ตัวแทนภาคประชาชนได้ร้องต่อศาลปกครองขอให้เปิดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองชั่วคราว กรณีการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีในภาคครัวเรือน แต่ทราบว่าศาลไม่รับคำร้องดังกล่าว ผมไม่ทราบว่าศาลไม่รับด้วยเหตุผลใด ในบทความนี้ผมจะพยายามทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว โดยการเขียนเป็นข้อๆ รวม 13 ข้อ คล้ายๆ กับการลำดับความเป็นมาและข้อสังเกต ซึ่งแม้ว่าจะมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถสรุปได้ง่ายๆ สั้นๆ ว่าเป็นยุทธวิธีเพียงสองขั้นตอนของรัฐบาลเท่านั้นคือ ทำข้อมูลให้คนมึนงงก่อน แล้วจากนั้นก็บังคับขึ้นราคาตามใจหมาย ซึ่งผมเรียกเป็นรหัสว่า “หนึ่งล้างสมองสองปล้น” ดังต่อไปนี้
หนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ รัฐบาลนี้ก็ได้ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนเรียบร้อยไปแล้ว โดยทยอยขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 12 เดือนติดต่อกัน เมื่อครบกำหนดแล้วราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้นจากวันนี้คิดเป็นร้อยละถึง 37% ในรอบหนึ่งปี
คำถามก็คือ มีสินค้าใดบ้างที่สามารถขึ้นราคาในอัตราสูงมากขนาดนี้ กรณีค่าทางด่วนมีสัญญารองรับว่าให้ขึ้นได้ตามอัตราเงินเฟ้อในรอบ 5 ปีซึ่งประมาณสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่กรณีนี้มัน 37% ครับ
สอง รัฐบาลอ้างว่า “ก็ไม่ได้ขึ้นราคามานานแล้ว” ประโยคดังกล่าวเป็นความจริงครับ แต่พ่อค้าก๊าซได้รับเงินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ตนเองต้องการมาตลอด โดยมีการชดเชยจากกองทุนน้ำมันที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมัน นับตั้งแต่ปี 2551 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีการชดเชยการนำเข้าไปแล้ว 1.04 แสนล้านบาท และในช่วง มกราคม 54 ถึงกุมภาพันธ์ 56 มีการชดเชยโรงกลั่น (ซึ่งผลิตแอลพีจีได้ด้วย) 16,148 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปเข้ากระเป๋าพ่อค้าก๊าซ ดังนั้น การที่ไม่ได้ขึ้นราคามานานแล้วจึงไม่ใช่ข้ออ้าง คำถามเดิมก็คือทำไมจึงขึ้นถึง 37% และเงินที่เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 6.69 บาท จะไปสู่พ่อค้าและรัฐในสัดส่วนเท่าใด หรือเข้ากระเป๋าของพ่อค้าทั้งหมด
สาม รัฐบาลอาจอ้างว่า “ก็เพราะราคาตลาดโลกมันสูง” ซึ่งก็อาจจะจริง แต่ขอหลักฐานและข้อมูลที่เป็นระบบหน่อยได้ไหม? เช่น เขียนกราฟ เพราะข้อมูลที่มีการจัดการที่ดีจะทำให้เราสามารถเห็นสิ่งที่ผิดปกติได้ง่าย เช่น ถ้าราคาน้ำมันดิบลดลง แต่ทำไมน้ำมันสำเร็จรูปจึงไม่ยอมลด เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟก็คล้ายๆ กับแพทย์ดูฟิล์มเอกซเรย์ เห็นปุ๊บก็รู้ปั๊บว่าอวัยวะส่วนใดผิดปกติบ้าง หลักฐานการซื้อขายก็จำเป็น อย่าลืมว่าธุรกิจก๊าซเป็นธุรกิจที่ผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน ความโปร่งใสจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ
ในเรื่องแอลพีจี จากมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 138 (30 กันยายน 2554) ระบุว่า “ปี 2553 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 583 - 921 เหรียญสหรัฐ/ตัน เฉลี่ยอยู่ที่ 711 เหรียญสหรัฐ/ตัน” (กระทรวงพลังงานเรียกราคานี้ว่า Contract Price และใช้ราคาตลาดในตะวันออกกลางเป็นเกณฑ์)
ผมพยายามค้นหาราคาดังกล่าวจากต่างประเทศ เพื่อมาตรวจสอบกับราคาดังกล่าวของกระทรวงพลังงาน ปรากฏว่าผมได้ข้อมูลดังกล่าวจากประเทศมาเลเซีย (จาก National Energy Balance 2010 Malaysia) พบว่า ในปี 2553 (หรือ 2010) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 684 เหรียญสหรัฐ/ตัน เท่านั้นเอง นั่นคือข้อมูลของกระทรวงพลังงานไทยสูงไปถึง 27 เหรียญ หรือร้อยละ 15.2% ของราคาที่ประเทศมาเลเซียอ้าง ผมนำกราฟมาให้ดูด้วยครับ
ตามที่กระทรวงพลังงานจะขึ้นราคาในหนึ่งปี 37% นั้น ถ้าเราเชื่อตามข้อมูลของประเทศมาเลเซีย (ซึ่งอ้างถึงข้อมูลในอ่าวอาหรับ) อัตราการขึ้นราคาของบ้านเราคราวนี้ ก็จะลดลงไปเยอะเลยครับ
ถ้าศาลปกครองรับพิจารณาคำร้องข้างต้น ผู้บริโภคก็มีโอกาสจะได้รู้ความจริง เพราะศาลจะได้เรียกเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา เช่น ซื้อมาจากไหน ราคาเท่าใด ตรงกับที่กรมศุลกากรเก็บภาษีหรือไม่ มีข่าวจากคนในวงการว่า การนำเข้าปิโตรเลียมสู่ประเทศไทยนั้นต้องผ่านบริษัทนายหน้าถึง 4 ขั้นตอน น่าเสียดายที่โอกาสที่จะรู้ความจริงของคนไทยต้องหายไป แล้วจะให้คนไทยไปพึ่งใครครับ ข้อต่อไปนี้เป็นการลำดับความเป็นมาที่นำมาซึ่งปัญหาแอลพีจีในปัจจุบันครับ
สี่ เริ่มตั้งแต่การเขียนกฎหมายที่ชื่อว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 โดยกำหนดว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะอยู่ใต้โฉนดของใครก็ตาม แต่เมื่อขุดขึ้นมาได้แล้ว ปิโตรเลียมต้องเป็นของผู้รับสัมปทานไม่ใช่ของรัฐอีกต่อไป ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่จ่ายค่าภาคหลวงและภาษีบางส่วนให้รัฐ หลังจากนั้นจะนำปิโตรเลียมไปขายหรือไม่ขายให้ใครก็ได้ ในขณะที่ประเทศอื่นส่วนมาก เช่น อินโดนีเซีย ถือว่าผลผลิตที่ได้ยังคงเป็นของรัฐอยู่ รัฐจึงยังมีอำนาจในการจัดสรรปิโตรเลียมหรือเพิ่ม/ลดการผลิตเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่กรณีประเทศไทยเป็นนั้นแล้วแต่ผู้รับสัมปทานจะเห็นชอบ
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมากครับ เพราะจะนำไปสู่ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือก๊าซแอลพีจีมีไม่พอใช้ภายในประเทศ ที่ผ่านมาคนไทยเราได้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (ที่ขุดมาจากแผ่นดินของรัฐหรือของประชาชน) ก็เพราะว่า ผู้รับสัมปทานไม่มีความสามารถจะนำก๊าซไปขายที่อื่นได้ อันเนื่องมาจากไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอ จึงจำเป็นต้องขายภายในประเทศ แต่วันนี้ต่างจากเมื่อก่อนครับ ผู้รับสัมปทานสามารถนำก๊าซไปทำเป็นเม็ดพลาสติก ทำปิโตรเคมี รวมทั้งอัดใส่ถังแล้วส่งไปขายที่ไหนก็ได้ในโลกนี้
ห้า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกก๊าซแอลพีจีมาตลอด ติดต่อกันตั้งแต่ปี 2538 จนถึง 2550 บางปีส่งออกถึงเกือบ 1 ล้านตัน แต่นับจากปี 2551 เป็นต้นมา เรากลับต้องนำเข้าตลอด ในปี 2555 มีการนำเข้าประมาณ 1.7 ล้านตัน โดยที่ปริมาณการใช้ทั้งประเทศประมาณ 7.7 ล้านตัน
ในปี 2555 โรงแยกก๊าซซึ่งใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมดสามารถผลิตแอลพีจีได้ 55% ของความต้องการใช้
หก รัฐบาลอ้างว่า สาเหตุที่ก๊าซแอลพีจีไม่พอใช้ก็เป็นเพราะภาคขนส่งมีการใช้เพิ่มขึ้นมาก เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมัน ที่ราคาถูกเช่นนี้เพราะมีการเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมันมาอุดหนุนให้ผู้ใช้แอลพีจี โดยที่พ่อค้าก๊าซได้รับเงินในราคาตลาดโลกซึ่งมีราคาสูงกว่าภายในประเทศตลอดมา การที่ราคาภายในประเทศต่ำกว่าตลาดโลกก็ส่งผลให้ผู้รับสัมปทานจ่ายค่าภาคหลวงให้รัฐน้อยลง แต่พ่อค้าก๊าซก็ยังคงได้รับเงินในราคาตลาดโลก โดยให้ผู้ใช้น้ำมันจ่ายแทนผ่านกองทุนน้ำมันนั่นเอง
แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเองพบว่า ในช่วง 5 ปีคือ 2550-2555 กลุ่มผู้ใช้ที่มีอัตราการใช้เพิ่มสูงที่สุดคือภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. และมีสถานะเป็นบริษัทเอกชน) ในอัตรา 164% ในขณะที่กลุ่มภาคขนส่งที่ถูกรัฐบาลกล่าวหามีอัตราการเพิ่ม 85% ดังกราฟ
นี่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือเป็นการทำปัญหาให้เบลอๆ คลุมเครือ หลังจากนั้นจะได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วประชาชนก็ทำอะไรไม่ได้เพราะมึนชาไปหมดแล้ว ไม่รู้ว่าอะไรเป็นของจริง อะไรเป็นของเท็จ
เจ็ด กล่าวเฉพาะผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา (2514-2554) พบว่าผู้รับสัมปทานได้ผลกำไรสุทธิถึง 60% ของเงินลงทุนทั้งหมด โดยที่ในปี 2554 ผู้รับสัมปทานได้กำไรไปถึง 97% (คำนวณจากข้อมูลในรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ)
ข้อมูลที่กระทรวงพลังงานอ้างผ่านสื่อต่างๆ ว่ารัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าบริษัทที่รับสัมปทานนั้น เป็นการอ้างที่ได้ไม่ได้ตั้งบนสาระสำคัญที่แท้จริง กล่าวคือ อ้างจากผลประโยชน์ที่หักต้นทุนแล้ว แต่เป็นการหักต้นทุนที่อนุญาตให้หักได้โดยไม่จำกัดจำนวน (หมายเหตุ เคยจำกัดว่าหักต้นทุนได้ไม่เกิน 20% ของมูลค่าปิโตรเลียม แต่ก็ถูกยกเลิกไปโดยคำแนะนำของบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ) สาระสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ว่าผู้รับสัมปทานได้กำไรไปร้อยละเท่าใดของเงินลงทุน เห็นการบิดเบือนก็เท็จจริงของข้าราชการระดับสูงแล้วหรือยังครับ ด้วยเหตุดังกล่าว ส่งผลให้รัฐได้ผลประโยชน์จากกิจการปิโตรเลียมน้อยกว่าชาวโลก ในขณะที่คนไทยต้องซื้อก๊าซในราคาสูงตามตลาดโลก
แปด เมื่อเริ่มเห็นแนวโน้มว่าปริมาณแอลพีจีจะไม่พอใช้ภายในประเทศ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (ในการประชุม 13 พฤศจิกายน 2551) จึงได้ออกมาตรการว่า ให้ภาครัวเรือนและปิโตรเคมีได้ใช้เป็นอันดับแรก ที่เหลือจึงให้ภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมใช้ หากไม่พออีกก็ให้นำเข้าจากต่างประเทศมารองรับส่วนที่ขาด
ผู้ที่ชงเรื่องนี้เข้าที่ประชุมดังกล่าวก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานที่ในขณะเดียวกันก็นั่งเป็นกรรมการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วย โดยที่ได้รับผลตอบแทนจากบริษัทมากกว่าจากราชการนับสิบเท่า
เก้า มติดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจทางการปกครองเพื่อตัดสิทธิ์การได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนแผ่นดินเกิดของคนไทย 67 ล้านคน แล้วเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทลูกของ ปตท. (บริษัท พีทีทีจีซี ซึ่งทำน้ำมันรั่วเมื่อเร็วๆนี้) หรือไม่ แม้ว่าจะเป็นไปตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 คือผลผลิตเป็นของเอกชน แต่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 85 (4) เรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ แล้วถ้าขัดกันเราควรจะปฏิบัติตามกฎหมายใด
ผมเข้าใจว่า นี่เป็นการใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือจะเรียกตามภาษาของผมว่าคือ การ “ปล้น” ทรัพยากรธรรมชาติของคนไทย ผมเข้าใจเอาเองว่า ผู้ร้องคงอยากให้ศาลปกครองช่วยพิจารณาในประเด็นนี้ด้วยนะครับ
ประเด็นต่อไปนี้จะว่าด้วยการ “ล้างสมอง” ของคนไทย หรือเป็นการทำให้คนไทย “มึนงง” จนไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ด้วยกระบวนการต่างๆ ทั้งผ่านการสื่อสารที่ต้องจ่ายเงินจำนวนมาก ให้ข้อมูลที่ยากต่อการเข้าใจ บางครั้งก็เป็นข้อมูลเท็จบ้าง ซึ่งก็น่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ที่ว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นจริง” ซึ่งรวมทั้งให้องค์กรผู้บริโภคให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการที่อาจจะกระทบต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา 78 (5) ซึ่งผมจะขอนำเสนอเป็นข้อๆ ต่อไป ดังนี้
สิบ เหตุผลที่กระทรวงพลังงานนำมาใช้ในการขึ้นราคาครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง (ซึ่งฟังดูดีมีเหตุผล) แต่กลับไม่มีการแจกแจงต้นทุนที่แท้จริงของกิจการให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซแอลพีจีผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศได้เท่าใด นำเข้าจำนวนเท่าใด ในราคาเท่าใด และราคาเฉลี่ยเป็นเท่าใด
กระทรวงพลังงานอ้างว่าได้ “ทำความเข้าใจ” กับประชาชนผ่านสื่อ เอกสารและเวทีต่างๆหลายครั้ง แต่นั่นไม่ใช่ “กระบวนการมีส่วนร่วม” ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่เน้นที่การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงอย่างโปร่งใส อธิบายได้อย่างมีความรับผิดชอบ ตอบคำถามได้ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย เช่น ทำไมไม่ยอมเปิดเผยราคาที่ ปตท. ขายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเหมือนกับราคาของภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมอื่น ผมได้นำเอกสารดังกล่าว (30 สิงหาคม 56) มาลงในที่นี้ด้วย
โปรดสังเกตว่า ภาคอุตสาหกรรมอื่น (ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี) และภาคขนส่ง ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันสองครั้งรวม 12.1166 และ 3.934 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
สิ่งที่กระทรวงพลังงานทำอยู่เขาเรียกว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่การมีส่วนร่วมครับ
อนึ่ง จากการชี้แจงในภายหลังของกระทรวงพลังงานพบว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพียง 1 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น แม้จะมีคำอธิบายจากกระทรวงพลังงาน แต่เป็นคำอธิบายที่ไม่สามารถเข้าใจได้ (ไม่ได้ดื้อนะครับ แต่เป็นคำอธิบายที่ไม่ใช่หลักปฏิบัติที่เป็นสากล คือไปอ้างว่าต้องจ่ายภาษีเงินได้ในกิจการสุดท้าย ซึ่งอุตสาหกรรมอื่นก็ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน)
และเมื่อผมลองเข้าไปดูในเอกสารของกองทุนน้ำมัน ก็ไม่พบว่ากองทุนน้ำมันมีรายได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติว่าจะจ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
ผมว่าเรื่องนี้ทางผู้ร้องก็หวังพึ่งอำนาจศาลด้วยนะครับ
สิบเอ็ด จากข้อสิบ ในขณะที่ราคาหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.40 บาท แต่ทำไมราคาจากแหล่งสิริกิติ์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ในเดือนมิถุนายน จึงเท่ากับ 9.11 บาทเท่านั้น
ผมเข้าใจว่าราคาก๊าซที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซอื่นๆ ซึ่งใช้วัตถุดิบในประเทศก็น่าจะอยู่ในประมาณนี้คือ 9.11 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทำไมราคาจึงต่างกันถึงกิโลกรัมละ 1.29 บาท ในปี 2555 ประเทศเราผลิตแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 6.05 และ 1.97 ล้านตัน ตามลำดับ ส่วนต่างของราคาดังกล่าวคิดเป็นเงินก็ปีละประมาณ 3 พันล้านบาท
สิบสอง ผมได้สุ่มข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และราคาหน้าโรงกลั่นที่กระทรวงพลังงานนำเสนอ (แต่เข้าใจยาก ดังที่กล่าวแล้ว) ทุกกลางเดือนรวม 12 เดือน พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 31.8708 บาทต่อเหรียญ และราคาหน้าโรงกลั่น 10.69 บาทต่อกิโลกรัม
ถ้าใช้ข้อมูลที่ประเทศมาเลเซียนำเสนอ (684 เหรียญต่อตัน) พบว่า ราคาตลาดโลกของปี 2553 เฉลี่ยเท่ากับ 21.80 บาท แต่ถ้าใช้ข้อมูลของกระทรวงพลังงาน (711 เหรียญต่อตัน) ก็จะเท่ากับ 22.66 บาท ส่วนเกินกิโลกรัมละ 86 สตางค์ มันหายไปไหน หรือต้องจ่ายเป็นค่านายหน้าให้ใคร
จากข้อมูลการชดเชยที่กระทรวงพลังงานอ้าง (ในวารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 99) ระบุว่าในปี 2553 มีการชดเชยให้โรงกลั่นน้ำมันกิโลกรัมละ 13.97 บาท แต่ราคาที่หน้าโรงกลั่นได้รับเงินไปแล้วจากผู้ซื้อแล้วเท่ากับ 10.69 บาท ดังนั้นเมื่อรวม ทั้ง 2 รายการเข้าด้วยกันจึงเท่ากับ 24.66 บาทต่อกิโลกรัม มันกลับสูงกว่าราคาตลาดโลก (คือ 21.80 หรือ 22.66 บาท)
ถ้าอย่างนั้นเราจะมีโรงกลั่นไปทำไม ในเมื่อซื้อจากต่างประเทศยังถูกกว่า
สิบสาม คำถามที่กระทรวงพลังงานยังไม่ตอบเลยคือ ราคาก๊าซจากโรงแยกกิโลกรัมละเท่าใด เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับราคาหน้าโรงกลั่นปี 2553 ผมจึงหาค่าเฉลี่ยจากแหล่งสิริกิติ์ (ผลิตได้ประมาณ 7.8 หมื่นตัน หรือประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการภายในประเทศ) พบว่า ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 9.79 บาท ต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่นซึ่งเท่ากับ 10.69 บาทต่อกิโลกรัม
