ASTVผู้จัดการรายวัน – “โออิชิ-อิชิตัน” ค้านการเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียว ระบุถ้าเก็บต้องเป็นธรรมทั้งระบบ อ้างใช้วัตถุดิบสนับสนุนเกษตรกรปลูกชาในประเทศอยู่แล้ว จ่อปรับราคา หวั่นตลาดรวมหดตัวลง
จากกรณีที่นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ว่าที่ปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่ ได้กล่าวว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่งแล้ว จะพิจารณาดูเรื่องการปรับโครงสร้างภาษี ต่างๆเช่น ภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียว ที่ไม่เคยมีการเรียกเก็บมานาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการเครื่องดื่มชาเขียวรายใหญ่ 2 แบรนด์ในไทย ออกอาการคัดค้านอย่างเต็มที่
นายตัน ภาสกรนที ประธานกลุ่ม บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลจะเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียวจริง ก็ควรที่จะต้องดำเนินการด้วยความเป็นธรรม และควรที่จะต้องเก็บภาษีสรรพสามิตกับสินค้าเครื่องดื่มทุกรายการที่อยู่ในบัญชีแนบท้ายเหมือนชาเขียวด้วยที่ได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตเดิม เช่น ชาเขียว กาแฟ น้ำผลไม้ ชา ไม่ควรจะพุ่งเป้าหมายมาที่ชาเขียวอย่างเดียว
“ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจะเก็บภาษีสรรพสามิตแต่ชาเขียวอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมา ผู้ผลิตชาเขียวก็ซื้อใบชาจากเกษตรกรของไทยและสนับสนุนเกษตรกรทางภาคเหนือในการปลูกชาอยู่แล้ว แค่ของอิชิตันแบรนด์เดียวก็ซื้อใบชาจากเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 5 ล้านกิโลกรัมต่อปีแล้ว และถ้ารวม 2 รายใหญ่ในตลาดก็ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านกิโลกรัมต่อปีแน่นอน ซึ่งช่วยภาคเกษตรกรได้มาก ผมไม่คัดค้านการเก็บภาษีแต่ขอให้ดำเนินการด้วยความเป็นธรรมเท่านั้น” นายตันกล่าว
อย่างไรก็การผลิตของทุกรายก็ต้องเป็นไปตามที่กำหนดอยู่แล้ว ตามที่ระบุไว้ในเกฎหมายนและข้างแพกเกจจิ้ง เช่น ถ้ากำหนดว่าน้ำนี้ต้องมส่นวนผสมของวัตถุดิบประเภทนี้เท่านี้ หรือไม่ต่ำกว่าเท่าไรเช่น 15% แต่ถ้าใครใช้ต่ำกว่าและถุกตรวจสอบจับได้จะต้องถูปกรับ 3 เท่าของอัตราภาษี ซึ่งมันเข้มงวดอยู่แล้วในระบบ
ส่วนภาครัฐจะเริ่มเก็บเมื่อไรนั้นไม่ทราบได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นจริงกระทบตลาดรวมทั้งระบบแน่นอน ตั้งแต่ เกษตรกรผู้ปลูกชา ผู้ผลิตชาเขียว ผู้บริโภค ส่วนราคานั้นแน่นอนมันต้องขึ้นอยู่แล้ว อยู่ที่ใครจะปรับเท่าไร แต่เชขื่อวาสองเดือนสุดท้ายนี้ตลาดคงยังไม่กระทบชัดเจนคงต้องเป็นปีหน้า ส่วนอิชิตันปีนี้คาดรายได้รวมไว้ตามเป้าหมายเดิมและแชร์ 40%
นายอนิรุธ มหธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ภาครัฐโดยกระทรวงการคลังออกข่าวว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียวนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาการผลิตชาเขียวแทบจะกล่าวได้ว่า ใช้วัตถุดิบชาที่ปลูกในไทยเกือบ 100% อยู่แล้ว และที่ผ่านมาก็มีการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชาในการทำการผลิตร่วมกันมาตลอด
อย่างไรก็ตามหากมีการเรียกเก็บจริง ซึ่งตามข่าวว่าอาจจะอยู่ในอัตรา 10-20% นั้น ตามที่เป็นข่าวก็ถือว่าเป็นอัตราทีสูงมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ต้นทุนการประกอบการก็สูงขึ้นในทุกภาคการดำเนินการผลิตอยู่แล้วทั้งเรื่องของ แพกเกจจิง วัตถุดิบอื่นเช่น น้ำตาล ค่าขนส่ง ที่เพิ่มขึ้นจตอด และที่สำคัญคือ มาร์จิ้นลลดลง เพราะต้องให้มาร์จิ้นกับผู้ค้ามากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วบริษัทฯก็คงต้องปรับราคาขึ้นแน่นอน
