ASTVผู้จัดการรายวัน- อธิการบดี 14 สถาบัน ออกแถลงการณ์ต้าน พ.ร.บ.นิรโทษฯ ปล่อยคนโกงลอยนวล จุฬาฯเรียกร้องวุฒิสภาคว่ำ ร่างกฎหมาย ขณะที่มสธ.เรียกร้อง 7 ข้อให้ทุกฝ่ายร่วมกันยับยั้ง ด้านชมรมแพทย์ชนบทชวนโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศเป่านกหวีดต้านเตรียมขึ้นป้ายคัดค้านในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ออกโรงต้าน
วานนี้ (4พ.ย.) ที่ประชุมอธิการบดี 14 สถาบัน ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ โดยมีเนื้อหาว่า
ตามที่ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อวันที่ 31 ต.ค.56 ที่มีเนื้อหาให้นิรโทษกรรมแก่บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้น ของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด โดยคณะบุคคล หรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 รวมทั้ง องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมา ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 47 - 8 ส.ค.56 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ การบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ไม่เพียงแต่เป็นการยกเว้นความผิดและโทษให้แก่การกระทำในทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำในลักษณะการทุจริต คอร์รัปชันด้วย
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นว่า การที่ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น เท่ากับเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริต คอร์รัปชันมิใช่สิ่งร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็สามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ ด้วยการนิรโทษกรรม ซึ่งการนิรโทษกรรม การกระทำความผิดในเรื่องทุจริต คอร์รัปชันจะทำให้การต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ประสบผลสำเร็จ และจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับการกระทำในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นว่า การรณรงค์ต่อต้านทุจริต คอร์รัปชันเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังจะเห็นได้จากการจัดโครงการ
"บัณฑิตไทยไม่โกง" ขึ้น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดปี พ.ศ.2556 การรณรงค์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ดี ต่อเมื่อมีตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า คนที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชันจะต้องถูกลงโทษ โดยไม่มีการนิรโทษกรรม
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ดังมีรายนามต่อไปนี้ จึงขอคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับนี้ร่วมกัน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตน์ศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เลากศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงวันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
จุฬาฯเรียกร้องวุฒิฯคว่ำนิรโทษเหมาเข่ง
วันเดียวกันนี้ คณะผู้บริหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรื่อง "ข้อขัดแย้งร่างกฎหมายนิรโทษกรรม" ซึ่งแสดงออกถึงการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ โดยเห็นว่า การจัดทำร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ ไม่เป็นไปตามแนวทาง ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ทั้งนี้เมื่อสภาผู้แทนราษฏร ได้พิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่สามารถย้อนกลับสู่จุดเริ่มต้นได้ในปัจจุบัน คณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องให้วุฒิสภา ซึ่งต้องเป็นผู้พิจารณาร่างกฏหมายนิรโทษกรรม ได้ใช้อำนาจ ตามรัฐธรรมนูญยับยั้ง กฏหมายนิรโทษกรรมไว้ก่อน และส่งร่างกฏหมายนิรโทษกรรมคืนไปยังสภาผู้แทนราษฏร เพื่อพิจารณาทบทวนใหม่ ทั้งนี้ คณะผู้บริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
มสธ.เรียกร้องหยุดพ.ร.บ.นิรโทษฯ
ที่ลานอุทยานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) คณะอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า มสธ. และประชาชน ประมาณ 600 คน รวมตัวกันเพื่อร่วมต่อต้าน “กฎหมายนิรโทษกรรม" โดยคณะอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า มสธ. และประชาชน ได้รวมตัวกันอย่างสงบ พร้อมชูป้ายต่อต้านกฏหมายนิรโทษกรรม และตะโกนไม่เอากฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในการรวมตัวครั้งนี้ ได้มีตัวแทนออกมาอ่านคำประกาศเจตนารมณ์ขอเรียกร้องต่อสมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระ ศาลทุกศาล สื่อมวลชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกิดภาวะความโน้มเอียงเป็น เผด็จการเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จากการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษเช่นกัน ได้แก่ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง(คปสม.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ชมรม ส.ส.ร. 50 เป็นต้น
หมอชนบททั่วประเทศร่วมต้าน
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนได้ร่วมใจกันเป่านกหวีดต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบเหมาเข่ง ทั้งจากการชุมนุมทางการเมือง และการคอร์รัปชัน เพราะไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม กลุ่มแพทย์โรงพยาบาลชุมชนและชมรมแพทย์ชนบท จึงขอให้ทุกคนร่วมแสดงพลังต่อต้านการกระทำที่ไม่ชอบธรรม โดยพร้อมใจกันขึ้นป้ายคัดค้าน ซึ่งขณะนี้มีเครือข่าย รพ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ได้ขึ้นป้ายคัดค้านแล้ว และต่อด้วยชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ ซึ่งจะดำเนินการอีก 20 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.เป็นต้นไป จากนั้นก็จะทยอยขึ้นป้ายในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ
ขรก.พาณิชย์แสดงพลัง
รายงานข่าวจากระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในช่วง 16.30 น. หลังเลิกงาน ได้มีการรวมตัวกันของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ จำนวนประมาณ 100 คน เพื่อคัดค้าน การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยมีการชูป้ายคัดค้าน และร่วมกันเป่านกหวีด ในเวลา 16.40 น. ที่บริเวณหน้าป้าย กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการออกมารวมตัวของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์เพื่อต้องการแสดงออกให้เห็นถึงจุดยืนว่า ข้าราชการจะต้องยืนอยู่ข้างความถูกต้อง และผู้ที่กระทำความผิด ต้องยอมรับผิด โดยการมีตัวแทนข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ออกมาแสดงออกเป็นกระทรวงแรก เพราะอยากให้เป็นตัวอย่างของข้าราชการกระทรวงอื่น ๆ ที่กล้าทำในสิ่งที่ตัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะได้เป็นการจุดประกายให้ข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ได้ทำตาม
