ประสาท มีแต้ม
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
ผมได้นำเรื่องที่สำคัญมาก 2 เรื่องมาเป็นชื่อบทความนี้ครับ เรื่องแรกเป็นโครงการติดตั้งแผงรับแสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าของกระทรวงพลังงาน ส่วนเรื่องที่สองเป็นชื่อเพลงที่โด่งดังมากๆ ในระดับโลกของวงสี่เต่าทอง (The Beatles) เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว
แต่เอาเข้าจริงๆ ถ้าเราดูสาระและเบื้องหลังของเพลง ผมว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันครับ คือ ยอมรับและเห็นพลังของดวงอาทิตย์ เพียงแต่ว่าเรื่องแรกเกิดทีหลังเกือบ 40 ปี และยัง “ไม่โอเคเอามากๆ” ในสายตาผมครับ
ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะรู้สึกว่า “ผู้เขียนมากเรื่อง ติ ค้านไปทุกเรื่อง ชมไม่เป็นหรืออย่างไร”
ถ้าอย่างนั้น กรุณาดูข้อมูลด้านล่างนี้ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบการติดตั้งรวมของพลังงานแสงอาทิตย์ (เมื่อสิ้นปี 2554) ต่อจำนวนประชากรหนึ่งล้านคนของประเทศต่างๆ จะพบว่าประเทศที่อยู่ใกล้ๆ กันซึ่งมีสภาพภูมิอากาศคล้ายๆ กัน เช่น เยอรมนีกับฝรั่งเศส เป็นต้น แต่ตัวเลขดังกล่าวต่างกันมาก ในขณะที่เยอรมนีติดตั้งจำนวน 300 เมกะวัตต์ (ต่อประชากรหนึ่งล้านคน) แต่ฝรั่งเศสมีไม่ถึง 50 เมกะวัตต์ ประเทศอินเดียซึ่งมีแสงอาทิตย์มากกว่าสองประเทศดังกล่าวแต่กลับติดตั้งนิดเดียว (พี่ไทยเราไม่ติดฝุ่น)
นั่นหมายความว่า ความเป็นไปได้ของพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งหรือภูมิอากาศของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลรวมถึงวิธีการในการส่งเสริมด้วย
เท่าที่ผมได้ติดตามข่าวทราบว่า กระทรวงพลังงานมีโครงการจะให้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาจำนวน 200 เมกะวัตต์ทั่วประเทศ โดยให้เป็นประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทธุรกิจประเภทละ 100 เมกะวัตต์ แต่หลังจากเลยกำหนดเวลายื่นคำขอจำหน่ายไฟฟ้า ปรากฏว่าประเภทที่อยู่อาศัยมายื่นเพียง 6 เมกะวัตต์เท่านั้น ในขณะที่ภาคโรงงานยื่นถึง 500 เมกะวัตต์ จึงต้องมีการขยายเวลาไปอีกระยะหนึ่ง
ข้อมูลบางอย่างได้สะท้อนปัญหาที่ผมนำไปตั้งชื่อบทความว่า “แต่ไม่โอเค!”
ที่ไม่โอเคมากกว่านี้อีกซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญมากๆ ก็คือ ความไม่เข้าใจในหลักการสำคัญของการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงานเอง
จากเอกสารแผ่นพับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเป็นผู้ออกระเบียบเรื่องนี้มีข้อความที่สะดุดความรู้สึกก็คือที่เป็น “หมายเหตุ” คือ (1) ผู้มีสิทธิเสนอขายไฟฟ้าต้องไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ (2) กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลให้ดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า และ (3) อาคารนั้นต้องไม่เคยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มาก่อน และต้องมีมิเตอร์ไฟฟ้าตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ก่อนแล้ว
เรียนตามตรงนะครับว่าผม “ไม่โอเค” อย่างรุนแรงกับหมายเหตุดังกล่าว
เอกสารดังกล่าวได้ระบุว่า “นอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มบนหลังคาบ้าน อาคารหรือโรงงานของคุณแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสิ่งแวดล้อมจากการผลิตพลังงานสะอาดอีกด้วย”
จากเอกสารแผ่นพับดังกล่าว ผมเข้าใจว่า วัตถุประสงค์กับข้อห้ามในหมายเหตุดังกล่าวมันขัดขากันเอง ไม่เป็นเหตุเป็นผลกัน
ทำไมหน่วยงานของรัฐจะช่วยลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวไม่ได้ ทำไมหลังคาของหน่วยราชการจะสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ทำไม ทำไม และทำไม ทั้ง 3 ข้อนั่นแหละ
ผมไม่อยากต่อล้อต่อเถียง แต่ขอนำภาพบนหลังคาอาคารของมหาวิทยาลัย Aalen ทางตอนเหนือของเยอรมนีครับ อาคารดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3 พันตารางเมตร แต่ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 0.55 เมกะวัตต์ ติดตั้งเมื่อปี 2550 ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 549,000 หน่วย (เพียงพอสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 90 หน่วยถึง 508 ครัวเรือน) ถ้าคิดราคาตามอัตราที่ทางกระทรวงพลังงานจะรับซื้อคือ 6.16 บาทต่อหน่วย ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้ปีละ 3.38 ล้านบาท
อย่าลืมว่าประเทศไทยเรามีความเข้มของแสงอาทิตย์มากกว่าเยอรมนี ดังนั้น ถ้านำมาติดเมืองไทยก็จะเพิ่มเป็น 4.2 ล้านบาท
อันที่จริง หัวใจสำคัญของการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนคือ หนึ่ง การไม่จำกัดโควตาของผู้ผลิตจากไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และสอง ผู้ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนต้องขายไฟฟ้าได้ก่อน แต่ กระทรวงพลังงานไม่ได้หยิบหัวใจสำคัญนี้มาเป็นหลักการนี้เลย
ปัจจุบันประเทศเราได้กำหนดให้ผู้ผลิตจากพลังงานหลักคือก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นผู้ขายได้ก่อนและเป็นสัญญาแบบไม่ซื้อก็ต้องจ่าย ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จเขาทำกันเลยครับ
ยังมีอีก 2 ประเด็นที่ผมจะขอวิจารณ์กระทรวงพลังงาน และหลังจากนั้น จะมาว่ากันที่เพลงดัง Here Comes the Sun ใจเย็นๆ นะครับ
ประเด็นเรื่องขั้นตอน จากเอกสารแผ่นพับดังกล่าวมี 5 ขั้นตอน หนึ่งในนั้นที่ทำให้เจ้าของบ้านไปยื่นกันน้อยมากก็คือ ต้องให้วิศวกรผู้มีใบประกอบวิชาชีพเป็นผู้เซ็นรับรอง
จากบทเรียนในต่างประเทศที่ได้มีการสรุปไว้พบว่า ขั้นตอนที่ยุ่งยากเป็นอุปสรรคสำคัญต่อประชาชน ทั้งๆ ที่วัสดุอุปกรณ์ก็ล้วนแต่มีมาตรฐานกำหนดอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ได้ แต่ของเรากลับซับซ้อน
พูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงรายการตลกในต่างประเทศชิ้นหนึ่ง คือมีการแข่งขันวิ่งผลัด 4 คูณ 100 เมตรชิงแชมป์โลก โดยที่เจ้าภาพจัดการแข่งขันคือประเทศสารขัณฑ์ ทันทีที่เสียงปืนสัญญาณดังขึ้น นักกีฬาทุกคนต่างก็ออกสตาร์ทอย่างสุดความสามารถ แต่พอถึงจังหวะที่จะเปลี่ยนไม้ กรรมการก็มาขัดจังหวะโดยการยื่นแบบฟอร์มให้เซ็นชื่อก่อน นักกีฬาทำหน้างงๆ แต่ก็ไม่เถียง เมื่อเซ็นแล้วก็จะออกวิ่งต่อ แต่กรรมการบอก “เดี๋ยวก่อน ขออีกโต๊ะหนึ่ง แบบฟอร์มมีให้เซ็น 2 ที่ครับ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า …
อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องต้นทุน เอกสารระบุว่าในการติดตั้ง 1 กิโลวัตต์จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 6 หมื่นบาท ผมไม่แน่ใจในรายละเอียดครับ แต่มีข้อคิด 2 ประการ คือ
เทคโนโลยีในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก คือก้าวหน้าในเรื่องประสิทธิภาพมาก ขึ้นแต่ต้นทุนกลับถูกลง บางบริษัทเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (thin film) บางบริษัทเป็นนาโนเทคโนโลยี
ผมเคยมีบทเรียนคล้ายกันนี้เมื่อปี 2516 ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่ได้ซื้อเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ในราคาตอนนั้น 2-3 หมื่นบาท (ขนาดใหญ่กว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก) แต่พออีกไม่กี่เดือนต่อมาขนาดลดลงเท่าฝ่ามือราคา 8 พันบาท ประสิทธิภาพดีสูงกว่าด้วย ปัจจุบันนี้ราคา 200 บาท
ผมได้ยินนายทหารระดับพลเอกนอกราชการท่านหนึ่งพูดว่า ตอนนี้แผงโซลาร์เซลล์ในเมืองจีนราคาถูกมาก แต่ขายไม่ออก กองอยู่เต็มโรงงาน ผมไม่อยากให้เราพลาดเหมือนผมเมื่อ 40 ปีก่อนครับ
ในเรื่องต้นทุนอีกนิดครับ นี่คือการเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนระหว่างประเทศสหรัฐฯ กับเยอรมนีซึ่งต่างกันแบบครึ่งต่อครึ่งครับ (ผมไม่แน่ใจว่าราคาปีใด แต่มีแหล่งค้นคว้าแนบอยู่ครับ)
มาถึงเรื่องสุดท้ายคือเรื่องเพลง Here Comes the Sun ซึ่งแต่งโดย George Harrison เป็นเพลงในชุดเดียวกับ Let It Be ที่ดังระเบิดไปทั่วโลก
เนื้อร้องและคำแปลสามารถค้นได้จากกูเกิลครับ
Harrison เขียนเพลงนี้หลังการประชุมเกี่ยวกับธุรกิจของวงดนตรีอันเนื่องจากผู้จัดการวงเสียชีวิต เขาเขียนหลังจากได้เห็นแสงอาทิตย์และความอบอุ่นครั้งแรกหลังจากฤดูหนาวอันยาวนานในประเทศอังกฤษ
Here comes the sun (doo doo doo doo)
Here comes the sun, and I say
It’s all right
….
Little darling, I feel that ice is slowly melting
Little darling, it seems like years since it’s been clear
…
เนื้อเพลงได้สะท้อนถึงพลังของดวงตะวัน ที่ทำให้น้ำแข็งค่อยๆ หลอมละลายอย่างช้าๆ ทั้งๆ ที่ดวงตะวันได้หายไปบ้างในช่วงไม่กี่เดือนของฤดูหนาว แต่มันดูเหมือนนานเป็นหลายๆ ปี
ในความเป็นจริง ดวงตะวันเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นประชาธิปไตย (Democratic Energy) สาดส่องมาให้มนุษยชาติและสรรพชีวิตทั้งหลายโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกมีจน ทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกันหมด แต่เมื่อระบบทุนสามานย์ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เขากลับห้ามไม่ให้ผู้คนใช้พลังงานดังกล่าว แต่กลับไปส่งเสริมพลังงานฟอสซิลที่พวกเขาสามารถผูกขาดได้เท่านั้น
เมื่อกระทรวงพลังงานเริ่มตื่น (ทั้งๆ ที่เคยปฏิเสธมาตลอดว่า เป็นพลังงานที่ไม่มั่นคง มีราคาแพง) มาวันนี้ แม้จะมีการยอมรับแล้ว และลงมือส่งเสริม แต่ผมก็พบว่าในกระบวนการรายละเอียดดังกล่าวมันไม่ถูกต้อง ผมจึงขอเปลี่ยนประโยคที่ว่า
It’s all right เป็น “ไม่โอเค”
It’s not okay ครับ
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
ผมได้นำเรื่องที่สำคัญมาก 2 เรื่องมาเป็นชื่อบทความนี้ครับ เรื่องแรกเป็นโครงการติดตั้งแผงรับแสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าของกระทรวงพลังงาน ส่วนเรื่องที่สองเป็นชื่อเพลงที่โด่งดังมากๆ ในระดับโลกของวงสี่เต่าทอง (The Beatles) เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว
แต่เอาเข้าจริงๆ ถ้าเราดูสาระและเบื้องหลังของเพลง ผมว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันครับ คือ ยอมรับและเห็นพลังของดวงอาทิตย์ เพียงแต่ว่าเรื่องแรกเกิดทีหลังเกือบ 40 ปี และยัง “ไม่โอเคเอามากๆ” ในสายตาผมครับ
ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะรู้สึกว่า “ผู้เขียนมากเรื่อง ติ ค้านไปทุกเรื่อง ชมไม่เป็นหรืออย่างไร”
ถ้าอย่างนั้น กรุณาดูข้อมูลด้านล่างนี้ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบการติดตั้งรวมของพลังงานแสงอาทิตย์ (เมื่อสิ้นปี 2554) ต่อจำนวนประชากรหนึ่งล้านคนของประเทศต่างๆ จะพบว่าประเทศที่อยู่ใกล้ๆ กันซึ่งมีสภาพภูมิอากาศคล้ายๆ กัน เช่น เยอรมนีกับฝรั่งเศส เป็นต้น แต่ตัวเลขดังกล่าวต่างกันมาก ในขณะที่เยอรมนีติดตั้งจำนวน 300 เมกะวัตต์ (ต่อประชากรหนึ่งล้านคน) แต่ฝรั่งเศสมีไม่ถึง 50 เมกะวัตต์ ประเทศอินเดียซึ่งมีแสงอาทิตย์มากกว่าสองประเทศดังกล่าวแต่กลับติดตั้งนิดเดียว (พี่ไทยเราไม่ติดฝุ่น)
นั่นหมายความว่า ความเป็นไปได้ของพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งหรือภูมิอากาศของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลรวมถึงวิธีการในการส่งเสริมด้วย
เท่าที่ผมได้ติดตามข่าวทราบว่า กระทรวงพลังงานมีโครงการจะให้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาจำนวน 200 เมกะวัตต์ทั่วประเทศ โดยให้เป็นประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทธุรกิจประเภทละ 100 เมกะวัตต์ แต่หลังจากเลยกำหนดเวลายื่นคำขอจำหน่ายไฟฟ้า ปรากฏว่าประเภทที่อยู่อาศัยมายื่นเพียง 6 เมกะวัตต์เท่านั้น ในขณะที่ภาคโรงงานยื่นถึง 500 เมกะวัตต์ จึงต้องมีการขยายเวลาไปอีกระยะหนึ่ง
ข้อมูลบางอย่างได้สะท้อนปัญหาที่ผมนำไปตั้งชื่อบทความว่า “แต่ไม่โอเค!”
