในคดีเขาพระวิหารด้วย ซึ่งขณะนี้ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองเริ่มบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจแล้ว จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก"ผู้ว่าธปท.กล่าว
ส่วนกรณีที่มีพนักงานของ ธปท.ออกมาคัดคัานการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้านนอกพื้นที่ของ ธปท.ว่าเรื่องนี้ถือเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย และไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งการออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของประชาชนนั้น ถือเป็นเรื่องในทางบวกที่ประชาชนที่เคยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลมาก่อนออกมาแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยไม่คำนึงถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งจุดนี้ทำให้เห็นว่าประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความไม่ถูกต้องได้เอง โดยจุดนี้นับเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย เพราะสิ่งสำคัญของความสำเร็จของนโยบายสาธารณะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของสาธารณชน หรือ Public office is a public trust. ซึ่งการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐบาลเป็นตัวอย่างของความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่เกิดขึ้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จึงควรแก้ที่ต้นเหตุของความไม่ไวัวางใจ
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งจะยังมีต่อไป เพราะการออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นเรื่องปลายเหตุ ซึ่งที่ผ่านมา หากมองถึงนโยบายอื่น อาทิ โครงการรับจำนำข้าว ก็มีแนวทางไม่ต่างกัน คือแม้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลยังเดินหน้าต่อ ทำให้ขณะนี้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น พร้อมยอมรับว่า การออกมาชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ซึ่งหลังจากนี้ต้องหาแนวทางทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมา
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวปาถกฐาในหัวข้อ“เศรษฐกิจไทยภายใต้ความผันผวน” ว่า เป็นห่วงการชุมนุมทางการเมืองของหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ผ่านมาเศรษฐกิจเริ่มมีผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวบ้างแล้ว โดยชัดเจนที่สุดคือการท่องเที่ยว การบริโภค ที่เริ่มมีสัญญาณออกมาว่าชะลอตัว ภาคธุรกิจหลายองค์กรออกมาเคลื่อนไหวส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเอกชนเริ่มลดลง เพราะมีความแตกแยกเกิดขึ้น
ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่กำกับดูแลเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน พร้อมที่จะทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่องรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งธปท.ได้เตรียมความพร้อมทำหน้าที่และมีเครื่องมือในการดูแลเสถียรภาพการเงินอยู่แล้ว
"การเคลื่อนไหวและการชุมนุมมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในวันนี้จันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่จะมีการการชุมนุมแบบดาวกระจายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่อาจเกิดการเผชิญหน้า รวมทั้งเป็นวันที่ศาลโลกจะอ่านคำพิพากษาในคดีเขาพระวิหารด้วย ซึ่งขณะนี้ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองเริ่มบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจแล้ว จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก"ผู้ว่าธปท.กล่าว
ส่วนกรณีที่มีพนักงานของ ธปท.ออกมาคัดคัานการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้านนอกพื้นที่ของ ธปท.ว่าเรื่องนี้ถือเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย และไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งการออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของประชาชนนั้น ถือเป็นเรื่องในทางบวกที่ประชาชนที่เคยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลมาก่อนออกมาแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยไม่คำนึงถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งจุดนี้ทำให้เห็นว่าประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความไม่ถูกต้องได้เอง โดยจุดนี้นับเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย เพราะสิ่งสำคัญของความสำเร็จของนโยบายสาธารณะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของสาธารณชน หรือ Public office is a public trust. ซึ่งการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐบาลเป็นตัวอย่างของความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่เกิดขึ้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จึงควรแก้ที่ต้นเหตุของความไม่ไวัวางใจ
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งจะยังมีต่อไป เพราะการออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นเรื่องปลายเหตุ ซึ่งที่ผ่านมา หากมองถึงนโยบายอื่น อาทิ โครงการรับจำนำข้าว ก็มีแนวทางไม่ต่างกัน คือแม้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลยังเดินหน้าต่อ ทำให้ขณะนี้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น พร้อมยอมรับว่า การออกมาชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ซึ่งหลังจากนี้ต้องหาแนวทางทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมา