วานนี้(22 ต.ค.56) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 47 จังหวัด 360 อำเภอ 2,285 ตำบล 18,642 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,162,148 ครัวเรือน 3,780,390 คน คิดเป็น 5.87% ของประชากรทั้งประเทศ มีผู้เสียชีวิตรวม 76 ราย ทั้งนี้ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 26 จังหวัด ความเสียหาย แต่ยังมีอีก 21 จังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมโดยจังหวัดที่สถานการณ์รุนแรง 2 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี ปานกลาง 6 จังหวัด เล็กน้อย 13 จังหวัด
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)รายงานว่า ในวันที่ 22 ต.ค. 56 สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบางพื้นที่ของ อ.โชคชัย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ และ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ยกเว้น อ.บางน้ำเปรี้ยว อ.ราชสาส์น อ.บางคล้า อ.พนมสารคาม อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.พานทอง จ.ชลบุรี ระดับน้ำลดลง ขอให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ประสบภัยดังกล่าวเพื่อทราบ
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ และอุทกภัย หรือกบอ. กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกว่า ยังจะมีน้ำท่วมขังในพื้นที่จังหวัด ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี และฉะเชิงเทรา ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ขณะที่จังหวัดชลบุรี อ.พนัสนิคม และอ.พานทอง น้ำจะลดลงภายใน 1 สัปดาห์ โดยสถานการณ์น้ำจะค่อยๆ ลดลงเหมือนปี 2554 ซึ่งเป็นความโชคดีของภาคตะวันออกที่มีเขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนสียัด เพราะหากไม่มีเขื่อนน้ำจะเยอะกว่านี้ ดังนั้นเขื่อนจึงมีความสำคัญ ซึ่งในภาคตะวันออกจะต้องมีการสร้างเขื่อน 3-4 แห่ง รวมถึงต่อเรือผลักดันน้ำอีกกว่า 100 ลำ และขุดลอกคลองผ่านน้ำ ลอกสันดอน เพราะผังเมืองภาคตะวันออกมีสภาพ แย่มาก เพราะสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ โดยนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟต 3-4 ได้สร้างขวางทางน้ำ รวมถึงมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงผังเมืองครั้งใหญ่
พร้อมกันนี้ ขอฝากเตือนผู้ที่ไม่หวังดี ปล่อยข่าวว่ามีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนนั้น ไม่เป็นความจริง ขออย่าเชื่อข่าวลือ และให้ฟังหน่วยงานของรัฐเท่านั้น โดยเรื่องน้ำให้ฟังจากกรมชลประทาน ส่วนเรื่องการอพยพฟังการแจ้งเตือนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือปภ.
นายปลอดประสพกล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมาว่า ขณะนี้มีปริมาณน้ำท่วมที่ อ.พิมาย 50 เซนติเมตร โดยอีก 3 วันจะถึงจุดพีค ถือว่าน่าเป็นห่วง ทั้งนี้มีการเตือนไปยังประชาชนแล้ว กรณีดังกล่าวเป็นมวลน้ำจากลำตะคอง ส่วนพื้นที่ อ.เมือง มีน้ำท่วมบ้างแต่ว่ายังน้อยอยู่
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เขตโบราณสถานว่า ในส่วนของปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ถือว่าเป็นจุดที่น่าเป็นห่วง มีปริมาณน้ำสูงขึ้น แต่ยังป้องกันไว้ได้ จึงได้สั่งให้เตรียมขนย้ายวัตถุโบราณขึ้นที่สูง ปราสาทหินพิมายเป็นโบราณวัตถุที่มีความคงทน เพราะเป็นศิลาแลง แต่หากน้ำท่วมเข้าไปดูแลได้ยาก ส่วนการป้องกันถาวรได้ให้กรมศิลปากรได้ออกแบบการป้องกันที่ไม่ให้ขัดกับทัศนียภาพ เข้ากับสถาปัตยกรรมในพื้นที่ และสั่งเฝ้าระวังโบราณในทุกจุดทั่วประเทศที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมเมื่อปี 54 ส่วนงบประมาณในการบูรณะสังขรณ์ต้องรอประเมินความเสียหายก่อน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ให้ความเห็นชอบหากมีการบริจาคเพื่อบูรณะปฎิสังขรณ์สามารถนำไปหักภาษีได้ 2 เท่า ซึ่ง ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์บริจาคมาแล้ว 54 ล้านบาท ส่วนเขตพื้นที่จ.ปราจีนบุรีสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ขณะที่โบราณในเขตพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยายังต้องเฝ้าระวัง
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายปลอดประสพ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคกลาง เหนือจังหวัดปทุมธานีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้นจังหวัดปทุมธานีลงมาที่ยังอาจจะมีสถานการณ์น้ำท่วมบ้างเป็นระยะ ๆ เนื่องจากช่วงนี้จะมีน้ำทะเลหนุนอีกประมาณ 3 สัปดาห์ แต่น้ำที่ท่วมจะเป็นในช่วงที่น้ำขึ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่น่าเป็นห่วงคือสถานการณ์ในภาคตะวันออก เนื่องจากที่ผ่านมามีปริมาณฝนตกลงมามากกว่าปกติและตกเฉพาะพื้นที่ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็วแล้ว โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่จะป้องกันพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ที่สามารถป้องกันไม่ให้น้ำท่วมได้ ซึ่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้สั่งการให้ทหารเข้าไปช่วยกันป้องกันไม่ให้น้ำท่วมโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ส่วนที่พบปัญหาน้ำท่วมที่อำเภอพานทองและพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี นั้น ขณะนี้น้ำเริ่มลดลงแล้ว ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจะมีน้ำท่วมเพียงบริเวณพื้นผิวถนนเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ที่ยังน่าเป็นห่วงในช่วงนี้ คือ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพราะมีปัญหาจาก 2 จุด คือ จุดแรกเขื่อนลำตะคอง ซึ่งปัจจุบันปริมาณน้ำเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว โดยถ้าน้ำไหลจากลำตะคองจะเข้าไปยังตัวอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จะมีคลองที่สามารถรับน้ำให้ไหลต่อไปได้ แต่เมื่อไหลผ่านอำเภอเมืองแล้วจะไหลลงสู่อำเภอพิมายทันที เพราะฉะนั้นในอีก 3 วันต่อจากนี้จะต้องหาแนวทางในการเร่งป้องกันพื้นที่เมืองไม่ให้น้ำท่วม
นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เร่งสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ และมีการแบ่งพื้นที่ในการดูแลประชาชน 2) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) สำนักโฆษก และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำ เอกสารเผยแพร่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ให้กับสื่อมวลชนและประชาชนได้รับทราบ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณะ นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ กบอ. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกระทรวงกลาโหม นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นบทเรียนในการวางระบบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการกำหนดให้นำ single command มาใช้อย่างเต็มที่ และมอบให้กระทรวงกลาโหมจัดหลักสูตรอบรมในการดูแลช่วยเหลือประชาชนในยามเกิดอุทกภัย ซึ่งถ้ามีความพร้อมและมีการฝึกซ้อมกันอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถที่จะนำประสบการณ์นี้ไปถ่ายทอดให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และสามารถที่จะรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ขณะนี้ใกล้ที่จะจัดทำงบประมาณของปี 2558 แล้ว สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งพบว่า จะต้องมีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนในพื้นที่เดิม ๆ ทุกปี จึงมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กบอ. และกรมบัญชีกลาง พิจารณาว่าถ้าต้องจ่ายเงินเยียวยาทุกปีแล้วควรจะหันมาลงทุนในระบบป้องกันน้ำดีกว่าหรือไม่ เพราะสามารถที่จะป้องกันน้ำได้และประชาชนไม่เดือดร้อน ขณะเดียวกันยังจะสามารถใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในอนาคตได้ด้วย จึงเสนอให้ ที่ประชุมฯ นำไปพิจารณาต่อไป
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)รายงานว่า ในวันที่ 22 ต.ค. 56 สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบางพื้นที่ของ อ.โชคชัย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ และ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ยกเว้น อ.บางน้ำเปรี้ยว อ.ราชสาส์น อ.บางคล้า อ.พนมสารคาม อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.พานทอง จ.ชลบุรี ระดับน้ำลดลง ขอให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ประสบภัยดังกล่าวเพื่อทราบ
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ และอุทกภัย หรือกบอ. กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกว่า ยังจะมีน้ำท่วมขังในพื้นที่จังหวัด ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี และฉะเชิงเทรา ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ขณะที่จังหวัดชลบุรี อ.พนัสนิคม และอ.พานทอง น้ำจะลดลงภายใน 1 สัปดาห์ โดยสถานการณ์น้ำจะค่อยๆ ลดลงเหมือนปี 2554 ซึ่งเป็นความโชคดีของภาคตะวันออกที่มีเขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนสียัด เพราะหากไม่มีเขื่อนน้ำจะเยอะกว่านี้ ดังนั้นเขื่อนจึงมีความสำคัญ ซึ่งในภาคตะวันออกจะต้องมีการสร้างเขื่อน 3-4 แห่ง รวมถึงต่อเรือผลักดันน้ำอีกกว่า 100 ลำ และขุดลอกคลองผ่านน้ำ ลอกสันดอน เพราะผังเมืองภาคตะวันออกมีสภาพ แย่มาก เพราะสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ โดยนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟต 3-4 ได้สร้างขวางทางน้ำ รวมถึงมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงผังเมืองครั้งใหญ่
พร้อมกันนี้ ขอฝากเตือนผู้ที่ไม่หวังดี ปล่อยข่าวว่ามีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนนั้น ไม่เป็นความจริง ขออย่าเชื่อข่าวลือ และให้ฟังหน่วยงานของรัฐเท่านั้น โดยเรื่องน้ำให้ฟังจากกรมชลประทาน ส่วนเรื่องการอพยพฟังการแจ้งเตือนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือปภ.