สรุป ประเด็นต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ คนไทยทั้งในฐานะเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติและในฐานะผู้บริโภคจะทราบข้อเท็จจริงได้จากใครครับ ถ้าศาลที่เคารพไม่กรุณาทำความจริงให้ปรากฏ จบครับ รัฐบาลซึ่งใช้อำนาจบริหารก็หลีกเลี่ยง รัฐสภาซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติก็เหลวไหล
คงเหลือแต่ศาลที่เคารพเท่านั้นแหละครับ โปรดรับทราบด้วยครับ
หนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ รัฐบาลนี้ก็ได้ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนเรียบร้อยไปแล้ว โดยทยอยขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 12 เดือนติดต่อกัน เมื่อครบกำหนดแล้วราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้นจากวันนี้คิดเป็นร้อยละถึง 37% ในรอบหนึ่งปี
คำถามก็คือ มีสินค้าใดบ้างที่สามารถขึ้นราคาในอัตราสูงมากขนาดนี้ กรณีค่าทางด่วนมีสัญญารองรับว่าให้ขึ้นได้ตามอัตราเงินเฟ้อในรอบ 5 ปีซึ่งประมาณสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่กรณีนี้มัน 37% ครับ
สอง รัฐบาลอ้างว่า “ก็ไม่ได้ขึ้นราคามานานแล้ว” ประโยคดังกล่าวเป็นความจริงครับ แต่พ่อค้าก๊าซได้รับเงินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ตนเองต้องการมาตลอด โดยมีการชดเชยจากกองทุนน้ำมันที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมัน นับตั้งแต่ปี 2551 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีการชดเชยการนำเข้าไปแล้ว 1.04 แสนล้านบาท และในช่วง มกราคม 54 ถึงกุมภาพันธ์ 56 มีการชดเชยโรงกลั่น (ซึ่งผลิตแอลพีจีได้ด้วย) 16,148 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปเข้ากระเป๋าพ่อค้าก๊าซ ดังนั้น การที่ไม่ได้ขึ้นราคามานานแล้วจึงไม่ใช่ข้ออ้าง คำถามเดิมก็คือทำไมจึงขึ้นถึง 37% และเงินที่เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 6.69 บาท จะไปสู่พ่อค้าและรัฐในสัดส่วนเท่าใด หรือเข้ากระเป๋าของพ่อค้าทั้งหมด
สาม รัฐบาลอาจอ้างว่า “ก็เพราะราคาตลาดโลกมันสูง” ซึ่งก็อาจจะจริง แต่ขอหลักฐานและข้อมูลที่เป็นระบบหน่อยได้ไหม? เช่น เขียนกราฟ เพราะข้อมูลที่มีการจัดการที่ดีจะทำให้เราสามารถเห็นสิ่งที่ผิดปกติได้ง่าย เช่น ถ้าราคาน้ำมันดิบลดลง แต่ทำไมน้ำมันสำเร็จรูปจึงไม่ยอมลด เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟก็คล้ายๆ กับแพทย์ดูฟิล์มเอกซเรย์ เห็นปุ๊บก็รู้ปั๊บว่าอวัยวะส่วนใดผิดปกติบ้าง หลักฐานการซื้อขายก็จำเป็น อย่าลืมว่าธุรกิจก๊าซเป็นธุรกิจที่ผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน ความโปร่งใสจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ
ในเรื่องแอลพีจี จากมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 138 (30 กันยายน 2554) ระบุว่า “ปี 2553 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 583 - 921 เหรียญสหรัฐ/ตัน เฉลี่ยอยู่ที่ 711 เหรียญสหรัฐ/ตัน” (กระทรวงพลังงานเรียกราคานี้ว่า Contract Price และใช้ราคาตลาดในตะวันออกกลางเป็นเกณฑ์)
ผมพยายามค้นหาราคาดังกล่าวจากต่างประเทศ เพื่อมาตรวจสอบกับราคาดังกล่าวของกระทรวงพลังงาน ปรากฏว่าผมได้ข้อมูลดังกล่าวจากประเทศมาเลเซีย (จาก National Energy Balance 2010 Malaysia) พบว่า ในปี 2553 (หรือ 2010) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 684 เหรียญสหรัฐ/ตัน เท่านั้นเอง นั่นคือข้อมูลของกระทรวงพลังงานไทยสูงไปถึง 27 เหรียญ หรือร้อยละ 15.2% ของราคาที่ประเทศมาเลเซียอ้าง ผมนำกราฟมาให้ดูด้วยครับ
ตามที่กระทรวงพลังงานจะขึ้นราคาในหนึ่งปี 37% นั้น ถ้าเราเชื่อตามข้อมูลของประเทศมาเลเซีย (ซึ่งอ้างถึงข้อมูลในอ่าวอาหรับ) อัตราการขึ้นราคาของบ้านเราคราวนี้ ก็จะลดลงไปเยอะเลยครับ
ถ้าศาลปกครองรับพิจารณาคำร้องข้างต้น ผู้บริโภคก็มีโอกาสจะได้รู้ความจริง เพราะศาลจะได้เรียกเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา เช่น ซื้อมาจากไหน ราคาเท่าใด ตรงกับที่กรมศุลกากรเก็บภาษีหรือไม่ มีข่าวจากคนในวงการว่า การนำเข้าปิโตรเลียมสู่ประเทศไทยนั้นต้องผ่านบริษัทนายหน้าถึง 4 ขั้นตอน น่าเสียดายที่โอกาสที่จะรู้ความจริงของคนไทยต้องหายไป แล้วจะให้คนไทยไปพึ่งใครครับ ข้อต่อไปนี้เป็นการลำดับความเป็นมาที่นำมาซึ่งปัญหาแอลพีจีในปัจจุบันครับ
