ตี 4 กว่าของเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติในการประชุมวาระที่ 3 เป็นคะแนนเสียงเห็นชอบ 310 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 314 คน รับร่างพระราชบัญญัติแล้วนั้น เรามาร่วมพิจารณากันใน มาตรา 3 มันคือ อคติ 4 อย่างร้ายแรงต่อประชาชน ดังนี้
“มาตรา 3 การกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือมีความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2547 ถึงวันที่ 8 ส.ค. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวกลาง ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิดโดยสิ้นเชิง ไม่รวมถึงการกระทำผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112”
กฎหมายฉบับนี้ตรงกับหัวข้อพระธรรมคำสอนคือ อคติ 4
พระท่านสอนว่า คำว่า “อคติ” แปลว่า ทางที่ไม่ควรดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่จะเดินต่อไป หรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติคำว่า อคติ ในภาษาไทยหมายถึง ความลำเอียงความไม่เที่ยงธรรมความไม่ยุติธรรม ความไม่ตรง ความไม่เสมอ ฯลฯ
“อคติ” เป็นธรรมดาของมนุษย์ผู้ที่ยังมีกิเลสหนา ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ
หากเราพิจารณา “อคติ” มี 4 คือ....
1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก คือรักพวกพ้องจนทำให้เกิดความลำเอียง โดยไม่ยึดถือความยุติธรรม
2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียดฝ่ายตรงข้ามซึ่งหรือฝ่ายที่ถือความยุติธรรม
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูกอะไรผิดอะไรควรหรืออะไรไม่ควร แต่ฉันจะช่วยแต่พวกของฉันจากผิดให้เป็นถูก
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ เป็นเพราะความอ่อนแอที่เห็นแก่ตนและพวกพ้องอย่างจัญไรที่สุด
การผ่านกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรคเพื่อไทยดังกล่าว มีความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด ทุกยุคทุกสมัยบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียความยุติธรรมท่วมทับทั่วทั้งประเทศ
โดยปกติคนเราชอบความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และเกลียดความลำเอียง การที่เราจะสร้างความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และหลีกเลี่ยงความลำเอียงได้นั้น ค่อนข้างยาก วิธีเดียวที่ทำได้ คือ ฝึกฝนจิตใจโดยถือหลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราเกลียดความอยุติธรรม ความไม่ชอบธรรมอย่างไร คนอื่นก็เช่นเดียวกับเรา เกลียดความลำเอียงรักความยุติธรรมเหมือนกัน
ดังกล่าวนี้ ท่านทั้งหลายหากว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้นำออกมาใช้แสดงให้เห็นถึงความหน้าด้านที่สุด ตอนนี้เราเห็นถึงความหน้าด้านหน้าทนของพรรครัฐบาล และจะมีผลทำให้สถาบันเหล่านี้หมดสภาพ ไร้ความเชื่อถือ ถูกพรรคเพื่อไทยทำลายจนหมดสิ้น จึงไม่ต่างจากการเสียกรุงครั้งที่ 3 ผู้รักชาติทั้งหลายจะต้องฟื้นฟูประเทศกันใหม่
สถาบันพระมหากษัตริย์ล่มสลาย ราชอาณาจักรล่มสลาย เพราะทักษิณเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย ดุจดังจอมทัพของพม่า
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาล่มสลายไร้ความเชื่อถือ เพราะตกเป็นทาสของทักษิณ ดุจดังขุนพลน้อยใหญ่ของพม่า
รัฐบาลล่มสลายไร้ความเชื่อถือ เพราะตกเป็นทาสของทักษิณ
สถาบันตุลาการล่มสลาย เพราะหมดอำนาจ ทำให้ทักษิณมีอำนาจดุจดังประมุขตัวจริงของประเทศนี้ เพราะทักษิณและพวกอยู่เหนือกฎหมาย ทักษิณและพวกทำอะไรไม่ผิด รัฐบาลใช้อำนาจอธิปไตยแทนพระประมุขแห่งรัฐ
นักการเมืองนรกล่มสลายเพราะล้วนตกเป็นทาสของทักษิณไปหมดแล้ว หาใช่ตัวแทนของประชาชนที่แท้จริงไม่
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ได้คำนึงถึงความยุติธรรมสากล ไม่ได้คำนึงถึงสถาบันแห่งความยุติธรรมทั้งหลายนับแต่สถาบันหลักของชาติ อัยการ ศาล เป็นต้น
มันเป็นกฎหมายที่ช่วยอภิสิทธิชน อย่างทักษิณ คนที่กระทำความผิดต่อสถาบัน และความผิดทางอาญา เป็นต้น
การช่วยพวกพ้องให้พ้นผิด มันอคติอย่างรุนแรง เข้มข้น ได้ทำลายความรู้สึกของประชาชนทั้งฝ่ายที่รักความยุติธรรม ทำลายประชาชนที่ถูกศาลว่ากระทำผิดไปแล้ว
มันจึงเป็นการยกมือให้พวกพ้องพ้นผิด เป็นการยกมือตัดสินจากผิดให้เป็นถูก และที่ร้ายที่สุด ยอมือให้พ้นผิดในกรณีที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว เสมือนว่ามิได้กระทำความผิดใดๆ เลย
มันจึงเป็นกฎหมายที่อัปรีย์จัญไรที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย สาธุชนคนดีทั้งหลาย ไม่มีใครรับได้ มันได้อำนาจไปจากประชาชน แล้วก็นำไปทำประโยชน์เพื่อคนเพียงหยิบมือเดียว
มือเน่าๆ ของนักการเมืองมันใหญ่กว่าสถาบันตุลาการ มันจึงเป็นการล่มสลายของกระบวนการความยุติธรรมของชาติ
สถาบันตุลาการ ไม่มีความหมายอีกต่อไป ใครใหญ่ใครอยู่ มันจะเกิดสภาพอนาธิปไตย บ้านเมืองไร้ขื่อแป คนอ่อนแอจะอยู่ไม่ได้ โจรร้ายทางการเมืองจะเป็นใหญ่ ดังตัวอย่าง ที่ว่า ทักษิณทำอะไรไม่ผิด ปู ยิ่งลักษณ์ทำอะไรไม่ผิด สมาชิกพรรคเพื่อไทยทำผิดก็ไม่ผิด แล้วประชาชน แกนนำผู้รักชาติจะทำกันอย่างไร
ประชาชนทั้งหลาย แกนนำผู้รักชาติ รักความเป็นธรรมทั้งหลายจะทำกันอย่างไร เรามาดูเหตุและผลกัน
อะไรคือเหตุอัปรีย์จัญไรของชาติ เหตุคือระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญเพราะพวกเขาใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางของการปกครอง ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเพียงวิธีการปกครองเท่านั้น ส่วนเป้าหมายหรือจุดหมายกลายเป็นของนักการเมืองเพียงหยิบมือเดียว มันจึงเป็นเหตุจัญไรของบ้านเมือง
อะไรคือผล มันจึงมีผลคือทุกรัฐบาลทำเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง ดังคำกล่าวที่ว่า “อัปรีย์ไปจัญไรมา”
อะไรคือปัญหาเฉพาะหน้า คือการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษฯ อคติ 4 อย่างร้ายแรงสุดประมาณ
หากเราได้พิจารณาจากกฎแห่งกรรมหรือกฎอิทัปปัจจยตา “เมื่อเหตุเลว ผลย่อมเลว” มันจึงมีแต่ความอยุติธรรมท่วมทับประชาชน จะเป็นไปดังนี้
ในทางที่ถูกต้อง ประชาชนจะต้องมีหลักการปกครองโดยธรรม “ธรรมาธิปไตย 9 เป็นศูนย์กลางของการปกครอง อันมีหลักนิติธรรม เป็นต้น ซ้อนอยู่ 9 หลัก และมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นวิธีการปกครองโดยธรรมเพื่อประชาชน อุปมาให้เข้าใจง่ายๆ หลักการปกครองโดยธรรม คือวัดพระแก้ว ส่วนวิธีการไปวัดพระแก้วคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักการปกครองหรือวัดพระแก้วคือจุดหมายร่วมเป็นเอกภาพของปวงชน และมีวิธีการอันแตกต่างหลากหลาย “แตกต่างหลากหลายมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันคือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบเถิด
“มาตรา 3 การกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือมีความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2547 ถึงวันที่ 8 ส.ค. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวกลาง ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิดโดยสิ้นเชิง ไม่รวมถึงการกระทำผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112”
กฎหมายฉบับนี้ตรงกับหัวข้อพระธรรมคำสอนคือ อคติ 4
พระท่านสอนว่า คำว่า “อคติ” แปลว่า ทางที่ไม่ควรดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่จะเดินต่อไป หรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติคำว่า อคติ ในภาษาไทยหมายถึง ความลำเอียงความไม่เที่ยงธรรมความไม่ยุติธรรม ความไม่ตรง ความไม่เสมอ ฯลฯ
“อคติ” เป็นธรรมดาของมนุษย์ผู้ที่ยังมีกิเลสหนา ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ
หากเราพิจารณา “อคติ” มี 4 คือ....
