ASTVผู้จัดการรายวัน- ศาลปกครอง ไต่สวนคดีระงับขึ้นราคาก๊าซเสร็จสิ้น แต่ยังไม่ระบุมีคำสั่งเมื่อใด "รสนา" มั่นใจในข้อมูลใหม่ที่นำเสนอต่อศาล ชี้ชัด “สุเทพ” ผู้ชี้แจงครั้งนี้ เป็นกรรมการอิสระ ของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ในเครือปตท. มีผลประโยชน์ทับซ้อน
วานนี้ ( 10 ก.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ เวลา 09.30 น. นายวุฒิชัย แสงสำราญ ตุลาการเจ้าของสำนวน ได้นัดไต่สวนในคดีหมายเลขดำ ที่ 1696/2556 กรณี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. น.ส.สาลี อ๋องสมหวัง ตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพวกรวม 5 ราย ฟ้องนายกรัฐมนตรี ครม. คณะกรรมการรนโยบายแห่งชาติ รมว.พลังงาน และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดี 1-5 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติครม. ที่เห็นชอบให้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ภาคครัวเรือน ขึ้นอีก 0.50 บาท ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1ก.ย. 56 จนสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ที่ 24.82 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่า เป็นมติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 ที่กำหนดให้ผู้บริโภค มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 กลับไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว และยังไม่เคยรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่อย่างใด เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อน เสียหาย พร้อมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้มติครม.ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
น.ส.รสนา กล่าวก่อนเข้ารับการไต่สวนจากศาลปกครองว่า วันนี้ทางผู้ฟ้องได้มีข้อมูลเพิ่มที่จะมายื่นต่อศาลเกี่ยวกับตัวเลข ข้อมูลการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อเป็นข้อมูลที่ศาลจะอาจจเรียกข้อมูลจากกระทรวงพลังงานฯ เพื่อนำมาพิจารณารวมด้วย
ด้านผู้ถูกฟ้อง ได้มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาเบิกความต่อศาลปกครองแทน
ทั้งนี้ในการไต่สวนครั้งนี้ ได้มีประชาชนผู้ที่คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซหุ้งต้มมาให้กำลังใจประมาณ 20 คน จะขอเข้าร่วมรับฟังด้วย แต่ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากไม่ใช่คู่กรณีในคดีนี้ และการไต่สวนครั้งนี้ ก็ไม่ได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดวงจรปิดให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีได้รับทราบ ทำให้ผู้ที่มาให้กำลังใจก็นั่งเฝ้ารออยู่ ด้านนอกห้องพิจารณา
**เอกสารไม่พร้อมศาลฯพักการไต่สวน
ต่อมา เวลา 11.45 น. ศาลปกครองได้สั่งพักการไต่สวนเป็นการชั่วคราว และนัดไต่สวนใหม่ในเวลา 13.45 น. โดยน.ส.จินตนา โตสิตระกูล ทนายผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี เปิดเผยว่า วันนี้ศาลได้เรียกเอกสารจากผู้ถูกร้องหลายอย่าง แต่นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และกรรมการเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ซึ่งเป็นผู้ที่รับได้มอบหมายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รมว.พลังงาน และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นตัวแทนชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาล ไม่สามารถนำเอกสารที่ศาลต้องการมาแสดงต่อศาลได้ เช่น เอกสารที่ศาลอย่างเห็น คำสั่ง กพช.ที่ 4/45 ที่แต่งตั้ง กบง.ขึ้นมาพิจารณา
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารในเรื่องของการคิดราคาต้นทุน ที่ศาลต้องการเห็นว่า การทำประชาพิจารณ์ และการศึกษา ก่อนที่จะมาขึ้นราคา ได้มีการทำประชาพิจารณ์ ที่ไหน มีการศึกษาอย่างไร ถึงอ้างได้ว่าประชาชนไม่คัดค้าน และยินยอมให้ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มดังกล่าว นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังกล่าวอ้างอีกว่า มีสมาคมผู้บริโภค เคยเข้าร่วมรับฟัง และยอมรับในกรณีนี้ด้วย
นางจินตนา กล่าวด้วยว่า ตลอดช่วงเช้า เป็นการเบิกความของนายสุเทพ เพียงคนเดียว แต่ศาลมีภารกิจอื่น ที่ต้องอ่านคำสั่งคดีอื่น จึงสั่งพักและจะไต่สวนต่ออีกครั้ง ในช่วงบ่าย เพราะยังมีผู้ถูกร้องอีก 1 คน คือ นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการและผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน และฝั่งของผู้ร้อง ประกอบด้วย นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา นางสารี อ๋องสมหวัง ตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ยังมีประเด็นที่ติดใจ และยังต้องซักถามอีกหลายประเด็น
ด้านน.ส.รสนา กล่าวว่า นายสุเทพ ซึ่งเป็นผู้ที่มาชี้แจงในครั้งนี้ เป็นกรรมการอิสระ ของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC ในเครือปตท. จึงเห็นได้ว่า เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้เป็นธุรกิจผูกขาด ที่เอื้อประโยชน์ให้กับปตท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไต่สวนในคดีดังกล่าว ศาลฯได้ใช้เวลาเกือบตลอดทั้งวันในการรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย โดยศาลไต่สวนเสร็จ เมื่อเวลา 18.00 น. และไมได้แจ้งว่า จะมีคำสั่งออกมาเมื่อใด ซึ่ง น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า มั่นใจในข้อมูลที่ฝ่ายผู้ฟ้องคดี นำเสนอต่อศาลฯ
***ศาลปค. ยังไม่ระบุมีคำสั่งเมื่อใด
ทั้งนี้การไต่สวนในคดีดังกล่าวศาลได้ใช้เวลาเกือบตลอดทั้งวันในการรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย โดยศาลไต่สวนเสร็จเมื่อเวลา 19.00 น. ซึ่ง น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ผู้ฟ้องคดี กล่าวหลังไต่สวนว่า ภาคประชาชนได้ชี้ให้ศาลเห็นว่า 1.การปรับขึ้นราคาก๊าซดังกล่าวยังมีปัญหาโครงสร้างราคาที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากการผูกขาดของปตท. โดยการกำหนดราคาต้นทุนที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่รู้ว่าคิดจากฐานอะไร 2.กอง ทุนน้ำมันมีปัญหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในการพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ซึ่งผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลเรียกข้อมูลดังกล่าว 3.เงิน ที่เรียกเก็บจากการขายน้ำมันเป็นเงินของประชาชน ไม่ใช่เงินงบประมาณของรัฐ จึงเหมือนกับประชาชนช่วยเหลือกันเอง อีกทั้งเงินที่อยู่ในและนำส่งกองทุนน้ำมัน ก็เหมือนเป็นการประกันกำไรให้กับปตท. 4.หากปล่อยมีการขึ้นเต็มเพดาน 6 บาท/กก. ย่อมเป็นเรื่องยากที่ราคาสินค้าจะลดลง ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
โดยการฟ้องศาลในคดีนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้ภาคประชาชนได้รับข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน อย่างในเรื่องเงินที่ได้จากการขึ้นแอลพีจีครั้งนี้ ทำให้รู้ว่ารัฐเอาไปไว้ในกองทุนน้ำมัน ไม่ได้เอาไปไว้ในเนื้อก๊าซ ดังนั้นถ้ามีคำสั่งระงับการปรับขึ้นก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อการบริหารงานของรัฐแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวยังเป็นการเลี่ยงภาษี อีกทั้งการปรับราคากาซครั้งนี้ ที่อ้างว่าเพื่อลดภาระผู้ใช้น้ำมัน แต่ข้อเท็จจริงผู้ใช้น้ำมันเบนซิน ยังถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อนำส่งไปเข้ากองทุนน้ำมันลิตรละ 7 บาท ขณะเดียวที่ในเรื่องของต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน พบว่า ภาพรวม 5 ใน 6 โรงกลั่น ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนั้นการจะกำหนดราคา จึงมีการฮั้วกันได้ ไม่น่าเชื่อถือ
ส่วน เรื่องปิโตรเคมี ทางผู้แทนของรัฐบาล ยอมรับว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไม่มีอำนาจที่จะให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซได้ก่อน และยังพบว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือปตท. ใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซปตท. ถึงร้อยละ 40 ซึ่งในส่วนของภาคประชาชน จะมีการส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าการฟ้องคดี ทางภาคประชาชนไม่ได้ต้องการราคาก๊าซหรือน้ำมันที่ต่ำ แต่ต้องการราคาที่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ทางตุลาการได้แจ้งว่า หากศาลยังมีข้อสงสัยในเรื่องใด ก็จะมีการเรียกเอกสารเพิ่มเติม และจะมีการพิจารณาเพื่อมีคำสั่งโดยเร็ว
