วานนี้ (16 ต.ค.) มีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...)พ.ศ...ในวาระ 2 หลังคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เป็นวันที่ 2 โดยมี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยสมาชิกรัฐสภา ยังอภิปรายใน มาตรา 3
คือ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตย หรือเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมาย
ระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุนต้องได้รับความเห็นชอบ
ของรัฐสภา นอกจากนั้นต้องมีการออกกฎหมาย เพื่อจัดรับฟังความเห็นของประชาชนต่อหนังสือสัญญา และกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ประเด็นที่มีความเห็นขัดแย้งว่า หนังสือสัญญาใดที่เข้าข่าย มาตรา 190 หรือไม่
โดยสมาชิกบางส่วน แสดงความไม่เห็นด้วย กับการยกเลิกข้อความใน มาตรา 190 เพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม และ
การค้าระหว่างประเทศ แต่ความล่าช้าเกิดจากฝ่ายผู้ปฏิบัติมากกว่ากระบวนการของรัฐสภา พร้อมเชื่อว่า การแก้ไข มาตรา 190 เพื่อไม่ต้องส่งเรื่องผ่านความเห็นชอบ
จากรัฐสภา อาจจะส่งผลกระทบต่อการกระทำใดๆในพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเรื่องเขตแดนได้ อีกทั้งเห็นว่า
หากไม่นำกรอบการเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ จึงเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาโหวตให้กลับไปใช้ มาตรา 190 ตามเดิม
นายธนา ชีรวินิจ ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตอนหนึ่งว่า หากมีการแก้ไขรธน. มาตรา190 เสร็จ หวั่นว่าจะเอาไปใช้ในศาลโลก ในการ
พิพากษาคดีข้อพิพาท พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร บริเวณเขาพระวิหาร โดยหยิบยกจากฝ่ายกัมพูชาที่ได้ประโยชน์ เพราะไทยไปลงนามสนธิสัญญาแถลงการณ์ร่วมไทย
กัมพูชา เมื่อปี 51 และไปแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพื่อไปใช้ประโยชน์ เพราะทำให้เป็นเรื่องไม่ผิด และท่านจะมองหน้าลูกหลานได้อย่างไร เราเสียประสาทพระ
วิหารในอดีตไม่ได้เป็นเพราะสัญญา แต่เสียเพราะพฤติกรรมของอดีตผู้นำประเทศ ที่ไปยอมรับในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ของอธิปไตยกัมพูชา ศาลจึงเอาไปเป็นคำพิพากษาให้
เราเสียประสาทเขาพระวิหาร วันนี้ได้ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไปสู่ศาลโลกเพื่อขอพื้นที่โดยรอบประสาทเขาพระวิหาร และท้ายที่สุดกัมพูชา นำแถลงการณ์
ร่วมไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว แค่นี้ท่านยังไม่พออีกหรือ จะต้องรอให้ศาลโลกทำให้เสียดินแดนแล้วท่านจึงจะเข้าใจ ตนขอกราบไปยัง
กมธ. และสมาชิกรัฐสภา หากนึกถึงประเทศชาติควรหยุดแก้ไข แต่หากยังเดินหน้าเพื่อรัฐบาล มากกว่าประเทศ พวกท่านต้องรับผิดชอบ
ด้านนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย และ รมว.วิทยาศาสตร์ ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก ชี้แจงว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และเกิดปัญหา
เพราะเราไม่ใช้กฎหมายตรงไปตรงมา เพราะหากเราไม่แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กัมพูชา ก็ขอนำ “เขาพระวิหารขึ้นทะเบียนอยู่แล้วเพราะเป็นดินแดนของเขา”
และเราแก้รธน.มาตรา 190 เพื่อให้รัฐบาลทำงานสะดวกขึ้น คือเรื่องหลัก
นายธนา ได้ลุกขึ้นประท้วงให้ระวังคำพูด นายพีรพันธ์พูดได้อย่างไรว่าประสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาอยู่แล้ว อย่าพูดคำนี้ เพราะประเทศไทย
สงวนสิทธิ์ ในการเอาเขาพระวิหารกลับคืนมาตลอดเวลา จนกระทั่งนายนพดล ปัทมทะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ไปทำแถลงการณ์ร่วมฯ ทำให้กัมพูชาอ้างสิทธิเหนือ
ประเทศไทย และวันนี้รัฐมนตรีไทยไปยอมรับ คิดได้ แต่อย่าพูด เพราะตนเกรงว่าฝ่ายกัมพูชาจะเอาคำพูดของรัฐมนตรีไปใช้ประโยชน์
