วานนี้ (2 ก.ย.56) สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสวนโมกข์ โดยเนื้อความในจดหมายมีรายละเอียดดังนี้
"สวนโมกขพลาราม มรดกทางธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาส เพื่อเป็นพลังแห่งความหลุดพ้น"
อย่างน้อยตั้งแต่พ.ศ. 2475 ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสมองเห็นว่าโลกกำลังเข้าสู่วิกฤตการณ์ใหญ่เพราะลัทธิวัตถุนิยม สิ่งที่ท่านทำตลอดชีวิตคือการปรุง "โลกุตรโอสถ" ให้เป็นชุดยาสามัญประจำบ้าน เพื่อช่วยให้มนุษย์หลุดจากการถูกครอบงำด้วยอำนาจของวัตถุนิยม
มาถึงปัจจุบันยิ่งปรากฏชัดว่าโลกกำลังวิกฤตทุกๆ ทางไปจนโลกทั้งใบร้อนขึ้น เพราะอำนาจของวัตถุนิยม
สวนโมกขพลาราม หรือสวนที่เป็นกำลังแห่งการหลุดพ้น (จากอำนาจวัตถุนิยม) ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสมอบให้ไว้เป็นมรดกทางธรรมจึงยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น
ควรที่ชาวพุทธทั้งมวลจะร่วมกันรักษาไว้ให้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงปณิธาน 3 ข้อที่ท่านมอบให้ไว้ ในข้อ 2 นั้น ขอให้มีการร่วมมือกันระหว่างศาสนา (เพื่อช่วยให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม) แม้แต่ต่างศาสนาก็ควรร่วมมือกัน จะกล่าวไปใยถึงศาสนาเดียวกัน และในวัดเดียวกันคือสวนโมกขพลาราม
เมื่อครั้งพุทธกาล พระสงฆ์ในกรุงโกสัมพีทะเลาะกันรุนแรงแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ขนาดพระพุทธองค์เสด็จไปห้ามยังไม่ฟัง
ในที่สุดประชาชนเข้าไปจัดการ ทำให้พระสงฆ์หยุดทะเลาะกันได้ อุบาสกอุบาสิกาประชาชนที่มีความศรัทธาในปฏิปทาของท่านอาจารย์พุทธทาสและสวนโมกขพลารามจะเข้าไปจัดการยุติความขัดแย้งในวัดและยั้งให้เป็นไปตามปณิธานของท่านอาจารย์
ในครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกไม่ได้บริหารวัด แต่บริหารธรรม พระเจ้าพิมพิสารบริหารวัดเวฬุวัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีบริหารวัดเชตวัน และนางวิสาขามหาอุบาสิกาบริหารวัดบุพนาราม เมื่อเจ้าชื่นสิโรราสอาราธนาท่านอาจารย์พุทธทาสไปครองวัดอุโมงค์เพื่อสอนชาวเชียงใหม่ และท่านอาจารย์พุทธทาสส่งท่านปัญญานันทะไปแทนนั้น เจ้าชื่นเป็นผู้บริหารวัด ท่านปัญญาบริหารธรรม
ทุกวันนี้วัดโดยทั่วไปมีวัตถุมาก และเจ้าอาวาสต้องไปบริหารวัตถุเสียมากกว่าบริหารธรรม และโดยทั่วไปพระก็จัดการสู้ฆราวาสเก่งๆไม่ได้ ควรจะมีระบบที่คณะฆราวาสเก่งๆ เข้ามาช่วยบริหารวัด เพื่อแบ่งเบาภาระให้พระมีเวลาไปบริหารธรรมมากขึ้น วัดต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และชุมชนเข้ามามีบทบาทดูแลวัดและพระ ชุมชนต้องกำกับไม่ให้พระออกนอกลู่นอกทางธรรมด้วย ถ้าวัดแยกตัวออกจากชุมชนจะเกิดความเสื่อม ดังในปัจจุบัน
ในกรณีของสวนโมกข์ เมื่อมีความขัดแย้งกันรุนแรง ชุมชนก็ควรช่วยเข้ามากำกับดูแลให้เกิดความเรียบร้อย และเจริญในทางธรรม ตามหลักการและแนวทางที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ทำไว้ ค่าของสวนโมกข์อยู่ที่โลกุตรโอสถ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ 30 สิงหาคม 2556