วานนี้ ( 10 ก.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ เวลา 09.30 น. นายวุฒิชัย แสงสำราญ ตุลาการเจ้าของสำนวน ได้นัดไต่สวนในคดีหมายเลขดำ ที่ 1696/2556 กรณี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. น.ส.สาลี อ๋องสมหวัง ตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพวกรวม 5 ราย ฟ้องนายกรัฐมนตรี ครม. คณะกรรมการรนโยบายแห่งชาติ รมว.พลังงาน และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดี 1-5 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติครม. ที่เห็นชอบให้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ภาคครัวเรือน ขึ้นอีก 0.50 บาท ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1ก.ย. 56 จนสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ที่ 24.82 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่า เป็นมติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 ที่กำหนดให้ผู้บริโภค มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 กลับไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว และยังไม่เคยรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่อย่างใด เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อน เสียหาย พร้อมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้มติครม.ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
น.ส.รสนา กล่าวก่อนเข้ารับการไต่สวนจากศาลปกครองว่า วันนี้ทางผู้ฟ้องได้มีข้อมูลเพิ่มที่จะมายื่นต่อศาลเกี่ยวกับตัวเลข ข้อมูลการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อเป็นข้อมูลที่ศาลจะอาจจเรียกข้อมูลจากกระทรวงพลังงานฯ เพื่อนำมาพิจารณารวมด้วย
ด้านผู้ถูกฟ้อง ได้มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาเบิกความต่อศาลปกครองแทน
ทั้งนี้ในการไต่สวนครั้งนี้ ได้มีประชาชนผู้ที่คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซหุ้งต้มมาให้กำลังใจประมาณ 20 คน จะขอเข้าร่วมรับฟังด้วย แต่ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากไม่ใช่คู่กรณีในคดีนี้ และการไต่สวนครั้งนี้ ก็ไม่ได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดวงจรปิดให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีได้รับทราบ ทำให้ผู้ที่มาให้กำลังใจก็นั่งเฝ้ารออยู่ ด้านนอกห้องพิจารณา
**เอกสารไม่พร้อมศาลฯพักการไต่สวน
ต่อมา เวลา 11.45 น. ศาลปกครองได้สั่งพักการไต่สวนเป็นการชั่วคราว และนัดไต่สวนใหม่ในเวลา 13.45 น. โดยน.ส.จินตนา โตสิตระกูล ทนายผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี เปิดเผยว่า วันนี้ศาลได้เรียกเอกสารจากผู้ถูกร้องหลายอย่าง แต่นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และกรรมการเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ซึ่งเป็นผู้ที่รับได้มอบหมายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รมว.พลังงาน และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นตัวแทนชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาล ไม่สามารถนำเอกสารที่ศาลต้องการมาแสดงต่อศาลได้ เช่น เอกสารที่ศาลอย่างเห็น คำสั่ง กพช.ที่ 4/45 ที่แต่งตั้ง กบง.ขึ้นมาพิจารณา
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารในเรื่องของการคิดราคาต้นทุน ที่ศาลต้องการเห็นว่า การทำประชาพิจารณ์ และการศึกษา ก่อนที่จะมาขึ้นราคา ได้มีการทำประชาพิจารณ์ ที่ไหน มีการศึกษาอย่างไร ถึงอ้างได้ว่าประชาชนไม่คัดค้าน และยินยอมให้ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มดังกล่าว นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังกล่าวอ้างอีกว่า มีสมาคมผู้บริโภค เคยเข้าร่วมรับฟัง และยอมรับในกรณีนี้ด้วย