วานนี้ (4พ.ย.) ที่ประชุมอธิการบดี 14 สถาบัน ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ โดยมีเนื้อหาว่า
ตามที่ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อวันที่ 31 ต.ค.56 ที่มีเนื้อหาให้นิรโทษกรรมแก่บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้น ของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด โดยคณะบุคคล หรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 รวมทั้ง องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมา ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 47 - 8 ส.ค.56 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ การบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ไม่เพียงแต่เป็นการยกเว้นความผิดและโทษให้แก่การกระทำในทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำในลักษณะการทุจริต คอร์รัปชันด้วย
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นว่า การที่ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น เท่ากับเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริต คอร์รัปชันมิใช่สิ่งร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็สามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ ด้วยการนิรโทษกรรม ซึ่งการนิรโทษกรรม การกระทำความผิดในเรื่องทุจริต คอร์รัปชันจะทำให้การต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ประสบผลสำเร็จ และจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับการกระทำในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นว่า การรณรงค์ต่อต้านทุจริต คอร์รัปชันเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังจะเห็นได้จากการจัดโครงการ
"บัณฑิตไทยไม่โกง" ขึ้น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดปี พ.ศ.2556 การรณรงค์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ดี ต่อเมื่อมีตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า คนที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชันจะต้องถูกลงโทษ โดยไม่มีการนิรโทษกรรม
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ดังมีรายนามต่อไปนี้ จึงขอคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับนี้ร่วมกัน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตน์ศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เลากศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงวันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
จุฬาฯเรียกร้องวุฒิฯคว่ำนิรโทษเหมาเข่ง
วันเดียวกันนี้ คณะผู้บริหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรื่อง "ข้อขัดแย้งร่างกฎหมายนิรโทษกรรม" ซึ่งแสดงออกถึงการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ โดยเห็นว่า การจัดทำร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ ไม่เป็นไปตามแนวทาง ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ทั้งนี้เมื่อสภาผู้แทนราษฏร ได้พิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่สามารถย้อนกลับสู่จุดเริ่มต้นได้ในปัจจุบัน คณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องให้วุฒิสภา ซึ่งต้องเป็นผู้พิจารณาร่างกฏหมายนิรโทษกรรม ได้ใช้อำนาจ ตามรัฐธรรมนูญยับยั้ง กฏหมายนิรโทษกรรมไว้ก่อน และส่งร่างกฏหมายนิรโทษกรรมคืนไปยังสภาผู้แทนราษฏร เพื่อพิจารณาทบทวนใหม่ ทั้งนี้ คณะผู้บริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
มสธ.เรียกร้องหยุดพ.ร.บ.นิรโทษฯ
ที่ลานอุทยานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) คณะอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า มสธ. และประชาชน ประมาณ 600 คน รวมตัวกันเพื่อร่วมต่อต้าน “กฎหมายนิรโทษกรรม" โดยคณะอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า มสธ. และประชาชน ได้รวมตัวกันอย่างสงบ พร้อมชูป้ายต่อต้านกฏหมายนิรโทษกรรม และตะโกนไม่เอากฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในการรวมตัวครั้งนี้ ได้มีตัวแทนออกมาอ่านคำประกาศเจตนารมณ์ขอเรียกร้องต่อสมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระ ศาลทุกศาล สื่อมวลชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกิดภาวะความโน้มเอียงเป็น เผด็จการเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จากการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษเช่นกัน ได้แก่ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง(คปสม.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ชมรม ส.ส.ร. 50 เป็นต้น
หมอชนบททั่วประเทศร่วมต้าน
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนได้ร่วมใจกันเป่านกหวีดต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบเหมาเข่ง ทั้งจากการชุมนุมทางการเมือง และการคอร์รัปชัน เพราะไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม กลุ่มแพทย์โรงพยาบาลชุมชนและชมรมแพทย์ชนบท จึงขอให้ทุกคนร่วมแสดงพลังต่อต้านการกระทำที่ไม่ชอบธรรม โดยพร้อมใจกันขึ้นป้ายคัดค้าน ซึ่งขณะนี้มีเครือข่าย รพ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ได้ขึ้นป้ายคัดค้านแล้ว และต่อด้วยชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ ซึ่งจะดำเนินการอีก 20 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.เป็นต้นไป จากนั้นก็จะทยอยขึ้นป้ายในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ
ขรก.พาณิชย์แสดงพลัง
รายงานข่าวจากระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในช่วง 16.30 น. หลังเลิกงาน ได้มีการรวมตัวกันของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ จำนวนประมาณ 100 คน เพื่อคัดค้าน การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยมีการชูป้ายคัดค้าน และร่วมกันเป่านกหวีด ในเวลา 16.40 น. ที่บริเวณหน้าป้าย กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการออกมารวมตัวของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์เพื่อต้องการแสดงออกให้เห็นถึงจุดยืนว่า ข้าราชการจะต้องยืนอยู่ข้างความถูกต้อง และผู้ที่กระทำความผิด ต้องยอมรับผิด โดยการมีตัวแทนข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ออกมาแสดงออกเป็นกระทรวงแรก เพราะอยากให้เป็นตัวอย่างของข้าราชการกระทรวงอื่น ๆ ที่กล้าทำในสิ่งที่ตัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะได้เป็นการจุดประกายให้ข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ได้ทำตาม