ASTVผู้จัดการรายวัน-ในหลวง เชื้อพระวงศ์ พระราชทานถุงยังชีพประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม กรมอุตุฯ เตือน 37 จังหวัด มรสุมเข้า ให้ระวังฝนตกหนัก "บรรหาร"ไปดูเขื่อนเจ้าพระยา กำชับระบายน้ำ มั่นใจไม่ซ้ำรอยปี 54 เผยหลายจังหวัดยังอ่วม อ่างทองน้ำทะลัก อยุธยาเรือบรรทุกดินจม ปราจีนบุรีถูกน้ำตัดขาดหลายหมู่บ้าน อุบลฯ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยังท่วม ด้าน 4 นิคมอุตสาหกรรมมั่นใจปีนี้ไม่ท่วม ปภ.สรุปล่าสุดเจออุทกภัย 27 จังหวัด ประชาชนเดือดร้อน 1.79 ล้านคน พื้นที่เกษตรเสียหาย 6.59 แสนไร่
วานนี้ (25 ก.ย.) กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่องบริเวณความกดอากาศสูง กำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้วันที่ 25-27 ก.ย.2556 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
ส่วนช่วงวันที่ 28-29 ก.ย.2556 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณ จ.กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภาวะอากาศที่เกิดขึ้นไว้ด้วย
อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ช่วงวันที่ 30 ก.ย.- 1 ต.ค.2556 ซึ่งจะส่งผลให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนัก
***ในหลวงพระราชทานถุงยังชีพ
วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำถุงยังชีพพระราชทาน มามอบให้ผู้ประสบภัยที่วัดท่าดินแดง อ.ผักไห่ และที่ต.หัวเวียง อ.เสนา 3,700 ชุด ส่วนที่วัดกอไผ่ อ.บางบาล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ นำถุงชีพพระราชทานมามอบให้ประชาชน 1,000 ชุด
ส่วนที่วัดพระขาว อ.บางบาล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์นำถุงชีพพระราชทาน มามอบให้ผู้ประสบภัย 1,100 ชุด
***"บรรหาร"มั่นใจไม่ซ้ำรอยปี54
ที่สำนักชลประทานที่ 12 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังรับฟังการบรรยายจากนายฎรงค์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 12 ว่า น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นช่วงนี้มาจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ต้องเฝ้าระวังแม่น้ำสะแกกรัง ที่ปัจจุบันมีอัตราการไหล 2,400 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวินาที ต้องควบคุมไม่ให้เกิน 3,600 ลบ.ม. เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำออก 2,200 ลบ.ม. ต้องไม่ให้เกิน 2,840 ลบ.ม. และที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 1,978 ลบ.ม. ต้องไม่ให้เกิน 3,600 ลบ.ม. เพื่อไม่ให้กระทบกับตัวเมือง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังเดือนก.ย. จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สำนักชลประทานที่ 12 ดูแลสภาพประตูระบายน้ำ และเก็บขยะ วัชพืช เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแล้ว
ต่อมานายบรรหาร ลงเรือติดตามสถานการณ์น้ำตั้งแต่สะพานวัดก่อไผ่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงคลองโผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง และต่อไปยังประตูระบายน้ำวัดกระสังข์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา จากนั้นให้สัมภาษณ์ว่า มาดูเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดเหตุเหมือนปี 2554
***อ่างทองคันดินพังน้ำไหลท่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อ่างทอง ว่า น้ำได้กัดเซาะคันดินจุดก่อสร้างเขื่อนเรียงหิน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่หน้าบ้านเลขที่ 5 หมู่ 6 ต.บ้านแห อ.เมือง จนทรุดพังเป็นแนวยาว น้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนหมู่ 5 และ 6 กว่า 100 หลัง สูงกว่า 30 เซนติเมตร ชาวบ้านเก็บของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น ขณะที่บางบ้านมีแต่ผู้สูงอายุ ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองต้องเข้าไปช่วยย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
***อยุธยายังอ่วมต้องใช้เรือสัญจร
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายเรวัติ ประสงค์ นายอำเภอเสนา กล่าวว่า ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง 7 ตำบล กว่า 4,000 หลังเดือดร้อนจากน้ำท่วมสูง ต้องใช้เรือสัญจรเข้า-ออกหมู่บ้าน ส่วนประตูน้ำปากคลองเจ้าเจ็ด ได้เปิดบานประตูสูง 1 เมตร เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมตลาดบ้านแพน ซึ่งอำเภอได้สร้างสะพานไม้ใช้เดินเข้า-ออกตลาดตลอด 4 กิโลเมตร