นางจินตนา กล่าวด้วยว่า ตลอดช่วงเช้า เป็นการเบิกความของนายสุเทพ เพียงคนเดียว แต่ศาลมีภารกิจอื่น ที่ต้องอ่านคำสั่งคดีอื่น จึงสั่งพักและจะไต่สวนต่ออีกครั้ง ในช่วงบ่าย เพราะยังมีผู้ถูกร้องอีก 1 คน คือ นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการและผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน และฝั่งของผู้ร้อง ประกอบด้วย นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา นางสารี อ๋องสมหวัง ตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ยังมีประเด็นที่ติดใจ และยังต้องซักถามอีกหลายประเด็น
ด้านน.ส.รสนา กล่าวว่า นายสุเทพ ซึ่งเป็นผู้ที่มาชี้แจงในครั้งนี้ เป็นกรรมการอิสระ ของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC ในเครือปตท. จึงเห็นได้ว่า เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้เป็นธุรกิจผูกขาด ที่เอื้อประโยชน์ให้กับปตท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไต่สวนในคดีดังกล่าว ศาลฯได้ใช้เวลาเกือบตลอดทั้งวันในการรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย โดยศาลไต่สวนเสร็จ เมื่อเวลา 18.00 น. และไมได้แจ้งว่า จะมีคำสั่งออกมาเมื่อใด ซึ่ง น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า มั่นใจในข้อมูลที่ฝ่ายผู้ฟ้องคดี นำเสนอต่อศาลฯ
***ศาลปค. ยังไม่ระบุมีคำสั่งเมื่อใด
ทั้งนี้การไต่สวนในคดีดังกล่าวศาลได้ใช้เวลาเกือบตลอดทั้งวันในการรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย โดยศาลไต่สวนเสร็จเมื่อเวลา 19.00 น. ซึ่ง น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ผู้ฟ้องคดี กล่าวหลังไต่สวนว่า ภาคประชาชนได้ชี้ให้ศาลเห็นว่า 1.การปรับขึ้นราคาก๊าซดังกล่าวยังมีปัญหาโครงสร้างราคาที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากการผูกขาดของปตท. โดยการกำหนดราคาต้นทุนที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่รู้ว่าคิดจากฐานอะไร 2.กอง ทุนน้ำมันมีปัญหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในการพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ซึ่งผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลเรียกข้อมูลดังกล่าว 3.เงิน ที่เรียกเก็บจากการขายน้ำมันเป็นเงินของประชาชน ไม่ใช่เงินงบประมาณของรัฐ จึงเหมือนกับประชาชนช่วยเหลือกันเอง อีกทั้งเงินที่อยู่ในและนำส่งกองทุนน้ำมัน ก็เหมือนเป็นการประกันกำไรให้กับปตท. 4.หากปล่อยมีการขึ้นเต็มเพดาน 6 บาท/กก. ย่อมเป็นเรื่องยากที่ราคาสินค้าจะลดลง ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
โดยการฟ้องศาลในคดีนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้ภาคประชาชนได้รับข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน อย่างในเรื่องเงินที่ได้จากการขึ้นแอลพีจีครั้งนี้ ทำให้รู้ว่ารัฐเอาไปไว้ในกองทุนน้ำมัน ไม่ได้เอาไปไว้ในเนื้อก๊าซ ดังนั้นถ้ามีคำสั่งระงับการปรับขึ้นก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อการบริหารงานของรัฐแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวยังเป็นการเลี่ยงภาษี อีกทั้งการปรับราคากาซครั้งนี้ ที่อ้างว่าเพื่อลดภาระผู้ใช้น้ำมัน แต่ข้อเท็จจริงผู้ใช้น้ำมันเบนซิน ยังถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อนำส่งไปเข้ากองทุนน้ำมันลิตรละ 7 บาท ขณะเดียวที่ในเรื่องของต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน พบว่า ภาพรวม 5 ใน 6 โรงกลั่น ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนั้นการจะกำหนดราคา จึงมีการฮั้วกันได้ ไม่น่าเชื่อถือ
ส่วน เรื่องปิโตรเคมี ทางผู้แทนของรัฐบาล ยอมรับว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไม่มีอำนาจที่จะให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซได้ก่อน และยังพบว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือปตท. ใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซปตท. ถึงร้อยละ 40 ซึ่งในส่วนของภาคประชาชน จะมีการส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าการฟ้องคดี ทางภาคประชาชนไม่ได้ต้องการราคาก๊าซหรือน้ำมันที่ต่ำ แต่ต้องการราคาที่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ทางตุลาการได้แจ้งว่า หากศาลยังมีข้อสงสัยในเรื่องใด ก็จะมีการเรียกเอกสารเพิ่มเติม และจะมีการพิจารณาเพื่อมีคำสั่งโดยเร็ว