อนุป.ป.ช.ชงชุดใหญ่ พิจารณา TOR รถเมล์ NGV ส่อทุจริต หมกความเห็นป.ป.ช.ไม่เผยแพร่ต่อสาธารณะ แสดงความไม่โปร่งใสเร่งรีบเปิดประมูล ห่วงเป็นต้นแบบประมูลโครงการ 2 ลล.ฉบับโกงเบ็ดเสร็จ “อู่ต่อรถเอกชน”แฉสุดเอื้อประโยชน์เอกชน
นายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวังโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า หลังจากมีการประกาศร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลงเวปไซด์อนุฯป.ป.ช.ได้ตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมแสดงความคิดเห็นในหลายประเด็นที่เห็นว่าเข้าข่ายไม่เป็นธรรมในการเสนอราคาและคุณสมบัติที่อาจกระทบความปลอดภัยในการให้บริการ โดยได้ส่งความเห็นและข้อเสนอแนะไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แต่ไม่มีการปรับปรุงเงื่อนไขอีกทั้งไม่มีการนำความเห็นดังกล่าวเผยแพร่เพื่อให้สังคมได้รับทราบอีกด้วย
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ขสมก.มีพฤติกรรมไม่โปร่งใสและเร่งรีบในการดำเนินโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ซึ่งภายในสัปดาห์หน้า จะเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสของโครงการเข้าสู่ที่ประชุมที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะต่อไป รวมถึงตีความข้อกฎหมาย ป.ป.ช.เรื่องราคากลางและวิธีคิดราคากลางโครงการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งแม้จะเน้นเรื่องงานก่อสร้างแต่การจัดซื้อรถเมล์สามารถเปิดเผยและกำหนดที่มาราคากลางอย่างละเอียดได้เพราะไม่ได้นำเข้ารถสำเร็จรูป ซึ่งราคากลางที่ขสมก.ไม่มีรายละเอียดที่มาของราคาขัดเจตนาและวัตถุประสงค์ของระเบียบการกำหนดราคากลางของป.ป.ช.
โดยการประกาศร่างทีโออาร์รถเมล์ NGV ครั้งที่ 3 แสดงถึงความเร่งรีบเพื่อเปิดประมูลทั้งที่มีข้อท้วงติงมากมายไม่ได้รับการชี้แจงและแก้ไข ซึ่งขสมก.ควรแสดงความจริงใจด้วยการจัดประชุมหรือเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็นครั้งใหญ่เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ขณะที่การดึงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)เข้ามาร่วมตรวจสอบก็ไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึกและจะทำให้โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลายเป็นต้นแบบของการทุจริตที่ยากต่อการตรวจสอบ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะใช้เป็นโครงการนำร่องของโครงการในพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมาก
“ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการว่าถ้าอยากได้โครงการนี้ต้องจ่าย ซึ่งไม่อยากกล่าวหาแต่ไม่อยากให้มีการโกงกันมากจนเกินไป ซึ่งหลายข้อเสนอแนะจะทำให้ประหยัดงบลงเช่น ให้มีขนาดรถทั้ง 10 เมตรและ 12 เมตรเพราะรถ 10 เมตรราคาจะถูกกว่ารถ 12 เมตรหลายแสนบาทต่อคัน หรือทยอยประมูลทีละสัญญาจากที่กำหนดประมูลพร้อมกันทั้ง 8 สัญญา ทำให้ฮั้วราคายาก เป็นต้น “นายไพโรจน์กล่าว
ด้านนายอรุณ ลีธนาโชค ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ธนบุรี บัส บอดี้ จำกัด กล่าวว่า ร่างเงื่อนไขการจัดซื้อรถเมล์ NGV ที่ขสมก.ประกาศ ผ่านเวปไซด์ขสมก.และเวปไซด์กรมบัญชีกลางครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 กันยายน-3 ตุลาคมยังมีปัญหาหลายข้อ เช่น คุณลักษณะของรถโดยสารข้อ 3.2.1 ระบุว่าภาชนะต้องบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดได้ไม่น้อยกว่า 900 ลิตร
ดังนั้นพื้นห้องโดยสารจะต้องอยู่สูงจากผิวถนนประมาณ 70 ซม.และสูงกว่าฟุตบาท 50 ซม.ซึ่งกรณีที่มีทางลาดสำหรับรถคนพิการ (Wheelchair) ทางลาดต้องมีความชันไม่เกินกว่า 1 ต่อ 8 พื้นที่ไม่พอติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซต้องไปติดบนหลังคาแทนเพราะรูปแบบของตัวถังรถต้องเป็น LOW FLOOR ไม่มีบันไดขั้นที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับข้อกำหนด 10.2.2 ที่ให้ติดตั้งถังก๊าซใต้ท้องรถ ถือเป็นความเลินเล่อ สะเพร่าและไม่ใส่ใจในการกำหนดTOR
ส่วนการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของโครงคัสซี ข้อ 2.3 ไม่รัดกุมเปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ยื่นเสนอราคาที่มีโรงงานประกอบคัสซีทำการดัดแปลงคัสซีรถบรรทุกมาเป็นคัสซีรถโดยสารเฉพาะกิจสำหรับโครงการนี้ได้โดยอ้างอิงการออกแบบให้เป็นคัสซีรถโดยสารและมีมาตรฐาน ตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)กำหนดและจะต้องได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบให้เป็นคัสซีรถโดยสารจาก ขบ. ซึ่งมีตัวอย่างในการนำเอาคัสซีสองเพลาใช้แล้วจากต่างประเทศ(เชียงกง) มาตัดต่อดัดแปลงเพิ่มเพลาอีกเส้นเป็นคัสซีสามเพลา เพื่อใช้ประกอบตัวถังรถยนต์โดยสารสองชั้น ซึ่งรายละเอียดเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัยของคัสซีนั้นลำพัง ขบ.คงทำเองไม่ได้ต้องอาศัยสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น สวทช. ที่มีซอฟต์แวร์และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย และต้องยอมรับว่าข้อกำหนดมาตรฐานของ ขบ.ค่อนข้างล้าสมัย ควรควรกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นคัสซีรถยนต์โดยสารเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ(CNG)ที่เคยมีผลงานใช้มาแล้วทั้งในประเทศหรือต่างประเทศจะเหมาะสมและเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการใช้บริการว่าในอนาคตของคนกรุงเทพฯ
นายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวังโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า หลังจากมีการประกาศร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลงเวปไซด์อนุฯป.ป.ช.ได้ตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมแสดงความคิดเห็นในหลายประเด็นที่เห็นว่าเข้าข่ายไม่เป็นธรรมในการเสนอราคาและคุณสมบัติที่อาจกระทบความปลอดภัยในการให้บริการ โดยได้ส่งความเห็นและข้อเสนอแนะไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แต่ไม่มีการปรับปรุงเงื่อนไขอีกทั้งไม่มีการนำความเห็นดังกล่าวเผยแพร่เพื่อให้สังคมได้รับทราบอีกด้วย
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ขสมก.มีพฤติกรรมไม่โปร่งใสและเร่งรีบในการดำเนินโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ซึ่งภายในสัปดาห์หน้า จะเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสของโครงการเข้าสู่ที่ประชุมที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะต่อไป รวมถึงตีความข้อกฎหมาย ป.ป.ช.เรื่องราคากลางและวิธีคิดราคากลางโครงการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งแม้จะเน้นเรื่องงานก่อสร้างแต่การจัดซื้อรถเมล์สามารถเปิดเผยและกำหนดที่มาราคากลางอย่างละเอียดได้เพราะไม่ได้นำเข้ารถสำเร็จรูป ซึ่งราคากลางที่ขสมก.ไม่มีรายละเอียดที่มาของราคาขัดเจตนาและวัตถุประสงค์ของระเบียบการกำหนดราคากลางของป.ป.ช.
