วานนี้(23 ก.ย.56) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล กล่าวภายหลังการประชุมวิปรัฐบาลว่า จะมีการแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปี ในวันที่ 24-25 ก.ย. โดยจะใช้เวลาทั้งหมด 15 ชั่วโมง แบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี (ครม.) 5 ชั่วโมง และฝ่ายค้าน 10 ชั่วโมง ตามที่ฝ่ายค้านร้องขอมา ทั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ด้วย
“ที่ฝ่ายค้านตั้งเป้าจะใช้เวทีนี้ในการซ้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ทางรัฐบาลยินดี เพราะเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่แล้วที่รัฐบาลต้องแถลงผลงานภายใน 1 ปี ดังนั้นกรอบการที่ฝ่ายค้านจะถามรัฐบาลคือ เรื่องนโยบายและการทำงานของรัฐบาลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าใช้เวลา 2 วันน่าจะจบ” นายอำนวย กล่าว
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การแถลงผลงานรัฐบาล ได้ให้วิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านไปหารือถึงกรอบเวลาในการอภิปรายของฝ่ายค้านและรัฐบาล ซึ่งส่วนตัวคาดว่าเวลา 1 วันคงไม่เพียงพอต่อการแถลงผลงาน อาจจะต้องเพิ่มเวลาในการแถลงผลงานรัฐบาลในวันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน หลังการพิจารณากระทู้ถามสด เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลและฝ่ายค้านได้ชี้แจงและซักถามอย่างเต็มที่ ทั้งนี้เชื่อว่าการอภิปรายจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากเป็นการนำเสนอผลงานของรัฐบาลตามข้อเท็จจริงและชี้จุดบกพร่อง โดยไม่มีการลงมติ
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะแถลงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อสภาผู้แทนราษฎร หลังจากได้ยื่นเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภาตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน 2555 นับตั้งแต่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่สิงหาคม 2554 รัฐบาลได้มีการประกาศทั้งนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศ และเมื่อครบกำหนดการบริหารประเทศปีที่ 1 (23 สิงหาคม 2554 - 23 สิงหาคม 2555) ได้มีการจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อรัฐสภาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 75
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่การจัดทำรายงานเสร็จ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีส่งหนังสือลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ให้แก่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเลขาธิการวุฒิสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการ แต่สภาผู้แทนราษฎรมิได้การพิจารณารายงานดังกล่าวจนปิดสมัยประชุมทั่วไปในปลายปี 2555 ต่อมาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎรก็มิได้บรรจุวาระการรายงานของคณะรัฐมนตรี เพราะไม่สามารถนำเรื่องนอกเหนือจากการพิจารณากฎหมายเข้ามาพิจารณาได้ เว้นแต่รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา และแม้ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม 2556 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะมีมติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานผลการดำเนินงานได้สมัยประชุมนิติบัญญัติ แต่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่ได้มีการรายงานดังกล่าวได้ทัน และเมื่อมีการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไประหว่าง 1 สิงหาคม 2556 - 28 พฤศจิกายน 2556 จึงได้มีการนำเรื่องผลการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีในปีที่ 1 เข้ามาพิจารณา โดยนายกรัฐมนตรีได้มีการกำชับให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงเตรียมข้อมูลในการตอบข้อซักถามจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างละเอียด
ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐสภา เพราะเมื่อทางเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภาแล้ว เป็นการตัดสินใจของสภาในการเลือกเรื่องที่จะเข้ามาพิจารณา ทั้งนี้การแสดงรายงานผลงานของรัฐบาลชุดก่อนหน้าปีที่หนึ่ง (30 ธันวาคม 2551 - 30 ธันวาคม 2552) ได้ส่งเรื่องเข้าสภาในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 แต่ก็ไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2554 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นถึงได้แถลงผลงานปีที่ 1 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้เมื่อครบรอบการบริหารราชการครบรอบปีที่ 2 ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการสั่งการรวบรวมข้อมูลการบริหารราชการในปีที่สองแล้ว ซึ่งคาดว่าเล่มรายงานน่าจะเสร็จและเสนอต่อสภาได้ในช่วงปลายปีนี้
ร.ท หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ เรียกประชุมทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ โฆษกกระทรวงทุกกระทรวง เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล หลังจากนี้ จะมีการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมอบหมายให้ น.ส ศันสนีย์ นาคพงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้คำปรึกษาในการออกแบบยุทธศาสตร์และกลไก
ทั้งนี้ นายวราเทพ ได้กำชับให้โฆษกกระทรวง ติดตามฟังเสียงสะท้อนการแถลงผลงานของรัฐบาล 1 ปี ต่อสภาผู้แทนราษฎร อย่างใกล้ชิด เพื่อตอบประเด็นที่หน่วยงานถูกพาดพิง รวมทั้ง ช่วยชี้แจงต่อสื่อมวลชน
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติ ขอให้ประธานวุฒิสภาชี้แจง ต่อที่ประชุมวุฒิสภา กรณีให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ตามที่ พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา เป็นผู้เสนอ และได้ขอถอนญัตติ ต่อที่ประชุม
แต่กลุ่ม 40 ส.ว.แย้งว่า การถอนญัตติ ต้องขอมติจากที่ประชุม ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับกลุ่ม ส.ว. เลือกตั้ง จนมีการวอล์กเอาต์ และที่ประชุม เคยมีมติให้ญัตติดังกล่าวตกไปแล้ว ด้วยคะแนน 59 ต่อ 6 งดออกเสียง 4 แต่ นายสุรชัย กลับระบุว่า องค์ประชุมไม่ครบ ก่อนรีบสั่งปิดประชุมทันที ทั้งที่ก่อนหน้านั้น ใช้นับองค์ประชุม ด้วยวิธีขานชื่อ และสมาชิกอยู่ครบ
ซึ่งการดำเนินการในวันนี้ นายสุรชัย ยังหยิบยกวาระดังกล่าว ขึ้นมาสอบถาม ต่อที่ประชุม ซึ่งนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ในฐานะเลขานุการวิปวุฒิสภา ระบุว่า ได้นำเรื่องนี้เข้าหารือ ในวิปวุฒิสภาแล้ว ไม่มีใครติดใจ แต่นายสุรชัย ยังคงขอมติซ้ำอีกครั้ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอนญัตติด้วยคะแนน 86 ต่อ 6 งดออกเสียง 4.
“ที่ฝ่ายค้านตั้งเป้าจะใช้เวทีนี้ในการซ้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ทางรัฐบาลยินดี เพราะเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่แล้วที่รัฐบาลต้องแถลงผลงานภายใน 1 ปี ดังนั้นกรอบการที่ฝ่ายค้านจะถามรัฐบาลคือ เรื่องนโยบายและการทำงานของรัฐบาลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าใช้เวลา 2 วันน่าจะจบ” นายอำนวย กล่าว
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การแถลงผลงานรัฐบาล ได้ให้วิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านไปหารือถึงกรอบเวลาในการอภิปรายของฝ่ายค้านและรัฐบาล ซึ่งส่วนตัวคาดว่าเวลา 1 วันคงไม่เพียงพอต่อการแถลงผลงาน อาจจะต้องเพิ่มเวลาในการแถลงผลงานรัฐบาลในวันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน หลังการพิจารณากระทู้ถามสด เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลและฝ่ายค้านได้ชี้แจงและซักถามอย่างเต็มที่ ทั้งนี้เชื่อว่าการอภิปรายจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากเป็นการนำเสนอผลงานของรัฐบาลตามข้อเท็จจริงและชี้จุดบกพร่อง โดยไม่มีการลงมติ
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะแถลงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อสภาผู้แทนราษฎร หลังจากได้ยื่นเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภาตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน 2555 นับตั้งแต่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่สิงหาคม 2554 รัฐบาลได้มีการประกาศทั้งนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศ และเมื่อครบกำหนดการบริหารประเทศปีที่ 1 (23 สิงหาคม 2554 - 23 สิงหาคม 2555) ได้มีการจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อรัฐสภาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 75