เวลา 13.00 น. เกิดเหตุเรือบรรทุกดินจมกลางแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ 3 ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา ไปตรวจสอบพบว่าที่เกิดเหตุมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ลักษณะเป็นน้ำวน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "น้ำวนนรก" เพราะมีเรือจมทุกปีช่วงน้ำท่วม
ล่าสุด ชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เร่งเปิดประตูระบายน้ำผันน้ำเข้าทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้วในอ.บางบาล และอ.ผักไห่ ขณะเดียวกันจังหวัดกำชับให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แจ้งประชาชนทั้งสองทุ่งถึงความจำเป็นว่าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย
***ปราจีนบุรีหลายหมูบ้านถูกตัดขาด
ที่ จ.ปราจีนบุรี ยังมีพื้นที่น้ำท่วม 5 อำเภอจาก 7 อำเภอ จุดวิกฤติ คือ อ.กบินทร์บุรี และอ.ศรีมหาโพธิ โดยนายวิทวัฒน์ นาแรมงาม รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ย่านรี อ.กบินทร์บุรี กล่าวว่า หลายหมู่บ้านถนนถูกน้ำป่าตัดขาด จุดแรกบ้านท่าทองดำ หมู่ 2 เชื่อมหมู่ 4 ถนนขาดยาวประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำลึกประมาณ 1 เมตร จุดที่ 2 บ้านย่านรี หมู่ 5 ถนนถูกตัดขาด 2 ช่วง ช่วงแรกกว้าง 20 เมตร น้ำลึก 1 เมตร ห่างออกไปราว 300 เมตร ถูกตัดขาด 30 เมตร น้ำลึก 1.50 เมตร ชาวบ้านกำลังก่อสร้างสะพานข้ามจุดที่ถูกดขาด
ทั้งนี้ ระดับน้ำยังสูงขึ้นต่อเนื่อง มีผู้ได้รับความเดือดร้อนกว่า 900 หลังคาเรือน ซึ่งอบต.ได้จัดรถนำถุงยังชีพพร้อมน้ำดื่ม ไปมอบให้ถึงบ้าน เพราะชาวบ้านไม่สามารถออกมารับเองได้
***ภาคอีสานประสบภัยไม่แพ้กัน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จ.อุบลราชธานี นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า จังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีน้ำท่วมแล้ว 16 อำเภอ พื้นที่ประสบภัย 67 ตำบล 2 เทศบาล 503 หมู่บ้าน อพยพ 981 ราย พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายกว่า 1.5 แสนไร่ วัด 6 แห่ง โรงเรียน 5 แห่ง บ้านเรือนถูกน้ำท่วมเสียหาย 2,040 หลัง สะพาน 14 แห่ง ถนน 81 สาย โดยเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีผู้ต้องการอพยพหนีระดับน้ำแม่น้ำมูล จึงส่งทหารไปช่วยสร้างเพิงพัก และช่วยขนย้ายสิ่งของตลอดทั้งวัน
จ.สุรินทร์ สรุปสถานการณ์ล่าสุดราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15 อำเภอ 100 ตำบล 1,132 หมู่บ้าน มีพื้นที่เฝ้าระวังอีก 3 อำเภอ 8 ตำบล 100 หมู่บ้าน โดยอำเภอที่ต้องเฝ้าระวังมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ไปตามลำห้วยเสนง ลงลำน้ำชี เพื่อไหลลงแม่น้ำมูล บริเวณวังทะลุ บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม ซึ่งจะหลากเข้าท่วมบ้านเรือนอ.จอมพระ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม ซึ่งได้แจ้งเตือนประชาชนให้เก็บทรัพย์สินขึ้นที่สูงโดยด่วนแล้ว
จ.ศรีสะเกษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชุมชนสะพานขาว อ.เมือง ซึ่งอยู่ติดกับลำห้วยสำราญ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง แต่ชุมชนศิริทรัพย์ทวีโชค ชุมชนท่าเรือ และชุมชนหนองหัวหมู ระดับยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไหลเชี่ยวกราก เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องนำเชือกมาผูกไเป็นแนวให้ชาวบ้านใช้เดินเข้า-ออกชุมชน โดยน้ำยังท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำของเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
