ทุนสามานย์ถูกอ้างถึงกันบ่อยๆ ทั้งที่บางทีก็ดูจะไม่รู้ว่าผู้อ้างหมายถึงอะไร จอร์จ โซรอส มักถูกยกมาอ้างว่าเป็นตัวอย่างของทุนสามานย์เพราะเชื่อว่าเขาโจมตีค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 แต่ถ้าอ่านรายงานของ ศปร. ด้วยใจเป็นกลาง อาจจะเดาได้ว่าใครในหมู่คนไทยด้วยกันที่สามานย์กว่าเขาหลายเท่านัก
ในบรรดามหาเศรษฐีอเมริกันย่อมมีนายทุนสามานย์อยู่บ้าง แต่คนอย่างบิล เกตส์ อภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของอเมริกาและอันดับ 2 ของโลกน่าจะมีความเป็นทุนสามานย์ไม่มากนัก เรื่องราวของเขาอาจหาอ่านได้ทั่วไปรวมทั้งในหนังสือชื่อ เสือ สิงห์ กระทิง แรด ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของคลังข้อมูลสาธารณะ www.openbase.in.th หรือจากของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.org (สิงห์คือ จอร์จ โซรอส กระทิงคือ บิล เกตส์)
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Financial Times Magazine พิมพ์บทความของริชาร์ด วอเตอร์ส ออกมา เนื้อหาของบทความส่วนใหญ่ได้มาจากการสัมภาษณ์บิล เกตส์ เกี่ยวกับงานด้านการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของเขา การสัมภาษณ์นั้นเป็นข่าวพาดหัวด้วยปัจจัยหลายอย่าง ขอนำบางประเด็นมาเล่าเนื่องจากมันเข้ากับบริบทของสังคมไทยในตอนนี้ได้ดีมาก
ประเด็นแรกได้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย บิล เกตส์ สงสัยว่ามันจะแก้ปัญหาของโลกปัจจุบันได้ทันกาลหรือ เป็นที่ทราบกันดี ระบอบนี้จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อประชาชนเข้าใจในความเป็นไปรอบด้านและเข้าร่วมกระบวนการอย่างทั่วถึง โลกในยุคนี้มีความเชื่อมโยงและความสลับซับซ้อนสูงมาก นอกจากนั้น มันยังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย คนทั่วไปจึงไม่มีความเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง ฉะนั้น โอกาสที่พวกเขาจะตัดสินใจทำอะไรบนฐานของความเข้าใจอย่างถ่องแท้จึงมีน้อย นอกจากนั้น ระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่องช้าไม่ว่าจำทำอะไรก็ตาม มันจึงไม่น่าจะเหมาะกับโลกยุคปัจจุบันซึ่งต้องการการตัดสินใจที่รวดเร็วทันความเปลี่ยนแปลง
บิล เกตส์ ไม่ได้พูดถึงความฉ้อฉลและการซื้อสิทธิ์ขายเสียงซึ่งมีอยู่สูงมากในสังคมไทย หากรวมความชั่วร้ายเหล่านี้เข้าไป ระบอบประชาธิปไตยย่อมนำมาซึ่งปัญหาสารพัดรวมทั้งการเลือกนายกรัฐมนตรีที่มีความรอบรู้เพียงจำกัดซ้ำร้ายยังขาดศีลธรรมจรรยา ความสามารถและวุฒิภาวะอีกด้วย
ประเด็นที่สองได้แก่แนวคิดในด้านการบริจาคทรัพย์สิน บิล เกตส์มองว่าการบริจาคจำพวกเพื่อขยายพิพิธภัณฑ์มีความสำคัญลำดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับงานด้านการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มูลนิธิของเขาพยายามทำอยู่ซึ่งได้แก่การช่วยเหลือผู้ขาดโอกาสโดยตรง ประเด็นนี้น่าจะเป็นข้อคิดที่สำคัญมากเนื่องจากช่วงนี้มีงานทอดกฐินทุกวัน คอลัมน์นี้เคยเอ่ยถึงในบริบทต่างๆ ถึงเรื่องทางสายกลางระหว่างการบริจาคให้วัดกับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในรูปของเวลา หรือทรัพย์สิน เท่าที่เห็นอยู่ ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่บริจาคให้แก่การสนับสนุนศึกษาไม่ว่าจะเป็นในรูปไหน แต่จะบริจาคให้วัดเป็นจำนวนมากๆ เมื่อถึงเทศกาลเช่นงานกฐินแม้จะต้องเดินทางไปไกลๆ รวมทั้งในต่างประเทศก็ตาม