สี่ เริ่มตั้งแต่การเขียนกฎหมายที่ชื่อว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 โดยกำหนดว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะอยู่ใต้โฉนดของใครก็ตาม แต่เมื่อขุดขึ้นมาได้แล้ว ปิโตรเลียมต้องเป็นของผู้รับสัมปทานไม่ใช่ของรัฐอีกต่อไป ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่จ่ายค่าภาคหลวงและภาษีบางส่วนให้รัฐ หลังจากนั้นจะนำปิโตรเลียมไปขายหรือไม่ขายให้ใครก็ได้ ในขณะที่ประเทศอื่นส่วนมาก เช่น อินโดนีเซีย ถือว่าผลผลิตที่ได้ยังคงเป็นของรัฐอยู่ รัฐจึงยังมีอำนาจในการจัดสรรปิโตรเลียมหรือเพิ่ม/ลดการผลิตเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่กรณีประเทศไทยเป็นนั้นแล้วแต่ผู้รับสัมปทานจะเห็นชอบ
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมากครับ เพราะจะนำไปสู่ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือก๊าซแอลพีจีมีไม่พอใช้ภายในประเทศ ที่ผ่านมาคนไทยเราได้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (ที่ขุดมาจากแผ่นดินของรัฐหรือของประชาชน) ก็เพราะว่า ผู้รับสัมปทานไม่มีความสามารถจะนำก๊าซไปขายที่อื่นได้ อันเนื่องมาจากไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอ จึงจำเป็นต้องขายภายในประเทศ แต่วันนี้ต่างจากเมื่อก่อนครับ ผู้รับสัมปทานสามารถนำก๊าซไปทำเป็นเม็ดพลาสติก ทำปิโตรเคมี รวมทั้งอัดใส่ถังแล้วส่งไปขายที่ไหนก็ได้ในโลกนี้
ห้า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกก๊าซแอลพีจีมาตลอด ติดต่อกันตั้งแต่ปี 2538 จนถึง 2550 บางปีส่งออกถึงเกือบ 1 ล้านตัน แต่นับจากปี 2551 เป็นต้นมา เรากลับต้องนำเข้าตลอด ในปี 2555 มีการนำเข้าประมาณ 1.7 ล้านตัน โดยที่ปริมาณการใช้ทั้งประเทศประมาณ 7.7 ล้านตัน
ในปี 2555 โรงแยกก๊าซซึ่งใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมดสามารถผลิตแอลพีจีได้ 55% ของความต้องการใช้
หก รัฐบาลอ้างว่า สาเหตุที่ก๊าซแอลพีจีไม่พอใช้ก็เป็นเพราะภาคขนส่งมีการใช้เพิ่มขึ้นมาก เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมัน ที่ราคาถูกเช่นนี้เพราะมีการเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมันมาอุดหนุนให้ผู้ใช้แอลพีจี โดยที่พ่อค้าก๊าซได้รับเงินในราคาตลาดโลกซึ่งมีราคาสูงกว่าภายในประเทศตลอดมา การที่ราคาภายในประเทศต่ำกว่าตลาดโลกก็ส่งผลให้ผู้รับสัมปทานจ่ายค่าภาคหลวงให้รัฐน้อยลง แต่พ่อค้าก๊าซก็ยังคงได้รับเงินในราคาตลาดโลก โดยให้ผู้ใช้น้ำมันจ่ายแทนผ่านกองทุนน้ำมันนั่นเอง
แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเองพบว่า ในช่วง 5 ปีคือ 2550-2555 กลุ่มผู้ใช้ที่มีอัตราการใช้เพิ่มสูงที่สุดคือภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. และมีสถานะเป็นบริษัทเอกชน) ในอัตรา 164% ในขณะที่กลุ่มภาคขนส่งที่ถูกรัฐบาลกล่าวหามีอัตราการเพิ่ม 85% ดังกราฟ
นี่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือเป็นการทำปัญหาให้เบลอๆ คลุมเครือ หลังจากนั้นจะได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วประชาชนก็ทำอะไรไม่ได้เพราะมึนชาไปหมดแล้ว ไม่รู้ว่าอะไรเป็นของจริง อะไรเป็นของเท็จ
เจ็ด กล่าวเฉพาะผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา (2514-2554) พบว่าผู้รับสัมปทานได้ผลกำไรสุทธิถึง 60% ของเงินลงทุนทั้งหมด โดยที่ในปี 2554 ผู้รับสัมปทานได้กำไรไปถึง 97% (คำนวณจากข้อมูลในรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ)
ข้อมูลที่กระทรวงพลังงานอ้างผ่านสื่อต่างๆ ว่ารัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าบริษัทที่รับสัมปทานนั้น เป็นการอ้างที่ได้ไม่ได้ตั้งบนสาระสำคัญที่แท้จริง กล่าวคือ อ้างจากผลประโยชน์ที่หักต้นทุนแล้ว แต่เป็นการหักต้นทุนที่อนุญาตให้หักได้โดยไม่จำกัดจำนวน (หมายเหตุ เคยจำกัดว่าหักต้นทุนได้ไม่เกิน 20% ของมูลค่าปิโตรเลียม แต่ก็ถูกยกเลิกไปโดยคำแนะนำของบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ) สาระสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ว่าผู้รับสัมปทานได้กำไรไปร้อยละเท่าใดของเงินลงทุน เห็นการบิดเบือนก็เท็จจริงของข้าราชการระดับสูงแล้วหรือยังครับ ด้วยเหตุดังกล่าว ส่งผลให้รัฐได้ผลประโยชน์จากกิจการปิโตรเลียมน้อยกว่าชาวโลก ในขณะที่คนไทยต้องซื้อก๊าซในราคาสูงตามตลาดโลก
แปด เมื่อเริ่มเห็นแนวโน้มว่าปริมาณแอลพีจีจะไม่พอใช้ภายในประเทศ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (ในการประชุม 13 พฤศจิกายน 2551) จึงได้ออกมาตรการว่า ให้ภาครัวเรือนและปิโตรเคมีได้ใช้เป็นอันดับแรก ที่เหลือจึงให้ภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมใช้ หากไม่พออีกก็ให้นำเข้าจากต่างประเทศมารองรับส่วนที่ขาด
ผู้ที่ชงเรื่องนี้เข้าที่ประชุมดังกล่าวก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานที่ในขณะเดียวกันก็นั่งเป็นกรรมการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วย โดยที่ได้รับผลตอบแทนจากบริษัทมากกว่าจากราชการนับสิบเท่า
เก้า มติดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจทางการปกครองเพื่อตัดสิทธิ์การได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนแผ่นดินเกิดของคนไทย 67 ล้านคน แล้วเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทลูกของ ปตท. (บริษัท พีทีทีจีซี ซึ่งทำน้ำมันรั่วเมื่อเร็วๆนี้) หรือไม่ แม้ว่าจะเป็นไปตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 คือผลผลิตเป็นของเอกชน แต่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 85 (4) เรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ แล้วถ้าขัดกันเราควรจะปฏิบัติตามกฎหมายใด
ผมเข้าใจว่า นี่เป็นการใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือจะเรียกตามภาษาของผมว่าคือ การ “ปล้น” ทรัพยากรธรรมชาติของคนไทย ผมเข้าใจเอาเองว่า ผู้ร้องคงอยากให้ศาลปกครองช่วยพิจารณาในประเด็นนี้ด้วยนะครับ
ประเด็นต่อไปนี้จะว่าด้วยการ “ล้างสมอง” ของคนไทย หรือเป็นการทำให้คนไทย “มึนงง” จนไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ด้วยกระบวนการต่างๆ ทั้งผ่านการสื่อสารที่ต้องจ่ายเงินจำนวนมาก ให้ข้อมูลที่ยากต่อการเข้าใจ บางครั้งก็เป็นข้อมูลเท็จบ้าง ซึ่งก็น่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ที่ว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นจริง” ซึ่งรวมทั้งให้องค์กรผู้บริโภคให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการที่อาจจะกระทบต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา 78 (5) ซึ่งผมจะขอนำเสนอเป็นข้อๆ ต่อไป ดังนี้
สิบ เหตุผลที่กระทรวงพลังงานนำมาใช้ในการขึ้นราคาครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง (ซึ่งฟังดูดีมีเหตุผล) แต่กลับไม่มีการแจกแจงต้นทุนที่แท้จริงของกิจการให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซแอลพีจีผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศได้เท่าใด นำเข้าจำนวนเท่าใด ในราคาเท่าใด และราคาเฉลี่ยเป็นเท่าใด
กระทรวงพลังงานอ้างว่าได้ “ทำความเข้าใจ” กับประชาชนผ่านสื่อ เอกสารและเวทีต่างๆหลายครั้ง แต่นั่นไม่ใช่ “กระบวนการมีส่วนร่วม” ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่เน้นที่การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงอย่างโปร่งใส อธิบายได้อย่างมีความรับผิดชอบ ตอบคำถามได้ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย เช่น ทำไมไม่ยอมเปิดเผยราคาที่ ปตท. ขายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเหมือนกับราคาของภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมอื่น ผมได้นำเอกสารดังกล่าว (30 สิงหาคม 56) มาลงในที่นี้ด้วย