"สวนโมกขพลาราม มรดกทางธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาส เพื่อเป็นพลังแห่งความหลุดพ้น"
อย่างน้อยตั้งแต่พ.ศ. 2475 ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสมองเห็นว่าโลกกำลังเข้าสู่วิกฤตการณ์ใหญ่เพราะลัทธิวัตถุนิยม สิ่งที่ท่านทำตลอดชีวิตคือการปรุง "โลกุตรโอสถ" ให้เป็นชุดยาสามัญประจำบ้าน เพื่อช่วยให้มนุษย์หลุดจากการถูกครอบงำด้วยอำนาจของวัตถุนิยม
มาถึงปัจจุบันยิ่งปรากฏชัดว่าโลกกำลังวิกฤตทุกๆ ทางไปจนโลกทั้งใบร้อนขึ้น เพราะอำนาจของวัตถุนิยม
สวนโมกขพลาราม หรือสวนที่เป็นกำลังแห่งการหลุดพ้น (จากอำนาจวัตถุนิยม) ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสมอบให้ไว้เป็นมรดกทางธรรมจึงยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น
ควรที่ชาวพุทธทั้งมวลจะร่วมกันรักษาไว้ให้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงปณิธาน 3 ข้อที่ท่านมอบให้ไว้ ในข้อ 2 นั้น ขอให้มีการร่วมมือกันระหว่างศาสนา (เพื่อช่วยให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม) แม้แต่ต่างศาสนาก็ควรร่วมมือกัน จะกล่าวไปใยถึงศาสนาเดียวกัน และในวัดเดียวกันคือสวนโมกขพลาราม
เมื่อครั้งพุทธกาล พระสงฆ์ในกรุงโกสัมพีทะเลาะกันรุนแรงแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ขนาดพระพุทธองค์เสด็จไปห้ามยังไม่ฟัง
ในที่สุดประชาชนเข้าไปจัดการ ทำให้พระสงฆ์หยุดทะเลาะกันได้ อุบาสกอุบาสิกาประชาชนที่มีความศรัทธาในปฏิปทาของท่านอาจารย์พุทธทาสและสวนโมกขพลารามจะเข้าไปจัดการยุติความขัดแย้งในวัดและยั้งให้เป็นไปตามปณิธานของท่านอาจารย์
ในครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกไม่ได้บริหารวัด แต่บริหารธรรม พระเจ้าพิมพิสารบริหารวัดเวฬุวัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีบริหารวัดเชตวัน และนางวิสาขามหาอุบาสิกาบริหารวัดบุพนาราม เมื่อเจ้าชื่นสิโรราสอาราธนาท่านอาจารย์พุทธทาสไปครองวัดอุโมงค์เพื่อสอนชาวเชียงใหม่ และท่านอาจารย์พุทธทาสส่งท่านปัญญานันทะไปแทนนั้น เจ้าชื่นเป็นผู้บริหารวัด ท่านปัญญาบริหารธรรม
ทุกวันนี้วัดโดยทั่วไปมีวัตถุมาก และเจ้าอาวาสต้องไปบริหารวัตถุเสียมากกว่าบริหารธรรม และโดยทั่วไปพระก็จัดการสู้ฆราวาสเก่งๆไม่ได้ ควรจะมีระบบที่คณะฆราวาสเก่งๆ เข้ามาช่วยบริหารวัด เพื่อแบ่งเบาภาระให้พระมีเวลาไปบริหารธรรมมากขึ้น วัดต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และชุมชนเข้ามามีบทบาทดูแลวัดและพระ ชุมชนต้องกำกับไม่ให้พระออกนอกลู่นอกทางธรรมด้วย ถ้าวัดแยกตัวออกจากชุมชนจะเกิดความเสื่อม ดังในปัจจุบัน
ในกรณีของสวนโมกข์ เมื่อมีความขัดแย้งกันรุนแรง ชุมชนก็ควรช่วยเข้ามากำกับดูแลให้เกิดความเรียบร้อย และเจริญในทางธรรม ตามหลักการและแนวทางที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ทำไว้ ค่าของสวนโมกข์อยู่ที่โลกุตรโอสถ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ 30 สิงหาคม 2556