**มาๆ หายๆ แต่มีความพยายามอยู่ตลอดเวลา สำหรับแนววคิดผุดกระทรวงลำดับที่ 21 ของประเทศไทย อย่าง“กระทรวงน้ำ”ที่มีการพูดถึงกันมานมนาน หวังจะให้มาดูแลจัดการเกี่ยวกับน้ำในประเทศ และถูกพูดกันถี่ขึ้นเรื่อยๆหลังผ่านพ้นเหตุการณ์มหาอุทกภัยถล่มกรุงเมื่อปี 2554
หลังจากนั้นก็เงียบหายไม่ค่อยหวือหวาอะไร มีข่าวบ้าง ไม่มีบ้าง จนหลายคนคิดว่าเป็นเพียงแนวคิดสวยหรู จับต้องไม่ได้ กระทั่งต้องชะเง้อดู เพราะล่าสุด นาบยกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดันมอบหมายในที่ประชุมครม. ให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ไปศึกษา ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงน้ำมา
พอ “ปูกรรเชียง”ออกมาแอ็คชั่นอย่างเป็นทางการแบบนี้ จากที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ ต้องรีบหันขวับกลับมามองที่“กระทรวงน้ำ”เพราะจับอาการคำบัญชาการดังกล่าว แทบไม่ต่างอะไรจากการส่งสัญญาณตีธงเร่ง "ปั้นฝัน" ให้เป็นจริงให้จงได้
ดูกันตามสภาพ ที่อยู่ๆ มาเล่นบทอยากได้กระทรวงน้ำ กันดื้อๆ ชั่วโมงนี้ หากมองดูสถานการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศ ที่หลายๆ พื้นที่กำลังประสบชะตากรรมอย่างหนัก อาจมองได้ว่ารัฐบาลเกิดอาการอยากอิงกระแส ให้พี่น้องประชาชนเห็นว่า มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาน้ำแบบเป็นจริงเป็นจัง ไม่ได้อยู่เฉย
และถ้าเบื่อปัญหาซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นทุกปีแบบนี้ ควรหันมาสนับสนุนอภิมหาโปรเจกต์อย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
อีกนัยหนึ่งที่ต้องออกมาชู กระทรวงน้ำ ตอนนี้ เป็นเพราะเรื่องของ“น้ำท่วม - น้ำแล้ง”ได้กลายมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เสียแล้ว ตั้งแต่ผ่านพ้นวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อ 2 ปีก่อน ชนิดไม่ว่ารัฐบาลจะทำประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว จำเป็นต้องรับชะตากรรมด้วยตัวเองทั้งสิ้นในฐานะโต้โผใหญ่
เมื่อเรื่องน้ำได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของหน้าตา หรืออีกปัจจัยที่วัดระดับฝีมือได้ รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องทุ่มให้ดูเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด และรีบขจัดตัวปัญหาให้ได้ เพราะขืนยังปล่อยให้การแก้ไขปัญหาเป็นแบบสภาพเดิมคือ ไม่มีเอกภาพ ต่างคนต่างทำงาน การแก้ไขปัญหาล่าช้าแล้ว นอกจากจะโดนโจมตีว่าไร้ฝีมือแล้ว ยังจะถูกสาดใส่ด้วยว่า ดีแต่ผลาญงบไปวันๆ
ต้องไม่ลืมว่า ตลอดระยะเวลาสองปีของการแก้ไขปัญหาน้ำของ “พญาปลอด - ปลอดประสพ สุรัสวดี”นอกจากงานอีเวนต์ถลุงงบสร้างภาพแล้ว การทำงานของกบอ. แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากช่วงที่ก่อนน้ำจะถล่มกรุง เมื่อปลายปี 2554 เลยแม้แต่นิด
การ“บูรณาการ”หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ มารวมศูนย์อยู่ที่ กบอ. แทบจะเป็นเพียงคำสวยหรู เพราะสภาพความเป็นจริง มันออกมาในทางตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
เห็นได้จากเวลาเกิดปัญหาน้ำท่วมแต่ละครั้ง มักจะมีการปล่อยข่าวออกมาจากบรรดาลิ่วล้อ“นายใหญ่”อยู่เสมอว่า ต้นตอที่แก้ไม่ได้ เป็นเพราะพรรคเพื่อไทย ไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารจัดการน้ำ
โดยเฉพาะ “กรมชลประทาน”สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีสั่งการอย่าง “บรรหาร ศิลปอาชา" เจ้าของพรรคชาติไทยพัฒนาตัวจริง
ที่ผ่านมาบรรดาสมุนในพรรคเพื่อไทย พยายามเดินเกม “ทวงคืน" กระทรวงเกษตรฯ ตลอดมา รวมถึงตัว“พญาปลอด”เองด้วย แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยังมีลูกเกรงใจกันระหว่าง "นายใหญ่" กับ"หลงจู๊เติ้ง" อยู่
**บ่อยครั้ง ที่“พญาปลอด”โดน “หลงจู๊เติ้ง”ด่าผ่านสื่อแบบไม่ไว้หน้า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ที่ตัวเอง“แข็ง”กว่าเยอะ
เมื่อไม่สามารถหักหาญน้ำใจกันได้ วิธีเดียวที่จะทำให้ กรมชลประทาน มาอยู่ในกำมือพรรคเพื่อไทยได้ คือ ตั้งกระทรวงน้ำ ขึ้นมาเพื่อดูดเอากรม กองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมด มาอยู่ในการดูแลแบบอัตโนมัติ
แต่ก็ใช่ว่าจะราบรื่นดังใจคิด เพราะ “หลงจู๊เติ้ง” ก็ยังเป็น จงอางหวงไข่ เพราะกรมชลประทาน เปรียบเสมือนหัวใจของกระทรวงเกษตรฯ หากขาดไปก็แทบจะหมดราคา
** จึงค้างเติ่งกันอยู่เรื่อยๆ แต่พอ “ปูกรรเชียง”ออกมาโบกธงเขียว ทุกสายตาจึงจ้องไปที่ บรรหาร ว่า จะยอมให้หรือไม่
แต่จับทิศทาง“ปูกรรเชียง”ที่ไม่เร่งรีบเท่าไร เพียงแต่ให้เริ่มทำกันอย่างจริงจัง ย่อมอาจมองได้ว่า เวลาต่อจากนี้ คงต้องเริ่มปฏิบัติการเคลียร์กันเพื่อขอแต่โดยดี
ขณะที่เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงน้ำ อันนั้น ไม่ใช่ปัญหา เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้ข่าวคราวเรื่อง กระทรวงน้ำ ดูจะเงียบไม่มีความเคลื่อนไหว แต่แท้จริงแล้ว “พญาปลอด”และกบอ. ได้ซุ่ม ยกร่างกันมาตลอด เหลือแค่รอทางลมเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้หน่วยงานต่างๆ ได้ศึกษากันมาแล้วไม่รู้กี่ฉบับ หากจะนำมาคลุกเคล้ากัน ก็ใช้เวลาแค่อึดใจเดียว
เพราะเอาเข้าจริงๆ กระทรวงน้ำ ไม่ได้มีปัญหาเรื่องรายละเอียดกฎหมาย แต่ปัญหาอยู่ที่ กระทรวงเกษตรฯ ที่อยู่ในอุ้งมือบรรหาร ไม่ยอมปล่อยกรมชลประทาน ออกมาเท่านั้นเอง **ตามสภาพเลยต้องรอดูว่า สุดท้าย “ปลาไหลตัวพ่อ”จะว่าอย่างไร
อย่างไรก็ตาม นอกจากการบริหารจัดการน้ำแบบเบ็ดเสร็จ อีกเป้าหมายที่ต้องเร่งสานฝัน กระทรวงน้ำ ให้เป็นตัวเป็นตนให้เร็วที่สุด ก็เนื่องจากโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ยังต้องการหน่วยงานที่มีศักดิ์ และสิทธิ์ มากกว่า “กบอ.”มาบริหารจัดการได้อย่างชอบธรรม หรือง่ายๆ คือ ต้องการ กระทรวงน้ำ มาเป็นศูนย์รวมอำนาจ เพื่อบริหารทั้งงบประมาณ และโครงการขนาดใหญ่ด้วยตัวเอง
ยิ่งมีงบประมาณที่กองพะเนินจากแต่ละหน่วยงานเกรดดับเบิ้ลเอ ที่จะถูกดึงดูดเข้ามา ยังไม่นับรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่ กบอ. มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งต้องเร่งปั้นฝันกันให้เร็วที่สุด
**และงานนี้ คนที่กระเหี้ยนกระหือรือมากที่สุดก็หนีไม่พ้น “พญาปลอด”ที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้้ำ คนแรกของประเทศไทยใจจะขาด
ยิ่งหากในบั้นปลายได้รับไฟเขียวให้ดันกันได้แบบทางโล่ง ทีนี้ได้กร่างคับประเทศกว่านี้แน่
อย่างไรก็ดี ตามสภาพรวมๆ การขับเคลื่อนเรื่อง กระทรวงน้ำ ของรัฐบาลหนนี้ ยังดูพุ่งเป้าไปที่เรื่องบริหารขุมทรัพย์ และอภิมหาโปรเจกต์เป็นหลักมากกว่า โดยมีเรื่องความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน ที่ต้องพบชะตากรรมน้ำท่วมซ้ำซาก มาฉากบังหน้าตามเคย
** เรียกว่า เป็นความต้องการของตัวเองล้วนๆ !!
หลังจากนั้นก็เงียบหายไม่ค่อยหวือหวาอะไร มีข่าวบ้าง ไม่มีบ้าง จนหลายคนคิดว่าเป็นเพียงแนวคิดสวยหรู จับต้องไม่ได้ กระทั่งต้องชะเง้อดู เพราะล่าสุด นาบยกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดันมอบหมายในที่ประชุมครม. ให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ไปศึกษา ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงน้ำมา
พอ “ปูกรรเชียง”ออกมาแอ็คชั่นอย่างเป็นทางการแบบนี้ จากที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ ต้องรีบหันขวับกลับมามองที่“กระทรวงน้ำ”เพราะจับอาการคำบัญชาการดังกล่าว แทบไม่ต่างอะไรจากการส่งสัญญาณตีธงเร่ง "ปั้นฝัน" ให้เป็นจริงให้จงได้
ดูกันตามสภาพ ที่อยู่ๆ มาเล่นบทอยากได้กระทรวงน้ำ กันดื้อๆ ชั่วโมงนี้ หากมองดูสถานการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศ ที่หลายๆ พื้นที่กำลังประสบชะตากรรมอย่างหนัก อาจมองได้ว่ารัฐบาลเกิดอาการอยากอิงกระแส ให้พี่น้องประชาชนเห็นว่า มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาน้ำแบบเป็นจริงเป็นจัง ไม่ได้อยู่เฉย
และถ้าเบื่อปัญหาซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นทุกปีแบบนี้ ควรหันมาสนับสนุนอภิมหาโปรเจกต์อย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
อีกนัยหนึ่งที่ต้องออกมาชู กระทรวงน้ำ ตอนนี้ เป็นเพราะเรื่องของ“น้ำท่วม - น้ำแล้ง”ได้กลายมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เสียแล้ว ตั้งแต่ผ่านพ้นวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อ 2 ปีก่อน ชนิดไม่ว่ารัฐบาลจะทำประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว จำเป็นต้องรับชะตากรรมด้วยตัวเองทั้งสิ้นในฐานะโต้โผใหญ่
เมื่อเรื่องน้ำได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของหน้าตา หรืออีกปัจจัยที่วัดระดับฝีมือได้ รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องทุ่มให้ดูเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด และรีบขจัดตัวปัญหาให้ได้ เพราะขืนยังปล่อยให้การแก้ไขปัญหาเป็นแบบสภาพเดิมคือ ไม่มีเอกภาพ ต่างคนต่างทำงาน การแก้ไขปัญหาล่าช้าแล้ว นอกจากจะโดนโจมตีว่าไร้ฝีมือแล้ว ยังจะถูกสาดใส่ด้วยว่า ดีแต่ผลาญงบไปวันๆ
ต้องไม่ลืมว่า ตลอดระยะเวลาสองปีของการแก้ไขปัญหาน้ำของ “พญาปลอด - ปลอดประสพ สุรัสวดี”นอกจากงานอีเวนต์ถลุงงบสร้างภาพแล้ว การทำงานของกบอ. แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากช่วงที่ก่อนน้ำจะถล่มกรุง เมื่อปลายปี 2554 เลยแม้แต่นิด
การ“บูรณาการ”หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ มารวมศูนย์อยู่ที่ กบอ. แทบจะเป็นเพียงคำสวยหรู เพราะสภาพความเป็นจริง มันออกมาในทางตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
เห็นได้จากเวลาเกิดปัญหาน้ำท่วมแต่ละครั้ง มักจะมีการปล่อยข่าวออกมาจากบรรดาลิ่วล้อ“นายใหญ่”อยู่เสมอว่า ต้นตอที่แก้ไม่ได้ เป็นเพราะพรรคเพื่อไทย ไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารจัดการน้ำ
โดยเฉพาะ “กรมชลประทาน”สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีสั่งการอย่าง “บรรหาร ศิลปอาชา" เจ้าของพรรคชาติไทยพัฒนาตัวจริง