โปรดสังเกตว่า ภาคอุตสาหกรรมอื่น (ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี) และภาคขนส่ง ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันสองครั้งรวม 12.1166 และ 3.934 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
สิ่งที่กระทรวงพลังงานทำอยู่เขาเรียกว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่การมีส่วนร่วมครับ
อนึ่ง จากการชี้แจงในภายหลังของกระทรวงพลังงานพบว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพียง 1 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น แม้จะมีคำอธิบายจากกระทรวงพลังงาน แต่เป็นคำอธิบายที่ไม่สามารถเข้าใจได้ (ไม่ได้ดื้อนะครับ แต่เป็นคำอธิบายที่ไม่ใช่หลักปฏิบัติที่เป็นสากล คือไปอ้างว่าต้องจ่ายภาษีเงินได้ในกิจการสุดท้าย ซึ่งอุตสาหกรรมอื่นก็ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน)
และเมื่อผมลองเข้าไปดูในเอกสารของกองทุนน้ำมัน ก็ไม่พบว่ากองทุนน้ำมันมีรายได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติว่าจะจ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
ผมว่าเรื่องนี้ทางผู้ร้องก็หวังพึ่งอำนาจศาลด้วยนะครับ
สิบเอ็ด จากข้อสิบ ในขณะที่ราคาหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.40 บาท แต่ทำไมราคาจากแหล่งสิริกิติ์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ในเดือนมิถุนายน จึงเท่ากับ 9.11 บาทเท่านั้น
ผมเข้าใจว่าราคาก๊าซที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซอื่นๆ ซึ่งใช้วัตถุดิบในประเทศก็น่าจะอยู่ในประมาณนี้คือ 9.11 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทำไมราคาจึงต่างกันถึงกิโลกรัมละ 1.29 บาท ในปี 2555 ประเทศเราผลิตแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 6.05 และ 1.97 ล้านตัน ตามลำดับ ส่วนต่างของราคาดังกล่าวคิดเป็นเงินก็ปีละประมาณ 3 พันล้านบาท
สิบสอง ผมได้สุ่มข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และราคาหน้าโรงกลั่นที่กระทรวงพลังงานนำเสนอ (แต่เข้าใจยาก ดังที่กล่าวแล้ว) ทุกกลางเดือนรวม 12 เดือน พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 31.8708 บาทต่อเหรียญ และราคาหน้าโรงกลั่น 10.69 บาทต่อกิโลกรัม
ถ้าใช้ข้อมูลที่ประเทศมาเลเซียนำเสนอ (684 เหรียญต่อตัน) พบว่า ราคาตลาดโลกของปี 2553 เฉลี่ยเท่ากับ 21.80 บาท แต่ถ้าใช้ข้อมูลของกระทรวงพลังงาน (711 เหรียญต่อตัน) ก็จะเท่ากับ 22.66 บาท ส่วนเกินกิโลกรัมละ 86 สตางค์ มันหายไปไหน หรือต้องจ่ายเป็นค่านายหน้าให้ใคร
จากข้อมูลการชดเชยที่กระทรวงพลังงานอ้าง (ในวารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 99) ระบุว่าในปี 2553 มีการชดเชยให้โรงกลั่นน้ำมันกิโลกรัมละ 13.97 บาท แต่ราคาที่หน้าโรงกลั่นได้รับเงินไปแล้วจากผู้ซื้อแล้วเท่ากับ 10.69 บาท ดังนั้นเมื่อรวม ทั้ง 2 รายการเข้าด้วยกันจึงเท่ากับ 24.66 บาทต่อกิโลกรัม มันกลับสูงกว่าราคาตลาดโลก (คือ 21.80 หรือ 22.66 บาท)
ถ้าอย่างนั้นเราจะมีโรงกลั่นไปทำไม ในเมื่อซื้อจากต่างประเทศยังถูกกว่า
สิบสาม คำถามที่กระทรวงพลังงานยังไม่ตอบเลยคือ ราคาก๊าซจากโรงแยกกิโลกรัมละเท่าใด เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับราคาหน้าโรงกลั่นปี 2553 ผมจึงหาค่าเฉลี่ยจากแหล่งสิริกิติ์ (ผลิตได้ประมาณ 7.8 หมื่นตัน หรือประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการภายในประเทศ) พบว่า ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 9.79 บาท ต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่นซึ่งเท่ากับ 10.69 บาทต่อกิโลกรัม
สรุป ประเด็นต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ คนไทยทั้งในฐานะเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติและในฐานะผู้บริโภคจะทราบข้อเท็จจริงได้จากใครครับ ถ้าศาลที่เคารพไม่กรุณาทำความจริงให้ปรากฏ จบครับ รัฐบาลซึ่งใช้อำนาจบริหารก็หลีกเลี่ยง รัฐสภาซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติก็เหลวไหล
คงเหลือแต่ศาลที่เคารพเท่านั้นแหละครับ โปรดรับทราบด้วยครับ