**และแล้วก็ถึงวันที่คนไทยทั้งประเทศต้องลุ้นระทึกอีกครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย กับผลการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างไทย–กัมพูชา
เมื่อเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ“ศาลโลก”ได้นัดหมายให้สองฝ่ายรับฟังคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
หลังจากที่สองฝ่ายได้แถลงด้วยวาจาปิดคดีไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และต่างก็หยิบยกหลักฐานขึ้นมาต่อสู้ ทั้งในเรื่องของพื้นที่ตัวปราสาท และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร เพื่อยืนยัน “เขตอธิปไตย”ของประเทศตนเอง
โดยล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศ ได้ประเมินแนวทางคำพิพากษาของศาลโลกออกมาเป็น 4 แนวทาง ซึ่งก็ตรงกับที่ผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการ ที่เกาะติดเรื่องนี้คาดการณ์ไว้เช่นกัน
แนวทางที่ 1 ศาลอาจจะตัดสินว่าศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือหากศาลมีอำนาจ แต่ไม่เหตุที่จะต้องตีความ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปอยู่ตามสถานะเดิม ก่อนที่จะมีการยื่นฟ้องที่ศาลโลก
แนวทางที่ 2 ศาลอาจตัดสินว่า ขอบเขตพื้นที่โดยรอบปราสาทเขาพระวิหารเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นไปตามคำฟ้องของ ฝ่ายกัมพูชา หรือใกล้เคียง
แนวทางที่ 3 ศาลอาจตัดสินเป็นไปตามคำร้องของฝ่ายไทย หมายถึงขอบเขตปราสาทพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหาร เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อ พ.ศ. 2505
แนวทางที่ 4 ศาลอาจไม่ตัดสินให้เป็นไปตามคำร้อง ทั้งของไทยและกัมพูชา โดยอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่
พินิจพิเคราะห์แล้วก็มีเพียง แนวทางที่ 3 เท่านั้นที่ฝ่ายไทย จะได้ประโยชน์ที่สุด ส่วนที่ 3 แนวทางที่เหลือ ไม่ว่าออกหน้าไหน ฝ่ายไทย ก็มีแต่เสียกับเสีย อยู่ที่ว่าจะเสียมากเสียน้อยเท่านั้น
**เสียในที่นี้ก็หมายความไปถึง“อธิปไตย”และ“แผ่นดินไทย”
ไล่เรียงตั้งแต่ แนวทางที่ 1 ที่ ศาลโลก อาจตัดช่องน้อยแต่พอตัว วินิจฉัยว่า ตัวเองไม่มีอำนาจตัดสินในเรื่องนี้อีก หลังจากที่เคยชี้ขาดในสิทธิครอบครองเหนือตัวปราสาทพระวิหาร ให้แก่ทางกัมพูชาไปเมื่อปี 2505 การที่ฝ่ายกัมพูชานำข้อพิพาทในเรื่องขอบเขตโดยรอบตัวปราสาทมายื่นให้วินิจฉัยนั้น ต้องถือเป็น “คดีใหม่”ที่ศาลไม่มีอำนาจรับ
**ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องลงละเอียดข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย
แม้เรื่อง “อำนาจศาล”จะเป็นประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายไทย นำไปต่อสู้ในชั้นศาลมาโดยตลอด แต่ก็ใช่ว่าจะส่งผลดีเสียทีเดียว เพราะหากคำตัดสินเป็นไปในทางนี้จริงๆ หมายความว่า ทุกอย่างต้องย้อนกลับไปสู่สภาวะก่อนหน้าที่ ฝ่ายกัมพูชา จะหอบเรื่องไปฟ้องต่อศาล
ต้องไม่ลืมว่าในวันนั้น ฝ่ายไทย ถือว่า ฝ่ายกัมพูชารุกล้ำอธิปไตยของสยามประเทศเข้ามาแล้ว ทั้งวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ หมู่บ้านชาวกัมพูชา หรือกองกำลังติดอาวุธ ที่แทรกซึมรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นของฝ่ายไทย
**สรุปว่าถ้าออกหน้านี้ ปัญหาข้อพิพาทก็ยังไม่จบ
ถัดมา แนวทางที่ 2 ซึ่งถือว่าฝ่ายไทยจะเสียหายที่สุด หากศาลโลกเห็นคล้อยตามฝ่ายกัมพูชา และตัดสินให้เป็นไปตามคำร้องที่ยื่นเข้าไป เพราะนั่นแสดงว่า ประเทศไทยจะสูญเสียอธิปไตยและดินแดนมากกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ด้วยซ้ำ
** ที่สำคัญ "แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน" จะถูกตีตรารับรองอย่างเป็นทางการ
ส่งผลให้แผ่นดินไทยที่ติดกับประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ จ.อุบลราชธานี จนถึง จ.ตราด และพื้นที่ทางทะเลที่อุดมไปด้วย “พลังงาน”มีความเสี่ยงสูงที่จะถูก “ฮุบ”ไปโดยเพื่อนบ้าน ตาม“แผนที่เถื่อน”ฉบับที่ว่า
ซึ่งแนวทางนี้คนไทยทั้งชาติต้องร่วมกันภาวนาไม่ให้เกิดขึ้น
ในส่วน แนวทางที่ 4 ที่ว่าถึงโอกาสที่ศาลอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่ หรือพูดกันง่ายๆ คือออก“ทางสายกลาง”ให้สองฝ่ายแบ่งสรรปันส่วนพื้นที่ที่มีปัญหากัน
ดูเหมือนเป็นทางออกที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า คำพิพากษาศาลโลก เมื่อปี 2505 ให้สิทธิครอบครอง“ตัวปราสาทพระวิหาร”เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงพื้นที่โดยรอบ หรือเส้นเขตแดนแต่อย่างใด
หากออกหน้านี้ก็เท่ากับ ฝ่ายไทย ต้องสูญเสียดินแดน อธิปไตย แม้จะไม่มากเท่า แนวทางที่ 2 แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะการเสียแผ่นดินไม่ว่าจะตารางนิ้วเดียว หรือกี่ตารางกิโลเมตร ก็ถือเป็นการสูญเสียอธิปไตยเช่นกัน
มองดูแล้วต้องยอมรับว่า ฝ่ายไทย เข้าตาจน ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบเต็มประตู เพราะแต่ละแนวทางก็หนีไม่พ้นการสูญเสียดินแดน อธิปไตย ส่วน แนวทางที่ 3 ที่ ฝ่ายไทย จะได้ประโยชน์ที่สุดนั้น ก็ถือว่ามีโอกาสจะเกิดน้อยที่สุด เพราะข้อต่อสู้ของฝ่ายไทยในชั้นศาลนั้นเป็นไปในลักษณะ“ตั้งรับ”แก้ต่างคำร้องของ ฝ่ายกัมพูชา เท่านั้น
**ประเมินดูแล้ว ไม่ว่าออกหน้าไหน “พี่ไทย”ก็ตกที่นั่งลำบาก
เมื่อเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ“ศาลโลก”ได้นัดหมายให้สองฝ่ายรับฟังคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
หลังจากที่สองฝ่ายได้แถลงด้วยวาจาปิดคดีไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และต่างก็หยิบยกหลักฐานขึ้นมาต่อสู้ ทั้งในเรื่องของพื้นที่ตัวปราสาท และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร เพื่อยืนยัน “เขตอธิปไตย”ของประเทศตนเอง
โดยล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศ ได้ประเมินแนวทางคำพิพากษาของศาลโลกออกมาเป็น 4 แนวทาง ซึ่งก็ตรงกับที่ผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการ ที่เกาะติดเรื่องนี้คาดการณ์ไว้เช่นกัน
แนวทางที่ 1 ศาลอาจจะตัดสินว่าศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือหากศาลมีอำนาจ แต่ไม่เหตุที่จะต้องตีความ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปอยู่ตามสถานะเดิม ก่อนที่จะมีการยื่นฟ้องที่ศาลโลก
แนวทางที่ 2 ศาลอาจตัดสินว่า ขอบเขตพื้นที่โดยรอบปราสาทเขาพระวิหารเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นไปตามคำฟ้องของ ฝ่ายกัมพูชา หรือใกล้เคียง
แนวทางที่ 3 ศาลอาจตัดสินเป็นไปตามคำร้องของฝ่ายไทย หมายถึงขอบเขตปราสาทพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหาร เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อ พ.ศ. 2505
แนวทางที่ 4 ศาลอาจไม่ตัดสินให้เป็นไปตามคำร้อง ทั้งของไทยและกัมพูชา โดยอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่