เมื่อมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นจริงแล้ว แน่นอนว่าต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้นตามไปด้วย อยู่ที่ว่าใครจะปรับราคาจำหน่ายขึ้นก่อน และจะปรับขึ้นเท่าไร ซึ่งโอกาสที่ชาเขียวจะขึ้นราคาจำหน่ายเป็นไปได้สูงแน่นอน อยู่ที่ว่าจะเมือ่ไรเท่านั้นเอง ค่ายใดจะทนแบกรับภาระต้นทุนได้นานกว่ากันสุดท้ายผลกระทบก็ต้องตกอยู่ที่เกษตรกร เพราะถ้าราคาสินค้าแพง คนก็ซื้อดื่มน้อยลง ผู้ขายก็ขายน้อยลง สุดท้ายก็ซื้อวัตถุดิบใบชาจากเกษตรกรน้อยลง เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อเครื่องดื่มอย่างหลากหลาย
นายอนิรุธกล่าวด้วยว่า ถ้ามีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในเร็วๆนี้จริง ตลาดชาเขียวในปีนี้ช่วง 2 เดือนสุดท้ายคงได้รับผลกระทบและชะลอตัวลงแน่นอน ไม่มากก็น้อย ซึ่งเดิมคาดว่าตลาดรวมชาเขียวปีนี้จะมีมูลค่ามากกว่า 16,000 ล้านบาท เติบโต 30% แต่เมื่อได้รับผลกระทบดังกล่าวคาดว่าตลาดรวมชาเขียวตงเติบโตไม่ถึง 30% และมูลค่าตลาดรวมคงต่ำกว่า 16,000 ล้านบาทแน่นอน และจากนี้ไปตลาดคงไม่เติบโตมากมายเหมือนในอดีตแล้ว
“ช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้ เราคงยังไม่มีการออกสินค้าใหม่หรือโปรโมชั่นอะไรออกมา คงต้องดูทิศทางลมของตลาดด้วยว่าเป็นอย่างไร ส่วนงบการตลาดนั้นก็ยังคงใช้ตามเดิมที่เหลือจากทั้งปี เนื่องจากตอนนี้เรามีสินค้าครอบคลุมทุกเซ็กเม้นท์ และระดับราคาที่หลากหลายแล้ว ตอ่ไปนี้คงต้องมุ่งไปที่เรื่องของนวัตกรมเป็นหลัก ส่วนปีนี้โออิชิคาดว่าจะมีรายได้กลุ่มเครื่องดื่มประมาณ 6,000 ล้านบาท ”
จากกรณีที่นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ว่าที่ปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่ ได้กล่าวว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่งแล้ว จะพิจารณาดูเรื่องการปรับโครงสร้างภาษี ต่างๆเช่น ภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียว ที่ไม่เคยมีการเรียกเก็บมานาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการเครื่องดื่มชาเขียวรายใหญ่ 2 แบรนด์ในไทย ออกอาการคัดค้านอย่างเต็มที่
นายตัน ภาสกรนที ประธานกลุ่ม บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลจะเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียวจริง ก็ควรที่จะต้องดำเนินการด้วยความเป็นธรรม และควรที่จะต้องเก็บภาษีสรรพสามิตกับสินค้าเครื่องดื่มทุกรายการที่อยู่ในบัญชีแนบท้ายเหมือนชาเขียวด้วยที่ได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตเดิม เช่น ชาเขียว กาแฟ น้ำผลไม้ ชา ไม่ควรจะพุ่งเป้าหมายมาที่ชาเขียวอย่างเดียว
“ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจะเก็บภาษีสรรพสามิตแต่ชาเขียวอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมา ผู้ผลิตชาเขียวก็ซื้อใบชาจากเกษตรกรของไทยและสนับสนุนเกษตรกรทางภาคเหนือในการปลูกชาอยู่แล้ว แค่ของอิชิตันแบรนด์เดียวก็ซื้อใบชาจากเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 5 ล้านกิโลกรัมต่อปีแล้ว และถ้ารวม 2 รายใหญ่ในตลาดก็ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านกิโลกรัมต่อปีแน่นอน ซึ่งช่วยภาคเกษตรกรได้มาก ผมไม่คัดค้านการเก็บภาษีแต่ขอให้ดำเนินการด้วยความเป็นธรรมเท่านั้น” นายตันกล่าว