1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก คือรักพวกพ้องจนทำให้เกิดความลำเอียง โดยไม่ยึดถือความยุติธรรม
2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียดฝ่ายตรงข้ามซึ่งหรือฝ่ายที่ถือความยุติธรรม
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูกอะไรผิดอะไรควรหรืออะไรไม่ควร แต่ฉันจะช่วยแต่พวกของฉันจากผิดให้เป็นถูก
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ เป็นเพราะความอ่อนแอที่เห็นแก่ตนและพวกพ้องอย่างจัญไรที่สุด
การผ่านกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรคเพื่อไทยดังกล่าว มีความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด ทุกยุคทุกสมัยบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียความยุติธรรมท่วมทับทั่วทั้งประเทศ
โดยปกติคนเราชอบความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และเกลียดความลำเอียง การที่เราจะสร้างความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และหลีกเลี่ยงความลำเอียงได้นั้น ค่อนข้างยาก วิธีเดียวที่ทำได้ คือ ฝึกฝนจิตใจโดยถือหลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราเกลียดความอยุติธรรม ความไม่ชอบธรรมอย่างไร คนอื่นก็เช่นเดียวกับเรา เกลียดความลำเอียงรักความยุติธรรมเหมือนกัน
ดังกล่าวนี้ ท่านทั้งหลายหากว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้นำออกมาใช้แสดงให้เห็นถึงความหน้าด้านที่สุด ตอนนี้เราเห็นถึงความหน้าด้านหน้าทนของพรรครัฐบาล และจะมีผลทำให้สถาบันเหล่านี้หมดสภาพ ไร้ความเชื่อถือ ถูกพรรคเพื่อไทยทำลายจนหมดสิ้น จึงไม่ต่างจากการเสียกรุงครั้งที่ 3 ผู้รักชาติทั้งหลายจะต้องฟื้นฟูประเทศกันใหม่
สถาบันพระมหากษัตริย์ล่มสลาย ราชอาณาจักรล่มสลาย เพราะทักษิณเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย ดุจดังจอมทัพของพม่า
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาล่มสลายไร้ความเชื่อถือ เพราะตกเป็นทาสของทักษิณ ดุจดังขุนพลน้อยใหญ่ของพม่า
รัฐบาลล่มสลายไร้ความเชื่อถือ เพราะตกเป็นทาสของทักษิณ
สถาบันตุลาการล่มสลาย เพราะหมดอำนาจ ทำให้ทักษิณมีอำนาจดุจดังประมุขตัวจริงของประเทศนี้ เพราะทักษิณและพวกอยู่เหนือกฎหมาย ทักษิณและพวกทำอะไรไม่ผิด รัฐบาลใช้อำนาจอธิปไตยแทนพระประมุขแห่งรัฐ
นักการเมืองนรกล่มสลายเพราะล้วนตกเป็นทาสของทักษิณไปหมดแล้ว หาใช่ตัวแทนของประชาชนที่แท้จริงไม่
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ได้คำนึงถึงความยุติธรรมสากล ไม่ได้คำนึงถึงสถาบันแห่งความยุติธรรมทั้งหลายนับแต่สถาบันหลักของชาติ อัยการ ศาล เป็นต้น
มันเป็นกฎหมายที่ช่วยอภิสิทธิชน อย่างทักษิณ คนที่กระทำความผิดต่อสถาบัน และความผิดทางอาญา เป็นต้น