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่การจัดทำรายงานเสร็จ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีส่งหนังสือลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ให้แก่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเลขาธิการวุฒิสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการ แต่สภาผู้แทนราษฎรมิได้การพิจารณารายงานดังกล่าวจนปิดสมัยประชุมทั่วไปในปลายปี 2555 ต่อมาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎรก็มิได้บรรจุวาระการรายงานของคณะรัฐมนตรี เพราะไม่สามารถนำเรื่องนอกเหนือจากการพิจารณากฎหมายเข้ามาพิจารณาได้ เว้นแต่รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา และแม้ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม 2556 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะมีมติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานผลการดำเนินงานได้สมัยประชุมนิติบัญญัติ แต่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่ได้มีการรายงานดังกล่าวได้ทัน และเมื่อมีการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไประหว่าง 1 สิงหาคม 2556 - 28 พฤศจิกายน 2556 จึงได้มีการนำเรื่องผลการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีในปีที่ 1 เข้ามาพิจารณา โดยนายกรัฐมนตรีได้มีการกำชับให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงเตรียมข้อมูลในการตอบข้อซักถามจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างละเอียด
ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐสภา เพราะเมื่อทางเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภาแล้ว เป็นการตัดสินใจของสภาในการเลือกเรื่องที่จะเข้ามาพิจารณา ทั้งนี้การแสดงรายงานผลงานของรัฐบาลชุดก่อนหน้าปีที่หนึ่ง (30 ธันวาคม 2551 - 30 ธันวาคม 2552) ได้ส่งเรื่องเข้าสภาในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 แต่ก็ไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2554 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นถึงได้แถลงผลงานปีที่ 1 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้เมื่อครบรอบการบริหารราชการครบรอบปีที่ 2 ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการสั่งการรวบรวมข้อมูลการบริหารราชการในปีที่สองแล้ว ซึ่งคาดว่าเล่มรายงานน่าจะเสร็จและเสนอต่อสภาได้ในช่วงปลายปีนี้
ร.ท หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ เรียกประชุมทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ โฆษกกระทรวงทุกกระทรวง เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล หลังจากนี้ จะมีการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมอบหมายให้ น.ส ศันสนีย์ นาคพงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้คำปรึกษาในการออกแบบยุทธศาสตร์และกลไก
ทั้งนี้ นายวราเทพ ได้กำชับให้โฆษกกระทรวง ติดตามฟังเสียงสะท้อนการแถลงผลงานของรัฐบาล 1 ปี ต่อสภาผู้แทนราษฎร อย่างใกล้ชิด เพื่อตอบประเด็นที่หน่วยงานถูกพาดพิง รวมทั้ง ช่วยชี้แจงต่อสื่อมวลชน
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติ ขอให้ประธานวุฒิสภาชี้แจง ต่อที่ประชุมวุฒิสภา กรณีให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ตามที่ พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา เป็นผู้เสนอ และได้ขอถอนญัตติ ต่อที่ประชุม
แต่กลุ่ม 40 ส.ว.แย้งว่า การถอนญัตติ ต้องขอมติจากที่ประชุม ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับกลุ่ม ส.ว. เลือกตั้ง จนมีการวอล์กเอาต์ และที่ประชุม เคยมีมติให้ญัตติดังกล่าวตกไปแล้ว ด้วยคะแนน 59 ต่อ 6 งดออกเสียง 4 แต่ นายสุรชัย กลับระบุว่า องค์ประชุมไม่ครบ ก่อนรีบสั่งปิดประชุมทันที ทั้งที่ก่อนหน้านั้น ใช้นับองค์ประชุม ด้วยวิธีขานชื่อ และสมาชิกอยู่ครบ
ซึ่งการดำเนินการในวันนี้ นายสุรชัย ยังหยิบยกวาระดังกล่าว ขึ้นมาสอบถาม ต่อที่ประชุม ซึ่งนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ในฐานะเลขานุการวิปวุฒิสภา ระบุว่า ได้นำเรื่องนี้เข้าหารือ ในวิปวุฒิสภาแล้ว ไม่มีใครติดใจ แต่นายสุรชัย ยังคงขอมติซ้ำอีกครั้ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอนญัตติด้วยคะแนน 86 ต่อ 6 งดออกเสียง 4.