ตั้งแต่วินาทีแรกที่รัฐบาลชุดนี้ขึ้นมาบริหารประเทศพวกเขาก็เล็งไปที่เป้าหมายสำคัญ
“ทุนสำรองระหว่างประเทศ”
สร้างภาพให้คนไทยที่ไม่ได้มีความรู้ทางเทคนิคในเรื่องการเงินการคลังเข้าใจว่าประเทศไทยมีสภาพเศรษฐกิจดีเยี่ยมจนสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศไว้มาก และมากเกินไป แถมการมีมากเกินไปโดยเก็บไว้เฉย ๆ ทำให้ได้ดอกผลน้อยเกินกว่าที่ควร สมควรอย่างยิ่งที่จะนำออกมาหาผลประโยชน์ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนำมาจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ทีแรกก็บอกว่าจะไปลงทุนในแหล่งปิโตรเลี่ยมในต่างประเทศ
ต่อมาก็บอกว่าลงทุนในแหล่งน้ำมันและแก๊สในอ่าวไทย
หายไปพักกลับมาใหม่ก็บอกว่าเอาไปซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศในการลงทุนโครงการต่าง ๆ
แต่ก็ถอยทัพกลับไป เพราะเริ่มมีการคัดค้านอย่างทันควันจากกลุ่มศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และผมในฐานะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ร่วมคัดค้านทั้งโดยการตั้งกระทู้ถามและเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงในชั้นกรรมาธิการต่อหน้าศิษย์พ่อแม่ครูอาจารย์หลายครั้ง เพราะเมื่อเอ่ยถึงคำว่าทุนสำรองระหว่างประเทศโดยรวมทำให้เข้าใจได้ว่าอาจหมายถึงในส่วนของบัญชีสำรองพิเศษหรือคลังหลวงที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่หลวงตาท่านรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนบริจาคทองทำมาตั้งแต่ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และขอให้รัฐบาลทุกรัฐบาลอย่าได้แตะต้อง ให้เก็บไว้เป็นทุนสำรองยามวิกฤตสมตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเงินถุงแดงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ 5 จนรัฐบาลต้องออกมารับปากว่าไม่ได้หมายถึงส่วนบัญชีสำรองพิเศษหรือคลังหลวง ที่จะไม่แตะต้องแน่นอน ที่พูดถึงหมายถึงในส่วนทุนสำรองทั่วไปในความดูแลของฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย เท่านั้น แต่กระนั้นก็ยังถูกขวางจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยว่าถ้าจะเอาไปก็ได้ เอาไปเท่าไรก็ได้ แต่รัฐบาลต้องทำให้ถูกกฎหมายและถูกหลักการคือเอาเงินบาทมาแลกออกไป
เจออุปสรรคสองเด้งสามเด้งอย่างนี้ รัฐบาลก็เลิกพูดเรื่องนี้ไปเป็นปี หันมาบูมเรื่องกู้เงิน 2 ล้านล้านมาทำรถไฟด่วนความเร็วสูง
แต่กระนั้นก็ตาม ก่อนหน้านี้ผมยังฝังใจเชื่ออยู่ลึก ๆ เสมอว่าการที่รัฐบาลนี้กล้าใช้จ่ายตามสารพัดโครงการประชานิยมมหาศาล และกล้าเสนอแผนกู้ 2 ล้านล้านบาทในรอบ 7 ปีเพราะอะไร
ก็เพราะรัฐบาลชื่อว่าจะสามารถแลกมาเป็นคะแนนเสียงได้มหาศาลเช่นกัน เลือกตั้งกี่ครั้งกี่ครั้งก็มีแต่จะชนะมากขึ้นและมากขึ้น ส่วนทางออกนั้นถ้าเศรษฐกิจไม่โตอย่างที่คาด ก็ยังมีทางออกอีก 2 ทาง
ทางแรก - ทุนสำรองระหว่างประเทศที่พยายามจะตัดมาสัก 1 ล้านล้านบาท
ทางสอง - ถ้าทางแรกยังเอาไม่อยู่ ทีนี้ก็จะเข้าไปทุบกระปุกบัญชีทุนสำรองพิเศษ หรือคลังหลวงกันละ
และคงจะเริ่มทางแรกก่อนภายในปี 2557 หรืออย่างช้า 2558
ที่สุดก็เป็นจริง !
ดร.อำพน กิตติอำพน ยาสามัญประจำบ้านของรัฐบาลชุดนี้ที่ถูกจับมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่แทนดร.วีรพงษ์ รามางกูรที่อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์เกษียณไปตามกฎหมายโดยยังไม่สามารถปลดดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุลอุปสรรคขวากหนามสำคัญออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศนี้ได้สำเร็จ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศว่าควรนำมาให้เป็นประโยชน์ต่อชาติ 2 อย่าง
หนึ่ง – ตัดส่วนหนึ่งมาตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติไปลงทุนให้ผลประโยชน์มากกว่าปัจจุบัน
สอง – ปล่อยกู้แก่รัฐบาลในโครงการ 2 ล้านล้านบาท
ควรเข้าใจว่าเมื่อพูดถึงทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น หมายถึงเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในความดูแลของธนาคารชาติ แม้โดยตัวเลขจะมีมาก แต่มันไม่ใช่เงินของเราทั้งหมด หากแต่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารชาติซึ่งก็คือนายธนาคารของประเทศไทยถือไว้จากการที่นักลงทุนต่างชาติและ/หรือผู้ส่งออกชาวไทยนำมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อใช้ในประเทศ รวมทั้งการเข้าไปซื้อเก็บไว้ของธนาคารชาติเองเพื่อรักษาเสถียรภาพเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปในรอบหลายปีมานี้ ซึ่งในส่วนหลังนี้ก็มีต้นทุนเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร จะพูดแต่ด้านตัวเลขที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไม่ได้ ต้องพูดถึงด้านต้นทุนด้วย
ทุนสำรองระหว่างประเทศจึงไม่ใช่เงินของเรา อย่างน้อยก็ไม่ใช่ทั้งหมด
หากจะพอถือได้ว่าเป็นเงินของเรา ก็เฉพาะส่วนที่ได้เปรียบดุลการค้าและดุลการชำระเงิน ซึ่งก็คือค้าขายกำไร มีเงินเหลือ
ซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
การจงใจให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ว่าเป็นเงินของเราทั้งหมดเป็นการพูดเพื่อหวังผล...
หวังผลในการล้วงออกมาใช้ !
ทั้ง 2 อย่างที่ประธานบอร์ดธนาคารชาติคนใหม่โยนหินถามทางออกมานั้นเป็นเรื่องใหญ่ ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานและข้อมูลประกอบการทำความเข้าใจว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร เรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินั้นมีคนพูดมามากพอสมควร
แต่ที่ใหม่จริง ๆ ก็คือความคิดจะปล่อยเงินดอลลาร์สหรัฐให้รัฐบาลกู้
มันสอดคล้องกับที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพิ่งพูดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 นี้ว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี่จะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐถึง 40 % คือประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 2 เท่าของเมื่อครั้งที่กู้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจ 2540
ทำไปทำมาไอ้ที่ว่า 40 % ของ 2 ล้านล้านบาทจะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ เอาเข้าจริงก็มีแผนสมคบคิดจะกู้จากแบงก์ชาติไทยเราเองนี่แหละ
โดยบีบเอาจากทุนสำรองระหว่างประเทศ
โดยรัฐบาลออกพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐฯให้แบงก์ชาติถือ
ในทางหลักการแล้ว ถ้าจะทำจริง ๆ ก็ทำได้
แต่มันจะเสียหายมหาศาลแน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็ 3 ทาง มีตัวอย่างประเทศในอเมริกาใต้มาแล้วที่ฉิบหายเพราะทำแบบนี้
วันนี้จะยังไม่กล่าวถึงรายละเอียดทั้ง 3 ทางนั้น แต่ขอพูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านอย่างนี้แล้วกัน
มันก็เหมือนเจ้าของแบงก์บีบให้ผู้จัดการแบงก์ปล่อยกู้ให้กับตัวเองนั่นแหละ แถมยังเป็นการเอาเงินที่เป็นเสมือนเงินฝากของลูกค้าต่างชาติมาปล่อยกู้ให้เสียอีก
ความน่าเชื่อถือของประเทศยังจะเหลืออยู่อีกหรือ ?
“ทุนสำรองระหว่างประเทศ”
สร้างภาพให้คนไทยที่ไม่ได้มีความรู้ทางเทคนิคในเรื่องการเงินการคลังเข้าใจว่าประเทศไทยมีสภาพเศรษฐกิจดีเยี่ยมจนสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศไว้มาก และมากเกินไป แถมการมีมากเกินไปโดยเก็บไว้เฉย ๆ ทำให้ได้ดอกผลน้อยเกินกว่าที่ควร สมควรอย่างยิ่งที่จะนำออกมาหาผลประโยชน์ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนำมาจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ทีแรกก็บอกว่าจะไปลงทุนในแหล่งปิโตรเลี่ยมในต่างประเทศ
ต่อมาก็บอกว่าลงทุนในแหล่งน้ำมันและแก๊สในอ่าวไทย
หายไปพักกลับมาใหม่ก็บอกว่าเอาไปซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศในการลงทุนโครงการต่าง ๆ
แต่ก็ถอยทัพกลับไป เพราะเริ่มมีการคัดค้านอย่างทันควันจากกลุ่มศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และผมในฐานะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ร่วมคัดค้านทั้งโดยการตั้งกระทู้ถามและเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงในชั้นกรรมาธิการต่อหน้าศิษย์พ่อแม่ครูอาจารย์หลายครั้ง เพราะเมื่อเอ่ยถึงคำว่าทุนสำรองระหว่างประเทศโดยรวมทำให้เข้าใจได้ว่าอาจหมายถึงในส่วนของบัญชีสำรองพิเศษหรือคลังหลวงที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่หลวงตาท่านรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนบริจาคทองทำมาตั้งแต่ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และขอให้รัฐบาลทุกรัฐบาลอย่าได้แตะต้อง ให้เก็บไว้เป็นทุนสำรองยามวิกฤตสมตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเงินถุงแดงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ 5 จนรัฐบาลต้องออกมารับปากว่าไม่ได้หมายถึงส่วนบัญชีสำรองพิเศษหรือคลังหลวง ที่จะไม่แตะต้องแน่นอน ที่พูดถึงหมายถึงในส่วนทุนสำรองทั่วไปในความดูแลของฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย เท่านั้น แต่กระนั้นก็ยังถูกขวางจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยว่าถ้าจะเอาไปก็ได้ เอาไปเท่าไรก็ได้ แต่รัฐบาลต้องทำให้ถูกกฎหมายและถูกหลักการคือเอาเงินบาทมาแลกออกไป
เจออุปสรรคสองเด้งสามเด้งอย่างนี้ รัฐบาลก็เลิกพูดเรื่องนี้ไปเป็นปี หันมาบูมเรื่องกู้เงิน 2 ล้านล้านมาทำรถไฟด่วนความเร็วสูง
แต่กระนั้นก็ตาม ก่อนหน้านี้ผมยังฝังใจเชื่ออยู่ลึก ๆ เสมอว่าการที่รัฐบาลนี้กล้าใช้จ่ายตามสารพัดโครงการประชานิยมมหาศาล และกล้าเสนอแผนกู้ 2 ล้านล้านบาทในรอบ 7 ปีเพราะอะไร
ก็เพราะรัฐบาลชื่อว่าจะสามารถแลกมาเป็นคะแนนเสียงได้มหาศาลเช่นกัน เลือกตั้งกี่ครั้งกี่ครั้งก็มีแต่จะชนะมากขึ้นและมากขึ้น ส่วนทางออกนั้นถ้าเศรษฐกิจไม่โตอย่างที่คาด ก็ยังมีทางออกอีก 2 ทาง
ทางแรก - ทุนสำรองระหว่างประเทศที่พยายามจะตัดมาสัก 1 ล้านล้านบาท
ทางสอง - ถ้าทางแรกยังเอาไม่อยู่ ทีนี้ก็จะเข้าไปทุบกระปุกบัญชีทุนสำรองพิเศษ หรือคลังหลวงกันละ
และคงจะเริ่มทางแรกก่อนภายในปี 2557 หรืออย่างช้า 2558
ที่สุดก็เป็นจริง !