ขณะเดียวกันน้ำที่ท่วมถนนสาย 226 อ.ห้วยทับทัน ไปอ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ลดลงจนรถยนต์สัญจรได้ตามปกติ ส่วนถนนสายอ.เมือง ไปอ.อุทุมพรพิสัย กม.ที่ 4 บ้านเพียนาม อ.เมือง ระดับน้ำเริ่มลดลงเช่นกัน รถเล็กสามารถสัญจรไปได้ แต่ไม่สะดวกเท่าที่ควร
***ทัพเรือเตรียมติดตั้งเครื่องดันน้ำ
น.อ.วิพันธุ์ ชมะโชติ รองเลขานุการกองทัพเรือ กล่าวว่า พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ สั่งการให้หน่วยต่างๆ เตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ สนับสนุนการบรรเทาทุกข์ประชาชน โดยกรมอู่ทหารเรือ จัดเครื่องผลักดันน้ำไปติดตั้งตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ขอรับการสนับสนุน 24 เครื่อง จัดกำลังพลเฝ้าประจำตามจุดต่างๆ ประกอบด้วย จ.ปราจีนบุรี 2 จุด 8 เครื่อง คลองบางเขน 6 จุด 12 เครื่อง คลองทวีวัฒนา 1 จุด 2 เครื่อง คลองพระยาราชมนตรี 1 จุด 2 เครื่อง
***กทม.ตรวจอุโมงค์ระบายน้ำ
ที่บึงพระราม 9 เขตห้วยขวาง กทม. นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกทม. ตรวจความพร้อมอุโมงค์ระบายน้ำจากคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว
นายอมรกล่าวว่า กทม.ยังกังวลเรื่องมวลน้ำเหนือขนาดใหญ่ อาจจะทำให้น้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเกิน 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที อาจจะเกินขีดความสามารถของ กทม. ที่จะรับมือได้ แต่จะพยายามระบายน้ำเต็มที่ และต้องขอให้รัฐบาลเห็นใจด้วย เพราะ กทม.เป็นเมืองหลวง หากเกิดน้ำท่วมจะส่งผลกระทบถึงภาคเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม กทม.ยังต้องการอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ให้ครบทั้ง 6 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมทั้งกทม. จะได้เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
***กั้นกระสอบทราบป้องโบราณสถาน
นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เพื่อป้องกันโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้เตรียมกระสอบทราย 50,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 20 เครื่อง ยานพาหนะ 6 คันไว้ และมอบให้ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เบื้องต้นเจ้าหน้าที่กำลังเร่งกรอกถุงทรายทำแนวป้องกันโบราณสถานที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดธรรมาราม ป้อมเพชร และหมู่บ้านโปรตุเกส
***นิคมฯ เชื่อไม่เลวร้ายเหมือนปี54
นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ได้ประเมินสถานการณ์ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค เห็นตรงกันว่าไม่เลวร้ายเหมือนปี 2554 และเทียบข้อมูลวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา กับวันเดียวกันปี 2554 พบว่าการระบายน้ำผ่านจ.พระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่ากันเกินครึ่ง
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า วันที่ 26 ก.ย. นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหา แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เพราะเสริมเขื่อนดินให้แข็งแรงไว้แล้ว และยังเตรียมคันกั้นน้ำแบบเคลื่อนที่เร็ว กั้นได้ยาวกว่า 20 กิโลเมตรไว้ อีกทั้งนักลงทุนเข้าใจแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มั่นใจว่าจะไม่ซ้ำรอยปี 2554
***ปภ.สรุปน้ำท่วมแล้ว27จังหวัด
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.2556 เกิดอุทกภัย 27 จังหวัด 172 อำเภอ 926 ตำบล 6,647 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 499,270 ครัวเรือน 1,798,270 คน บ้านเรือนเสียหาย 4,069 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 659,077 ไร่ ถนน 850 สาย สะพาน 59 แห่ง แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ภาคใต้ 1 จังหวัด เสียชีวิต 9 ราย จ.สุรินทร์ 6 ราย จ.ศรีสะเกษ 3 ราย สูญหาย 1 รายที่จ.สุรินทร์ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด คือ จ.กาญจนบุรี และจ.ชุมพร ที่เหลืออีก 25 จังหวัด เป็นน้ำป่าไหลหลากและท่วมขัง 22 จังหวัด น้ำล้นตลิ่ง 3 จังหวัด คือ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี
"แม้ปีนี้ในภาพรวมน้ำจะน้อยกว่าปี 2554 แต่ยังมีฝนและน้ำทะเลหนุน หลายพื้นที่อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใย ได้สั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำชับ ปภ. ประสานกบอ. และผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างใกล้ชิด"นายฉัตรชัยกล่าว
วานนี้ (25 ก.ย.) กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่องบริเวณความกดอากาศสูง กำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้วันที่ 25-27 ก.ย.2556 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
ส่วนช่วงวันที่ 28-29 ก.ย.2556 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณ จ.กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภาวะอากาศที่เกิดขึ้นไว้ด้วย
อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ช่วงวันที่ 30 ก.ย.- 1 ต.ค.2556 ซึ่งจะส่งผลให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนัก
***ในหลวงพระราชทานถุงยังชีพ
วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำถุงยังชีพพระราชทาน มามอบให้ผู้ประสบภัยที่วัดท่าดินแดง อ.ผักไห่ และที่ต.หัวเวียง อ.เสนา 3,700 ชุด ส่วนที่วัดกอไผ่ อ.บางบาล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ นำถุงชีพพระราชทานมามอบให้ประชาชน 1,000 ชุด
ส่วนที่วัดพระขาว อ.บางบาล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์นำถุงชีพพระราชทาน มามอบให้ผู้ประสบภัย 1,100 ชุด
***"บรรหาร"มั่นใจไม่ซ้ำรอยปี54
ที่สำนักชลประทานที่ 12 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังรับฟังการบรรยายจากนายฎรงค์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 12 ว่า น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นช่วงนี้มาจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ต้องเฝ้าระวังแม่น้ำสะแกกรัง ที่ปัจจุบันมีอัตราการไหล 2,400 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวินาที ต้องควบคุมไม่ให้เกิน 3,600 ลบ.ม. เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำออก 2,200 ลบ.ม. ต้องไม่ให้เกิน 2,840 ลบ.ม. และที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 1,978 ลบ.ม. ต้องไม่ให้เกิน 3,600 ลบ.ม. เพื่อไม่ให้กระทบกับตัวเมือง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังเดือนก.ย. จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สำนักชลประทานที่ 12 ดูแลสภาพประตูระบายน้ำ และเก็บขยะ วัชพืช เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแล้ว
ต่อมานายบรรหาร ลงเรือติดตามสถานการณ์น้ำตั้งแต่สะพานวัดก่อไผ่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงคลองโผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง และต่อไปยังประตูระบายน้ำวัดกระสังข์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา จากนั้นให้สัมภาษณ์ว่า มาดูเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดเหตุเหมือนปี 2554
***อ่างทองคันดินพังน้ำไหลท่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อ่างทอง ว่า น้ำได้กัดเซาะคันดินจุดก่อสร้างเขื่อนเรียงหิน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่หน้าบ้านเลขที่ 5 หมู่ 6 ต.บ้านแห อ.เมือง จนทรุดพังเป็นแนวยาว น้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนหมู่ 5 และ 6 กว่า 100 หลัง สูงกว่า 30 เซนติเมตร ชาวบ้านเก็บของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น ขณะที่บางบ้านมีแต่ผู้สูงอายุ ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองต้องเข้าไปช่วยย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
***อยุธยายังอ่วมต้องใช้เรือสัญจร
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายเรวัติ ประสงค์ นายอำเภอเสนา กล่าวว่า ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง 7 ตำบล กว่า 4,000 หลังเดือดร้อนจากน้ำท่วมสูง ต้องใช้เรือสัญจรเข้า-ออกหมู่บ้าน ส่วนประตูน้ำปากคลองเจ้าเจ็ด ได้เปิดบานประตูสูง 1 เมตร เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมตลาดบ้านแพน ซึ่งอำเภอได้สร้างสะพานไม้ใช้เดินเข้า-ออกตลาดตลอด 4 กิโลเมตร