ทำให้นายพีรพันธุ์ กล่าวตอบโต้ว่า อยากให้นายธนา ไปอ่านคำพิพากษาปี 2505 ของศาลโลก บอกไว้ชัดว่า เขาพระวิหาร ตั้งบนดินแดนที่อยู่ภายใต้
อธิปไตยของกัมพูชา
ขณะที่ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงว่า รัฐมนตรีในฐานะกรรมาธิการต้องควรประชุมลับ คำพูดของนาย
พีรพันธุ์ ที่ระบุว่า ขึ้นอยู่แล้วในดินแดนของเขา ซึ่งเรื่องนี้สุ่มเสี่ยง ตนคิดว่าขอให้รัฐมนตรีถอนคำพูด เพราะเป็นความเป็นความตายของประเทศชาติ ความมั่นคงของชาติ
“ท่านยกดินแดนนี้ทั้งหมดนี้ เพราะคำพิพากษา อยากบอกว่าจะมีก็แค่วัด ไม่ใช่ดินแดน มันต้องตีความกัน จึงขอความกรุณาให้ถอนคำพูด เพราะ
เป็นเรื่องใหญ่ ต่างประเทศเขาดูเราอยู่”
แต่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานในที่ประชุม ก็ไม่วินิจฉัยให้นายพีรพันธ์ ถอนคำพูด และให้สมาชิกดำเนินการอภิปรายต่อไป
ขณะที่สมาชิกอีกหลายคนได้ อภิปรายคัดค้าน และได้หยิบยกหลายปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจากความผิดพลาดขึ้นมาประกอบ อาทิ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ
ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยตัดประเด็น การรับฟังความเห็นประชาชน หนังสือสัญญาที่กระทบต่อเศรษฐกิจ หรืองบประมาณของ
ประเทศ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในหลายมาตรา อาทิ มาตรา 3 วรรคสอง ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานรัฐ
ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม มาตรา 56 และ มาตรา 57 ว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะประเด็นล่าสุดที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะนำ
ข้าวไปแลกกับการให้ประเทศจีนเข้ามาเดินรถไฟในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรม อย่างไม่สมควรทำ
“ที่อ้างว่า มาตรา 190 เดิม ทำให้เกิดความเสียหายนั้น ผมมองว่าต้นเหตุคือหน่วยงานของรัฐที่ทำงานไม่มีประสิทธิ์ภาพ อย่าง วาระแจ้งเพื่อทราบ
กรณีการทบทวนแหล่งเงินกู้จากองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (ไจก้า) ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วง ระยะที่ 3 วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท
หลังจากที่ไจก้า ขอขึ้นดอกเบี้ย จากเดิมที่คิด 0.8 เปอร์เซ็นต์ ไปเป็น 1.5 เปอร์เซ็นต์ เพราะไทยถูกปรับสถานะจากรายได้ปานกลาง เป็นรายได้ปานกลางระดับสูง โดย
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัญหาที่ต้องนำมาเป็นบทเรียน และเป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย กับการแก้มาตรา 190 เพื่อโอนอำนาจตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ ไปให้ฝ่ายบริหาร
"
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ติดใจว่าคำว่า“ชัดแจ้ง”แสดงว่า ต่อไปหากไทยเสียดินแดนให้กัมพูชาจึงจะนำเข้ารัฐสภา ใช่หรือไม่
แล้วจะนำมาขอความเห็นชอบ“ทำแมว”ทำไม อีกทั้งการแก้ไขครั้งนี้ เพื่อต้องการลดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างชัดเจน โดยเฉพาะจะไม่มีบทคุ้มครองในเรื่องก๊าซ
ธรรมชาติ และอาจจะมีการให้เกิดปัญหาคอร์รัปชัน เจรจาเรื่องการให้วีซ่า และเงินกู้จากต่างประเทศ ก็ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย
ด้านนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับการเขียนว่า“ชัดแจ้ง”ซึ่งแสดงว่า ต่อไปทรัพยากรธรรมชาติมูลค่า 5
ล้านล้านบาท บริเวณอ่าวไทย ที่ยังไม่ทราบว่าเป็นของใคร รัฐบาลสามารถไปตกลงได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ใช่หรือไม่ และหากแก้ มาตรา 190 สำเร็จ คนที่มีคดี
ความหลังไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมพื้นที่ทับซ้อน บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ก็จะรอดพ้นจากความผิด และกลับมาเป็นรัฐมนตรี ใช่หรือไม่ จึงถือว่าเป็นการรัฐ
ประหารรัฐธรรมนูญ เล่นการเมืองแบบกอบโกย ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดหายนะกับประเทศในอีกไม่นาน