โดยการประกาศร่างทีโออาร์รถเมล์ NGV ครั้งที่ 3 แสดงถึงความเร่งรีบเพื่อเปิดประมูลทั้งที่มีข้อท้วงติงมากมายไม่ได้รับการชี้แจงและแก้ไข ซึ่งขสมก.ควรแสดงความจริงใจด้วยการจัดประชุมหรือเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็นครั้งใหญ่เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ขณะที่การดึงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)เข้ามาร่วมตรวจสอบก็ไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึกและจะทำให้โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลายเป็นต้นแบบของการทุจริตที่ยากต่อการตรวจสอบ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะใช้เป็นโครงการนำร่องของโครงการในพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมาก
“ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการว่าถ้าอยากได้โครงการนี้ต้องจ่าย ซึ่งไม่อยากกล่าวหาแต่ไม่อยากให้มีการโกงกันมากจนเกินไป ซึ่งหลายข้อเสนอแนะจะทำให้ประหยัดงบลงเช่น ให้มีขนาดรถทั้ง 10 เมตรและ 12 เมตรเพราะรถ 10 เมตรราคาจะถูกกว่ารถ 12 เมตรหลายแสนบาทต่อคัน หรือทยอยประมูลทีละสัญญาจากที่กำหนดประมูลพร้อมกันทั้ง 8 สัญญา ทำให้ฮั้วราคายาก เป็นต้น “นายไพโรจน์กล่าว
ด้านนายอรุณ ลีธนาโชค ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ธนบุรี บัส บอดี้ จำกัด กล่าวว่า ร่างเงื่อนไขการจัดซื้อรถเมล์ NGV ที่ขสมก.ประกาศ ผ่านเวปไซด์ขสมก.และเวปไซด์กรมบัญชีกลางครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 กันยายน-3 ตุลาคมยังมีปัญหาหลายข้อ เช่น คุณลักษณะของรถโดยสารข้อ 3.2.1 ระบุว่าภาชนะต้องบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดได้ไม่น้อยกว่า 900 ลิตร
ดังนั้นพื้นห้องโดยสารจะต้องอยู่สูงจากผิวถนนประมาณ 70 ซม.และสูงกว่าฟุตบาท 50 ซม.ซึ่งกรณีที่มีทางลาดสำหรับรถคนพิการ (Wheelchair) ทางลาดต้องมีความชันไม่เกินกว่า 1 ต่อ 8 พื้นที่ไม่พอติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซต้องไปติดบนหลังคาแทนเพราะรูปแบบของตัวถังรถต้องเป็น LOW FLOOR ไม่มีบันไดขั้นที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับข้อกำหนด 10.2.2 ที่ให้ติดตั้งถังก๊าซใต้ท้องรถ ถือเป็นความเลินเล่อ สะเพร่าและไม่ใส่ใจในการกำหนดTOR
ส่วนการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของโครงคัสซี ข้อ 2.3 ไม่รัดกุมเปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ยื่นเสนอราคาที่มีโรงงานประกอบคัสซีทำการดัดแปลงคัสซีรถบรรทุกมาเป็นคัสซีรถโดยสารเฉพาะกิจสำหรับโครงการนี้ได้โดยอ้างอิงการออกแบบให้เป็นคัสซีรถโดยสารและมีมาตรฐาน ตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)กำหนดและจะต้องได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบให้เป็นคัสซีรถโดยสารจาก ขบ. ซึ่งมีตัวอย่างในการนำเอาคัสซีสองเพลาใช้แล้วจากต่างประเทศ(เชียงกง) มาตัดต่อดัดแปลงเพิ่มเพลาอีกเส้นเป็นคัสซีสามเพลา เพื่อใช้ประกอบตัวถังรถยนต์โดยสารสองชั้น ซึ่งรายละเอียดเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัยของคัสซีนั้นลำพัง ขบ.คงทำเองไม่ได้ต้องอาศัยสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น สวทช. ที่มีซอฟต์แวร์และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย และต้องยอมรับว่าข้อกำหนดมาตรฐานของ ขบ.ค่อนข้างล้าสมัย ควรควรกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นคัสซีรถยนต์โดยสารเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ(CNG)ที่เคยมีผลงานใช้มาแล้วทั้งในประเทศหรือต่างประเทศจะเหมาะสมและเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการใช้บริการว่าในอนาคตของคนกรุงเทพฯ