**น่าจะเรียบร้อยโรงเรียน “ชินวัตร”ไปอีกหนึ่งขั้นตอน เมื่อสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท หรือที่เรียกกันติดปากมากกว่าว่า “พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน”
โดยอาศัยเสียงข้างมากลากไปตามครรลองประชาธิปไตยฉบับ “นายใหญ่”
ขั้นตอนต่อไปที่รอให้พลพรรคสมุน นายใหญ่ฝ่าด่าน คือการรับพิจารณาของส.ว. โดยมีก้างขวางคอชิ้นใหญ่ไม่ใช่เล่นอย่าง “กลุ่ม 40 ส.ว.”ที่จะคอยชำแหละ ฉีกหน้ากาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านให้ประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริง
แต่มองเกมฟันธงกันล่วงหน้าได้เลยว่า อย่างไรเสียพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ก็ผ่านกับดักส.ว.ได้ไม่ยาก เพราะ ส.ว.สายเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่หลายคนโดนนายใหญ่ ซื้อทั้ง “ตัว”และ“หัวใจ”ไปอยู่ใต้ชายคาของ เพื่อไทยเรียบร้อยแล้ว
โดยเฉพาะการรีบเร่งดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของที่มา ส.ว. เพื่อให้สายเลือกตั้งไม่ตกงาน มีโอกาสลงเลือกตั้งส.ว.ได้อีกในช่วงต้นปีหน้า หลังหมดวาระ ไม่ต้องติดล็อกอยู่ได้สมัยเดียวแบบที่รัฐธรรมนูญ 2550 ตั้งกฎเหล็กเอาไว้
เพราะหาก ส.ว.เลือกตั้งไม่มาตามนัด คงจะโดนทวง“สัญญาใจ”ที่ให้กันไว้ในที่ลับ แล้วการแก้รัฐธรรมนูญที่ถูลู่ถูกังกันอยู่ คงหมดความสำคัญไป ตามรูปเกมแบบนี้ฟันธงกันล่วงหน้า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน คงได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา แบบไม่ยาก
**พูดง่ายๆ “รัฐสภา”ถูกพลพรรคสมุนนายใหญ่ยึดไว้เกือบหมดแล้ว
แต่ก็ใช่ว่า“รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย”จะคุมเกม แล้วกำหนดให้ประเทศไทยเดินตามที่นายใหญ่ กำหนดไว้ได้ทั้งหมด เพราะอย่าลืมว่าประเทศไทยยังมี “องค์กรอิสระ”ที่พอเป็นที่พึ่งในยามที่รัฐบาล ลุแก่อำนาจ ได้เสมอ
ประกอบกับก่อนหน้านี้ “คณิต ณ นคร”ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ก็ออกมาดักคอแล้วว่า กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เพราะการจ่ายเงินแผ่นดิน ต้องเป็นไปตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น ทั้งยังขัดรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง อีกทั้งยังจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ทำเอาฝ่ายรัฐบาลสะอึก ดึงเกมไม่รีบดันกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านเข้าในช่วงต้นสมัยประชุมนี้อย่างที่วางเกมไว้ตั้งแต่ต้น
ซึ่งข้อท้วงติงของ “คณิต”อาจเป็นเหตุผลหลักที่สามารถนำมาโต้แย้งกับรัฐบาลที่ชอบอ้างถึงความจำเป็นของการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน และอ้างว่าประชาชนต้องการ เพราะถ้าจะเอากันให้ชัดๆ ลองถามประชาชนกันไปเลยว่า ต้องการติดหนี้อีก 50 ปี พร้อมยอมจ่ายดอกเบี้ยมหาโหด 3 ล้านล้านบาทหรือไม่
ซึ่งทั้งฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ - กลุ่ม 40 ส.ว. ก็ตั้งแท่นหยิบมือ “ศาลรัฐธรรมนูญ”ออกแรงสกัดกฎหมายอัปยศฉบับนี้ไว้แล้ว หลังประเมินว่า อย่างไรเสียก็สุดจะต้านทาน เสียงข้างมากในรัฐสภาได้
