ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นร่วง 50 จุด สถาบัน -พอร์ตโบรกฯเทขายกว่า 4 พันล้าน จากความกังวลพ.ร.บ.2ล้านล้าน เข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ แขวนชะตารัฐบาล หนำซ้ำประธานเฟดสาขา ยังปล่อยข่าวลดQE ตุลาคมนี้..ไม่เลิก นักวิเคราะห์ประเมินเห็นการพักฐานต่อ แต่โอกาสรีบาวนด์ยังได้เห็น หลังลงแรง
ตลาดหุ้นไทย วานนี้ (2ก.ย.) ปิดที่ระดับ 1,436.68 จุด ลดลง 50.08 จุด หรือ 3.37% มูลค่าการซื้อขาย 50,628.29 ล้านบาท โดยระหว่างวันปรับตัวลดลงต่ำสุด 53.62 จุด อยู่ที่ 1,433.14 จุด โดยรวมเป็นผลมาจาก นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงในการประชุมเดือนต.ค. ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ ปิดลบ 185.46 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ 20ก.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังมีแรงขายจากความกังวล ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ รวมถึงมีแรงเทขายทำกำไรออกมาด้วยจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเมื่อสัปดาห์ก่อน สวนทางตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคที่เคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวก
โดยสถาบันขายสุทธิ 2,485.26 ล้านบาท ตามมาด้วย บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 1,661.74 ล้านบาท และ303.23 ล้านบาท ตามลำดับ
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ยังคงผันผวน ไปตามการคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางการปรับลดQEของเฟด ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในระยะสั้นตลาดรับรู้ไปหมดแล้ว คงต้องรอดูในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีข้างหน้าว่าบริษัทจดทะเบียนรายใดจะได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนต่าง ๆ อย่างชัดเจน
ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน มองว่ามีผลต่อตลาดหุ้นน้อยมาก เพราะตลาดหุ้นในช่วง 14 วันก่อนหน้านี้ปรับขึ้นไปถึง 230 จุด หรือ 16-17% จาก 1,250 ขึ้นมากว่า 1,490 จุด ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติจะมองที่ผลตอบแทนการลงทุนมีความน่าสนใจมากกว่าการเก็งกำไรจากค่าเงิน
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยที่ร่วงแรงอาจเป็นปัญหาภายในประเทศมากกว่าจึงส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศนั้นตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ที่ปรับตัวร่วงลงแรง ทำให้ตลาดหุ้นทั่วทั้งภูมิภาคปรับตัวลดลงตามไปด้วย แต่หากมองในภาพรวมตลาดหุ้นกลุ่ม TIP (Thailand Indonesia Philipin) ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ล่าสุด ประเทศไทยปรับตัวขึ้นสูงสุดถึง 15% ประเทศอินโดนีเซียปรับตัวขึ้นมา 9% และประเทศฟิลิปปินส์ 5%
โดยแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (24 ก.ย.) พิจารณาทางด้านเทคนิคอาจปรับลดลงต่อเนื่องต่อไปอีก อาจมีแรงซื้อสลับกับขายออกเป็นระยะ ซึ่งจะต้องจับตาดูนักลงทุนต่างประเทศว่าจะมีการขายทำกำไรมากน้อยแค่ไหน จากก่อนหน้านี้ เข้ามาซื้อเก็งกำไรค่อนข้างมาก โดยแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,420-1,400 จุด ส่วนแนวต้านจะอยู่ที่ 1,440-1,460 จุด
นายณาศิส ประเสริฐกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เคเคเทรด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง จากความกังวลปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการเสนอร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ประกอบกับมีแรงเทขายทำกำไรออกมาบางส่วน สวนทางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่
“พ.ร.บ.เงินกู้ฯ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ หากไม่ผ่านก็หมายความว่ารัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ แต่ แนวโน้มวันนี้ ตลาดฯมีโอกาสรีบาวนด์กลับมาได้”
ตลาดหุ้นไทย วานนี้ (2ก.ย.) ปิดที่ระดับ 1,436.68 จุด ลดลง 50.08 จุด หรือ 3.37% มูลค่าการซื้อขาย 50,628.29 ล้านบาท โดยระหว่างวันปรับตัวลดลงต่ำสุด 53.62 จุด อยู่ที่ 1,433.14 จุด โดยรวมเป็นผลมาจาก นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงในการประชุมเดือนต.ค. ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ ปิดลบ 185.46 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ 20ก.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังมีแรงขายจากความกังวล ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ รวมถึงมีแรงเทขายทำกำไรออกมาด้วยจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเมื่อสัปดาห์ก่อน สวนทางตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคที่เคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวก
โดยสถาบันขายสุทธิ 2,485.26 ล้านบาท ตามมาด้วย บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 1,661.74 ล้านบาท และ303.23 ล้านบาท ตามลำดับ
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ยังคงผันผวน ไปตามการคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางการปรับลดQEของเฟด ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในระยะสั้นตลาดรับรู้ไปหมดแล้ว คงต้องรอดูในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีข้างหน้าว่าบริษัทจดทะเบียนรายใดจะได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนต่าง ๆ อย่างชัดเจน
ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน มองว่ามีผลต่อตลาดหุ้นน้อยมาก เพราะตลาดหุ้นในช่วง 14 วันก่อนหน้านี้ปรับขึ้นไปถึง 230 จุด หรือ 16-17% จาก 1,250 ขึ้นมากว่า 1,490 จุด ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติจะมองที่ผลตอบแทนการลงทุนมีความน่าสนใจมากกว่าการเก็งกำไรจากค่าเงิน
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยที่ร่วงแรงอาจเป็นปัญหาภายในประเทศมากกว่าจึงส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศนั้นตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ที่ปรับตัวร่วงลงแรง ทำให้ตลาดหุ้นทั่วทั้งภูมิภาคปรับตัวลดลงตามไปด้วย แต่หากมองในภาพรวมตลาดหุ้นกลุ่ม TIP (Thailand Indonesia Philipin) ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ล่าสุด ประเทศไทยปรับตัวขึ้นสูงสุดถึง 15% ประเทศอินโดนีเซียปรับตัวขึ้นมา 9% และประเทศฟิลิปปินส์ 5%
โดยแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (24 ก.ย.) พิจารณาทางด้านเทคนิคอาจปรับลดลงต่อเนื่องต่อไปอีก อาจมีแรงซื้อสลับกับขายออกเป็นระยะ ซึ่งจะต้องจับตาดูนักลงทุนต่างประเทศว่าจะมีการขายทำกำไรมากน้อยแค่ไหน จากก่อนหน้านี้ เข้ามาซื้อเก็งกำไรค่อนข้างมาก โดยแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,420-1,400 จุด ส่วนแนวต้านจะอยู่ที่ 1,440-1,460 จุด
นายณาศิส ประเสริฐกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เคเคเทรด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง จากความกังวลปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการเสนอร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ประกอบกับมีแรงเทขายทำกำไรออกมาบางส่วน สวนทางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่
“พ.ร.บ.เงินกู้ฯ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ หากไม่ผ่านก็หมายความว่ารัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ แต่ แนวโน้มวันนี้ ตลาดฯมีโอกาสรีบาวนด์กลับมาได้”