ที่ไม่โอเคมากกว่านี้อีกซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญมากๆ ก็คือ ความไม่เข้าใจในหลักการสำคัญของการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงานเอง
จากเอกสารแผ่นพับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเป็นผู้ออกระเบียบเรื่องนี้มีข้อความที่สะดุดความรู้สึกก็คือที่เป็น “หมายเหตุ” คือ (1) ผู้มีสิทธิเสนอขายไฟฟ้าต้องไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ (2) กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลให้ดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า และ (3) อาคารนั้นต้องไม่เคยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มาก่อน และต้องมีมิเตอร์ไฟฟ้าตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ก่อนแล้ว
เรียนตามตรงนะครับว่าผม “ไม่โอเค” อย่างรุนแรงกับหมายเหตุดังกล่าว
เอกสารดังกล่าวได้ระบุว่า “นอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มบนหลังคาบ้าน อาคารหรือโรงงานของคุณแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสิ่งแวดล้อมจากการผลิตพลังงานสะอาดอีกด้วย”
จากเอกสารแผ่นพับดังกล่าว ผมเข้าใจว่า วัตถุประสงค์กับข้อห้ามในหมายเหตุดังกล่าวมันขัดขากันเอง ไม่เป็นเหตุเป็นผลกัน
ทำไมหน่วยงานของรัฐจะช่วยลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวไม่ได้ ทำไมหลังคาของหน่วยราชการจะสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ทำไม ทำไม และทำไม ทั้ง 3 ข้อนั่นแหละ
ผมไม่อยากต่อล้อต่อเถียง แต่ขอนำภาพบนหลังคาอาคารของมหาวิทยาลัย Aalen ทางตอนเหนือของเยอรมนีครับ อาคารดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3 พันตารางเมตร แต่ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 0.55 เมกะวัตต์ ติดตั้งเมื่อปี 2550 ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 549,000 หน่วย (เพียงพอสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 90 หน่วยถึง 508 ครัวเรือน) ถ้าคิดราคาตามอัตราที่ทางกระทรวงพลังงานจะรับซื้อคือ 6.16 บาทต่อหน่วย ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้ปีละ 3.38 ล้านบาท
อย่าลืมว่าประเทศไทยเรามีความเข้มของแสงอาทิตย์มากกว่าเยอรมนี ดังนั้น ถ้านำมาติดเมืองไทยก็จะเพิ่มเป็น 4.2 ล้านบาท
อันที่จริง หัวใจสำคัญของการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนคือ หนึ่ง การไม่จำกัดโควตาของผู้ผลิตจากไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และสอง ผู้ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนต้องขายไฟฟ้าได้ก่อน แต่ กระทรวงพลังงานไม่ได้หยิบหัวใจสำคัญนี้มาเป็นหลักการนี้เลย
ปัจจุบันประเทศเราได้กำหนดให้ผู้ผลิตจากพลังงานหลักคือก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นผู้ขายได้ก่อนและเป็นสัญญาแบบไม่ซื้อก็ต้องจ่าย ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จเขาทำกันเลยครับ
ยังมีอีก 2 ประเด็นที่ผมจะขอวิจารณ์กระทรวงพลังงาน และหลังจากนั้น จะมาว่ากันที่เพลงดัง Here Comes the Sun ใจเย็นๆ นะครับ
ประเด็นเรื่องขั้นตอน จากเอกสารแผ่นพับดังกล่าวมี 5 ขั้นตอน หนึ่งในนั้นที่ทำให้เจ้าของบ้านไปยื่นกันน้อยมากก็คือ ต้องให้วิศวกรผู้มีใบประกอบวิชาชีพเป็นผู้เซ็นรับรอง
จากบทเรียนในต่างประเทศที่ได้มีการสรุปไว้พบว่า ขั้นตอนที่ยุ่งยากเป็นอุปสรรคสำคัญต่อประชาชน ทั้งๆ ที่วัสดุอุปกรณ์ก็ล้วนแต่มีมาตรฐานกำหนดอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ได้ แต่ของเรากลับซับซ้อน
พูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงรายการตลกในต่างประเทศชิ้นหนึ่ง คือมีการแข่งขันวิ่งผลัด 4 คูณ 100 เมตรชิงแชมป์โลก โดยที่เจ้าภาพจัดการแข่งขันคือประเทศสารขัณฑ์ ทันทีที่เสียงปืนสัญญาณดังขึ้น นักกีฬาทุกคนต่างก็ออกสตาร์ทอย่างสุดความสามารถ แต่พอถึงจังหวะที่จะเปลี่ยนไม้ กรรมการก็มาขัดจังหวะโดยการยื่นแบบฟอร์มให้เซ็นชื่อก่อน นักกีฬาทำหน้างงๆ แต่ก็ไม่เถียง เมื่อเซ็นแล้วก็จะออกวิ่งต่อ แต่กรรมการบอก “เดี๋ยวก่อน ขออีกโต๊ะหนึ่ง แบบฟอร์มมีให้เซ็น 2 ที่ครับ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า …
อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องต้นทุน เอกสารระบุว่าในการติดตั้ง 1 กิโลวัตต์จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 6 หมื่นบาท ผมไม่แน่ใจในรายละเอียดครับ แต่มีข้อคิด 2 ประการ คือ
เทคโนโลยีในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก คือก้าวหน้าในเรื่องประสิทธิภาพมาก ขึ้นแต่ต้นทุนกลับถูกลง บางบริษัทเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (thin film) บางบริษัทเป็นนาโนเทคโนโลยี
ผมเคยมีบทเรียนคล้ายกันนี้เมื่อปี 2516 ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่ได้ซื้อเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ในราคาตอนนั้น 2-3 หมื่นบาท (ขนาดใหญ่กว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก) แต่พออีกไม่กี่เดือนต่อมาขนาดลดลงเท่าฝ่ามือราคา 8 พันบาท ประสิทธิภาพดีสูงกว่าด้วย ปัจจุบันนี้ราคา 200 บาท
ผมได้ยินนายทหารระดับพลเอกนอกราชการท่านหนึ่งพูดว่า ตอนนี้แผงโซลาร์เซลล์ในเมืองจีนราคาถูกมาก แต่ขายไม่ออก กองอยู่เต็มโรงงาน ผมไม่อยากให้เราพลาดเหมือนผมเมื่อ 40 ปีก่อนครับ
ในเรื่องต้นทุนอีกนิดครับ นี่คือการเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนระหว่างประเทศสหรัฐฯ กับเยอรมนีซึ่งต่างกันแบบครึ่งต่อครึ่งครับ (ผมไม่แน่ใจว่าราคาปีใด แต่มีแหล่งค้นคว้าแนบอยู่ครับ)
มาถึงเรื่องสุดท้ายคือเรื่องเพลง Here Comes the Sun ซึ่งแต่งโดย George Harrison เป็นเพลงในชุดเดียวกับ Let It Be ที่ดังระเบิดไปทั่วโลก
เนื้อร้องและคำแปลสามารถค้นได้จากกูเกิลครับ
Harrison เขียนเพลงนี้หลังการประชุมเกี่ยวกับธุรกิจของวงดนตรีอันเนื่องจากผู้จัดการวงเสียชีวิต เขาเขียนหลังจากได้เห็นแสงอาทิตย์และความอบอุ่นครั้งแรกหลังจากฤดูหนาวอันยาวนานในประเทศอังกฤษ
Here comes the sun (doo doo doo doo)
Here comes the sun, and I say
It’s all right
….
Little darling, I feel that ice is slowly melting
Little darling, it seems like years since it’s been clear
…
เนื้อเพลงได้สะท้อนถึงพลังของดวงตะวัน ที่ทำให้น้ำแข็งค่อยๆ หลอมละลายอย่างช้าๆ ทั้งๆ ที่ดวงตะวันได้หายไปบ้างในช่วงไม่กี่เดือนของฤดูหนาว แต่มันดูเหมือนนานเป็นหลายๆ ปี
ในความเป็นจริง ดวงตะวันเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นประชาธิปไตย (Democratic Energy) สาดส่องมาให้มนุษยชาติและสรรพชีวิตทั้งหลายโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกมีจน ทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกันหมด แต่เมื่อระบบทุนสามานย์ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เขากลับห้ามไม่ให้ผู้คนใช้พลังงานดังกล่าว แต่กลับไปส่งเสริมพลังงานฟอสซิลที่พวกเขาสามารถผูกขาดได้เท่านั้น
เมื่อกระทรวงพลังงานเริ่มตื่น (ทั้งๆ ที่เคยปฏิเสธมาตลอดว่า เป็นพลังงานที่ไม่มั่นคง มีราคาแพง) มาวันนี้ แม้จะมีการยอมรับแล้ว และลงมือส่งเสริม แต่ผมก็พบว่าในกระบวนการรายละเอียดดังกล่าวมันไม่ถูกต้อง ผมจึงขอเปลี่ยนประโยคที่ว่า
It’s all right เป็น “ไม่โอเค”
It’s not okay ครับ