การช่วยพวกพ้องให้พ้นผิด มันอคติอย่างรุนแรง เข้มข้น ได้ทำลายความรู้สึกของประชาชนทั้งฝ่ายที่รักความยุติธรรม ทำลายประชาชนที่ถูกศาลว่ากระทำผิดไปแล้ว
มันจึงเป็นการยกมือให้พวกพ้องพ้นผิด เป็นการยกมือตัดสินจากผิดให้เป็นถูก และที่ร้ายที่สุด ยอมือให้พ้นผิดในกรณีที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว เสมือนว่ามิได้กระทำความผิดใดๆ เลย
มันจึงเป็นกฎหมายที่อัปรีย์จัญไรที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย สาธุชนคนดีทั้งหลาย ไม่มีใครรับได้ มันได้อำนาจไปจากประชาชน แล้วก็นำไปทำประโยชน์เพื่อคนเพียงหยิบมือเดียว
มือเน่าๆ ของนักการเมืองมันใหญ่กว่าสถาบันตุลาการ มันจึงเป็นการล่มสลายของกระบวนการความยุติธรรมของชาติ
สถาบันตุลาการ ไม่มีความหมายอีกต่อไป ใครใหญ่ใครอยู่ มันจะเกิดสภาพอนาธิปไตย บ้านเมืองไร้ขื่อแป คนอ่อนแอจะอยู่ไม่ได้ โจรร้ายทางการเมืองจะเป็นใหญ่ ดังตัวอย่าง ที่ว่า ทักษิณทำอะไรไม่ผิด ปู ยิ่งลักษณ์ทำอะไรไม่ผิด สมาชิกพรรคเพื่อไทยทำผิดก็ไม่ผิด แล้วประชาชน แกนนำผู้รักชาติจะทำกันอย่างไร
ประชาชนทั้งหลาย แกนนำผู้รักชาติ รักความเป็นธรรมทั้งหลายจะทำกันอย่างไร เรามาดูเหตุและผลกัน
อะไรคือเหตุอัปรีย์จัญไรของชาติ เหตุคือระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญเพราะพวกเขาใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางของการปกครอง ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเพียงวิธีการปกครองเท่านั้น ส่วนเป้าหมายหรือจุดหมายกลายเป็นของนักการเมืองเพียงหยิบมือเดียว มันจึงเป็นเหตุจัญไรของบ้านเมือง
อะไรคือผล มันจึงมีผลคือทุกรัฐบาลทำเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง ดังคำกล่าวที่ว่า “อัปรีย์ไปจัญไรมา”
อะไรคือปัญหาเฉพาะหน้า คือการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษฯ อคติ 4 อย่างร้ายแรงสุดประมาณ
หากเราได้พิจารณาจากกฎแห่งกรรมหรือกฎอิทัปปัจจยตา “เมื่อเหตุเลว ผลย่อมเลว” มันจึงมีแต่ความอยุติธรรมท่วมทับประชาชน จะเป็นไปดังนี้
ในทางที่ถูกต้อง ประชาชนจะต้องมีหลักการปกครองโดยธรรม “ธรรมาธิปไตย 9 เป็นศูนย์กลางของการปกครอง อันมีหลักนิติธรรม เป็นต้น ซ้อนอยู่ 9 หลัก และมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นวิธีการปกครองโดยธรรมเพื่อประชาชน อุปมาให้เข้าใจง่ายๆ หลักการปกครองโดยธรรม คือวัดพระแก้ว ส่วนวิธีการไปวัดพระแก้วคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักการปกครองหรือวัดพระแก้วคือจุดหมายร่วมเป็นเอกภาพของปวงชน และมีวิธีการอันแตกต่างหลากหลาย “แตกต่างหลากหลายมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันคือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบเถิด