ASTVผู้จัดการรายวัน-กขช.ยัดเงิน 9 พันล้านใส่มือ เบรกชาวนาประท้วง เตรียมชง ครม. อนุมัติสัปดาห์หน้า ทั้งจ่ายชดเชยให้ชาวนาที่ขายข้าวไม่ทัน และจ่ายเต็มสำหรับคนที่จำนำแล้วแต่ยังไม่ได้เงิน พร้อมสั่งลงบัญชีข้าวบริจาคกับข้าวราคาถูกช่วยชาวบ้านใหม่ ป้องกันปิดบัญชีแล้วรัฐถูกกล่าวหาขายข้าวไม่เป็น "หม่อมอุ๋ย" ซัดอีก 2 ปี จำนำทำเจ๊ง 4.1 แสนล้าน แนะรัฐลดต้นทุน เพิ่มรายได้ชาวนา เครือข่ายต้านโกงเตรียมแฉทุกขั้นตอนโกงจำนำ 15 ต.ค.นี้
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วานนี้ (9 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้นำเงินจากงบประมาณกลาง จำนวน 3,000 ล้านบาท มาช่วยเหลือชาวนาที่นำข้าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง 2556 ซึ่งปิดโครงการไปแล้วเมื่อ 15 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา ไม่ทัน และต้องนำข้าวไปขายนอกโครงการ โดยจะชดเชยต้นทุนจากค่ายา ค่าปุ๋ยให้ในอัตราตันละ 2,500 บาท สำหรับข้าวจำนวน 8.9 แสนตัน ซึ่งชาวนาต้องมีหนังสือรับรองมาแสดงเพื่อขอรับการชดเชย โดยจะจ่ายชดเชยตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 30 ตัน
ทั้งนี้ ยังขอให้มีการประเมินวงเงินสำหรับข้าวที่ได้จ่ายออกไปตามโครงการต่างๆ ทั้งการบริจาค การขายข้าวในราคาต่ำกว่าท้องตลาดเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น โครงการข้าวถุงธงฟ้า ข้าวถุงร้านถูกใจ ซึ่งส่วนต่างราคาดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงถึง 7,000 ล้านบาท โดยให้บันทึกราคาในทางบัญชีไว้ตามราคาตลาดที่ขายข้าวออกไป เพื่อให้การประเมินสถานะโครงการเป็นไปด้วยความถูกต้องครบถ้วนที่สุด
ส่วนการใช้เงินในโครงการรับจำนำข้าวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ไปปีละ 3.3 แสนล้านบาท ซึ่งยอดเงินที่ขาดทุนจากการดำเนินโครงการไม่ได้มีมูลค่าสูงอย่างที่หลายฝ่ายกล่าวอ้าง และหากใครที่อ้างว่าการดำเนินโครงการไม่โปร่งใสให้นำหลักฐานมาแสดง เพราะที่ผ่านมา มีการกล่าวหากันว่าไม่โปร่งใส แต่เมื่อตรวจสอบก็ไม่พบความผิด
นายยรรยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กขช. ยังได้เห็นชอบการจ่ายเงินค่าข้าวส่วนเกินสำหรับชาวนาที่มีใบประทวนหลังนำข้าวมาร่วมโครงการรับจำนำนาปรัง 2556 แล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินค่าข้าว เพราะวงเงินดำเนินการเต็มจำนวนจากที่คาดการณ์ไว้ ปริมาณข้าว 22 ล้านตัน วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท โดยข้าวส่วนเกินมีปริมาณ 4.5 แสนตัน มูลค่า 6,000 ล้านบาท ให้นำเงินจากโครงการรับจำนำรอบใหม่ไปดำเนินการ
“มติ กขช. ในการช่วยเหลือชาวนา ทั้งการชดเชยราคาให้กับเกษตรกรที่ขายข้าวนอกโครงการจำนำ และชาวนาที่นำข้าวไปจำนำแล้ว แต่ยังไม่ได้เงิน จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันอังคารที่ 15 ต.ค.นี้ และเมื่อ ครม. อนุมัติแล้ว หลังจากนั้น ไม่เกิน 2-3 วัน ก็จะเริ่มจ่ายเงินให้ชาวนาได้ ขอให้ชาวนาที่ประสบปัญหาอยู่ ไม่ต้องร้อนใจ และไม่ต้องมาประท้วงอะไรแล้ว เพราะรัฐได้แก้ไขปัญหาให้แล้ว"นายยรรยงกล่าว
วันเดียวกันนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แสดงปาฐกถาในงาน จรรยาบรรณดีเด่นหอการค้าไทยปี 2556 โดยระบุว่า นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ไม่ได้กระจายรายได้ให้แก่ประชาชน และเกษตรกร แต่กลับเป็นผลเสียมากกว่า เพราะกระทบฐานะการคลังของประเทศ สร้างผลขาดทุนถึง 2.05 แสนล้านบาทต่อปี หรือรวมเป็น 4.1 แสนล้านบาทใน 2 ฤดูกาล แต่เกษตกรกรมีรายได้เพียง 8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้น การช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน รัฐจะต้องช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้แหล่งที่ 2 เช่น การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเพิ่มมูลค่าในสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป)
ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า วันที่ 15 ต.ค.2556 เครือข่ายฯ จะมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งปัญหาการขาดทุน การทุจริต การรั่วไหลในกระบวนการรับจำนำข้าวทั้งหมด จากผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วานนี้ (9 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้นำเงินจากงบประมาณกลาง จำนวน 3,000 ล้านบาท มาช่วยเหลือชาวนาที่นำข้าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง 2556 ซึ่งปิดโครงการไปแล้วเมื่อ 15 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา ไม่ทัน และต้องนำข้าวไปขายนอกโครงการ โดยจะชดเชยต้นทุนจากค่ายา ค่าปุ๋ยให้ในอัตราตันละ 2,500 บาท สำหรับข้าวจำนวน 8.9 แสนตัน ซึ่งชาวนาต้องมีหนังสือรับรองมาแสดงเพื่อขอรับการชดเชย โดยจะจ่ายชดเชยตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 30 ตัน
ทั้งนี้ ยังขอให้มีการประเมินวงเงินสำหรับข้าวที่ได้จ่ายออกไปตามโครงการต่างๆ ทั้งการบริจาค การขายข้าวในราคาต่ำกว่าท้องตลาดเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น โครงการข้าวถุงธงฟ้า ข้าวถุงร้านถูกใจ ซึ่งส่วนต่างราคาดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงถึง 7,000 ล้านบาท โดยให้บันทึกราคาในทางบัญชีไว้ตามราคาตลาดที่ขายข้าวออกไป เพื่อให้การประเมินสถานะโครงการเป็นไปด้วยความถูกต้องครบถ้วนที่สุด
ส่วนการใช้เงินในโครงการรับจำนำข้าวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ไปปีละ 3.3 แสนล้านบาท ซึ่งยอดเงินที่ขาดทุนจากการดำเนินโครงการไม่ได้มีมูลค่าสูงอย่างที่หลายฝ่ายกล่าวอ้าง และหากใครที่อ้างว่าการดำเนินโครงการไม่โปร่งใสให้นำหลักฐานมาแสดง เพราะที่ผ่านมา มีการกล่าวหากันว่าไม่โปร่งใส แต่เมื่อตรวจสอบก็ไม่พบความผิด
นายยรรยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กขช. ยังได้เห็นชอบการจ่ายเงินค่าข้าวส่วนเกินสำหรับชาวนาที่มีใบประทวนหลังนำข้าวมาร่วมโครงการรับจำนำนาปรัง 2556 แล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินค่าข้าว เพราะวงเงินดำเนินการเต็มจำนวนจากที่คาดการณ์ไว้ ปริมาณข้าว 22 ล้านตัน วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท โดยข้าวส่วนเกินมีปริมาณ 4.5 แสนตัน มูลค่า 6,000 ล้านบาท ให้นำเงินจากโครงการรับจำนำรอบใหม่ไปดำเนินการ
“มติ กขช. ในการช่วยเหลือชาวนา ทั้งการชดเชยราคาให้กับเกษตรกรที่ขายข้าวนอกโครงการจำนำ และชาวนาที่นำข้าวไปจำนำแล้ว แต่ยังไม่ได้เงิน จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันอังคารที่ 15 ต.ค.นี้ และเมื่อ ครม. อนุมัติแล้ว หลังจากนั้น ไม่เกิน 2-3 วัน ก็จะเริ่มจ่ายเงินให้ชาวนาได้ ขอให้ชาวนาที่ประสบปัญหาอยู่ ไม่ต้องร้อนใจ และไม่ต้องมาประท้วงอะไรแล้ว เพราะรัฐได้แก้ไขปัญหาให้แล้ว"นายยรรยงกล่าว
วันเดียวกันนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แสดงปาฐกถาในงาน จรรยาบรรณดีเด่นหอการค้าไทยปี 2556 โดยระบุว่า นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ไม่ได้กระจายรายได้ให้แก่ประชาชน และเกษตรกร แต่กลับเป็นผลเสียมากกว่า เพราะกระทบฐานะการคลังของประเทศ สร้างผลขาดทุนถึง 2.05 แสนล้านบาทต่อปี หรือรวมเป็น 4.1 แสนล้านบาทใน 2 ฤดูกาล แต่เกษตกรกรมีรายได้เพียง 8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้น การช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน รัฐจะต้องช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้แหล่งที่ 2 เช่น การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเพิ่มมูลค่าในสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป)
ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า วันที่ 15 ต.ค.2556 เครือข่ายฯ จะมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งปัญหาการขาดทุน การทุจริต การรั่วไหลในกระบวนการรับจำนำข้าวทั้งหมด จากผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด