วานนี้(8 ต.๕.56) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการปรับโครงสร้างเพื่อปฏิรูปพรรค ว่า เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีข้อสรุปชัดเจนคือ 1. ปรับโครงสร้างของสภาที่ปรึกษา โดยจะมีการดึงผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามา บวกกับการขับเคลื่อนในระบบสมัชชา 2 .จัดการพื้นที่ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การเลือกตั้ง ก็จะมีระบบเฉพาะที่เป็นคณะกรรมการปฏิบัติการณ์ในเขตพื้นที่ แยกออกมาต่างหาก จากกรรมการบริหาร ซึ่งยังคงมีรองหัวหน้าภาค บวกกับรองหัวหน้าพรรคฯ ที่จะได้รับมอบหมายตามภารกิจต่างๆ และ3. การปรับสำนักงานเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนงานทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องงานการสื่อสาร การวิจัย เรื่องนโยบาย ดังนั้นก็จะมีการนำไปปรับให้เข้ากับข้อบังคับพรรคเพื่อจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารพรรค กับ สส. ต่อไป จากนั้นก็จะมีการประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อรับรองข้อบังคับใหม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะประชุมในเดือน พ.ย.หรือธ.ค.นี้ “
ส่วนเรื่องหัวหน้าพรรคยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยทุกคนต่างบอกว่า เมื่อมีการปรับโครงสร้างแล้วทุกอย่างจะยุติและ พรรคยังมีเอกภาพ และไม่มีปัญหาในการขับเคลื่อนทางการเมืองไปสู่เป้าหมาย
คือ การต่อสู้ทางการเมือง โดยจะเปิดกว้าง เพื่อให้สมาชิกและบุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของพรรคฯ ได้มากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกประชาชนต่อไป
“สำหรับเป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป มี 2 ด้านของการต่อสู้ทางการเมือง คือ1.การทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน และการนำเสนอทางเลือกในเชิงนโยบาย โดยพรรคประชาธิปัตย์ กับรัฐบาลมีความแตกต่างในแนวความคิดในเชิงนโยบาย ที่นับวันประชาชนจะเห็นได้ง่ายขึ้น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เน้นเรื่องธรรมาภิบาล การกระจายอำนาจ การพัฒนาที่ยั่งยืน และการปฏิรูป และ 2. การต่อสู้ขับเคี่ยวในพื้นที่ ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้ จะทำให้พรรคมีความเข้มแข็งมากขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะเดินไปในการต่อสู้คู่ขนานอย่างนี้ 2 ด้าน และเราพยายามจะเปิดกว้าง เพื่อหาทางให้สมาชิก และบุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะร่วมกันกำหนดทิศทางของพรรคฯ ได้มากขึ้น โดยการแสดงให้เห็นว่าเรามีความแตกต่าง และทางเลือกอย่างไร เพื่อเป็นความหวังให้กับประชาชน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว.
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในประเด็นข้อเสนอของการปฏิรูปพรรคฯว่า ที่ประชุมมีมติโดยเอกฉันท์ว่าจะผลักดันให้พรรคก้าวหน้า เป็นที่หวังของสังคมไทย โดยมีการปรับโครงสร้าง 3 ส่วน คือ สภาที่ปรึกษาพรรค จะให้บุคลากรสาขาอาชีพอื่นเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของพรรค ทั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ นโยบาย และวิธีการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งถือเป็นเป้าประสงค์ของหัวหน้าพรรค ที่ต้องการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และการขยายจำนวนกรรมการบริหารพรรค จาก 19 คน เป็น 25 คน เพราะหัวหน้าพรรคจะมีโควต้าเพิ่มในการเสนอรองหัวหน้าพรรค จาก 3 คนเป็น 5 คน ดังนั้น จะทำให้โครงสร้างใหม่มีรองหัวหน้าพรรค 10 คน รวมรองหัวหน้าพรรครายภาคด้วย ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และคณะกรรมการปฏิบัติงานในพื้นที่จะมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกับส่วนกลาง รับทราบความต้องการของประชาชนอย่างใกล้ชิด ตอบสนองประชาชนได้อย่างทันท่วงที จากนี้จะให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาเรื่องข้อบังคับพรรคให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าว เพราะสมาชิกพรรค กรรมการบริหารพรรค ต้องการปฏิรูป ไม่ใช่เกิดจากการกดดันจากใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความต้องการของพรรคที่จะปรับปรุงตัวเองให้เติบโต ควบคู่กับการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าไม่มีการนำเรื่องปผรับโครงสร้างเข้าที่ประชุมส.ส.พรรค ซึ่งขณะนี้ได้ส่งโครงสร้างล่าสุดไปยังคณะที่ปรึกษากฏหมายของพรรคเพื่อทำการร่างข้อบังคับใหม่ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่เปลี่ยนไป เมื่อตรวจสอบเสร็จก็จะส่งกลับมาที่คณะกรรมการบริหารอีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อตรวจสบความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นจะมีการเรียกประชุมร่วมกับ ส.ส.ก่อนที่จะนำไปสู่การเรียกประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อดำเนินการตามข้อบังคับใหม่ต่อไป
ได้สอบถามไปยังคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ถึงความเป็นไปได้ที่จะให้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ควบคู่ไปกับการรับรองข้อบังคับพรรคได้เลยหรือไม่ เบื้องต้น ได้รับการยืนยันจากกกต.ว่าสามารถทำได้ เพราะไม่มีกฏหมายข้อใดบัญญัติไว้ว่า ข้อบังคับพรรคต้องได้รับการรับรองจาก กกต.ก่อน แต่จะประสานไปยัง กกต.เพื่อขอเอกสารยืนยันอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมส.ส.บางคนได้ให้ความเห็นว่าการแสดงความเห็นต่อสาธารณะว่า เป็นเรื่องอิสระ และสิทธิ์ของบุคคลจริง แต่ต้องระมัดระวังในการทำให้การสื่อสารกลับมาทำให้พรรคเสียหาย หรือเกิดความเข้าใจผิดได้ โดยได้ย้ำให้ทุกคนระมัดระวังในการใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพราะแม้จะเป็นสิทธิ์ส่วนตัว แต่เมื่อยังอยู่ในนามสมาชิกพรรค รวมถึงหากเป็นข้อความดังกล่าวมีการพาดพิงมาถึงพรรค พรรคก็จะถูกนำไปเชื่อมโยงจนเกิดเสียงวิจารณ์ทางไม่ดีในอนาคตได้
ยืนยันด้วยว่าท่าทีของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง ทั้งในที่ประชุมกก.บห.และ ในที่ประชุมส.ส.พรรค ไมได้แสดงท่าทีเป็นลบ หรือสร้างความขัดแย้ง และยังเห็นด้วยในทุกกรณี ต่อมติที่เป็นเอกฉันท์ แต่การจะแสดงออกอย่างไรถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เห็นชอบพร้อมกันทั้งพรรค ส่วนกรณีที่ระบุถึงปัญหาความขัดแย้งถึงขั้นนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคจะลาออก ทางนายเฉลิมชัยเองไม่ได้แสดงความเห็นนี้ในที่ประชุม เพียงแต่พูดว่า ไม่ทราบว่านายอลงกรณ์ไปทวิตเรื่องนี้ ไม่ได้ให้ความเห็นในรายละเอียดที่นายอลงกรณ์ระบุ เพียงแต่เห็นว่า การปฎิรูปครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพรรคให้มีความเข้มแข็งที่สุดในการต่อสู้ต่อไป และยังเห็นด้วยกับแนวทางนี้ทุกประการ และพร้อมที่จะยอมรับต่อการปฎิรูปที่จะเกิดขึ้น
ส่วนที่มีการมองว่าโครงสร้างใหม่มีการมอบอำนาจให้กับหัวหน้าพรรคมากขึ้น หากในอนาคตมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคที่ไม่อยู่ในหลักจะทำให้พรรคเดินต่อไปได้หรือไม่ โฆษกพรรคกล่าวว่า เท่าที่ดูในรายละเอียด ถือเป็นการให้อำนาจที่พอสมควรกับผู้บริหารพรรค เพราะยังมีคณะกรรมการบริหารพรรคถึง 7 คน จากเดิมมี3คนที่ได้รับการโหวตจากที่ประชุมใหญ่ดังนั้น การคานอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับที่ประชุมใหญ่ และสภาที่ปรึกษา ถือว่ามีการวางระบบที่รัดกุมพอสมควร แต่การมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับหัวหน้าพรรค ถือเป็นจุดหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งต่อการบริหารงานในอนาคตได้ ซึ่งเมื่อข้อบังคับผ่านมติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบันจะพ้นตำแหน่งโดยปริยาย เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามข้อบังคับพรรคใหม่ และมั่นใจว่า หากได้โครงสร้างใหม่ที่ดีขึ้น จะสามารถสู้การเลือกตั้งกับพรรคเพื่อไทยได้
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ว่า จากข่าวที่ออกมาสรุปได้ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ลงมือปฏิรูปนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี เพราะทราบว่า มีการรุมยำ และนายอลงกรณ์ ก็ระบุว่าจะไม่ทวิต ข้อความวิจารณ์พรรค ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับการกระชับอำนาจ การนำพรรคเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากขึ้น ประเมินได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ตกผลึกแล้วว่า จะเอาแนวทางนี้สำหรับการโค่นล้มรัฐบาล เพราะการกระชับอำนาจให้นายอภิสิทธิ์ หมายความว่าจากนี้ไปการขับเคลื่อนพรรคจะเป็นไปตามแนวทางของนายอภิสิทธิ์ เช่น ในสภาจะมีการเล่นเกมความวุ่นวาย นอกสภาประสานมวลชนต่าง ๆ เพื่อเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาล
ทั้งนี้ คิดว่าคนพรรคประชาธิปัตย์ เห็นตรงกันว่าหากให้รัฐบาลอยู่จนครบวาระ 4 ปี คดีความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปี 53 ของ นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี คงไปไกล ถ้าลงสนามเลือกตั้งตอนนั้น อาจเป็นได้ที่หัวหน้าพรรคเป็นผู้ต้องหา ดังนั้นจึงมีความบีบคั้นมาก ต้องหาทางเปลี่ยนเกมทางการเมือง การปฏิรูปที่พูดกันจึงไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง ตรงกันข้ามเป็นการตอกย้ำว่าแนวทางหลังจากนี้ จะทำให้บรรยากาศทางการเมืองเข้มข้นขึ้น เพราะเดินตามนายอภิสิทธิ์ เต็มตัว ดังนั้นอยากเรียกร้องพรรคประชาธิปัตย์ ว่าในขณะที่คนกำลังตื่นตัวกับสถานการณ์การเมือง ช่วยแถลงให้ประชาชนทราบว่าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นร้องกับองค์กรอิสระกี่เรื่อง กี่หน่วยงาน ประชาชนจะได้ทราบว่ามีพรรคการเมืองจ้องลุ้นหวยองค์กรอิสระอยู่ตลอด แล้วทำเหมือนว่าคณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหน่วยขึ้นตรงของประชาธิปัตย์ที่มีอะไรแล้วไปยื่นตรงนั้น แล้วก็รอลุ้นกันตลอด
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจ ต่อนายอลงกรณ์ ที่ความพยายามจะปฏิรูปพรรคอีกครั้ง ล้มไม่เป็นท่า ไม่มีผลการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เชื่อว่า คนไทยทั้งประเทศ ยังอยากให้นายอลงกรณ์ พยายามที่จะปฏิรูปพรรคต่อไป เพื่อจะนำพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นที่พึ่งที่หวังของประชาชนได้บ้าง เพราะแนวทางของนายอภิสิทธิ์ น่าจะเป็นแนว บอยคอต เป็นหลัก คือ พยายามกระชับอำนาจในกลุ่มเดอะบอยภายในพรรคโดยเบ็ดเสร็จมากขึ้น ไม่ฟังผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งแนวทางของกลุ่มเดอะบอยในพรรคและนายอภิสิทธิ์ น่าจะสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับความพยายามจะปฏิรูปพรรคของนายอลงกรณ์ ที่ถึงขั้นประกาศว่า เจ็บตัวก็ยอม งานนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่านายอลงกรณ์ได้เจ็บตัวสมใจ เพราะแนวทางของกลุ่มอำนาจนำในพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ น่าจะเน้นการเมือง 2 ระบบ คือ ระบบรัฐสภา และ ระบบฟุตบาธ มีการบ่มเพาะความรุนแรง ดังนั้น แม้นายอลงกรณ์จะเจ็บตัวอีกกี่ครั้ง แต่ประชาชนอยากให้ สู้ต่อไป อย่ายอมแพ้
ส่วนเรื่องหัวหน้าพรรคยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยทุกคนต่างบอกว่า เมื่อมีการปรับโครงสร้างแล้วทุกอย่างจะยุติและ พรรคยังมีเอกภาพ และไม่มีปัญหาในการขับเคลื่อนทางการเมืองไปสู่เป้าหมาย
คือ การต่อสู้ทางการเมือง โดยจะเปิดกว้าง เพื่อให้สมาชิกและบุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของพรรคฯ ได้มากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกประชาชนต่อไป
“สำหรับเป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป มี 2 ด้านของการต่อสู้ทางการเมือง คือ1.การทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน และการนำเสนอทางเลือกในเชิงนโยบาย โดยพรรคประชาธิปัตย์ กับรัฐบาลมีความแตกต่างในแนวความคิดในเชิงนโยบาย ที่นับวันประชาชนจะเห็นได้ง่ายขึ้น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เน้นเรื่องธรรมาภิบาล การกระจายอำนาจ การพัฒนาที่ยั่งยืน และการปฏิรูป และ 2. การต่อสู้ขับเคี่ยวในพื้นที่ ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้ จะทำให้พรรคมีความเข้มแข็งมากขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะเดินไปในการต่อสู้คู่ขนานอย่างนี้ 2 ด้าน และเราพยายามจะเปิดกว้าง เพื่อหาทางให้สมาชิก และบุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะร่วมกันกำหนดทิศทางของพรรคฯ ได้มากขึ้น โดยการแสดงให้เห็นว่าเรามีความแตกต่าง และทางเลือกอย่างไร เพื่อเป็นความหวังให้กับประชาชน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว.
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในประเด็นข้อเสนอของการปฏิรูปพรรคฯว่า ที่ประชุมมีมติโดยเอกฉันท์ว่าจะผลักดันให้พรรคก้าวหน้า เป็นที่หวังของสังคมไทย โดยมีการปรับโครงสร้าง 3 ส่วน คือ สภาที่ปรึกษาพรรค จะให้บุคลากรสาขาอาชีพอื่นเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของพรรค ทั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ นโยบาย และวิธีการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งถือเป็นเป้าประสงค์ของหัวหน้าพรรค ที่ต้องการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และการขยายจำนวนกรรมการบริหารพรรค จาก 19 คน เป็น 25 คน เพราะหัวหน้าพรรคจะมีโควต้าเพิ่มในการเสนอรองหัวหน้าพรรค จาก 3 คนเป็น 5 คน ดังนั้น จะทำให้โครงสร้างใหม่มีรองหัวหน้าพรรค 10 คน รวมรองหัวหน้าพรรครายภาคด้วย ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และคณะกรรมการปฏิบัติงานในพื้นที่จะมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกับส่วนกลาง รับทราบความต้องการของประชาชนอย่างใกล้ชิด ตอบสนองประชาชนได้อย่างทันท่วงที จากนี้จะให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาเรื่องข้อบังคับพรรคให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าว เพราะสมาชิกพรรค กรรมการบริหารพรรค ต้องการปฏิรูป ไม่ใช่เกิดจากการกดดันจากใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความต้องการของพรรคที่จะปรับปรุงตัวเองให้เติบโต ควบคู่กับการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าไม่มีการนำเรื่องปผรับโครงสร้างเข้าที่ประชุมส.ส.พรรค ซึ่งขณะนี้ได้ส่งโครงสร้างล่าสุดไปยังคณะที่ปรึกษากฏหมายของพรรคเพื่อทำการร่างข้อบังคับใหม่ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่เปลี่ยนไป เมื่อตรวจสอบเสร็จก็จะส่งกลับมาที่คณะกรรมการบริหารอีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อตรวจสบความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นจะมีการเรียกประชุมร่วมกับ ส.ส.ก่อนที่จะนำไปสู่การเรียกประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อดำเนินการตามข้อบังคับใหม่ต่อไป
ได้สอบถามไปยังคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ถึงความเป็นไปได้ที่จะให้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ควบคู่ไปกับการรับรองข้อบังคับพรรคได้เลยหรือไม่ เบื้องต้น ได้รับการยืนยันจากกกต.ว่าสามารถทำได้ เพราะไม่มีกฏหมายข้อใดบัญญัติไว้ว่า ข้อบังคับพรรคต้องได้รับการรับรองจาก กกต.ก่อน แต่จะประสานไปยัง กกต.เพื่อขอเอกสารยืนยันอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมส.ส.บางคนได้ให้ความเห็นว่าการแสดงความเห็นต่อสาธารณะว่า เป็นเรื่องอิสระ และสิทธิ์ของบุคคลจริง แต่ต้องระมัดระวังในการทำให้การสื่อสารกลับมาทำให้พรรคเสียหาย หรือเกิดความเข้าใจผิดได้ โดยได้ย้ำให้ทุกคนระมัดระวังในการใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพราะแม้จะเป็นสิทธิ์ส่วนตัว แต่เมื่อยังอยู่ในนามสมาชิกพรรค รวมถึงหากเป็นข้อความดังกล่าวมีการพาดพิงมาถึงพรรค พรรคก็จะถูกนำไปเชื่อมโยงจนเกิดเสียงวิจารณ์ทางไม่ดีในอนาคตได้
ยืนยันด้วยว่าท่าทีของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง ทั้งในที่ประชุมกก.บห.และ ในที่ประชุมส.ส.พรรค ไมได้แสดงท่าทีเป็นลบ หรือสร้างความขัดแย้ง และยังเห็นด้วยในทุกกรณี ต่อมติที่เป็นเอกฉันท์ แต่การจะแสดงออกอย่างไรถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เห็นชอบพร้อมกันทั้งพรรค ส่วนกรณีที่ระบุถึงปัญหาความขัดแย้งถึงขั้นนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคจะลาออก ทางนายเฉลิมชัยเองไม่ได้แสดงความเห็นนี้ในที่ประชุม เพียงแต่พูดว่า ไม่ทราบว่านายอลงกรณ์ไปทวิตเรื่องนี้ ไม่ได้ให้ความเห็นในรายละเอียดที่นายอลงกรณ์ระบุ เพียงแต่เห็นว่า การปฎิรูปครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพรรคให้มีความเข้มแข็งที่สุดในการต่อสู้ต่อไป และยังเห็นด้วยกับแนวทางนี้ทุกประการ และพร้อมที่จะยอมรับต่อการปฎิรูปที่จะเกิดขึ้น
ส่วนที่มีการมองว่าโครงสร้างใหม่มีการมอบอำนาจให้กับหัวหน้าพรรคมากขึ้น หากในอนาคตมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคที่ไม่อยู่ในหลักจะทำให้พรรคเดินต่อไปได้หรือไม่ โฆษกพรรคกล่าวว่า เท่าที่ดูในรายละเอียด ถือเป็นการให้อำนาจที่พอสมควรกับผู้บริหารพรรค เพราะยังมีคณะกรรมการบริหารพรรคถึง 7 คน จากเดิมมี3คนที่ได้รับการโหวตจากที่ประชุมใหญ่ดังนั้น การคานอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับที่ประชุมใหญ่ และสภาที่ปรึกษา ถือว่ามีการวางระบบที่รัดกุมพอสมควร แต่การมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับหัวหน้าพรรค ถือเป็นจุดหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งต่อการบริหารงานในอนาคตได้ ซึ่งเมื่อข้อบังคับผ่านมติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบันจะพ้นตำแหน่งโดยปริยาย เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามข้อบังคับพรรคใหม่ และมั่นใจว่า หากได้โครงสร้างใหม่ที่ดีขึ้น จะสามารถสู้การเลือกตั้งกับพรรคเพื่อไทยได้
