วานนี้ ( 4 พ.ย.) รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดนัดไต่สวนคู่กรณีในคำร้องที่ ส.ส. และ ส.ว. ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาส.ว. เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตาม มาตรา 68 หรือไม่ ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ และได้ให้คู่กรณีส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงพร้อมบัญชีพยานที่ประสงค์จะเข้ารับการไต่สวนกลับมายังศาลรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า ฝ่ายผู้ถูกร้อง คือนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานุวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภารวม 312 คน ไม่มีบุคคลใดยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันมา มีเพียงฝ่ายผู้ร้อง คือนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส. บัญชีรายชื่อ และ นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ได้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง พร้อมยื่นบัญชีพยานที่ส่วนใหญ่เป็น ส.ส.และส.ว. เพื่อขอเข้ารับการไต่สวน รวมพยานทั้งหมดประมาณ 10 ราย ยกเว้น พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ซึ่งเป็นอีก 1 ผู้ร้อง ที่ไม่ได้ยื่นบันทึกถ้อยคำมา
ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้คู่กรณียื่นบันทึกถ้อยคำ และบัญชีพยานแล้ว การที่ฝ่ายผู้ถูกร้องไม่ยื่น ศาลก็จะถือว่าไม่ติดใจ และจะสืบพยานฝ่ายผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว โดยทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะได้นำรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้เสนอเข้าที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 6 พ.ย.ให้พิจารณา เพื่อกำหนดแนวทางในการไต่สวน วันที่ 8 พ.ย. ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมวันที่ 6 พ.ย.นั้น ที่ประชุมยังมีวาระการพิจารณากรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ของนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ และนายโปรดปราน โต๊ะราหนี ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรครักประเทศไทย เนื่องจากลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทย โดยที่ประชุมฯ จะมีพิจารณาบันทึกถ้อยคำของคู่กรณี รวมถึงพิจารณาว่าจะต้องไต่สวนพยานตามที่มีการร้องหรือไม่
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว กกต.ได้มีมติเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่า การที่นายชัยวัฒน์ ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือลาออกจากเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 11 ม.ค. 55 และนายโปรดปราน ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือลาออกจากเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 10 ม.ค.55 จริง หลังการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 โดยดำเนินการเรื่องดังกล่าว ณ ที่ทำการพรรครักประเทศไทย และยื่นต่อ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทยในวันเดียวกันนั้น ตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเมื่อหนังสือลาออกของบุคคลทั้งสองคน ยื่นถึงนายทะเบียนสมาชิกพรรค การลาออกนั้นเป็นอันสมบูรณ์ ส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (7) ที่ กกต. ต้องยื่นต่อประธานสภาฯ เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ดังนั้นเป็นไปได้ว่า คำร้องที่ประธานสภาฯ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น น่าจะมาจากกรณีเดียวกันนี้
ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้คู่กรณียื่นบันทึกถ้อยคำ และบัญชีพยานแล้ว การที่ฝ่ายผู้ถูกร้องไม่ยื่น ศาลก็จะถือว่าไม่ติดใจ และจะสืบพยานฝ่ายผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว โดยทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะได้นำรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้เสนอเข้าที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 6 พ.ย.ให้พิจารณา เพื่อกำหนดแนวทางในการไต่สวน วันที่ 8 พ.ย. ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมวันที่ 6 พ.ย.นั้น ที่ประชุมยังมีวาระการพิจารณากรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ของนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ และนายโปรดปราน โต๊ะราหนี ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรครักประเทศไทย เนื่องจากลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทย โดยที่ประชุมฯ จะมีพิจารณาบันทึกถ้อยคำของคู่กรณี รวมถึงพิจารณาว่าจะต้องไต่สวนพยานตามที่มีการร้องหรือไม่
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว กกต.ได้มีมติเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่า การที่นายชัยวัฒน์ ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือลาออกจากเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 11 ม.ค. 55 และนายโปรดปราน ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือลาออกจากเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 10 ม.ค.55 จริง หลังการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 โดยดำเนินการเรื่องดังกล่าว ณ ที่ทำการพรรครักประเทศไทย และยื่นต่อ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทยในวันเดียวกันนั้น ตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเมื่อหนังสือลาออกของบุคคลทั้งสองคน ยื่นถึงนายทะเบียนสมาชิกพรรค การลาออกนั้นเป็นอันสมบูรณ์ ส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (7) ที่ กกต. ต้องยื่นต่อประธานสภาฯ เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ดังนั้นเป็นไปได้ว่า คำร้องที่ประธานสภาฯ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น น่าจะมาจากกรณีเดียวกันนี้