เวลา 13.00 น. เกิดเหตุเรือบรรทุกดินจมกลางแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ 3 ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา ไปตรวจสอบพบว่าที่เกิดเหตุมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ลักษณะเป็นน้ำวน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "น้ำวนนรก" เพราะมีเรือจมทุกปีช่วงน้ำท่วม
ล่าสุด ชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เร่งเปิดประตูระบายน้ำผันน้ำเข้าทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้วในอ.บางบาล และอ.ผักไห่ ขณะเดียวกันจังหวัดกำชับให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แจ้งประชาชนทั้งสองทุ่งถึงความจำเป็นว่าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย
***ปราจีนบุรีหลายหมูบ้านถูกตัดขาด
ที่ จ.ปราจีนบุรี ยังมีพื้นที่น้ำท่วม 5 อำเภอจาก 7 อำเภอ จุดวิกฤติ คือ อ.กบินทร์บุรี และอ.ศรีมหาโพธิ โดยนายวิทวัฒน์ นาแรมงาม รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ย่านรี อ.กบินทร์บุรี กล่าวว่า หลายหมู่บ้านถนนถูกน้ำป่าตัดขาด จุดแรกบ้านท่าทองดำ หมู่ 2 เชื่อมหมู่ 4 ถนนขาดยาวประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำลึกประมาณ 1 เมตร จุดที่ 2 บ้านย่านรี หมู่ 5 ถนนถูกตัดขาด 2 ช่วง ช่วงแรกกว้าง 20 เมตร น้ำลึก 1 เมตร ห่างออกไปราว 300 เมตร ถูกตัดขาด 30 เมตร น้ำลึก 1.50 เมตร ชาวบ้านกำลังก่อสร้างสะพานข้ามจุดที่ถูกดขาด
ทั้งนี้ ระดับน้ำยังสูงขึ้นต่อเนื่อง มีผู้ได้รับความเดือดร้อนกว่า 900 หลังคาเรือน ซึ่งอบต.ได้จัดรถนำถุงยังชีพพร้อมน้ำดื่ม ไปมอบให้ถึงบ้าน เพราะชาวบ้านไม่สามารถออกมารับเองได้
***ภาคอีสานประสบภัยไม่แพ้กัน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จ.อุบลราชธานี นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า จังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีน้ำท่วมแล้ว 16 อำเภอ พื้นที่ประสบภัย 67 ตำบล 2 เทศบาล 503 หมู่บ้าน อพยพ 981 ราย พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายกว่า 1.5 แสนไร่ วัด 6 แห่ง โรงเรียน 5 แห่ง บ้านเรือนถูกน้ำท่วมเสียหาย 2,040 หลัง สะพาน 14 แห่ง ถนน 81 สาย โดยเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีผู้ต้องการอพยพหนีระดับน้ำแม่น้ำมูล จึงส่งทหารไปช่วยสร้างเพิงพัก และช่วยขนย้ายสิ่งของตลอดทั้งวัน
จ.สุรินทร์ สรุปสถานการณ์ล่าสุดราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15 อำเภอ 100 ตำบล 1,132 หมู่บ้าน มีพื้นที่เฝ้าระวังอีก 3 อำเภอ 8 ตำบล 100 หมู่บ้าน โดยอำเภอที่ต้องเฝ้าระวังมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ไปตามลำห้วยเสนง ลงลำน้ำชี เพื่อไหลลงแม่น้ำมูล บริเวณวังทะลุ บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม ซึ่งจะหลากเข้าท่วมบ้านเรือนอ.จอมพระ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม ซึ่งได้แจ้งเตือนประชาชนให้เก็บทรัพย์สินขึ้นที่สูงโดยด่วนแล้ว
จ.ศรีสะเกษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชุมชนสะพานขาว อ.เมือง ซึ่งอยู่ติดกับลำห้วยสำราญ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง แต่ชุมชนศิริทรัพย์ทวีโชค ชุมชนท่าเรือ และชุมชนหนองหัวหมู ระดับยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไหลเชี่ยวกราก เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องนำเชือกมาผูกไเป็นแนวให้ชาวบ้านใช้เดินเข้า-ออกชุมชน โดยน้ำยังท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำของเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
ขณะเดียวกันน้ำที่ท่วมถนนสาย 226 อ.ห้วยทับทัน ไปอ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ลดลงจนรถยนต์สัญจรได้ตามปกติ ส่วนถนนสายอ.เมือง ไปอ.อุทุมพรพิสัย กม.ที่ 4 บ้านเพียนาม อ.เมือง ระดับน้ำเริ่มลดลงเช่นกัน รถเล็กสามารถสัญจรไปได้ แต่ไม่สะดวกเท่าที่ควร