ทำให้หลังจากนี้ “องค์กรอิสระ”ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคงต้องทำงานหนักพอสมควร โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ เพราะจับอาการของ “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาส่งสัญญาณเตือนรัฐบาลว่ากำลังทำผิด กฎหมายรัฐธรรมนูญ ในหลายเรื่อง
ไล่ตั้งแต่ “ไม่แถลงผลงานปีละ 1 ครั้งต่อรัฐสภา –โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน –โครงการรับจำนำข้าว –พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน – ออกกฎหมายนิรโทษกรรม”แค่นี้ก็ไล่เช็คบิลกันไม่หวาดไม่ไหว
**ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลอาจจะรอดในบางเรื่อง แต่หากเหิมเกริมมากนัก ก็อาจติดหล่มได้เหมือนกัน
หากดูโครงสร้างฐานอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญ แล้ว แม้จะไร้เงา “วสันต์”ซึ่งถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อ“ระบอบทักษิณ”มาโดยตลอด ก็ยังถือว่าเป็น “สายแข็ง”ที่ นายใหญ่-รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย เห็นแล้วยังต้องขยาด
เพราะคนที่มาแทน“วสันต์”คือ “ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ”หนึ่งในกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ซึ่งมีทัศนะคติทางการเมืองสวนทางกับ“กลุ่มคนเสื้อแดง” และสวนทางกับกลุ่มนักวิชาการที่เรียกตัวเองว่า“กลุ่มนิติราษฎร์”
เห็นต่างกันสุดขั้วถึงขั้น “เกลียด”กันเลยทีเดียว
ที่สำคัญในไม่ช้าจะมีการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แคนดิเดตโฟกัสไปที่“จรูญ อินทจาร”ซึ่งในคนวงการ “ตาชั่ง”รู้กันดีว่าอยู่กันละขั้วกับนายใหญ่บางครั้งอาจจะดูชัดเจนกว่า “วสันต์”เสียอีก
ศาลรัฐธรรมนูญ จึงยังเป็นกางชิ้นโตที่ ระบอบทักษิณ ยังต้องขยาด
จนมีเสียงบ่นจากในทางลับว่า “กุนซือแม้ว”บางคนถึงกับเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระให้รู้แล้วรู้รอด บางคนเผลอหลุดในทางแจ้ง บ่นว่าอย่ายุบ องค์กรอิสระ ใจจะขาด
แต่ก็อาจจะดูกระแสออก ว่าคงโดนต่อต้าน และถูกนำไปเป็นเงื่อนไขปลุกระดมมวลชน เข้าทางฝั่งตรงข้ามได้ จึงทำได้แค่ “พูด” ทำจริงคงไม่กล้า
สรุปแล้วทั้ง “นายใหญ่-รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย” กลัว องค์กรอิสระ โดยเฉพาะ “ศาลรัฐธรรมนูญ”ขี้หดตดหาย จนมีข่าวว่าต้องหาแผนสำรอง ไว้หากกฎหมายสำคัญถูกตัดสินว่า ขัดรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ที่รัฐบาลกระสันนำเงินออกมาถลุงใจจะขาด
นำมาสู่ “แผนสำรอง”2 แนวทาง คือ 1. รัฐบาลจะพิจารณากู้เงินลงทุนเป็นรายโครงการแทน เพราะมีการศึกษารายละเอียดไว้พร้อมแล้ว โดยอ้างว่าโครงการต่างๆต้องเดินหน้าดำเนินการต่อไป
หรือ 2. อาจจะมีการออกระเบียบหรือแก้ไข “กฎสำนักนายกรัฐมนตรี”บางฉบับ ที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการดำเนินงานของรัฐบาล
**ฉะนั้นหาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ติดขัดจริงๆ รัฐบาลก็เตรียมทางหนีทีไล่ไว้หมดแล้ว เหลือแต่ว่าจะเลือกใช้ทางไหน ที่จะสุ่มเสี่ยงน้อยที่สุด
และได้ เงิน ออกมาถลุงเร็วที่สุด
