วานนี้ (8 ต.ค.56) รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ ( 9 ต.ค.) ที่ประชุมจะมีการพิจารณาคำร้องที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ส่งความเห็นของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กับคณะ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง ว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. มีความขัดแย้งต่อหลักหลักการและเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมทั้งยังมีวาระการพิจารณาคำร้องร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ทั้ง 4 คำร้องที่รวมเป็น 1 สำนวน และคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่าอาจเป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ทั้ง 6 คำร้องรวมเป็น 1 สำนวน ที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามในการประชุมคณะตุลาการวันที่ 9 ต.ค.นี้ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะยังไม่เข้าร่วมประชุม เนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการการนำขึ้นทูลเกล้าฯ จึงยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตุลาการได้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ได้วิเคราะห์เรื่องการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่วิปรัฐบาลระบุว่าจะแก้ไขให้แล้วเสร็จในสมัยประชุมนี้ ซึ่งเชื่อว่าเป้าหมายการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไม่ได้มีเพียงแก้ไขมาตรา 68 และมาตรา 190 ที่เหลืออยู่และถือเป็นออเดิฟเท่านั้น แต่จะมีการพ่วงมาตรา 309 ที่เป็นจานหลักเข้าไปด้วย หากทำได้ก็จะล้างผิดได้สุดซอยคู่กับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ
ส่วนกรณีฝ่ายรัฐบาลระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ยื้อการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายจุรินทร์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากจะเร่งรัดก็สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่การพูดลักษณะนี้ถือเป็นการตีสองหน้า โดยหน้าแรกเพื่อเอาใจคนบางสี และอีกหน้าเพื่อซื้อเวลาการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ในชั้นกรรมาธิการฯ เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อรัฐบาล
**พท. ไม่สนศาล เร่งดันร่างนิรโทษ
รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมส.ส.พรรค ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งที่ประชุมได้แจ้งว่าหากพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในชั้นกรรมาธิการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการนำเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทันที
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการวิเคราะห์เรื่องที่ศาลรธน.รับคำร้องตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่าบุคคลจะใช้สิทธิ์และเสรีภาพตามรธน.เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ ซึ่งสมาชิกพรรคได้มีการวิเคราะห์กันว่าศาลไม่น่าจะมีอำนาจรับในเรื่องนี้ เพราะเราไม่ได้มีการใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพแต่เป็นการทำตามหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและรธน.ตามมาตรา 291 ขณะเดียวกันสมาชิกพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ยังได้มีการพูดถึงการทำหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยได้มีการต่อว่าว่าไปรับลูกกับพรรคประชาธิปัตย์ในการยื่นคำร้องมาตรา 154ของรัฐธรรมนูญด้วย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ขอให้ส.ส.เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 ที่คาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่15ต.ค.ด้วย
นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าในที่ประชุมนพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยังได้ให้ส.ส.ของพรรคร่วมลงรายชื่อขอแก้รัฐธรรมนูญม.309 ส่วนรายละเอียดนพ.เหวงจะอธิบายให้สมาชิกพรรคฟังวันหลัง ซึ่งตนก็ลงชื่อสนับสนุนด้วยเหมือนกัน จากที่ดูมาคาดว่าน่าจะมีส.ส.ร่วมลงชื่อไม่ต่ำกว่า 40-50 คนแล้ว
**สปท.-40 ส.ว.หาทางออกวิกฤตประเทศ
ที่ห้องอาหารมรกต อาคารสโมสรรัฐสภา นายสุริยะใส กตะศิลา กรรมการผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว ในฐานะคณะทำงานสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) และคณะทำงาน สปท.ประมาณ 20 คน ได้เข้าหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ร่วมกับกลุ่ม 40 ส.ว.นำโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน,นายคำนูณ สิทธิสมาน,นายสมชาย แสวงการ ,นายประสาร มฤคพิทักษ์,นายมณเฑียร บุญตัน ,นายตวง อันทะไชย ,นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ,นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ,นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี
โดยมีวาระในการหารือ 3 เรื่อง คือ 1.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเรื่องระบบรัฐสภาที่หลายฝ่ายมองว่ายังเป็นปัญหา 2.วิเคราะห์วิกฤติรัฐธรรมนูญว่าจะมีโอกาส หรือแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความรุนแรงได้หรือไม่ และ 3.จะมีการหารือเรื่องผลดี ผลเสียของการแก้ไขที่มา ส.ว. รวมทั้งหารือถึงความเป็นไปได้ในการเคลื่อนไหวร่วมกัน ระหว่าง สปท.กับกลุ่ม 40 ส.ว.ในอนาคต.
โดยการประชุมใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นนายสุริยะใส แถลงผลการหารือระหว่าง สปท. กับ กลุ่ม 40 ส.ว. ครั้งที่ 1 ซึ่งมีความเห็นตรงกันถึงปัญหาบ้านเมืองในปัจจุบันมี 8 ประเด็น ดังนี้ 1.ปัญหาระบบรัฐสภา โดยรัฐสภาไทยเป็นศูนย์กลางของวิกฤติการเมือง 2. พรรคการเมืองกลายเป็นต้นเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ 3.รัฐสภาถูกคุกคามอำนาจทางการเมืองจากฝ่ายบริหารที่เข้ามาแทรกแซง 4.บทเรียนจากกลุ่ม 40 สว.ยืนยันว่าเสียงข้างมากไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ให้ประชาชนอย่างชัดเจน และเป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น 5.หลักการถ่วงดุลอำนาจ 3 ฝ่ายถูกทำลาย มีความพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐให้เป็นรัฐเดี่ยว ออกกฎหมายตามอำเภอใจจนเกิดความวิปริต โดยเฉพาะร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท 6.ความสมดุลของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่เสียไป เห็นได้จากข้าราชการประจำเกิดความกลัว ไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานกับคณะกรรมาธิการ 7.ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาควรมีการปฏิรูปใหม่ 8.วาระการดำรงตำแหน่งของ สส. 4 ปี และ สว. 6 ปียาวเกินไป
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่ยังไม่มีการตกผลึกและจะต้องมีการพูดคุยกับกลุ่ม 40 สว.ต่อ มี 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การกระจายอำนาจจะมีรูปแบบและเนื้อหาอย่างไร ไม่ใช่ให้ฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งไปแก้ปัญหาฝ่ายเดียว 2.สส.จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ 3.แนวทางการแบ่งอำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติออกจากฝ่ายบริหารควรทำอย่างไร 3.นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ 5.การแก้ไขรัฐธรรมนูญจำกัดกรอบทางการเมืองมากเกินไป ควรดูทิศทางทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณการใช้จ่าย เพราะขณะนี้รัฐบาลกำลังออกกฎหมายวิธีพิเศษพิสดารนอกงบประมาณ ทำให้เงินภาษีไม่ถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องวิกฤตการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา สว.ที่ศาลถูกคุกคามและถูกกดดันทั้งตัวองค์กรและตัวบุคคล ซึ่งภาคประชาชนจะกลับไปหารือว่าจะให้กำลังใจศาลในรูปแบบใด และที่มีความเป็นห่วง คือ หากศาลมีคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นคุณกับระบอบทักษิณ จะมีวิธีการรับมืออย่างไร ทั้งนี้ทาง สปท.เชื่อว่าหากแก้รัฐธรรมนูญที่มา สว.สำเร็จสถานการณ์จะกลับไปรุนแรงมากกว่า 7 ปีที่ผ่านมา
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หลังจากนี้กลุ่ม 40 สว.และสปท.จะร่วมมือทำงานมากขึ้น โดยจะร่วมกันจัดเสวนาให้ความรู้เรื่อง “รื้อระบบพรรคการเมืองเจ้าของคนเดียว แก้วิกฤตการเมืองไทย” ในวันพุธที่ 16 ต.ค.เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป ที่รัฐสภา
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ส่วนการเคลื่อนไหวของ สปท.นั้น ในวันที่ 13 ต.ค.นี้จะมีการประชุมสมัชชาประชาชนครั้งที่ 1 ซึ่งมีตัวแทนจาก 77 จังหวัด ประมาณ 1 พันคนเข้าร่วมประชุมที่อาคารอุไรรัตน์ ม.รังสิต ตั้งแต่ 09.00-21.00 น.