หากนำมุมมองของ บิล เกตส์ มาประยุกต์ใช้ คนไทยน่าจะลดส่วนที่บริจาคให้วัดและนำส่วนที่ลดนั้นมาบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาโดยเฉพาะของเยาวชนที่ยากจนและขาดโอกาส
ประเด็นนี้มีเรื่องเกี่ยวเนื่องอีกมากเนื่องจากมีการตีความความหมายคำสัมภาษณ์ของบิล เกตส์ ว่าเป็นการโจมตีบรรดามหาเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการทำธุรกิจเทคโนโลยีด้วยกัน สาเหตุมาจากพวกนั้นให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ไปทั่วทุกมุมโลกมากกว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความยากจนและโรคภัยไข้เจ็บ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กถูกตำหนิโดยตรง
การตำหนิซัคเคอร์เบิร์กสร้างความแปลกใจให้หลายๆ คน ทั้งนี้เพราะมหาเศรษฐีหนุ่มคนนั้นเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของบิล เกตส์ นั่นคือ ซัคเคอร์เบิร์กเป็นหนึ่งในบรรดามหาเศรษฐีจำนวน 114 คนที่เข้าร่วมโครงการด้านบริจาคทรัพย์สินจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของบิล เกตส์และวอร์เรน บัฟเฟตต์ อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า อภิมหาเศรษฐีซึ่งเป็นเพื่อนซี้กันสองคนนั้นตั้งโครงการหนึ่งขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อน เป้าหมายของโครงการได้แก่การชักชวนบรรดามหาเศรษฐีด้วยกันให้เขียนคำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ (รายชื่อของมหาเศรษฐีอเมริกันที่เข้าร่วมโครงการมีอยู่ในเว็บไซต์ www.givingpledge.org) วอร์เรน บัฟเฟตต์ สัญญาว่าจะบริจาค 99% ของทรัพย์สินของเขาซึ่งมีค่าราว 6 หมื่นล้านดอลลาร์และส่วนใหญ่จะบริจาคให้มูลนิธิของบิล เกตส์ บริหารจัดการ
คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิล เกตส์ ลาออกจากงานบริหารบริษัทไมโครซอฟท์มาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เขาต้องการทุ่มเทเวลาและความสามารถให้แก่งานของมูลนิธิที่เขาตั้งขึ้น มูลนิธินั้นบริหารจัดการทรัพย์สินที่เขาบริจาคซึ่งรวมกันแล้วราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และวันหนึ่งเขาอาจบริจาคสูงถึง 95% ของทรัพย์สินของเขา ในปัจจุบันนี้ แต่ละปี มูลนิธินั้นจะใช้เงินเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1 แสนล้านบาท สนับสนุนโครงการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วโลกรวมทั้งโครงการทางด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล การป้องกันและกำจัดโรคร้าย และการลดความอดอยากและความยากจน
บิล เกตส์ มองว่า การเชื่อมโยงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปในทุกซอกทุกมุมของโลกจะไม่เกิดประโยชน์มากนักหากผู้คนยังยากจน เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายและไม่มีการศึกษา ในบรรดาความจำเป็นเร่งด่วนของมนุษย์เรา เขามองว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่มีความสำคัญถึงขั้นเป็นลำดับ 1 ใน 5 เสียด้วยซ้ำ ฉะนั้น การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของเขาจะเน้นการป้องกันและกำจัดโรคร้ายมากที่สุด มูลนิธิของเขาเข้าไปสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้เด็กยากจนทั่วโลก เรื่องสุขภาพและอาหารของแม่และเด็กอ่อน การเข้าถึงน้ำสะอาดของคนยากจน การสกัดกั้นการแพร่ขยายของโรคร้ายเช่นมาลาเรียและวัณโรค ตอนนี้เขามีโจทย์หินโจทย์หนึ่งซึ่งเขาทุ่มเททั้งเงิน เวลา และมันสมองให้ ได้แก่การขจัดโรคโปลิโอให้หมดไปเช่นเดียวกับไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ
เมื่อบิล เกตส์ มองว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่มีความสำคัญในระดับต้น ๆ น่าคิดไหมว่าโครงการแจกแท็บเล็ตในโรงเรียนชั้นประถมของไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน ในอเมริกาเอง การแจกแท็บเล็ตให้เด็กในชั้นเรียนกำลังทดลองทำกันในหลายรูปแบบ แต่ผลที่ได้ยังไม่ตกผลึกที่จะนำมาเป็นบทเรียน ทั้งที่เขามีความพร้อมกว่าเรามากนักทั้งในด้านการมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวางและการมีครูที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีร่วมสมัย ฉะนั้น จะทำอะไรกันต่อไปจึงน่าจะทบทวนกันใหม่อย่างรอบคอบอีกครั้ง เกณฑ์สำคัญจะต้องไม่ให้มีการเก็บหัวคิวเป็นแรงขับเคลื่อนโครงการนี้
บิล เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ เชื่อมั่นในระบบตลาดเสรีที่เปิดทางให้พวกเขาสร้างความร่ำรวยมหาศาล แนวคิดของทั้งสองอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “มหาเศรษฐีขี้ไม่เหนียว” หลังจากร่ำรวยจนไม่รู้ว่าจะนำเงินไปใช้ทำอะไรก็หันมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มีโอกาสน้อยกว่า แนวคิดและการกระทำแบบนี้แทบไม่มีอยู่ในหมู่มหาเศรษฐีไทยซึ่งส่วนใหญ่มุ่งแต่จะเอาเปรียบและปอกลอกสังคม เมื่อนำมาเทียบกัน ความสามานย์ของสองเพื่อนซี้สองคนนั้น หากพวกเขามีย่อมน้อยกว่าของมหาเศรษฐีที่ติดอันดับโลกของไทยแน่นอน
ในบรรดามหาเศรษฐีอเมริกันย่อมมีนายทุนสามานย์อยู่บ้าง แต่คนอย่างบิล เกตส์ อภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของอเมริกาและอันดับ 2 ของโลกน่าจะมีความเป็นทุนสามานย์ไม่มากนัก เรื่องราวของเขาอาจหาอ่านได้ทั่วไปรวมทั้งในหนังสือชื่อ เสือ สิงห์ กระทิง แรด ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของคลังข้อมูลสาธารณะ www.openbase.in.th หรือจากของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.org (สิงห์คือ จอร์จ โซรอส กระทิงคือ บิล เกตส์)
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Financial Times Magazine พิมพ์บทความของริชาร์ด วอเตอร์ส ออกมา เนื้อหาของบทความส่วนใหญ่ได้มาจากการสัมภาษณ์บิล เกตส์ เกี่ยวกับงานด้านการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของเขา การสัมภาษณ์นั้นเป็นข่าวพาดหัวด้วยปัจจัยหลายอย่าง ขอนำบางประเด็นมาเล่าเนื่องจากมันเข้ากับบริบทของสังคมไทยในตอนนี้ได้ดีมาก
ประเด็นแรกได้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย บิล เกตส์ สงสัยว่ามันจะแก้ปัญหาของโลกปัจจุบันได้ทันกาลหรือ เป็นที่ทราบกันดี ระบอบนี้จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อประชาชนเข้าใจในความเป็นไปรอบด้านและเข้าร่วมกระบวนการอย่างทั่วถึง โลกในยุคนี้มีความเชื่อมโยงและความสลับซับซ้อนสูงมาก นอกจากนั้น มันยังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย คนทั่วไปจึงไม่มีความเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง ฉะนั้น โอกาสที่พวกเขาจะตัดสินใจทำอะไรบนฐานของความเข้าใจอย่างถ่องแท้จึงมีน้อย นอกจากนั้น ระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่องช้าไม่ว่าจำทำอะไรก็ตาม มันจึงไม่น่าจะเหมาะกับโลกยุคปัจจุบันซึ่งต้องการการตัดสินใจที่รวดเร็วทันความเปลี่ยนแปลง