--------
โดยอาศัยเสียงข้างมากลากไปตามครรลองประชาธิปไตยฉบับ “นายใหญ่”
ขั้นตอนต่อไปที่รอให้พลพรรคสมุน นายใหญ่ฝ่าด่าน คือการรับพิจารณาของส.ว. โดยมีก้างขวางคอชิ้นใหญ่ไม่ใช่เล่นอย่าง “กลุ่ม 40 ส.ว.”ที่จะคอยชำแหละ ฉีกหน้ากาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านให้ประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริง
แต่มองเกมฟันธงกันล่วงหน้าได้เลยว่า อย่างไรเสียพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ก็ผ่านกับดักส.ว.ได้ไม่ยาก เพราะ ส.ว.สายเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่หลายคนโดนนายใหญ่ ซื้อทั้ง “ตัว”และ“หัวใจ”ไปอยู่ใต้ชายคาของ เพื่อไทยเรียบร้อยแล้ว
โดยเฉพาะการรีบเร่งดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของที่มา ส.ว. เพื่อให้สายเลือกตั้งไม่ตกงาน มีโอกาสลงเลือกตั้งส.ว.ได้อีกในช่วงต้นปีหน้า หลังหมดวาระ ไม่ต้องติดล็อกอยู่ได้สมัยเดียวแบบที่รัฐธรรมนูญ 2550 ตั้งกฎเหล็กเอาไว้
เพราะหาก ส.ว.เลือกตั้งไม่มาตามนัด คงจะโดนทวง“สัญญาใจ”ที่ให้กันไว้ในที่ลับ แล้วการแก้รัฐธรรมนูญที่ถูลู่ถูกังกันอยู่ คงหมดความสำคัญไป ตามรูปเกมแบบนี้ฟันธงกันล่วงหน้า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน คงได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา แบบไม่ยาก
**พูดง่ายๆ “รัฐสภา”ถูกพลพรรคสมุนนายใหญ่ยึดไว้เกือบหมดแล้ว
แต่ก็ใช่ว่า“รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย”จะคุมเกม แล้วกำหนดให้ประเทศไทยเดินตามที่นายใหญ่ กำหนดไว้ได้ทั้งหมด เพราะอย่าลืมว่าประเทศไทยยังมี “องค์กรอิสระ”ที่พอเป็นที่พึ่งในยามที่รัฐบาล ลุแก่อำนาจ ได้เสมอ
ประกอบกับก่อนหน้านี้ “คณิต ณ นคร”ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ก็ออกมาดักคอแล้วว่า กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เพราะการจ่ายเงินแผ่นดิน ต้องเป็นไปตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น ทั้งยังขัดรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง อีกทั้งยังจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ทำเอาฝ่ายรัฐบาลสะอึก ดึงเกมไม่รีบดันกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านเข้าในช่วงต้นสมัยประชุมนี้อย่างที่วางเกมไว้ตั้งแต่ต้น
ซึ่งข้อท้วงติงของ “คณิต”อาจเป็นเหตุผลหลักที่สามารถนำมาโต้แย้งกับรัฐบาลที่ชอบอ้างถึงความจำเป็นของการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน และอ้างว่าประชาชนต้องการ เพราะถ้าจะเอากันให้ชัดๆ ลองถามประชาชนกันไปเลยว่า ต้องการติดหนี้อีก 50 ปี พร้อมยอมจ่ายดอกเบี้ยมหาโหด 3 ล้านล้านบาทหรือไม่
ซึ่งทั้งฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ - กลุ่ม 40 ส.ว. ก็ตั้งแท่นหยิบมือ “ศาลรัฐธรรมนูญ”ออกแรงสกัดกฎหมายอัปยศฉบับนี้ไว้แล้ว หลังประเมินว่า อย่างไรเสียก็สุดจะต้านทาน เสียงข้างมากในรัฐสภาได้
ทำให้หลังจากนี้ “องค์กรอิสระ”ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคงต้องทำงานหนักพอสมควร โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ เพราะจับอาการของ “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาส่งสัญญาณเตือนรัฐบาลว่ากำลังทำผิด กฎหมายรัฐธรรมนูญ ในหลายเรื่อง
ไล่ตั้งแต่ “ไม่แถลงผลงานปีละ 1 ครั้งต่อรัฐสภา –โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน –โครงการรับจำนำข้าว –พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน – ออกกฎหมายนิรโทษกรรม”แค่นี้ก็ไล่เช็คบิลกันไม่หวาดไม่ไหว
**ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลอาจจะรอดในบางเรื่อง แต่หากเหิมเกริมมากนัก ก็อาจติดหล่มได้เหมือนกัน
หากดูโครงสร้างฐานอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญ แล้ว แม้จะไร้เงา “วสันต์”ซึ่งถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อ“ระบอบทักษิณ”มาโดยตลอด ก็ยังถือว่าเป็น “สายแข็ง”ที่ นายใหญ่-รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย เห็นแล้วยังต้องขยาด
เพราะคนที่มาแทน“วสันต์”คือ “ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ”หนึ่งในกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ซึ่งมีทัศนะคติทางการเมืองสวนทางกับ“กลุ่มคนเสื้อแดง” และสวนทางกับกลุ่มนักวิชาการที่เรียกตัวเองว่า“กลุ่มนิติราษฎร์”
เห็นต่างกันสุดขั้วถึงขั้น “เกลียด”กันเลยทีเดียว
ที่สำคัญในไม่ช้าจะมีการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แคนดิเดตโฟกัสไปที่“จรูญ อินทจาร”ซึ่งในคนวงการ “ตาชั่ง”รู้กันดีว่าอยู่กันละขั้วกับนายใหญ่บางครั้งอาจจะดูชัดเจนกว่า “วสันต์”เสียอีก
ศาลรัฐธรรมนูญ จึงยังเป็นกางชิ้นโตที่ ระบอบทักษิณ ยังต้องขยาด
จนมีเสียงบ่นจากในทางลับว่า “กุนซือแม้ว”บางคนถึงกับเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระให้รู้แล้วรู้รอด บางคนเผลอหลุดในทางแจ้ง บ่นว่าอย่ายุบ องค์กรอิสระ ใจจะขาด
แต่ก็อาจจะดูกระแสออก ว่าคงโดนต่อต้าน และถูกนำไปเป็นเงื่อนไขปลุกระดมมวลชน เข้าทางฝั่งตรงข้ามได้ จึงทำได้แค่ “พูด” ทำจริงคงไม่กล้า
สรุปแล้วทั้ง “นายใหญ่-รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย” กลัว องค์กรอิสระ โดยเฉพาะ “ศาลรัฐธรรมนูญ”ขี้หดตดหาย จนมีข่าวว่าต้องหาแผนสำรอง ไว้หากกฎหมายสำคัญถูกตัดสินว่า ขัดรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ที่รัฐบาลกระสันนำเงินออกมาถลุงใจจะขาด
นำมาสู่ “แผนสำรอง”2 แนวทาง คือ 1. รัฐบาลจะพิจารณากู้เงินลงทุนเป็นรายโครงการแทน เพราะมีการศึกษารายละเอียดไว้พร้อมแล้ว โดยอ้างว่าโครงการต่างๆต้องเดินหน้าดำเนินการต่อไป
หรือ 2. อาจจะมีการออกระเบียบหรือแก้ไข “กฎสำนักนายกรัฐมนตรี”บางฉบับ ที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการดำเนินงานของรัฐบาล
**ฉะนั้นหาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ติดขัดจริงๆ รัฐบาลก็เตรียมทางหนีทีไล่ไว้หมดแล้ว เหลือแต่ว่าจะเลือกใช้ทางไหน ที่จะสุ่มเสี่ยงน้อยที่สุด
และได้ เงิน ออกมาถลุงเร็วที่สุด
--------