***ทัพเรือเตรียมติดตั้งเครื่องดันน้ำ
น.อ.วิพันธุ์ ชมะโชติ รองเลขานุการกองทัพเรือ กล่าวว่า พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ สั่งการให้หน่วยต่างๆ เตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ สนับสนุนการบรรเทาทุกข์ประชาชน โดยกรมอู่ทหารเรือ จัดเครื่องผลักดันน้ำไปติดตั้งตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ขอรับการสนับสนุน 24 เครื่อง จัดกำลังพลเฝ้าประจำตามจุดต่างๆ ประกอบด้วย จ.ปราจีนบุรี 2 จุด 8 เครื่อง คลองบางเขน 6 จุด 12 เครื่อง คลองทวีวัฒนา 1 จุด 2 เครื่อง คลองพระยาราชมนตรี 1 จุด 2 เครื่อง
***กทม.ตรวจอุโมงค์ระบายน้ำ
ที่บึงพระราม 9 เขตห้วยขวาง กทม. นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกทม. ตรวจความพร้อมอุโมงค์ระบายน้ำจากคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว
นายอมรกล่าวว่า กทม.ยังกังวลเรื่องมวลน้ำเหนือขนาดใหญ่ อาจจะทำให้น้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเกิน 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที อาจจะเกินขีดความสามารถของ กทม. ที่จะรับมือได้ แต่จะพยายามระบายน้ำเต็มที่ และต้องขอให้รัฐบาลเห็นใจด้วย เพราะ กทม.เป็นเมืองหลวง หากเกิดน้ำท่วมจะส่งผลกระทบถึงภาคเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม กทม.ยังต้องการอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ให้ครบทั้ง 6 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมทั้งกทม. จะได้เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
***กั้นกระสอบทราบป้องโบราณสถาน
นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เพื่อป้องกันโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้เตรียมกระสอบทราย 50,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 20 เครื่อง ยานพาหนะ 6 คันไว้ และมอบให้ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เบื้องต้นเจ้าหน้าที่กำลังเร่งกรอกถุงทรายทำแนวป้องกันโบราณสถานที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดธรรมาราม ป้อมเพชร และหมู่บ้านโปรตุเกส
***นิคมฯ เชื่อไม่เลวร้ายเหมือนปี54
นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ได้ประเมินสถานการณ์ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค เห็นตรงกันว่าไม่เลวร้ายเหมือนปี 2554 และเทียบข้อมูลวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา กับวันเดียวกันปี 2554 พบว่าการระบายน้ำผ่านจ.พระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่ากันเกินครึ่ง
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า วันที่ 26 ก.ย. นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหา แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เพราะเสริมเขื่อนดินให้แข็งแรงไว้แล้ว และยังเตรียมคันกั้นน้ำแบบเคลื่อนที่เร็ว กั้นได้ยาวกว่า 20 กิโลเมตรไว้ อีกทั้งนักลงทุนเข้าใจแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มั่นใจว่าจะไม่ซ้ำรอยปี 2554
***ปภ.สรุปน้ำท่วมแล้ว27จังหวัด
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.2556 เกิดอุทกภัย 27 จังหวัด 172 อำเภอ 926 ตำบล 6,647 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 499,270 ครัวเรือน 1,798,270 คน บ้านเรือนเสียหาย 4,069 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 659,077 ไร่ ถนน 850 สาย สะพาน 59 แห่ง แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ภาคใต้ 1 จังหวัด เสียชีวิต 9 ราย จ.สุรินทร์ 6 ราย จ.ศรีสะเกษ 3 ราย สูญหาย 1 รายที่จ.สุรินทร์ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด คือ จ.กาญจนบุรี และจ.ชุมพร ที่เหลืออีก 25 จังหวัด เป็นน้ำป่าไหลหลากและท่วมขัง 22 จังหวัด น้ำล้นตลิ่ง 3 จังหวัด คือ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี
"แม้ปีนี้ในภาพรวมน้ำจะน้อยกว่าปี 2554 แต่ยังมีฝนและน้ำทะเลหนุน หลายพื้นที่อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใย ได้สั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำชับ ปภ. ประสานกบอ. และผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างใกล้ชิด"นายฉัตรชัยกล่าว