อย่างไรก็การผลิตของทุกรายก็ต้องเป็นไปตามที่กำหนดอยู่แล้ว ตามที่ระบุไว้ในเกฎหมายนและข้างแพกเกจจิ้ง เช่น ถ้ากำหนดว่าน้ำนี้ต้องมส่นวนผสมของวัตถุดิบประเภทนี้เท่านี้ หรือไม่ต่ำกว่าเท่าไรเช่น 15% แต่ถ้าใครใช้ต่ำกว่าและถุกตรวจสอบจับได้จะต้องถูปกรับ 3 เท่าของอัตราภาษี ซึ่งมันเข้มงวดอยู่แล้วในระบบ
ส่วนภาครัฐจะเริ่มเก็บเมื่อไรนั้นไม่ทราบได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นจริงกระทบตลาดรวมทั้งระบบแน่นอน ตั้งแต่ เกษตรกรผู้ปลูกชา ผู้ผลิตชาเขียว ผู้บริโภค ส่วนราคานั้นแน่นอนมันต้องขึ้นอยู่แล้ว อยู่ที่ใครจะปรับเท่าไร แต่เชขื่อวาสองเดือนสุดท้ายนี้ตลาดคงยังไม่กระทบชัดเจนคงต้องเป็นปีหน้า ส่วนอิชิตันปีนี้คาดรายได้รวมไว้ตามเป้าหมายเดิมและแชร์ 40%
นายอนิรุธ มหธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ภาครัฐโดยกระทรวงการคลังออกข่าวว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มชาเขียวนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาการผลิตชาเขียวแทบจะกล่าวได้ว่า ใช้วัตถุดิบชาที่ปลูกในไทยเกือบ 100% อยู่แล้ว และที่ผ่านมาก็มีการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชาในการทำการผลิตร่วมกันมาตลอด
อย่างไรก็ตามหากมีการเรียกเก็บจริง ซึ่งตามข่าวว่าอาจจะอยู่ในอัตรา 10-20% นั้น ตามที่เป็นข่าวก็ถือว่าเป็นอัตราทีสูงมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ต้นทุนการประกอบการก็สูงขึ้นในทุกภาคการดำเนินการผลิตอยู่แล้วทั้งเรื่องของ แพกเกจจิง วัตถุดิบอื่นเช่น น้ำตาล ค่าขนส่ง ที่เพิ่มขึ้นจตอด และที่สำคัญคือ มาร์จิ้นลลดลง เพราะต้องให้มาร์จิ้นกับผู้ค้ามากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วบริษัทฯก็คงต้องปรับราคาขึ้นแน่นอน
เมื่อมีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นจริงแล้ว แน่นอนว่าต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้นตามไปด้วย อยู่ที่ว่าใครจะปรับราคาจำหน่ายขึ้นก่อน และจะปรับขึ้นเท่าไร ซึ่งโอกาสที่ชาเขียวจะขึ้นราคาจำหน่ายเป็นไปได้สูงแน่นอน อยู่ที่ว่าจะเมือ่ไรเท่านั้นเอง ค่ายใดจะทนแบกรับภาระต้นทุนได้นานกว่ากันสุดท้ายผลกระทบก็ต้องตกอยู่ที่เกษตรกร เพราะถ้าราคาสินค้าแพง คนก็ซื้อดื่มน้อยลง ผู้ขายก็ขายน้อยลง สุดท้ายก็ซื้อวัตถุดิบใบชาจากเกษตรกรน้อยลง เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อเครื่องดื่มอย่างหลากหลาย
นายอนิรุธกล่าวด้วยว่า ถ้ามีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในเร็วๆนี้จริง ตลาดชาเขียวในปีนี้ช่วง 2 เดือนสุดท้ายคงได้รับผลกระทบและชะลอตัวลงแน่นอน ไม่มากก็น้อย ซึ่งเดิมคาดว่าตลาดรวมชาเขียวปีนี้จะมีมูลค่ามากกว่า 16,000 ล้านบาท เติบโต 30% แต่เมื่อได้รับผลกระทบดังกล่าวคาดว่าตลาดรวมชาเขียวตงเติบโตไม่ถึง 30% และมูลค่าตลาดรวมคงต่ำกว่า 16,000 ล้านบาทแน่นอน และจากนี้ไปตลาดคงไม่เติบโตมากมายเหมือนในอดีตแล้ว
“ช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้ เราคงยังไม่มีการออกสินค้าใหม่หรือโปรโมชั่นอะไรออกมา คงต้องดูทิศทางลมของตลาดด้วยว่าเป็นอย่างไร ส่วนงบการตลาดนั้นก็ยังคงใช้ตามเดิมที่เหลือจากทั้งปี เนื่องจากตอนนี้เรามีสินค้าครอบคลุมทุกเซ็กเม้นท์ และระดับราคาที่หลากหลายแล้ว ตอ่ไปนี้คงต้องมุ่งไปที่เรื่องของนวัตกรมเป็นหลัก ส่วนปีนี้โออิชิคาดว่าจะมีรายได้กลุ่มเครื่องดื่มประมาณ 6,000 ล้านบาท ”