ดร.อำพน กิตติอำพน ยาสามัญประจำบ้านของรัฐบาลชุดนี้ที่ถูกจับมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่แทนดร.วีรพงษ์ รามางกูรที่อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์เกษียณไปตามกฎหมายโดยยังไม่สามารถปลดดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุลอุปสรรคขวากหนามสำคัญออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศนี้ได้สำเร็จ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศว่าควรนำมาให้เป็นประโยชน์ต่อชาติ 2 อย่าง
หนึ่ง – ตัดส่วนหนึ่งมาตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติไปลงทุนให้ผลประโยชน์มากกว่าปัจจุบัน
สอง – ปล่อยกู้แก่รัฐบาลในโครงการ 2 ล้านล้านบาท
ควรเข้าใจว่าเมื่อพูดถึงทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น หมายถึงเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในความดูแลของธนาคารชาติ แม้โดยตัวเลขจะมีมาก แต่มันไม่ใช่เงินของเราทั้งหมด หากแต่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารชาติซึ่งก็คือนายธนาคารของประเทศไทยถือไว้จากการที่นักลงทุนต่างชาติและ/หรือผู้ส่งออกชาวไทยนำมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อใช้ในประเทศ รวมทั้งการเข้าไปซื้อเก็บไว้ของธนาคารชาติเองเพื่อรักษาเสถียรภาพเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปในรอบหลายปีมานี้ ซึ่งในส่วนหลังนี้ก็มีต้นทุนเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร จะพูดแต่ด้านตัวเลขที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไม่ได้ ต้องพูดถึงด้านต้นทุนด้วย
ทุนสำรองระหว่างประเทศจึงไม่ใช่เงินของเรา อย่างน้อยก็ไม่ใช่ทั้งหมด
หากจะพอถือได้ว่าเป็นเงินของเรา ก็เฉพาะส่วนที่ได้เปรียบดุลการค้าและดุลการชำระเงิน ซึ่งก็คือค้าขายกำไร มีเงินเหลือ
ซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
การจงใจให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ว่าเป็นเงินของเราทั้งหมดเป็นการพูดเพื่อหวังผล...
หวังผลในการล้วงออกมาใช้ !
ทั้ง 2 อย่างที่ประธานบอร์ดธนาคารชาติคนใหม่โยนหินถามทางออกมานั้นเป็นเรื่องใหญ่ ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานและข้อมูลประกอบการทำความเข้าใจว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร เรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินั้นมีคนพูดมามากพอสมควร
แต่ที่ใหม่จริง ๆ ก็คือความคิดจะปล่อยเงินดอลลาร์สหรัฐให้รัฐบาลกู้
มันสอดคล้องกับที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพิ่งพูดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 นี้ว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี่จะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐถึง 40 % คือประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 2 เท่าของเมื่อครั้งที่กู้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจ 2540
ทำไปทำมาไอ้ที่ว่า 40 % ของ 2 ล้านล้านบาทจะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ เอาเข้าจริงก็มีแผนสมคบคิดจะกู้จากแบงก์ชาติไทยเราเองนี่แหละ
โดยบีบเอาจากทุนสำรองระหว่างประเทศ
โดยรัฐบาลออกพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐฯให้แบงก์ชาติถือ
ในทางหลักการแล้ว ถ้าจะทำจริง ๆ ก็ทำได้
แต่มันจะเสียหายมหาศาลแน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็ 3 ทาง มีตัวอย่างประเทศในอเมริกาใต้มาแล้วที่ฉิบหายเพราะทำแบบนี้
วันนี้จะยังไม่กล่าวถึงรายละเอียดทั้ง 3 ทางนั้น แต่ขอพูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านอย่างนี้แล้วกัน
มันก็เหมือนเจ้าของแบงก์บีบให้ผู้จัดการแบงก์ปล่อยกู้ให้กับตัวเองนั่นแหละ แถมยังเป็นการเอาเงินที่เป็นเสมือนเงินฝากของลูกค้าต่างชาติมาปล่อยกู้ให้เสียอีก
ความน่าเชื่อถือของประเทศยังจะเหลืออยู่อีกหรือ ?