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ว่า จากข่าวที่ออกมาสรุปได้ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ลงมือปฏิรูปนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี เพราะทราบว่า มีการรุมยำ และนายอลงกรณ์ ก็ระบุว่าจะไม่ทวิต ข้อความวิจารณ์พรรค ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับการกระชับอำนาจ การนำพรรคเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากขึ้น ประเมินได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ตกผลึกแล้วว่า จะเอาแนวทางนี้สำหรับการโค่นล้มรัฐบาล เพราะการกระชับอำนาจให้นายอภิสิทธิ์ หมายความว่าจากนี้ไปการขับเคลื่อนพรรคจะเป็นไปตามแนวทางของนายอภิสิทธิ์ เช่น ในสภาจะมีการเล่นเกมความวุ่นวาย นอกสภาประสานมวลชนต่าง ๆ เพื่อเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาล
ทั้งนี้ คิดว่าคนพรรคประชาธิปัตย์ เห็นตรงกันว่าหากให้รัฐบาลอยู่จนครบวาระ 4 ปี คดีความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปี 53 ของ นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี คงไปไกล ถ้าลงสนามเลือกตั้งตอนนั้น อาจเป็นได้ที่หัวหน้าพรรคเป็นผู้ต้องหา ดังนั้นจึงมีความบีบคั้นมาก ต้องหาทางเปลี่ยนเกมทางการเมือง การปฏิรูปที่พูดกันจึงไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง ตรงกันข้ามเป็นการตอกย้ำว่าแนวทางหลังจากนี้ จะทำให้บรรยากาศทางการเมืองเข้มข้นขึ้น เพราะเดินตามนายอภิสิทธิ์ เต็มตัว ดังนั้นอยากเรียกร้องพรรคประชาธิปัตย์ ว่าในขณะที่คนกำลังตื่นตัวกับสถานการณ์การเมือง ช่วยแถลงให้ประชาชนทราบว่าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นร้องกับองค์กรอิสระกี่เรื่อง กี่หน่วยงาน ประชาชนจะได้ทราบว่ามีพรรคการเมืองจ้องลุ้นหวยองค์กรอิสระอยู่ตลอด แล้วทำเหมือนว่าคณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหน่วยขึ้นตรงของประชาธิปัตย์ที่มีอะไรแล้วไปยื่นตรงนั้น แล้วก็รอลุ้นกันตลอด
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจ ต่อนายอลงกรณ์ ที่ความพยายามจะปฏิรูปพรรคอีกครั้ง ล้มไม่เป็นท่า ไม่มีผลการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เชื่อว่า คนไทยทั้งประเทศ ยังอยากให้นายอลงกรณ์ พยายามที่จะปฏิรูปพรรคต่อไป เพื่อจะนำพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นที่พึ่งที่หวังของประชาชนได้บ้าง เพราะแนวทางของนายอภิสิทธิ์ น่าจะเป็นแนว บอยคอต เป็นหลัก คือ พยายามกระชับอำนาจในกลุ่มเดอะบอยภายในพรรคโดยเบ็ดเสร็จมากขึ้น ไม่ฟังผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งแนวทางของกลุ่มเดอะบอยในพรรคและนายอภิสิทธิ์ น่าจะสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับความพยายามจะปฏิรูปพรรคของนายอลงกรณ์ ที่ถึงขั้นประกาศว่า เจ็บตัวก็ยอม งานนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่านายอลงกรณ์ได้เจ็บตัวสมใจ เพราะแนวทางของกลุ่มอำนาจนำในพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ น่าจะเน้นการเมือง 2 ระบบ คือ ระบบรัฐสภา และ ระบบฟุตบาธ มีการบ่มเพาะความรุนแรง ดังนั้น แม้นายอลงกรณ์จะเจ็บตัวอีกกี่ครั้ง แต่ประชาชนอยากให้ สู้ต่อไป อย่ายอมแพ้