การรำลึกถึงวันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 เพิ่งผ่านไปหมาดๆ คนร่วมสมัยที่อยู่ในเหตุการณ์ ถ้าอุดมการณ์ไม่เปลี่ยน จิตวิญญาณไม่บุบสลายด้วยกาลเวลา คงจดจำได้ว่า สถานการณ์การเมืองวันนี้แตกต่างจากเมื่อ 40 ปีก่อนมากนัก
ยุค 14 ตุลาฯ เกิดจากประชาชนทั้งประเทศ ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตย นิสิตนักศึกษาเดินขบวนขับไล่ระบบเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร
ปัจจุบัน กระแสโค่นล้มระบอบทักษิณ เผด็จการในคราบประชาธิปไตยกำลังขับเคลื่อนตัว โดยยังไม่อาจประเมินได้ว่า เหตุการณ์จะสุกงอมและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญเมื่อไหร่
40 ปีแห่งการต่อสู้ของประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยต้องแลกด้วยชีวิตของวีรชนนับไม่ถ้วน แทบจะกลายเป็นการสูญเปล่า
เพราะประชาธิปไตยเบ่งบานได้เพียงชั่ววูบ แต่เชื้อของเผด็จการดำรงอยู่ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เผด็จการในอดีต เป็นเผด็จการทื่อๆ มีรูปแบบที่ชัดเจน ส่วนเผด็จการรูปแบบใหม่มีความซับซ้อน ไม่ใช้ปืนเพื่อกุมอำนาจรัฐ แต่ใช้เงิน ใช้การสร้างภาพโฆษณาชวนเชื่อ ใช้ระบบรัฐสภาเป็นฐานที่มั่น เป้าหมายคือ คุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ
คนเดือนตุลาฯ ที่เคยต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับวีรชนที่พลีชีพ เดินฝ่าห่ากระสุนร่วมกับประชาชนจำนวนเกินครึ่ง หันหลังให้อุดมการณ์ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเผด็จการรูปแบบใหม่ ยอมสวามิภักดิ์รับใช้ระบอบทักษิณเสียแล้ว
สถานการณ์การเมืองเปลี่ยนมาจากช่วง 14 ตุลาฯ ปัญญาชนหายตัวจากสังคม ผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต ส่วนใหญ่หันไปไขว่คว้าเงินและอำนาจเพื่อตัวเอง
การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ จนดูเหมือนว่า ระบอบทักษิณคงเจริญเติบโตต่อไป ไม่มีใครขวางหรือโค่นล้มทำลายได้
แต่แผนการรวบอำนาจของระบอบทักษิณไม่ได้ราบรื่นเสียทีเดียว เพราะยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมไม่ได้ ทนไม่ได้ที่ประเทศจะย้อนกลับไปสู่ระบบเผด็จการ ทนไม่ได้ที่ตระกูล “ชินวัตร” จะบงการประเทศ และเคลื่อนไหวต่อต้านมาตลอด
ม็อบต่อต้านระบอบทักษิณล่าสุด ปะทุขึ้นที่บริเวณแยกอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นม็อบที่กำลังโตวันโตคืน และเป็นม็อบที่นำโดยนักศึกษา แตกต่างจากการชุมนุมที่ผ่านมา
คนหนุ่มคนสาว นิสิตนักศึกษา ห่างเหินจากกิจกรรมทางการเมืองมานับสิบปีแล้ว ปล่อยให้คนแก่คนเฒ่าต้องออกมาเดินถนน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
ม็อบอุรุพงษ์จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สะท้อนให้เห็นว่า คนหนุ่มคนสาว นิสิตนักศึกษาเริ่มตื่นตัวทางการเมืองอีกครั้ง
แต่คนหนุ่มคนสาว จะนำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีเหมือนวีรกรรมในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ได้หรือไม่
ม็อบอุรุพงษ์อาจถูกประเมินไว้ต่ำ ไม่อาจโค่นล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ และสุดท้ายคงต้องเลิกราหรือฝ่อไปเอง เช่นเดียวกับอีกหลายต่อหลายม็อบก่อนหน้า
ถ้าเทียบกับการชุมนุมขับไล่ “ถนอม-ประภาส” แล้ว กระแสม็อบอุรุพงษ์อาจยังมีพลังไม่เพียงพอ และสถานการณ์การเมืองอาจยังไม่สุกงอมมากพอถึงขั้นที่ปลุกให้ประชาชนทั้งประเทศลุกฮือขึ้นมาขับไล่ระบอบทักษิณ
การชุมนุมช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ประชาชนแทบทั้งประเทศแสดงการสนับสนุน ขบวนผู้ชุมนุมไปที่ไหน จะได้รับการให้กำลังใจ บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือในการต่อสู้ เสียงปรบมือดังสนั่นสองฟากฝั่งถนน
แต่บรรยากาศที่ม็อบอุรุพงษ์ยังไม่ใช่ เพราะการตื่นตัวเพื่อมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณยังมีน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี
กระแสการต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขยายวงไปทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่ายุค “ถนอม-ประภาส” เหมือนกัน ไปที่ไหนจะได้ยินเสียงด่า “ทักษิณ” และ “ยิ่งลักษณ์”
เพียงแต่ความอึดอัดคับแค้น ยังรอเวลาที่จะระเบิดออกมาในรูปของการลุกฮือเดินขบวนขับไล่พร้อมกันบนท้องถนน เช่นเดียวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เท่านั้น
ไม่มีใครบอกได้ว่า เมื่อไหร่สถานการณ์จึงจะสุกงอม เมื่อไหร่ประชาชนจะรู้สึกว่า ปล่อยระบอบทักษิณอีกต่อไปไม่ได้ และตื่นตัวลุกฮือขึ้นมาโค่นล้ม
แต่ระบอบทักษิณ ไม่น่าจะดำรงอยู่ จนถึง “ชินวัตร” ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีครบกันทั้งตระกูล ไม่น่าจะมีอายุยาวจนนายพานทองแท้ ชินวัตร ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ ตามที่พ.ต.ท.ทักษิณปูทางไว้
เพราะม็อบอุรุพงษ์บ่งบอกแล้วว่า กระแสโค่นล้มระบอบทักษิณกำลังจุดติดง่าย ที่ไหนมีการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย มวลชนที่พร้อมจะเข้าร่วมเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนแม้แต่ “ยิ่งลักษณ์” ยังตื่นกลัว
40 ปีของประชาธิปไตยที่เบ่งบานยุค 14 ตุลาฯ เพิ่งผ่านไปไม่กี่วัน ใครจะบอกได้ว่า อีกไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนข้างหน้า จะไม่มีการฉลองประชาธิปไตยที่กลับมาเบ่งบานอีกครั้ง
ใครจะบอกได้ว่า อีกไม่นานนัก ประชาชนทั้งประเทศจะลุกฮือขึ้นมาขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซ้ำรอยเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ในเมื่อม็อบที่อุรุพงษ์ลุกโชนขึ้นมาแล้ว
ยุค 14 ตุลาฯ เกิดจากประชาชนทั้งประเทศ ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตย นิสิตนักศึกษาเดินขบวนขับไล่ระบบเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร
ปัจจุบัน กระแสโค่นล้มระบอบทักษิณ เผด็จการในคราบประชาธิปไตยกำลังขับเคลื่อนตัว โดยยังไม่อาจประเมินได้ว่า เหตุการณ์จะสุกงอมและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญเมื่อไหร่
40 ปีแห่งการต่อสู้ของประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยต้องแลกด้วยชีวิตของวีรชนนับไม่ถ้วน แทบจะกลายเป็นการสูญเปล่า
เพราะประชาธิปไตยเบ่งบานได้เพียงชั่ววูบ แต่เชื้อของเผด็จการดำรงอยู่ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เผด็จการในอดีต เป็นเผด็จการทื่อๆ มีรูปแบบที่ชัดเจน ส่วนเผด็จการรูปแบบใหม่มีความซับซ้อน ไม่ใช้ปืนเพื่อกุมอำนาจรัฐ แต่ใช้เงิน ใช้การสร้างภาพโฆษณาชวนเชื่อ ใช้ระบบรัฐสภาเป็นฐานที่มั่น เป้าหมายคือ คุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ
คนเดือนตุลาฯ ที่เคยต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับวีรชนที่พลีชีพ เดินฝ่าห่ากระสุนร่วมกับประชาชนจำนวนเกินครึ่ง หันหลังให้อุดมการณ์ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเผด็จการรูปแบบใหม่ ยอมสวามิภักดิ์รับใช้ระบอบทักษิณเสียแล้ว
สถานการณ์การเมืองเปลี่ยนมาจากช่วง 14 ตุลาฯ ปัญญาชนหายตัวจากสังคม ผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต ส่วนใหญ่หันไปไขว่คว้าเงินและอำนาจเพื่อตัวเอง
การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ จนดูเหมือนว่า ระบอบทักษิณคงเจริญเติบโตต่อไป ไม่มีใครขวางหรือโค่นล้มทำลายได้