ที่ผ่านมาบรรดาสมุนในพรรคเพื่อไทย พยายามเดินเกม “ทวงคืน" กระทรวงเกษตรฯ ตลอดมา รวมถึงตัว“พญาปลอด”เองด้วย แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยังมีลูกเกรงใจกันระหว่าง "นายใหญ่" กับ"หลงจู๊เติ้ง" อยู่
**บ่อยครั้ง ที่“พญาปลอด”โดน “หลงจู๊เติ้ง”ด่าผ่านสื่อแบบไม่ไว้หน้า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ที่ตัวเอง“แข็ง”กว่าเยอะ
เมื่อไม่สามารถหักหาญน้ำใจกันได้ วิธีเดียวที่จะทำให้ กรมชลประทาน มาอยู่ในกำมือพรรคเพื่อไทยได้ คือ ตั้งกระทรวงน้ำ ขึ้นมาเพื่อดูดเอากรม กองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมด มาอยู่ในการดูแลแบบอัตโนมัติ
แต่ก็ใช่ว่าจะราบรื่นดังใจคิด เพราะ “หลงจู๊เติ้ง” ก็ยังเป็น จงอางหวงไข่ เพราะกรมชลประทาน เปรียบเสมือนหัวใจของกระทรวงเกษตรฯ หากขาดไปก็แทบจะหมดราคา
** จึงค้างเติ่งกันอยู่เรื่อยๆ แต่พอ “ปูกรรเชียง”ออกมาโบกธงเขียว ทุกสายตาจึงจ้องไปที่ บรรหาร ว่า จะยอมให้หรือไม่
แต่จับทิศทาง“ปูกรรเชียง”ที่ไม่เร่งรีบเท่าไร เพียงแต่ให้เริ่มทำกันอย่างจริงจัง ย่อมอาจมองได้ว่า เวลาต่อจากนี้ คงต้องเริ่มปฏิบัติการเคลียร์กันเพื่อขอแต่โดยดี
ขณะที่เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงน้ำ อันนั้น ไม่ใช่ปัญหา เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้ข่าวคราวเรื่อง กระทรวงน้ำ ดูจะเงียบไม่มีความเคลื่อนไหว แต่แท้จริงแล้ว “พญาปลอด”และกบอ. ได้ซุ่ม ยกร่างกันมาตลอด เหลือแค่รอทางลมเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้หน่วยงานต่างๆ ได้ศึกษากันมาแล้วไม่รู้กี่ฉบับ หากจะนำมาคลุกเคล้ากัน ก็ใช้เวลาแค่อึดใจเดียว
เพราะเอาเข้าจริงๆ กระทรวงน้ำ ไม่ได้มีปัญหาเรื่องรายละเอียดกฎหมาย แต่ปัญหาอยู่ที่ กระทรวงเกษตรฯ ที่อยู่ในอุ้งมือบรรหาร ไม่ยอมปล่อยกรมชลประทาน ออกมาเท่านั้นเอง **ตามสภาพเลยต้องรอดูว่า สุดท้าย “ปลาไหลตัวพ่อ”จะว่าอย่างไร
อย่างไรก็ตาม นอกจากการบริหารจัดการน้ำแบบเบ็ดเสร็จ อีกเป้าหมายที่ต้องเร่งสานฝัน กระทรวงน้ำ ให้เป็นตัวเป็นตนให้เร็วที่สุด ก็เนื่องจากโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ยังต้องการหน่วยงานที่มีศักดิ์ และสิทธิ์ มากกว่า “กบอ.”มาบริหารจัดการได้อย่างชอบธรรม หรือง่ายๆ คือ ต้องการ กระทรวงน้ำ มาเป็นศูนย์รวมอำนาจ เพื่อบริหารทั้งงบประมาณ และโครงการขนาดใหญ่ด้วยตัวเอง
ยิ่งมีงบประมาณที่กองพะเนินจากแต่ละหน่วยงานเกรดดับเบิ้ลเอ ที่จะถูกดึงดูดเข้ามา ยังไม่นับรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่ กบอ. มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งต้องเร่งปั้นฝันกันให้เร็วที่สุด
**และงานนี้ คนที่กระเหี้ยนกระหือรือมากที่สุดก็หนีไม่พ้น “พญาปลอด”ที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้้ำ คนแรกของประเทศไทยใจจะขาด
ยิ่งหากในบั้นปลายได้รับไฟเขียวให้ดันกันได้แบบทางโล่ง ทีนี้ได้กร่างคับประเทศกว่านี้แน่
อย่างไรก็ดี ตามสภาพรวมๆ การขับเคลื่อนเรื่อง กระทรวงน้ำ ของรัฐบาลหนนี้ ยังดูพุ่งเป้าไปที่เรื่องบริหารขุมทรัพย์ และอภิมหาโปรเจกต์เป็นหลักมากกว่า โดยมีเรื่องความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน ที่ต้องพบชะตากรรมน้ำท่วมซ้ำซาก มาฉากบังหน้าตามเคย
** เรียกว่า เป็นความต้องการของตัวเองล้วนๆ !!