xs
xsm
sm
md
lg

ครม.ฟุ้งนโยบายส.ค.ฉลุย! คืนภาษีรถคันแรก 4.66 แสนคัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้(22ต.ค.56) คณะรัฐมนตรี รับทราบตามที่ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานผลการติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ประจำเดือนสิงหาคม 2556 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาสั่งการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ โดยมีสาระสำคัญของผลการติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้มีการดำเนินการในภาพรวม
ด้านราคาสินค้า ได้มีมาตรการในการดูแลราคาสินค้าและบริการให้มีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ได้แก่ การกำหนดราคาสินค้าและบริการควบคุม การดูแลราคาต้นทาง และราคาปลายทาง การกำหนดมาตรการในการดูแลราคา การตรึงราคาจำหน่ายสินค้า การกำกับดูแลราคาจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ ติดตามตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย (สายตรวจ Mobile Unit) นอกจากนี้ ยังมีโครงการกำกับดูแลการชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อเพื่อสร้างความเป็นธรรม โครงการธงฟ้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพประชาชน และจัดงานจำหน่ายสินค้า รวมทั้งสิ้น 1,470 ครั้ง สามารถลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนคิดเป็นมูลค่า 601.20 ล้านบาท จัดงานธงฟ้าเคลื่อนที่เพื่อประชาชน (Mobile Unit) รวม 627 จุด ลดค่าครองชีพได้คิดเป็นมูลค่า 14.67 ล้านบาท (สิ้นสุดโครงการแล้ว) รวมถึงโครงการโชห่วยช่วยชาติ “ร้านถูกใจ” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างส่งผ่านให้ภาคเอกชนดำเนินการต่อ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีร้านถูกใจที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 5,009 ราย (สิ้นสุดโครงการแล้ว)
ด้านราคาพลังงาน รักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยราคา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556 อยู่ที่ 29.99 บาท/ลิตร และฐานะกองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบัน (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556) อยู่ที่ -13,098 ล้านบาท ทั้งการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลโดยกระทรวงการคลัง (กค.) ได้ออกประกาศทั้งสิ้น 16 ฉบับ ซึ่งสามารถช่วยเหลือประชาชน / ภาคธุรกิจเป็นเงินประมาณ 171,000 ล้านบาท
แก๊สโซฮอล : ส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น โดย ณ วันที่18 สิงหาคม 2556 มีปริมาณการใช้เอทานอลลดลงเป็น 2 ล้านลิตร/วัน LPG : ราคา ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 ภาคครัวเรือน ตรึงราคาไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 18.13 บาท/กก. ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 30.13 บาท/กก.ภาคขนส่ง อยู่ที่ 21.38 บาท/กก.NGV : ราคาสำหรับประชาชนอยู่ที่ 10.50 บาท/กก. กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ อยู่ที่ 8.50 บาท/กก.
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 เห็นชอบโครงการและอนุมัติกรอบวงเงินสำหรับโครงการพักหนี้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหรือเกษตรกร รวมทั้งสิ้น 3,684.71 ล้านบาท
ปรับค่าแรงงานเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้มีการโอนภารกิจของคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ SMEs ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รับผิดชอบดำเนินการต่อไป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีผู้สูงอายุที่มีสิทธิ จำนวน 6,776,562 คน ได้จัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดแล้ว (ตุลาคม 2555 - กันยายน 2556) เป็นเงิน 52,171.33 ล้านบาท กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีผู้สูงอายุได้รับเงินแล้ว จำนวน 527,150 คนใช้เงิน 346.39 ล้านบาท เมืองพัทยามีผู้สูงอายุได้รับเงินแล้วจำนวน 5,813คน ใช้เงินประมาณ 3.76 ล้านบาท
มาตรการภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์คันแรก คืนภาษีแล้ว 466,153 คัน เป็นเงิน 32,579.47 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.45 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน (กองทุนหมู่บ้าน SML) มีผลดำเนินการ ดังนี้
โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชน (SML) โอนเงินไปแล้วจำนวน 79,048 หมู่บ้าน/ชุมชน จำแนกเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนใน 76 จังหวัด จำนวน 77,853 แห่ง ชุมชนใน กทม. จำนวน 1,195 แห่ง ทั้งนี้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้เร่งรัดการดำเนินการในส่วนของชุมชนใน กทม. ด้วยแล้ว โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 ได้โอนเงินไปแล้ว 44,730 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 56.44
ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร ได้อนุมัติแล้ว 4,140,089 บัตร จัดส่งผลิตบัตรจำนวน 4,134,989 ราย วงเงินอนุมัติ 63,381 ล้านบาท ขึ้นทะเบียนเกษตรกร มันสำปะหลัง ปี 55/56 (1 มิถุนายน 2555 – 28 กุมภาพันธ์ 2556) มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 473,852 ครัวเรือนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 55/56 (1 มิถุนายน – 31 ตุลาคม 2555)มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 220,216 ครัวเรือน
โครงการรักษาเสถียรภาพราคามะพร้าว ปี 2555 ดำเนินการรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้งจากเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร ใน 8 จังหวัด จำนวน 9,000 ตัน โดยชดเชยราคากิโลกรัมละ 6 บาท และช่วยค่าขนส่ง เพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาที่คุ้มต่อการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2556ขณะนี้ได้รับซื้อแล้ว 8,605.38 ตัน คิดเป็นร้อยละ 95.62 ขณะนี้มี 7 จังหวัดแจ้งปิดโครงการแล้ว และจังหวัดนครศรีธรรมราชยังปิดโครงการไม่ได้เนื่องจากปัญหาการร้องเรียน จึงขอขยายระยะเวลาโครงการออกไปจนถึง 20 กรกฎาคม 2556
โครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา (ข้อมูล ณ 15 สิงหาคม 2556)โดยได้รับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกร จำนวน 213,118.85 ตันมูลค่า 21,088.32ล้านบาท ปริมาณยางแปรรูปนำเข้าสู่กระบวนการผลิตและผลิตเสร็จ และจัดเก็บเข้าโกดัง จำนวน 193,212.445 ตัน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 มีเงินสดคงเหลือในบัญชีของโครงการฯ จำนวน 185.648 ล้านบาท ยังคงเป็นหนี้ ธ.ก.ส. จำนวน 22,000 ล้านบาท เนื่องจากโครงการยังไม่มีการจำหน่ายยาง การเยียวยาและการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรจากภัยพิบัติด้านการเกษตร ในกรณีฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย และศัตรูพืชระบาด
ฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง ด้านพืช มีพื้นที่เสียหาย 4.697 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 629,653 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 2,870.932 ล้านบาท ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย 1,121 ไร่ กระชัง 648 ตารางเมตร เกษตรกรได้รับผลกระทบ 63 ราย ช่วยเหลือเสร็จแล้ว เป็นเงิน 3.939 ล้านบาท
อุทกภัย ด้านพืช มีพื้นที่เสียหาย 78,569 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 9,691 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 34.614 ล้านบาทช่วยเหลือแล้ว 12.126 ล้านบาท ด้านประมง เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 881 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย 526 ไร่ กระชัง 11,393 ตารางเมตร คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 6.284 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว 2.307 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ มีสัตว์สูญหาย/ตาย 1,867 ตัว เกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 60 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 83,800 บาท ช่วยเหลือแล้ว 49,700 บาท วาตภัย (ช่วงมกราคม – พฤษภาคม 2556) พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 54,567 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 14,213 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 35.876 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว 4.364 ล้านบาท
ศัตรูพืชระบาดได้มีการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด และควบคุมการระบาดไม่ให้ขยายพื้นที่ การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกร ขณะนี้มีการปรับปรุงการจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรเป็นรายแปลง ซึ่งมีเป้าหมาย 7,208,680 ครัวเรือน โดยดำเนินการไปแล้ว 3.922 ล้านครัวเรือน
การช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่เป็นลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรและผู้ยากจนที่มีปัญหาด้านหนี้สินและที่ดิน ให้สามารถไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินคืน โดยมีเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ จำนวน 690 ราย
โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56 ณ วันที่31 มีนาคม 2556 (สิ้นสุดโครงการ) มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 719 ราย เปิดจุดรับฝากแล้ว 678 จุด ปริมาณรับจำนำรวมทั้งสิ้น 9.990 ล้านตัน ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้วเป็นเงิน 26,877.092 ล้านบาท
มาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2556/57 ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน – ธันวาคม 2556 รวมวงเงิน 1,907.25 ล้านบาท ซึ่งจะได้ดำเนินการแทรกแซงรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ดความชื้น 14.5% ในราคากิโลกรัมละ 9.00 บาท
พณ. ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบการรับจำนำสินค้าเกษตรให้ถูกต้อง โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำ โดยสุ่มตรวจสอบโรงสี ตลาดกลาง โกดังกลางและเกษตรกร พบการกระทำความผิดจำนวน 3,249 ราย ได้แก่ การขนข้าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาต การสวมสิทธิเกษตรกร ข้าวขาดบัญชี การแก้ไขราคาสินค้าเกษตร
ผักและผลไม้ ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับร้านค้าปลีก ค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) รวม 6 ครั้ง เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยรับซื้อผักและผลไม้ เพื่อนำไปจำหน่ายในสาขาทั่วประเทศ และได้จัดงานเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมาจำหน่ายผลผลิตให้ผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงได้ดำเนินการเชื่อมโยงการกระจายผลไม้ภาคตะวันออก ไปจำหน่ายที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlet) ที่จังหวัดกาญจนบุรีและการเชื่อมโยงการจำหน่ายลำไย โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้เพิ่มพื้นที่จัดจำหน่ายและใช้ลำไยเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารเพิ่มมากขึ้น
สุกร ได้มีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้แก่เกษตรกรเพิ่มจากช่องทางปกติ แยกเป็นเนื้อสุกรจำนวน 216,774 กก.
ไข่ไก่ สามารถระบายไข่ไก่ได้ จำนวน 8.49 ล้านฟอง และได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลราคาไข่ไก่ รวมถึงขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่ให้ตรึงราคาไม่เกินฟองละ 3.30 บาท
หอมแดง (ฤดูแล้ง) จังหวัดเชียงใหม่ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จำนวน 22.66 ล้านบาท จากโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2554 – 2556 ให้จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องซื้อหอมแดงจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนในจังหวัดเชียงใหม่ ในราคา กก.ละ 17.00 บาท ปริมาณเป้าหมาย 11,000 ตัน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2556 ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่สามารถระบายหอมแดงได้ตามภาวะปกติ โดยไม่ต้องใช้เงินที่ได้รับการสนับสนุน
พริก จัดประชุมหารือผู้ประกอบการแปรรูปซอสพริกและน้ำพริก เพื่อขอความร่วมมือในการรับซื้อพริกในราคาที่เหมาะสม ให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพริก และการวางระบบการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานและผู้บริโภค
ปาล์มน้ำมัน รอบที่ 1 ได้จัดสรรเงินให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อดูดซับปริมาณน้ำมันปาล์มดิบ เป้าหมาย 100,000 ตัน ในราคา กก.ละ 25 บาท จากผลการดำเนินงานในรอบที่ 1 ทำให้ระดับราคาผลปาล์มสูงขึ้นจากช่วงก่อนเริ่มโครงการเฉลี่ยกก.ละ 3.53 บาท เป็น กก.ละ 4 – 4.20 บาท รอบที่ 2 มีโรงงานสกัดฯ ได้รับจัดสรรปริมาณจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบให้ อคส. 45 ราย จำนวน 53,481 ตัน โดยได้รับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรจำนวน 1,650.90 ตัน และขยายระยะเวลารับซื้อเป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน 2556
กำลังโหลดความคิดเห็น