แต่แผนการรวบอำนาจของระบอบทักษิณไม่ได้ราบรื่นเสียทีเดียว เพราะยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมไม่ได้ ทนไม่ได้ที่ประเทศจะย้อนกลับไปสู่ระบบเผด็จการ ทนไม่ได้ที่ตระกูล “ชินวัตร” จะบงการประเทศ และเคลื่อนไหวต่อต้านมาตลอด
ม็อบต่อต้านระบอบทักษิณล่าสุด ปะทุขึ้นที่บริเวณแยกอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นม็อบที่กำลังโตวันโตคืน และเป็นม็อบที่นำโดยนักศึกษา แตกต่างจากการชุมนุมที่ผ่านมา
คนหนุ่มคนสาว นิสิตนักศึกษา ห่างเหินจากกิจกรรมทางการเมืองมานับสิบปีแล้ว ปล่อยให้คนแก่คนเฒ่าต้องออกมาเดินถนน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
ม็อบอุรุพงษ์จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สะท้อนให้เห็นว่า คนหนุ่มคนสาว นิสิตนักศึกษาเริ่มตื่นตัวทางการเมืองอีกครั้ง
แต่คนหนุ่มคนสาว จะนำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีเหมือนวีรกรรมในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ได้หรือไม่
ม็อบอุรุพงษ์อาจถูกประเมินไว้ต่ำ ไม่อาจโค่นล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ และสุดท้ายคงต้องเลิกราหรือฝ่อไปเอง เช่นเดียวกับอีกหลายต่อหลายม็อบก่อนหน้า
ถ้าเทียบกับการชุมนุมขับไล่ “ถนอม-ประภาส” แล้ว กระแสม็อบอุรุพงษ์อาจยังมีพลังไม่เพียงพอ และสถานการณ์การเมืองอาจยังไม่สุกงอมมากพอถึงขั้นที่ปลุกให้ประชาชนทั้งประเทศลุกฮือขึ้นมาขับไล่ระบอบทักษิณ
การชุมนุมช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ประชาชนแทบทั้งประเทศแสดงการสนับสนุน ขบวนผู้ชุมนุมไปที่ไหน จะได้รับการให้กำลังใจ บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือในการต่อสู้ เสียงปรบมือดังสนั่นสองฟากฝั่งถนน
แต่บรรยากาศที่ม็อบอุรุพงษ์ยังไม่ใช่ เพราะการตื่นตัวเพื่อมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณยังมีน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี
กระแสการต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขยายวงไปทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่ายุค “ถนอม-ประภาส” เหมือนกัน ไปที่ไหนจะได้ยินเสียงด่า “ทักษิณ” และ “ยิ่งลักษณ์”
เพียงแต่ความอึดอัดคับแค้น ยังรอเวลาที่จะระเบิดออกมาในรูปของการลุกฮือเดินขบวนขับไล่พร้อมกันบนท้องถนน เช่นเดียวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เท่านั้น
ไม่มีใครบอกได้ว่า เมื่อไหร่สถานการณ์จึงจะสุกงอม เมื่อไหร่ประชาชนจะรู้สึกว่า ปล่อยระบอบทักษิณอีกต่อไปไม่ได้ และตื่นตัวลุกฮือขึ้นมาโค่นล้ม
แต่ระบอบทักษิณ ไม่น่าจะดำรงอยู่ จนถึง “ชินวัตร” ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีครบกันทั้งตระกูล ไม่น่าจะมีอายุยาวจนนายพานทองแท้ ชินวัตร ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ ตามที่พ.ต.ท.ทักษิณปูทางไว้
เพราะม็อบอุรุพงษ์บ่งบอกแล้วว่า กระแสโค่นล้มระบอบทักษิณกำลังจุดติดง่าย ที่ไหนมีการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย มวลชนที่พร้อมจะเข้าร่วมเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนแม้แต่ “ยิ่งลักษณ์” ยังตื่นกลัว
40 ปีของประชาธิปไตยที่เบ่งบานยุค 14 ตุลาฯ เพิ่งผ่านไปไม่กี่วัน ใครจะบอกได้ว่า อีกไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนข้างหน้า จะไม่มีการฉลองประชาธิปไตยที่กลับมาเบ่งบานอีกครั้ง
ใครจะบอกได้ว่า อีกไม่นานนัก ประชาชนทั้งประเทศจะลุกฮือขึ้นมาขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซ้ำรอยเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ในเมื่อม็อบที่อุรุพงษ์ลุกโชนขึ้นมาแล้ว