พินิจพิเคราะห์แล้วก็มีเพียง แนวทางที่ 3 เท่านั้นที่ฝ่ายไทย จะได้ประโยชน์ที่สุด ส่วนที่ 3 แนวทางที่เหลือ ไม่ว่าออกหน้าไหน ฝ่ายไทย ก็มีแต่เสียกับเสีย อยู่ที่ว่าจะเสียมากเสียน้อยเท่านั้น
**เสียในที่นี้ก็หมายความไปถึง“อธิปไตย”และ“แผ่นดินไทย”
ไล่เรียงตั้งแต่ แนวทางที่ 1 ที่ ศาลโลก อาจตัดช่องน้อยแต่พอตัว วินิจฉัยว่า ตัวเองไม่มีอำนาจตัดสินในเรื่องนี้อีก หลังจากที่เคยชี้ขาดในสิทธิครอบครองเหนือตัวปราสาทพระวิหาร ให้แก่ทางกัมพูชาไปเมื่อปี 2505 การที่ฝ่ายกัมพูชานำข้อพิพาทในเรื่องขอบเขตโดยรอบตัวปราสาทมายื่นให้วินิจฉัยนั้น ต้องถือเป็น “คดีใหม่”ที่ศาลไม่มีอำนาจรับ
**ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องลงละเอียดข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย
แม้เรื่อง “อำนาจศาล”จะเป็นประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายไทย นำไปต่อสู้ในชั้นศาลมาโดยตลอด แต่ก็ใช่ว่าจะส่งผลดีเสียทีเดียว เพราะหากคำตัดสินเป็นไปในทางนี้จริงๆ หมายความว่า ทุกอย่างต้องย้อนกลับไปสู่สภาวะก่อนหน้าที่ ฝ่ายกัมพูชา จะหอบเรื่องไปฟ้องต่อศาล
ต้องไม่ลืมว่าในวันนั้น ฝ่ายไทย ถือว่า ฝ่ายกัมพูชารุกล้ำอธิปไตยของสยามประเทศเข้ามาแล้ว ทั้งวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ หมู่บ้านชาวกัมพูชา หรือกองกำลังติดอาวุธ ที่แทรกซึมรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นของฝ่ายไทย
**สรุปว่าถ้าออกหน้านี้ ปัญหาข้อพิพาทก็ยังไม่จบ
ถัดมา แนวทางที่ 2 ซึ่งถือว่าฝ่ายไทยจะเสียหายที่สุด หากศาลโลกเห็นคล้อยตามฝ่ายกัมพูชา และตัดสินให้เป็นไปตามคำร้องที่ยื่นเข้าไป เพราะนั่นแสดงว่า ประเทศไทยจะสูญเสียอธิปไตยและดินแดนมากกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ด้วยซ้ำ
** ที่สำคัญ "แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน" จะถูกตีตรารับรองอย่างเป็นทางการ
ส่งผลให้แผ่นดินไทยที่ติดกับประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ จ.อุบลราชธานี จนถึง จ.ตราด และพื้นที่ทางทะเลที่อุดมไปด้วย “พลังงาน”มีความเสี่ยงสูงที่จะถูก “ฮุบ”ไปโดยเพื่อนบ้าน ตาม“แผนที่เถื่อน”ฉบับที่ว่า
ซึ่งแนวทางนี้คนไทยทั้งชาติต้องร่วมกันภาวนาไม่ให้เกิดขึ้น
ในส่วน แนวทางที่ 4 ที่ว่าถึงโอกาสที่ศาลอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่ หรือพูดกันง่ายๆ คือออก“ทางสายกลาง”ให้สองฝ่ายแบ่งสรรปันส่วนพื้นที่ที่มีปัญหากัน
ดูเหมือนเป็นทางออกที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า คำพิพากษาศาลโลก เมื่อปี 2505 ให้สิทธิครอบครอง“ตัวปราสาทพระวิหาร”เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงพื้นที่โดยรอบ หรือเส้นเขตแดนแต่อย่างใด
หากออกหน้านี้ก็เท่ากับ ฝ่ายไทย ต้องสูญเสียดินแดน อธิปไตย แม้จะไม่มากเท่า แนวทางที่ 2 แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะการเสียแผ่นดินไม่ว่าจะตารางนิ้วเดียว หรือกี่ตารางกิโลเมตร ก็ถือเป็นการสูญเสียอธิปไตยเช่นกัน
มองดูแล้วต้องยอมรับว่า ฝ่ายไทย เข้าตาจน ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบเต็มประตู เพราะแต่ละแนวทางก็หนีไม่พ้นการสูญเสียดินแดน อธิปไตย ส่วน แนวทางที่ 3 ที่ ฝ่ายไทย จะได้ประโยชน์ที่สุดนั้น ก็ถือว่ามีโอกาสจะเกิดน้อยที่สุด เพราะข้อต่อสู้ของฝ่ายไทยในชั้นศาลนั้นเป็นไปในลักษณะ“ตั้งรับ”แก้ต่างคำร้องของ ฝ่ายกัมพูชา เท่านั้น
**ประเมินดูแล้ว ไม่ว่าออกหน้าไหน “พี่ไทย”ก็ตกที่นั่งลำบาก