**ยังต้องคุม"ทรัพยากร พลังงาน สวล."
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ฝ่ายนิติบัญญัติทั่วโลกเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในการเจรจาระหว่างประเทศมากขึ้น
ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องฝ่ายบริหารเพียงลำพัง การเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ จะมีฝ่ายนิติบัญญัติช่วยเป็นกันชนให้ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าการจะตกลงอะไรต้องให้ฝ่าย
นิติบัญญัติรับรองก่อน ในยุคที่ชอบอ้างประชาธิปไตยเสียงข้างมาก แต่กลับพยายามลิดรอนเรื่องสิทธิของประชาชน จำกัดเรื่องที่จะมาสู่กระบวนการเห็นชอบของสภา
เหตุผลแค่ว่า ไม่ทันการ เสียเปรียบเขา ปฎิบัติได้ยาก แต่ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามไปให้ฝ่ายบริหาร แสดงให้เห็นว่า ตรงไหนเสียหาย เมื่อไหร่ ที่ไหน แต่ก็ไม่เคยได้รับ
คำตอบ ความง่ายรวดเร็ว ไม่ได้หมายความว่าเป็นประโยชน์กับประเทศเสมอไป พวกตนเคยเป็นฝ่ายบริหารยอมรับว่า ผ่านตรงนี้ไม่ง่าย แต่เราต้องเคารพกระบวน
การนี้
โดยเฉพาะในเรื่องเขตแดน หนังสือสัญญาบางทีคนหนึ่งคนใดบอกว่ากระทบ หรือไม่กระทบ ไม่ได้ ก็ต้องนำเข้ามาพิจารณาในสภา หายากที่จะมีการ
ทำหนังสือยกดินแดนให้คนอื่น นอกจากมีการตกลงแลกกับประโยชน์บางอย่าง จะไปเสี่ยงทำไม ในเมื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ ตั้งแต่มี ม.190 มีข้อตกลงไหนบ้างที่
สภาลงมติคว่ำ ซึ่งกรอบเวลาก็มีข้อตกลงให้เสร็จภายในเมื่อไร และประโยชน์ของ ม.190 ทำให้เราทุกคนมีโลกทัศน์กว้างขึ้น กระบวนการทั้งหมดเป็นประโยชน์กับ
ประชาชน แต่ไม่สะดวกกับฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่ถ้าเราตามใจไม่ใช่หน้าที่ ตอนตนเป็นรัฐบาลหลายหน่วยงานบอกยุ่งยาก ตนบอกอาจมีขั้นตอนซับซ้อน แต่ต้องปรับตัว
หลายครั้งมีปัญหาไม่ใช่ เพราะ ม.190 หรือรัฐสภา แต่อยู่ที่ฝ่ายบริหารจัดการที่ไม่วางแผนล่วงหน้า มารีบทำตอนท้าย เร่งรัดรัฐสภาให้พิจารณา วัฒนธรรมแบบเรื่องนี้
ต้องเปลี่ยน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยืนยัน และขอบคุณกรรมาธิการ ที่จากเดิมเขียนสั้นๆว่า “อำนาจแห่งรัฐ”ทำให้เกิดปัญหาตีความมากมาย จึงเปลี่ยนมาเขียน
เป็น สิทธินอกอาณาเขต แต่ที่ไปแก้โดยเพิ่มโดย“ชัดแจ้ง” ตนเห็นด้วยกับสมาชิกที่ว่า ไม่มีอะไรนอกจากเจตนาหาทางให้เข้าข่ายมาตรานี้น้อยที่สุด เป็นหลักคิดที่ผิด
“ยกตัวอย่างกรณีเกิดปัญหาในซีเรีย นายกรัฐมนตรีอังกฤษ หารือกับหลายๆ ประเทศคิดจะส่งกำลังทหารเข้าไป เขาไม่มี ม.190 แต่นายกฯอังกฤษ
ตัดสินใจว่า หลังจากประสบการณ์อิรัก และที่อื่นๆ สร้างความกระเทือนกับคนของตนเอง จึงตัดสินใจเสนอเป็นญัตติเข้าสภา นักประชาธิปไตยต้องคิดแบบนี้ ไม่ใช่เลี่ยง
การมีส่วนร่วมผู้แทนประชาชนได้ก็เลี่ยงไป เพื่อทำงานง่ายขึ้น ผลที่ตามมารัฐบาลเสียงข้างมากแพ้ญัตติ สมาชิกซีกรัฐบาลบางส่วนตัดสินใจลงมติสวนรัฐบาล นายกฯ
ลุกขึ้นว่า จะเคารพมติของประชาชน ล้มเลิกความคิดส่งกำลังไป เปลี่ยนไปหาวิธีการทางการทูต ถ้าเขาคิดแบบกรรมาธิการ วันนี้อาจจะมีสงครามเกิดขึ้นอีกทีก็ได้ นี่คือ
ความแตกต่าง”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่แก้ไขจากเดิม เขียนว่าเรื่องที่มีผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งกว้างขวางในการตีความ แต่เมื่อมีการแก้รัฐธรรมนูญ
ด้วยการให้รัฐบาลออกเป็นกฎหมายลูก แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการเสนอเข้าสู่สภา ถ้าเสนอมาแล้วถกกัน ชี้ให้เห็นว่าออกไปก็ทำไม่ได้ จนต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตนก็พอ
เข้าใจ แต่ความจริงจ้องแต่ว่าเมื่อไหร่จะลดอำนาจการมีส่วนรวมการตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติได้ ก็ทราบว่ากรรมาธิการ มีการกดดันมากจนเพิ่มการเปิดเสรีการค้าการ
ลงทุนเข้ามา แต่ยังไม่พอ เพราะปัจจุบันข้อตกลงหลายข้อ โดยเฉพาะที่มีผลผูกพันทางด้านเศรษฐกิจ การเปิดการค้าเสรี การลงทุนถือเป็นขั้นต้นเท่านั้น เพราะปัจจุบัน
การลงทุน มีการเปลี่ยนไปเรียกชื่ออื่นหมดแล้ว ประเด็นที่ไม่เกี่ยวการค้าลงทุน ก็มีการทำข้อตกลงกันหมดแล้ว แต่กลับไปจำกัดตนเองเอาเฉพาะที่มีผลเปิดเสรีการค้า
ลงทุนมาใส่ใน ม.190
ส่วนประเด็นที่คนสนใจมากคือ เรื่องทรัพยากร พลังงานธรรมชาติ ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของโลก ที่ช่วงชิงตรงนี้กลับไม่อยู่ในข่ายให้มามีส่วนร่วมรับฟัง
ความเห็นประชาชน แม้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ตาม แนวคิดนี้ผิดแล้ว ยิ่งมีข่าวว่ามีประโยชน์ต่อคนที่มีอำนาจเข้ามาเกี่ยว ยิ่งต้องระวัง ตนอยากให้ทบทวนให้ตัดคำ
ว่า"โดยชัดแจ้ง" ออกไป เติมแค่การเปิดเสรีการค้า การลงทุนอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้ชัดเจนไปเลยด้วยการเอาทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน สิ่งแวดล้อม กลับเข้ามาอยู่
ใน ม.190 และแก้ขอบเขตกฎหมายลูก ทำขั้นตอนให้กระชับขึ้น เชื่อว่าทุกฝ่ายรับได้ เพราะหลายเรื่องไม่เข้าข่ายกำกวม ใช้วิธีการตัดแปะ ต้องเปลี่ยนแปลงให้หลาย
อย่างชัดเจนกระชับมากขึ้น
“วันนี้ผู้แทนปวงชนชาวไทยควรมีสิทธิ์มากกว่าที่กำลังจะให้ในการมีส่วนร่วมตรวจสอบสิ่งที่ฝ่ายบริหารไปทำ ขอเรียกร้องจิตวิญญาณผู้แทนปวงชน
ทุกคน อย่าคิดว่ามีธงแล้ว ผมไม่อยากคิดว่า มีใบสั่งหรือไม่ แต่อยากให้คิดถึงประเทศ ประชาชน อนาคต และเชื่อมั่นในกระบวนการของพวกเราทบทวนสิ่งที่พวกเรา
เสนอ ที่จะให้เจ้าของประเทศมีสิทธิรู้ร่วมตัดสินใจเอาทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน เอาชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนไปผูกพัน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. อภิปรายว่า สาเหตุการแก้กติกาครั้งนี้ นอกจากปิดหูปิดตาประชาชน ไม่ใช้เวทีรัฐสภาเปิดเผย
ข้อมูล และมีการแก้ไขโดยเขียนว่า โดยชัดแจ้ง และหากศาลโลกพิพากษาคดีเขาพระวิหาร วันที่ 11 พ.ย. โดยไม่เป็นคุณ รัฐบาลจะเอาเรื่องเข้าสภาฯ หรือไม่ เพราะ
เป็นพื้นที่ทับซ้อน รวมทั้ง พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งทับซ้อนไม่ชัดเจน ท่านจะไปทำอะไรในพื้นที่ไ ม่ต้องบอกรัฐสภา โดยไม่ต้องกำหนดกรอบ
เจรจา แม้จะมีการตั้งองค์กรร่วม หรือพ.ร.บ.ร่วมทุน มาเข้าสภาฯ แต่ถึงวันนี้ท่านเสียเปรียบไปแล้ว
** "แม้ว"ฮุบพลังงานในอ่าวไทยก็ไม่มีใครรู้
นางอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เรื่องอาณาเขต และอธิปไตยนอกอาณาเขต กรรมาธิการไปแก้ไขให้เป็น
อันตราย เพราะพื้นที่ทับซ้อนที่ยังตกลงไมได้ระหว่างไทย-กัมพูชา ถือว่าไม่ชัดแจ้ง จึงไม่ควรมีข้อความนี้ อยู่ในร่างแก้ไข มาตรา 190 โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
ตรวจสอบได้ยากเพราะพื้นที่ใหญ่ถึง 2.6 หมื่นล้านตารางกิโลเมตร และมีมูลค่า 6 แสนล้านบาทต่อปี การเจรจาในการขยับพื้นที่ ปรับสัดส่วนผลประโยชน์ และไม่ต้อง
เข้ารัฐสภา โดยเฉพาะผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลสนิทสนมกับผู้นำกัมพูชา จะทำให้เราวางใจได้อย่างไร เพราะได้ประโยชน์กันในสัมปทานปิโตรเลียม และกฎหมายอาจจะ
เอาผิดไม่ถึง อีกทั้งมติของคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ในวันที่ 4 ต.ค. 55 มีแผนจัดการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว มีมติให้เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย
กัมพูชาให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 56 ถือเป็นความเร่งรีบที่พอดีกับการแก้รธน.หรือไม่
หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการเสียงข้างมาก
นอกจากนั้นได้มีมติเห็นชอบในมาตรา 4 เกี่ยวกับการให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตาม มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี นับแต่วัน
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรี จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำ
หนังสือสัญญาตาม มาตรา 190 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม และในกรณีทีเป็นหนังสือสนธิสัญญา ที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้า การลงทุนให้เสนอกรอบ
การเจรจาเพื่อขอความเห็นต่อรัฐสภา และผลการศึกษาถึงประโยชน์ และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภา เพื่อทราบด้วย จากนั้นที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มี
มติเห็นชอบใน วาระ 3
คือ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตย หรือเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมาย
ระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุนต้องได้รับความเห็นชอบ
ของรัฐสภา นอกจากนั้นต้องมีการออกกฎหมาย เพื่อจัดรับฟังความเห็นของประชาชนต่อหนังสือสัญญา และกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ประเด็นที่มีความเห็นขัดแย้งว่า หนังสือสัญญาใดที่เข้าข่าย มาตรา 190 หรือไม่
โดยสมาชิกบางส่วน แสดงความไม่เห็นด้วย กับการยกเลิกข้อความใน มาตรา 190 เพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม และ
การค้าระหว่างประเทศ แต่ความล่าช้าเกิดจากฝ่ายผู้ปฏิบัติมากกว่ากระบวนการของรัฐสภา พร้อมเชื่อว่า การแก้ไข มาตรา 190 เพื่อไม่ต้องส่งเรื่องผ่านความเห็นชอบ
จากรัฐสภา อาจจะส่งผลกระทบต่อการกระทำใดๆในพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเรื่องเขตแดนได้ อีกทั้งเห็นว่า
หากไม่นำกรอบการเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ จึงเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาโหวตให้กลับไปใช้ มาตรา 190 ตามเดิม
นายธนา ชีรวินิจ ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตอนหนึ่งว่า หากมีการแก้ไขรธน. มาตรา190 เสร็จ หวั่นว่าจะเอาไปใช้ในศาลโลก ในการ
พิพากษาคดีข้อพิพาท พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร บริเวณเขาพระวิหาร โดยหยิบยกจากฝ่ายกัมพูชาที่ได้ประโยชน์ เพราะไทยไปลงนามสนธิสัญญาแถลงการณ์ร่วมไทย
กัมพูชา เมื่อปี 51 และไปแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพื่อไปใช้ประโยชน์ เพราะทำให้เป็นเรื่องไม่ผิด และท่านจะมองหน้าลูกหลานได้อย่างไร เราเสียประสาทพระ
วิหารในอดีตไม่ได้เป็นเพราะสัญญา แต่เสียเพราะพฤติกรรมของอดีตผู้นำประเทศ ที่ไปยอมรับในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ของอธิปไตยกัมพูชา ศาลจึงเอาไปเป็นคำพิพากษาให้
เราเสียประสาทเขาพระวิหาร วันนี้ได้ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไปสู่ศาลโลกเพื่อขอพื้นที่โดยรอบประสาทเขาพระวิหาร และท้ายที่สุดกัมพูชา นำแถลงการณ์
ร่วมไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว แค่นี้ท่านยังไม่พออีกหรือ จะต้องรอให้ศาลโลกทำให้เสียดินแดนแล้วท่านจึงจะเข้าใจ ตนขอกราบไปยัง
กมธ. และสมาชิกรัฐสภา หากนึกถึงประเทศชาติควรหยุดแก้ไข แต่หากยังเดินหน้าเพื่อรัฐบาล มากกว่าประเทศ พวกท่านต้องรับผิดชอบ
ด้านนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย และ รมว.วิทยาศาสตร์ ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก ชี้แจงว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และเกิดปัญหา
เพราะเราไม่ใช้กฎหมายตรงไปตรงมา เพราะหากเราไม่แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กัมพูชา ก็ขอนำ “เขาพระวิหารขึ้นทะเบียนอยู่แล้วเพราะเป็นดินแดนของเขา”
และเราแก้รธน.มาตรา 190 เพื่อให้รัฐบาลทำงานสะดวกขึ้น คือเรื่องหลัก
นายธนา ได้ลุกขึ้นประท้วงให้ระวังคำพูด นายพีรพันธ์พูดได้อย่างไรว่าประสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาอยู่แล้ว อย่าพูดคำนี้ เพราะประเทศไทย
สงวนสิทธิ์ ในการเอาเขาพระวิหารกลับคืนมาตลอดเวลา จนกระทั่งนายนพดล ปัทมทะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ไปทำแถลงการณ์ร่วมฯ ทำให้กัมพูชาอ้างสิทธิเหนือ
ประเทศไทย และวันนี้รัฐมนตรีไทยไปยอมรับ คิดได้ แต่อย่าพูด เพราะตนเกรงว่าฝ่ายกัมพูชาจะเอาคำพูดของรัฐมนตรีไปใช้ประโยชน์
