วานนี้ (28 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเพื่อติดตามผลการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2558-2561) และมอบนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ทั้งนี้ภายหลังกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพทบทวนตามนโยบายของรัฐบาลกับผู้ว่าราชการ 76 จังหวัด
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวช่วงหนึ่งว่า แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดทั้ง 4 กลุ่ม ควรจะเชื่อมโยงกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ที่กำลังจะมีการร่างขึ้น เช่นนำไปเพิ่มเฉพาะจังหวัดที่ขาดเพื่อเติมเต็ม ตามโครงการพื้นฐาน เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ของจังหวัดนั้นๆ และอยากให้มองตัวชี้วัดรายได้ของจังหวัด ว่ารายได้ใดเป็นรายได้ใหญ่ และคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อจังหวัดโดยตรงในเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง โซนนิ่งผังเมือง มาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นรูปแบบยุทธศาสตร์จังหวัด รวมทั้งขอให้วิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการ 2 ล้านล้าน ว่าจังหวัดจะเก็บเกี่ยวความเจริญเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างไร เช่น เมื่อมีรถไฟความเร็วสูงไปยัง จ.หนองคาย หรือ จ.เชียงใหม่ แล้วจังหวัดที่เป็นทางผ่านของรถไฟความเร็วสูง ก็ต้องศึกษาการใช้ประโยชน์จากสถานีรถไฟความเร็วสูงที่จะมีการก่อสร้าง และจะมีแผนพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ จะปรับผังเมือง หรือจัดโซนนิ่งอย่างไร เพื่อให้เกิดรายได้ใหม่ ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังย้ำให้กลุ่มจังหวัดต่างๆ หาตัวชี้วัดจากงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท และงบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านด้วย ส่วนการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาก็ขอให้สำนักงบประมาณกับสภาพัฒน์ไปศึกษา โดยเบื้องต้นเห็นว่า หากมีการนำไปปรึกษากับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอาจจะมีประโยชน์ในการจัดทำงบประมาณมากกว่าอย่างงบประมาณปี 2558 กระทรวงก็อาจจะนำงบประมาณไปลงจังหวัดแทน เช่น สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ก็อาจจะใช้งบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น
ในส่วนของพื้นที่ประสบภัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขอให้ผู้ว่าฯจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ทำงานร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยเน้นการแจกจ่ายงานเป็นพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เราเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแล้วจึงจะต้องดำเนินการให้เร็วกว่าเดิมโดยเฉพาะขั้นตอนการสำรวจฟื้นฟู และจากนี้พื้นที่จังหวัดใดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะต้องบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหา รวมถึงจังหวัดที่ประสบภัยแล้งเป็นประจำด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือกับภัยหนาว และปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
“อยากให้ผู้ว่าฯ ประสานงานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องพยายามแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยไม่ต้องรอการดำเนินการของส่วนกลาง รวมทั้งขอความร่วมมือให้แจ้งราคาสินค้าเกษตรมาที่ส่วนกลาง เพื่อให้ทราบว่าสินค้าชนิดใดขาดตลาดบ้าง” นายกฯกล่าว
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวช่วงหนึ่งว่า แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดทั้ง 4 กลุ่ม ควรจะเชื่อมโยงกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ที่กำลังจะมีการร่างขึ้น เช่นนำไปเพิ่มเฉพาะจังหวัดที่ขาดเพื่อเติมเต็ม ตามโครงการพื้นฐาน เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ของจังหวัดนั้นๆ และอยากให้มองตัวชี้วัดรายได้ของจังหวัด ว่ารายได้ใดเป็นรายได้ใหญ่ และคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อจังหวัดโดยตรงในเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง โซนนิ่งผังเมือง มาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นรูปแบบยุทธศาสตร์จังหวัด รวมทั้งขอให้วิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการ 2 ล้านล้าน ว่าจังหวัดจะเก็บเกี่ยวความเจริญเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างไร เช่น เมื่อมีรถไฟความเร็วสูงไปยัง จ.หนองคาย หรือ จ.เชียงใหม่ แล้วจังหวัดที่เป็นทางผ่านของรถไฟความเร็วสูง ก็ต้องศึกษาการใช้ประโยชน์จากสถานีรถไฟความเร็วสูงที่จะมีการก่อสร้าง และจะมีแผนพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ จะปรับผังเมือง หรือจัดโซนนิ่งอย่างไร เพื่อให้เกิดรายได้ใหม่ ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังย้ำให้กลุ่มจังหวัดต่างๆ หาตัวชี้วัดจากงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท และงบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านด้วย ส่วนการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาก็ขอให้สำนักงบประมาณกับสภาพัฒน์ไปศึกษา โดยเบื้องต้นเห็นว่า หากมีการนำไปปรึกษากับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอาจจะมีประโยชน์ในการจัดทำงบประมาณมากกว่าอย่างงบประมาณปี 2558 กระทรวงก็อาจจะนำงบประมาณไปลงจังหวัดแทน เช่น สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ก็อาจจะใช้งบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น
ในส่วนของพื้นที่ประสบภัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขอให้ผู้ว่าฯจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ทำงานร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยเน้นการแจกจ่ายงานเป็นพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เราเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแล้วจึงจะต้องดำเนินการให้เร็วกว่าเดิมโดยเฉพาะขั้นตอนการสำรวจฟื้นฟู และจากนี้พื้นที่จังหวัดใดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะต้องบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหา รวมถึงจังหวัดที่ประสบภัยแล้งเป็นประจำด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือกับภัยหนาว และปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
“อยากให้ผู้ว่าฯ ประสานงานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องพยายามแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยไม่ต้องรอการดำเนินการของส่วนกลาง รวมทั้งขอความร่วมมือให้แจ้งราคาสินค้าเกษตรมาที่ส่วนกลาง เพื่อให้ทราบว่าสินค้าชนิดใดขาดตลาดบ้าง” นายกฯกล่าว