นายปลอดประสพกล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมาว่า ขณะนี้มีปริมาณน้ำท่วมที่ อ.พิมาย 50 เซนติเมตร โดยอีก 3 วันจะถึงจุดพีค ถือว่าน่าเป็นห่วง ทั้งนี้มีการเตือนไปยังประชาชนแล้ว กรณีดังกล่าวเป็นมวลน้ำจากลำตะคอง ส่วนพื้นที่ อ.เมือง มีน้ำท่วมบ้างแต่ว่ายังน้อยอยู่
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เขตโบราณสถานว่า ในส่วนของปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ถือว่าเป็นจุดที่น่าเป็นห่วง มีปริมาณน้ำสูงขึ้น แต่ยังป้องกันไว้ได้ จึงได้สั่งให้เตรียมขนย้ายวัตถุโบราณขึ้นที่สูง ปราสาทหินพิมายเป็นโบราณวัตถุที่มีความคงทน เพราะเป็นศิลาแลง แต่หากน้ำท่วมเข้าไปดูแลได้ยาก ส่วนการป้องกันถาวรได้ให้กรมศิลปากรได้ออกแบบการป้องกันที่ไม่ให้ขัดกับทัศนียภาพ เข้ากับสถาปัตยกรรมในพื้นที่ และสั่งเฝ้าระวังโบราณในทุกจุดทั่วประเทศที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมเมื่อปี 54 ส่วนงบประมาณในการบูรณะสังขรณ์ต้องรอประเมินความเสียหายก่อน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ให้ความเห็นชอบหากมีการบริจาคเพื่อบูรณะปฎิสังขรณ์สามารถนำไปหักภาษีได้ 2 เท่า ซึ่ง ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์บริจาคมาแล้ว 54 ล้านบาท ส่วนเขตพื้นที่จ.ปราจีนบุรีสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ขณะที่โบราณในเขตพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยายังต้องเฝ้าระวัง
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายปลอดประสพ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคกลาง เหนือจังหวัดปทุมธานีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้นจังหวัดปทุมธานีลงมาที่ยังอาจจะมีสถานการณ์น้ำท่วมบ้างเป็นระยะ ๆ เนื่องจากช่วงนี้จะมีน้ำทะเลหนุนอีกประมาณ 3 สัปดาห์ แต่น้ำที่ท่วมจะเป็นในช่วงที่น้ำขึ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่น่าเป็นห่วงคือสถานการณ์ในภาคตะวันออก เนื่องจากที่ผ่านมามีปริมาณฝนตกลงมามากกว่าปกติและตกเฉพาะพื้นที่ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็วแล้ว โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่จะป้องกันพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ที่สามารถป้องกันไม่ให้น้ำท่วมได้ ซึ่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้สั่งการให้ทหารเข้าไปช่วยกันป้องกันไม่ให้น้ำท่วมโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ส่วนที่พบปัญหาน้ำท่วมที่อำเภอพานทองและพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี นั้น ขณะนี้น้ำเริ่มลดลงแล้ว ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจะมีน้ำท่วมเพียงบริเวณพื้นผิวถนนเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ที่ยังน่าเป็นห่วงในช่วงนี้ คือ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพราะมีปัญหาจาก 2 จุด คือ จุดแรกเขื่อนลำตะคอง ซึ่งปัจจุบันปริมาณน้ำเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว โดยถ้าน้ำไหลจากลำตะคองจะเข้าไปยังตัวอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จะมีคลองที่สามารถรับน้ำให้ไหลต่อไปได้ แต่เมื่อไหลผ่านอำเภอเมืองแล้วจะไหลลงสู่อำเภอพิมายทันที เพราะฉะนั้นในอีก 3 วันต่อจากนี้จะต้องหาแนวทางในการเร่งป้องกันพื้นที่เมืองไม่ให้น้ำท่วม
นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เร่งสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ และมีการแบ่งพื้นที่ในการดูแลประชาชน 2) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) สำนักโฆษก และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำ เอกสารเผยแพร่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ให้กับสื่อมวลชนและประชาชนได้รับทราบ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณะ นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ กบอ. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกระทรวงกลาโหม นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นบทเรียนในการวางระบบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการกำหนดให้นำ single command มาใช้อย่างเต็มที่ และมอบให้กระทรวงกลาโหมจัดหลักสูตรอบรมในการดูแลช่วยเหลือประชาชนในยามเกิดอุทกภัย ซึ่งถ้ามีความพร้อมและมีการฝึกซ้อมกันอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถที่จะนำประสบการณ์นี้ไปถ่ายทอดให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และสามารถที่จะรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ขณะนี้ใกล้ที่จะจัดทำงบประมาณของปี 2558 แล้ว สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งพบว่า จะต้องมีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนในพื้นที่เดิม ๆ ทุกปี จึงมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กบอ. และกรมบัญชีกลาง พิจารณาว่าถ้าต้องจ่ายเงินเยียวยาทุกปีแล้วควรจะหันมาลงทุนในระบบป้องกันน้ำดีกว่าหรือไม่ เพราะสามารถที่จะป้องกันน้ำได้และประชาชนไม่เดือดร้อน ขณะเดียวกันยังจะสามารถใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในอนาคตได้ด้วย จึงเสนอให้ ที่ประชุมฯ นำไปพิจารณาต่อไป