ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าแบงก์ชาติเผยกำลังหารือกระทรวงการคลังและ ก.ล.ต.หาทางควบคุมธุรกรรมซื้อขายทองคำที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะในตลาด spot ห่วงกระทบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาท พร้อมสนับสนุนไม่ให้กำหนดเพดานดอกเบี้ยสำหรับนาโนไฟแนนซ์ หวังให้คนร้อนในช่วงสั้นเข้าถึงบริการทางการเงินทันที ระบุ NIM ของสถาบันการเงินไทยไม่สะท้อนว่าขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.กำลังติดตามภาวะการซื้อขายทองคำ เพราะช่วงระยะหลังการซื้อขายทองคำมีปริมาณมากขึ้น ขณะที่ช่วงที่ผ่านมาตลาดการเงิน สกุลเงินสำคัญมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาทองคำผันผวนพอสมควร อีกทั้งต้องการดูแลผู้บริโภคอย่างประชาชน จึงได้มีการปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อดูว่ามีธุรกรรมอะไรอยู่นอกพระราชบัญญัติจะสามารถทำอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง
“แม้ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรพิเศษ แต่การทำงานของ ธปท.ในลักษณะระวังไม่ให้เกิดปัญหามากกว่า โดยเรากังวลว่าเขาขอซื้อเงินดอลลาร์มากกว่าทองคำที่เขาซื้อมาจริงรึเปล่า ฉะนั้นเราสนใจในส่วนของตลาดซื้อขายทองคำชำระเงินทันที (spot) และในแง่ระบบภาพรวมด้วย ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังควบคุมปริวรรตเงินตรา ขณะที่ก.ล.ต.ดูแลเรื่องการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า จึงได้ปรึกษาหารือหน่วยงานเกี่ยวข้อง”
**ระบุไม่กำหนดเพดานนาโนไฟแนนซ์**
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงประเด็นที่ ธปท.และคลังกำลังศึกษาใบอนุญาตนาโนไฟแนนซ์ให้แก่เจ้าหนี้นอกระบบหรือนอนแบงก์ในระบบอยู่แล้วมาขอทำบริการนี้เพิ่มเติมว่ามองว่าไม่ควรกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในบางประเทศก็ไม่กำหนดดอกเบี้ยปล่อยตามกลไกทำงานเต็มที่ เพราะจะได้ช่วยคนที่เดือดร้อนจริงๆ หรือกลุ่มคนร้อนเงินในระยะเวลาสั้นๆ ขณะเดียวกันควรสร้างความรู้ความเข้าใจควบคู่ไปด้วย
**ผู้เล่นตลาดเดียวกันในกติกาไม่แตกต่าง**
ด้านนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า แม้ปัจจุบันธปท.มีหน้าที่ตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ขณะที่บทบาทรัฐมีต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจเติมช่วงว่างเฉพาะส่วนที่ล้มเหลวของระบบการเงินเท่านั้น เพราะไม่อย่างนั้นเกิดความเสี่ยงด้านราคาให้บิดเบือนได้ ส่วนธุรกรรมหรือบริการใดที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดเดียวกันก็ควรมีกติกาไม่แตกต่างกัน จึงควรมีระบบแบ่งแยกกติกาชัดเจน
ข้อซักถามที่ว่าสถาบันการเงินไทยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM)สูงอาจจะส่งผลให้การแข่งขันสถาบันการเงินต่างชาติลำบากนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมี NIM อยู่ที่ระดับ 2.4-2.5% ถือว่าอยู่ระดับกลาง เมื่อเทียบกับอาเซียน 5 ประเทศ ซึ่งไทยสูงกว่าประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ยังต่ำกว่าประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม NIM ไม่ใช่ตัวสะท้อนว่าไทยขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน เพราะยังขึ้นอยู่กับข้อจำกัดเฉพาะแต่ละประเทศด้วย เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียจะมีค่าใช้จ่ายสูงของบริการทางการเงินที่กระจายตามหมู่เกาะต่างๆ ทำให้ปล่อยกู้รายย่อยส่วนใหญ่.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.กำลังติดตามภาวะการซื้อขายทองคำ เพราะช่วงระยะหลังการซื้อขายทองคำมีปริมาณมากขึ้น ขณะที่ช่วงที่ผ่านมาตลาดการเงิน สกุลเงินสำคัญมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาทองคำผันผวนพอสมควร อีกทั้งต้องการดูแลผู้บริโภคอย่างประชาชน จึงได้มีการปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อดูว่ามีธุรกรรมอะไรอยู่นอกพระราชบัญญัติจะสามารถทำอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง
“แม้ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรพิเศษ แต่การทำงานของ ธปท.ในลักษณะระวังไม่ให้เกิดปัญหามากกว่า โดยเรากังวลว่าเขาขอซื้อเงินดอลลาร์มากกว่าทองคำที่เขาซื้อมาจริงรึเปล่า ฉะนั้นเราสนใจในส่วนของตลาดซื้อขายทองคำชำระเงินทันที (spot) และในแง่ระบบภาพรวมด้วย ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังควบคุมปริวรรตเงินตรา ขณะที่ก.ล.ต.ดูแลเรื่องการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า จึงได้ปรึกษาหารือหน่วยงานเกี่ยวข้อง”
**ระบุไม่กำหนดเพดานนาโนไฟแนนซ์**
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงประเด็นที่ ธปท.และคลังกำลังศึกษาใบอนุญาตนาโนไฟแนนซ์ให้แก่เจ้าหนี้นอกระบบหรือนอนแบงก์ในระบบอยู่แล้วมาขอทำบริการนี้เพิ่มเติมว่ามองว่าไม่ควรกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในบางประเทศก็ไม่กำหนดดอกเบี้ยปล่อยตามกลไกทำงานเต็มที่ เพราะจะได้ช่วยคนที่เดือดร้อนจริงๆ หรือกลุ่มคนร้อนเงินในระยะเวลาสั้นๆ ขณะเดียวกันควรสร้างความรู้ความเข้าใจควบคู่ไปด้วย
**ผู้เล่นตลาดเดียวกันในกติกาไม่แตกต่าง**
ด้านนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า แม้ปัจจุบันธปท.มีหน้าที่ตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ขณะที่บทบาทรัฐมีต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจเติมช่วงว่างเฉพาะส่วนที่ล้มเหลวของระบบการเงินเท่านั้น เพราะไม่อย่างนั้นเกิดความเสี่ยงด้านราคาให้บิดเบือนได้ ส่วนธุรกรรมหรือบริการใดที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดเดียวกันก็ควรมีกติกาไม่แตกต่างกัน จึงควรมีระบบแบ่งแยกกติกาชัดเจน
ข้อซักถามที่ว่าสถาบันการเงินไทยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM)สูงอาจจะส่งผลให้การแข่งขันสถาบันการเงินต่างชาติลำบากนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมี NIM อยู่ที่ระดับ 2.4-2.5% ถือว่าอยู่ระดับกลาง เมื่อเทียบกับอาเซียน 5 ประเทศ ซึ่งไทยสูงกว่าประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ยังต่ำกว่าประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม NIM ไม่ใช่ตัวสะท้อนว่าไทยขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน เพราะยังขึ้นอยู่กับข้อจำกัดเฉพาะแต่ละประเทศด้วย เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียจะมีค่าใช้จ่ายสูงของบริการทางการเงินที่กระจายตามหมู่เกาะต่างๆ ทำให้ปล่อยกู้รายย่อยส่วนใหญ่.