ทำให้นายพีรพันธุ์ กล่าวตอบโต้ว่า อยากให้นายธนา ไปอ่านคำพิพากษาปี 2505 ของศาลโลก บอกไว้ชัดว่า เขาพระวิหาร ตั้งบนดินแดนที่อยู่ภายใต้
อธิปไตยของกัมพูชา
ขณะที่ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงว่า รัฐมนตรีในฐานะกรรมาธิการต้องควรประชุมลับ คำพูดของนาย
พีรพันธุ์ ที่ระบุว่า ขึ้นอยู่แล้วในดินแดนของเขา ซึ่งเรื่องนี้สุ่มเสี่ยง ตนคิดว่าขอให้รัฐมนตรีถอนคำพูด เพราะเป็นความเป็นความตายของประเทศชาติ ความมั่นคงของชาติ
“ท่านยกดินแดนนี้ทั้งหมดนี้ เพราะคำพิพากษา อยากบอกว่าจะมีก็แค่วัด ไม่ใช่ดินแดน มันต้องตีความกัน จึงขอความกรุณาให้ถอนคำพูด เพราะ
เป็นเรื่องใหญ่ ต่างประเทศเขาดูเราอยู่”
แต่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานในที่ประชุม ก็ไม่วินิจฉัยให้นายพีรพันธ์ ถอนคำพูด และให้สมาชิกดำเนินการอภิปรายต่อไป
ขณะที่สมาชิกอีกหลายคนได้ อภิปรายคัดค้าน และได้หยิบยกหลายปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจากความผิดพลาดขึ้นมาประกอบ อาทิ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ
ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยตัดประเด็น การรับฟังความเห็นประชาชน หนังสือสัญญาที่กระทบต่อเศรษฐกิจ หรืองบประมาณของ
ประเทศ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในหลายมาตรา อาทิ มาตรา 3 วรรคสอง ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานรัฐ
ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม มาตรา 56 และ มาตรา 57 ว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะประเด็นล่าสุดที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะนำ
ข้าวไปแลกกับการให้ประเทศจีนเข้ามาเดินรถไฟในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรม อย่างไม่สมควรทำ
“ที่อ้างว่า มาตรา 190 เดิม ทำให้เกิดความเสียหายนั้น ผมมองว่าต้นเหตุคือหน่วยงานของรัฐที่ทำงานไม่มีประสิทธิ์ภาพ อย่าง วาระแจ้งเพื่อทราบ
กรณีการทบทวนแหล่งเงินกู้จากองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (ไจก้า) ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วง ระยะที่ 3 วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท
หลังจากที่ไจก้า ขอขึ้นดอกเบี้ย จากเดิมที่คิด 0.8 เปอร์เซ็นต์ ไปเป็น 1.5 เปอร์เซ็นต์ เพราะไทยถูกปรับสถานะจากรายได้ปานกลาง เป็นรายได้ปานกลางระดับสูง โดย
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัญหาที่ต้องนำมาเป็นบทเรียน และเป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย กับการแก้มาตรา 190 เพื่อโอนอำนาจตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ ไปให้ฝ่ายบริหาร
"
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ติดใจว่าคำว่า“ชัดแจ้ง”แสดงว่า ต่อไปหากไทยเสียดินแดนให้กัมพูชาจึงจะนำเข้ารัฐสภา ใช่หรือไม่
แล้วจะนำมาขอความเห็นชอบ“ทำแมว”ทำไม อีกทั้งการแก้ไขครั้งนี้ เพื่อต้องการลดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างชัดเจน โดยเฉพาะจะไม่มีบทคุ้มครองในเรื่องก๊าซ
ธรรมชาติ และอาจจะมีการให้เกิดปัญหาคอร์รัปชัน เจรจาเรื่องการให้วีซ่า และเงินกู้จากต่างประเทศ ก็ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย
ด้านนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับการเขียนว่า“ชัดแจ้ง”ซึ่งแสดงว่า ต่อไปทรัพยากรธรรมชาติมูลค่า 5
ล้านล้านบาท บริเวณอ่าวไทย ที่ยังไม่ทราบว่าเป็นของใคร รัฐบาลสามารถไปตกลงได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ใช่หรือไม่ และหากแก้ มาตรา 190 สำเร็จ คนที่มีคดี
ความหลังไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมพื้นที่ทับซ้อน บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ก็จะรอดพ้นจากความผิด และกลับมาเป็นรัฐมนตรี ใช่หรือไม่ จึงถือว่าเป็นการรัฐ
ประหารรัฐธรรมนูญ เล่นการเมืองแบบกอบโกย ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดหายนะกับประเทศในอีกไม่นาน