บิล เกตส์ ไม่ได้พูดถึงความฉ้อฉลและการซื้อสิทธิ์ขายเสียงซึ่งมีอยู่สูงมากในสังคมไทย หากรวมความชั่วร้ายเหล่านี้เข้าไป ระบอบประชาธิปไตยย่อมนำมาซึ่งปัญหาสารพัดรวมทั้งการเลือกนายกรัฐมนตรีที่มีความรอบรู้เพียงจำกัดซ้ำร้ายยังขาดศีลธรรมจรรยา ความสามารถและวุฒิภาวะอีกด้วย
ประเด็นที่สองได้แก่แนวคิดในด้านการบริจาคทรัพย์สิน บิล เกตส์มองว่าการบริจาคจำพวกเพื่อขยายพิพิธภัณฑ์มีความสำคัญลำดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับงานด้านการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มูลนิธิของเขาพยายามทำอยู่ซึ่งได้แก่การช่วยเหลือผู้ขาดโอกาสโดยตรง ประเด็นนี้น่าจะเป็นข้อคิดที่สำคัญมากเนื่องจากช่วงนี้มีงานทอดกฐินทุกวัน คอลัมน์นี้เคยเอ่ยถึงในบริบทต่างๆ ถึงเรื่องทางสายกลางระหว่างการบริจาคให้วัดกับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในรูปของเวลา หรือทรัพย์สิน เท่าที่เห็นอยู่ ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่บริจาคให้แก่การสนับสนุนศึกษาไม่ว่าจะเป็นในรูปไหน แต่จะบริจาคให้วัดเป็นจำนวนมากๆ เมื่อถึงเทศกาลเช่นงานกฐินแม้จะต้องเดินทางไปไกลๆ รวมทั้งในต่างประเทศก็ตาม
หากนำมุมมองของ บิล เกตส์ มาประยุกต์ใช้ คนไทยน่าจะลดส่วนที่บริจาคให้วัดและนำส่วนที่ลดนั้นมาบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาโดยเฉพาะของเยาวชนที่ยากจนและขาดโอกาส
ประเด็นนี้มีเรื่องเกี่ยวเนื่องอีกมากเนื่องจากมีการตีความความหมายคำสัมภาษณ์ของบิล เกตส์ ว่าเป็นการโจมตีบรรดามหาเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการทำธุรกิจเทคโนโลยีด้วยกัน สาเหตุมาจากพวกนั้นให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ไปทั่วทุกมุมโลกมากกว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความยากจนและโรคภัยไข้เจ็บ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กถูกตำหนิโดยตรง
การตำหนิซัคเคอร์เบิร์กสร้างความแปลกใจให้หลายๆ คน ทั้งนี้เพราะมหาเศรษฐีหนุ่มคนนั้นเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของบิล เกตส์ นั่นคือ ซัคเคอร์เบิร์กเป็นหนึ่งในบรรดามหาเศรษฐีจำนวน 114 คนที่เข้าร่วมโครงการด้านบริจาคทรัพย์สินจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของบิล เกตส์และวอร์เรน บัฟเฟตต์ อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า อภิมหาเศรษฐีซึ่งเป็นเพื่อนซี้กันสองคนนั้นตั้งโครงการหนึ่งขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อน เป้าหมายของโครงการได้แก่การชักชวนบรรดามหาเศรษฐีด้วยกันให้เขียนคำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ (รายชื่อของมหาเศรษฐีอเมริกันที่เข้าร่วมโครงการมีอยู่ในเว็บไซต์ www.givingpledge.org) วอร์เรน บัฟเฟตต์ สัญญาว่าจะบริจาค 99% ของทรัพย์สินของเขาซึ่งมีค่าราว 6 หมื่นล้านดอลลาร์และส่วนใหญ่จะบริจาคให้มูลนิธิของบิล เกตส์ บริหารจัดการ
คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิล เกตส์ ลาออกจากงานบริหารบริษัทไมโครซอฟท์มาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เขาต้องการทุ่มเทเวลาและความสามารถให้แก่งานของมูลนิธิที่เขาตั้งขึ้น มูลนิธินั้นบริหารจัดการทรัพย์สินที่เขาบริจาคซึ่งรวมกันแล้วราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และวันหนึ่งเขาอาจบริจาคสูงถึง 95% ของทรัพย์สินของเขา ในปัจจุบันนี้ แต่ละปี มูลนิธินั้นจะใช้เงินเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1 แสนล้านบาท สนับสนุนโครงการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วโลกรวมทั้งโครงการทางด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล การป้องกันและกำจัดโรคร้าย และการลดความอดอยากและความยากจน
บิล เกตส์ มองว่า การเชื่อมโยงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปในทุกซอกทุกมุมของโลกจะไม่เกิดประโยชน์มากนักหากผู้คนยังยากจน เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายและไม่มีการศึกษา ในบรรดาความจำเป็นเร่งด่วนของมนุษย์เรา เขามองว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่มีความสำคัญถึงขั้นเป็นลำดับ 1 ใน 5 เสียด้วยซ้ำ ฉะนั้น การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของเขาจะเน้นการป้องกันและกำจัดโรคร้ายมากที่สุด มูลนิธิของเขาเข้าไปสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้เด็กยากจนทั่วโลก เรื่องสุขภาพและอาหารของแม่และเด็กอ่อน การเข้าถึงน้ำสะอาดของคนยากจน การสกัดกั้นการแพร่ขยายของโรคร้ายเช่นมาลาเรียและวัณโรค ตอนนี้เขามีโจทย์หินโจทย์หนึ่งซึ่งเขาทุ่มเททั้งเงิน เวลา และมันสมองให้ ได้แก่การขจัดโรคโปลิโอให้หมดไปเช่นเดียวกับไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ
เมื่อบิล เกตส์ มองว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่มีความสำคัญในระดับต้น ๆ น่าคิดไหมว่าโครงการแจกแท็บเล็ตในโรงเรียนชั้นประถมของไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน ในอเมริกาเอง การแจกแท็บเล็ตให้เด็กในชั้นเรียนกำลังทดลองทำกันในหลายรูปแบบ แต่ผลที่ได้ยังไม่ตกผลึกที่จะนำมาเป็นบทเรียน ทั้งที่เขามีความพร้อมกว่าเรามากนักทั้งในด้านการมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวางและการมีครูที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีร่วมสมัย ฉะนั้น จะทำอะไรกันต่อไปจึงน่าจะทบทวนกันใหม่อย่างรอบคอบอีกครั้ง เกณฑ์สำคัญจะต้องไม่ให้มีการเก็บหัวคิวเป็นแรงขับเคลื่อนโครงการนี้
บิล เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ เชื่อมั่นในระบบตลาดเสรีที่เปิดทางให้พวกเขาสร้างความร่ำรวยมหาศาล แนวคิดของทั้งสองอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “มหาเศรษฐีขี้ไม่เหนียว” หลังจากร่ำรวยจนไม่รู้ว่าจะนำเงินไปใช้ทำอะไรก็หันมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มีโอกาสน้อยกว่า แนวคิดและการกระทำแบบนี้แทบไม่มีอยู่ในหมู่มหาเศรษฐีไทยซึ่งส่วนใหญ่มุ่งแต่จะเอาเปรียบและปอกลอกสังคม เมื่อนำมาเทียบกัน ความสามานย์ของสองเพื่อนซี้สองคนนั้น หากพวกเขามีย่อมน้อยกว่าของมหาเศรษฐีที่ติดอันดับโลกของไทยแน่นอน