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี ซึ่งทาง สปท.ได้ขอให้ กลุ่ม 40 ส.ว.ไปเยี่ยมกองทัพประชาชนที่ชุมนุมอยู่บริเวณทำเนียบรัฐบาลขณะนี้ด้วย เพราะกองทัพประชาชนก็เป็นเครือข่ายสภาปฏิรูปเช่นกัน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ได้วิเคราะห์เรื่องการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่วิปรัฐบาลระบุว่าจะแก้ไขให้แล้วเสร็จในสมัยประชุมนี้ ซึ่งเชื่อว่าเป้าหมายการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไม่ได้มีเพียงแก้ไขมาตรา 68 และมาตรา 190 ที่เหลืออยู่และถือเป็นออเดิฟเท่านั้น แต่จะมีการพ่วงมาตรา 309 ที่เป็นจานหลักเข้าไปด้วย หากทำได้ก็จะล้างผิดได้สุดซอยคู่กับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ
ส่วนกรณีฝ่ายรัฐบาลระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ยื้อการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายจุรินทร์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากจะเร่งรัดก็สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่การพูดลักษณะนี้ถือเป็นการตีสองหน้า โดยหน้าแรกเพื่อเอาใจคนบางสี และอีกหน้าเพื่อซื้อเวลาการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ในชั้นกรรมาธิการฯ เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อรัฐบาล
**พท. ไม่สนศาล เร่งดันร่างนิรโทษ
รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมส.ส.พรรค ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งที่ประชุมได้แจ้งว่าหากพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในชั้นกรรมาธิการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการนำเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทันที
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการวิเคราะห์เรื่องที่ศาลรธน.รับคำร้องตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่าบุคคลจะใช้สิทธิ์และเสรีภาพตามรธน.เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ ซึ่งสมาชิกพรรคได้มีการวิเคราะห์กันว่าศาลไม่น่าจะมีอำนาจรับในเรื่องนี้ เพราะเราไม่ได้มีการใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพแต่เป็นการทำตามหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและรธน.ตามมาตรา 291 ขณะเดียวกันสมาชิกพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ยังได้มีการพูดถึงการทำหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยได้มีการต่อว่าว่าไปรับลูกกับพรรคประชาธิปัตย์ในการยื่นคำร้องมาตรา 154ของรัฐธรรมนูญด้วย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ขอให้ส.ส.เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 ที่คาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่15ต.ค.ด้วย
นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าในที่ประชุมนพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยังได้ให้ส.ส.ของพรรคร่วมลงรายชื่อขอแก้รัฐธรรมนูญม.309 ส่วนรายละเอียดนพ.เหวงจะอธิบายให้สมาชิกพรรคฟังวันหลัง ซึ่งตนก็ลงชื่อสนับสนุนด้วยเหมือนกัน จากที่ดูมาคาดว่าน่าจะมีส.ส.ร่วมลงชื่อไม่ต่ำกว่า 40-50 คนแล้ว
**สปท.-40 ส.ว.หาทางออกวิกฤตประเทศ
ที่ห้องอาหารมรกต อาคารสโมสรรัฐสภา นายสุริยะใส กตะศิลา กรรมการผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว ในฐานะคณะทำงานสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) และคณะทำงาน สปท.ประมาณ 20 คน ได้เข้าหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ร่วมกับกลุ่ม 40 ส.ว.นำโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน,นายคำนูณ สิทธิสมาน,นายสมชาย แสวงการ ,นายประสาร มฤคพิทักษ์,นายมณเฑียร บุญตัน ,นายตวง อันทะไชย ,นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ,นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ,นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี
โดยมีวาระในการหารือ 3 เรื่อง คือ 1.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเรื่องระบบรัฐสภาที่หลายฝ่ายมองว่ายังเป็นปัญหา 2.วิเคราะห์วิกฤติรัฐธรรมนูญว่าจะมีโอกาส หรือแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความรุนแรงได้หรือไม่ และ 3.จะมีการหารือเรื่องผลดี ผลเสียของการแก้ไขที่มา ส.ว. รวมทั้งหารือถึงความเป็นไปได้ในการเคลื่อนไหวร่วมกัน ระหว่าง สปท.กับกลุ่ม 40 ส.ว.ในอนาคต.
โดยการประชุมใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นนายสุริยะใส แถลงผลการหารือระหว่าง สปท. กับ กลุ่ม 40 ส.ว. ครั้งที่ 1 ซึ่งมีความเห็นตรงกันถึงปัญหาบ้านเมืองในปัจจุบันมี 8 ประเด็น ดังนี้ 1.ปัญหาระบบรัฐสภา โดยรัฐสภาไทยเป็นศูนย์กลางของวิกฤติการเมือง 2. พรรคการเมืองกลายเป็นต้นเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ 3.รัฐสภาถูกคุกคามอำนาจทางการเมืองจากฝ่ายบริหารที่เข้ามาแทรกแซง 4.บทเรียนจากกลุ่ม 40 สว.ยืนยันว่าเสียงข้างมากไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ให้ประชาชนอย่างชัดเจน และเป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น 5.หลักการถ่วงดุลอำนาจ 3 ฝ่ายถูกทำลาย มีความพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐให้เป็นรัฐเดี่ยว ออกกฎหมายตามอำเภอใจจนเกิดความวิปริต โดยเฉพาะร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท 6.ความสมดุลของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่เสียไป เห็นได้จากข้าราชการประจำเกิดความกลัว ไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานกับคณะกรรมาธิการ 7.ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาควรมีการปฏิรูปใหม่ 8.วาระการดำรงตำแหน่งของ สส. 4 ปี และ สว. 6 ปียาวเกินไป
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่ยังไม่มีการตกผลึกและจะต้องมีการพูดคุยกับกลุ่ม 40 สว.ต่อ มี 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การกระจายอำนาจจะมีรูปแบบและเนื้อหาอย่างไร ไม่ใช่ให้ฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งไปแก้ปัญหาฝ่ายเดียว 2.สส.จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ 3.แนวทางการแบ่งอำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติออกจากฝ่ายบริหารควรทำอย่างไร 3.นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ 5.การแก้ไขรัฐธรรมนูญจำกัดกรอบทางการเมืองมากเกินไป ควรดูทิศทางทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณการใช้จ่าย เพราะขณะนี้รัฐบาลกำลังออกกฎหมายวิธีพิเศษพิสดารนอกงบประมาณ ทำให้เงินภาษีไม่ถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องวิกฤตการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา สว.ที่ศาลถูกคุกคามและถูกกดดันทั้งตัวองค์กรและตัวบุคคล ซึ่งภาคประชาชนจะกลับไปหารือว่าจะให้กำลังใจศาลในรูปแบบใด และที่มีความเป็นห่วง คือ หากศาลมีคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นคุณกับระบอบทักษิณ จะมีวิธีการรับมืออย่างไร ทั้งนี้ทาง สปท.เชื่อว่าหากแก้รัฐธรรมนูญที่มา สว.สำเร็จสถานการณ์จะกลับไปรุนแรงมากกว่า 7 ปีที่ผ่านมา
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หลังจากนี้กลุ่ม 40 สว.และสปท.จะร่วมมือทำงานมากขึ้น โดยจะร่วมกันจัดเสวนาให้ความรู้เรื่อง “รื้อระบบพรรคการเมืองเจ้าของคนเดียว แก้วิกฤตการเมืองไทย” ในวันพุธที่ 16 ต.ค.เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป ที่รัฐสภา
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ส่วนการเคลื่อนไหวของ สปท.นั้น ในวันที่ 13 ต.ค.นี้จะมีการประชุมสมัชชาประชาชนครั้งที่ 1 ซึ่งมีตัวแทนจาก 77 จังหวัด ประมาณ 1 พันคนเข้าร่วมประชุมที่อาคารอุไรรัตน์ ม.รังสิต ตั้งแต่ 09.00-21.00 น.
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี ซึ่งทาง สปท.ได้ขอให้ กลุ่ม 40 ส.ว.ไปเยี่ยมกองทัพประชาชนที่ชุมนุมอยู่บริเวณทำเนียบรัฐบาลขณะนี้ด้วย เพราะกองทัพประชาชนก็เป็นเครือข่ายสภาปฏิรูปเช่นกัน