**ยังต้องคุม"ทรัพยากร พลังงาน สวล."
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ฝ่ายนิติบัญญัติทั่วโลกเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในการเจรจาระหว่างประเทศมากขึ้น
ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องฝ่ายบริหารเพียงลำพัง การเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ จะมีฝ่ายนิติบัญญัติช่วยเป็นกันชนให้ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าการจะตกลงอะไรต้องให้ฝ่าย
นิติบัญญัติรับรองก่อน ในยุคที่ชอบอ้างประชาธิปไตยเสียงข้างมาก แต่กลับพยายามลิดรอนเรื่องสิทธิของประชาชน จำกัดเรื่องที่จะมาสู่กระบวนการเห็นชอบของสภา
เหตุผลแค่ว่า ไม่ทันการ เสียเปรียบเขา ปฎิบัติได้ยาก แต่ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามไปให้ฝ่ายบริหาร แสดงให้เห็นว่า ตรงไหนเสียหาย เมื่อไหร่ ที่ไหน แต่ก็ไม่เคยได้รับ
คำตอบ ความง่ายรวดเร็ว ไม่ได้หมายความว่าเป็นประโยชน์กับประเทศเสมอไป พวกตนเคยเป็นฝ่ายบริหารยอมรับว่า ผ่านตรงนี้ไม่ง่าย แต่เราต้องเคารพกระบวน
การนี้
โดยเฉพาะในเรื่องเขตแดน หนังสือสัญญาบางทีคนหนึ่งคนใดบอกว่ากระทบ หรือไม่กระทบ ไม่ได้ ก็ต้องนำเข้ามาพิจารณาในสภา หายากที่จะมีการ
ทำหนังสือยกดินแดนให้คนอื่น นอกจากมีการตกลงแลกกับประโยชน์บางอย่าง จะไปเสี่ยงทำไม ในเมื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ ตั้งแต่มี ม.190 มีข้อตกลงไหนบ้างที่
สภาลงมติคว่ำ ซึ่งกรอบเวลาก็มีข้อตกลงให้เสร็จภายในเมื่อไร และประโยชน์ของ ม.190 ทำให้เราทุกคนมีโลกทัศน์กว้างขึ้น กระบวนการทั้งหมดเป็นประโยชน์กับ
ประชาชน แต่ไม่สะดวกกับฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่ถ้าเราตามใจไม่ใช่หน้าที่ ตอนตนเป็นรัฐบาลหลายหน่วยงานบอกยุ่งยาก ตนบอกอาจมีขั้นตอนซับซ้อน แต่ต้องปรับตัว
หลายครั้งมีปัญหาไม่ใช่ เพราะ ม.190 หรือรัฐสภา แต่อยู่ที่ฝ่ายบริหารจัดการที่ไม่วางแผนล่วงหน้า มารีบทำตอนท้าย เร่งรัดรัฐสภาให้พิจารณา วัฒนธรรมแบบเรื่องนี้
ต้องเปลี่ยน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยืนยัน และขอบคุณกรรมาธิการ ที่จากเดิมเขียนสั้นๆว่า “อำนาจแห่งรัฐ”ทำให้เกิดปัญหาตีความมากมาย จึงเปลี่ยนมาเขียน
เป็น สิทธินอกอาณาเขต แต่ที่ไปแก้โดยเพิ่มโดย“ชัดแจ้ง” ตนเห็นด้วยกับสมาชิกที่ว่า ไม่มีอะไรนอกจากเจตนาหาทางให้เข้าข่ายมาตรานี้น้อยที่สุด เป็นหลักคิดที่ผิด
“ยกตัวอย่างกรณีเกิดปัญหาในซีเรีย นายกรัฐมนตรีอังกฤษ หารือกับหลายๆ ประเทศคิดจะส่งกำลังทหารเข้าไป เขาไม่มี ม.190 แต่นายกฯอังกฤษ
ตัดสินใจว่า หลังจากประสบการณ์อิรัก และที่อื่นๆ สร้างความกระเทือนกับคนของตนเอง จึงตัดสินใจเสนอเป็นญัตติเข้าสภา นักประชาธิปไตยต้องคิดแบบนี้ ไม่ใช่เลี่ยง
การมีส่วนร่วมผู้แทนประชาชนได้ก็เลี่ยงไป เพื่อทำงานง่ายขึ้น ผลที่ตามมารัฐบาลเสียงข้างมากแพ้ญัตติ สมาชิกซีกรัฐบาลบางส่วนตัดสินใจลงมติสวนรัฐบาล นายกฯ
ลุกขึ้นว่า จะเคารพมติของประชาชน ล้มเลิกความคิดส่งกำลังไป เปลี่ยนไปหาวิธีการทางการทูต ถ้าเขาคิดแบบกรรมาธิการ วันนี้อาจจะมีสงครามเกิดขึ้นอีกทีก็ได้ นี่คือ
ความแตกต่าง”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่แก้ไขจากเดิม เขียนว่าเรื่องที่มีผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งกว้างขวางในการตีความ แต่เมื่อมีการแก้รัฐธรรมนูญ
ด้วยการให้รัฐบาลออกเป็นกฎหมายลูก แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการเสนอเข้าสู่สภา ถ้าเสนอมาแล้วถกกัน ชี้ให้เห็นว่าออกไปก็ทำไม่ได้ จนต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตนก็พอ
เข้าใจ แต่ความจริงจ้องแต่ว่าเมื่อไหร่จะลดอำนาจการมีส่วนรวมการตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติได้ ก็ทราบว่ากรรมาธิการ มีการกดดันมากจนเพิ่มการเปิดเสรีการค้าการ
ลงทุนเข้ามา แต่ยังไม่พอ เพราะปัจจุบันข้อตกลงหลายข้อ โดยเฉพาะที่มีผลผูกพันทางด้านเศรษฐกิจ การเปิดการค้าเสรี การลงทุนถือเป็นขั้นต้นเท่านั้น เพราะปัจจุบัน
การลงทุน มีการเปลี่ยนไปเรียกชื่ออื่นหมดแล้ว ประเด็นที่ไม่เกี่ยวการค้าลงทุน ก็มีการทำข้อตกลงกันหมดแล้ว แต่กลับไปจำกัดตนเองเอาเฉพาะที่มีผลเปิดเสรีการค้า
ลงทุนมาใส่ใน ม.190
ส่วนประเด็นที่คนสนใจมากคือ เรื่องทรัพยากร พลังงานธรรมชาติ ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของโลก ที่ช่วงชิงตรงนี้กลับไม่อยู่ในข่ายให้มามีส่วนร่วมรับฟัง
ความเห็นประชาชน แม้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ตาม แนวคิดนี้ผิดแล้ว ยิ่งมีข่าวว่ามีประโยชน์ต่อคนที่มีอำนาจเข้ามาเกี่ยว ยิ่งต้องระวัง ตนอยากให้ทบทวนให้ตัดคำ
ว่า"โดยชัดแจ้ง" ออกไป เติมแค่การเปิดเสรีการค้า การลงทุนอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้ชัดเจนไปเลยด้วยการเอาทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน สิ่งแวดล้อม กลับเข้ามาอยู่
ใน ม.190 และแก้ขอบเขตกฎหมายลูก ทำขั้นตอนให้กระชับขึ้น เชื่อว่าทุกฝ่ายรับได้ เพราะหลายเรื่องไม่เข้าข่ายกำกวม ใช้วิธีการตัดแปะ ต้องเปลี่ยนแปลงให้หลาย
อย่างชัดเจนกระชับมากขึ้น
“วันนี้ผู้แทนปวงชนชาวไทยควรมีสิทธิ์มากกว่าที่กำลังจะให้ในการมีส่วนร่วมตรวจสอบสิ่งที่ฝ่ายบริหารไปทำ ขอเรียกร้องจิตวิญญาณผู้แทนปวงชน
ทุกคน อย่าคิดว่ามีธงแล้ว ผมไม่อยากคิดว่า มีใบสั่งหรือไม่ แต่อยากให้คิดถึงประเทศ ประชาชน อนาคต และเชื่อมั่นในกระบวนการของพวกเราทบทวนสิ่งที่พวกเรา
เสนอ ที่จะให้เจ้าของประเทศมีสิทธิรู้ร่วมตัดสินใจเอาทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน เอาชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนไปผูกพัน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. อภิปรายว่า สาเหตุการแก้กติกาครั้งนี้ นอกจากปิดหูปิดตาประชาชน ไม่ใช้เวทีรัฐสภาเปิดเผย
ข้อมูล และมีการแก้ไขโดยเขียนว่า โดยชัดแจ้ง และหากศาลโลกพิพากษาคดีเขาพระวิหาร วันที่ 11 พ.ย. โดยไม่เป็นคุณ รัฐบาลจะเอาเรื่องเข้าสภาฯ หรือไม่ เพราะ
เป็นพื้นที่ทับซ้อน รวมทั้ง พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งทับซ้อนไม่ชัดเจน ท่านจะไปทำอะไรในพื้นที่ไ ม่ต้องบอกรัฐสภา โดยไม่ต้องกำหนดกรอบ
เจรจา แม้จะมีการตั้งองค์กรร่วม หรือพ.ร.บ.ร่วมทุน มาเข้าสภาฯ แต่ถึงวันนี้ท่านเสียเปรียบไปแล้ว
** "แม้ว"ฮุบพลังงานในอ่าวไทยก็ไม่มีใครรู้
นางอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เรื่องอาณาเขต และอธิปไตยนอกอาณาเขต กรรมาธิการไปแก้ไขให้เป็น
อันตราย เพราะพื้นที่ทับซ้อนที่ยังตกลงไมได้ระหว่างไทย-กัมพูชา ถือว่าไม่ชัดแจ้ง จึงไม่ควรมีข้อความนี้ อยู่ในร่างแก้ไข มาตรา 190 โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
ตรวจสอบได้ยากเพราะพื้นที่ใหญ่ถึง 2.6 หมื่นล้านตารางกิโลเมตร และมีมูลค่า 6 แสนล้านบาทต่อปี การเจรจาในการขยับพื้นที่ ปรับสัดส่วนผลประโยชน์ และไม่ต้อง
เข้ารัฐสภา โดยเฉพาะผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลสนิทสนมกับผู้นำกัมพูชา จะทำให้เราวางใจได้อย่างไร เพราะได้ประโยชน์กันในสัมปทานปิโตรเลียม และกฎหมายอาจจะ
เอาผิดไม่ถึง อีกทั้งมติของคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ในวันที่ 4 ต.ค. 55 มีแผนจัดการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว มีมติให้เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย
กัมพูชาให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 56 ถือเป็นความเร่งรีบที่พอดีกับการแก้รธน.หรือไม่
หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มีมติเห็นชอบตามกรรมาธิการเสียงข้างมาก
นอกจากนั้นได้มีมติเห็นชอบในมาตรา 4 เกี่ยวกับการให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตาม มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี นับแต่วัน
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรี จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำ
หนังสือสัญญาตาม มาตรา 190 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม และในกรณีทีเป็นหนังสือสนธิสัญญา ที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้า การลงทุนให้เสนอกรอบ
การเจรจาเพื่อขอความเห็นต่อรัฐสภา และผลการศึกษาถึงประโยชน์ และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภา เพื่อทราบด้วย จากนั้นที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มี
มติเห็นชอบใน วาระ 3