ASTV ผู้จัดการรายวัน – หุ้นไทยกันยายน ความกังวลก่อนผลประชุมเฟดยังกดดันตลาดผันผวน ประเมินหากลดวงเงินยังมีเม็ดเงินต่างชาติที่รอถูกขายเพื่อขนกลับอีก4หมื่นล้านบาท แต่หากคงมาตรการ และไม่ลดวงเงินมีโอกาสเห็นดัชนีกลับขึ้นไปเหนือ1,400 จุด โบรกฯห่วงเงินบาทอ่อนค่าช่วยซ้ำเติม พร้อมมอง3กลุ่ม ชิ่นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน เกษตร-อาหาร ปรับตัวสูงขึ้นจากการเข้าสู่ช่วงHigh Season และผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว
ดัชนีหุ้นไทยปิดส่งท้ายเดือนสิงหาคม (30ส.ค.) บวก 1.77 จุด อยู่ที่ระดับ 1,294.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 32,344.68 ล้านบาท สรุปยอดการซื้อขายสะสมในช่วงวันที่ 1-30 สิงหาคมพบว่า นักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิรวม 34,115.52 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิรวม 11,369.58 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิรวม -39,939.09 ล้านบาท และบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ขายสุทธิรวม -5,546.01 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน มูลค่าการซื้อขายสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.2556-30 ส.ค.2556 พบว่า นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิรวม -116,025.32 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิรวม -10,810.24 ล้านบาท ในขณะที่สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิรวม 71,267.53 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิรวม 55,568.02 ล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี จำกัด (มหาชน) จัดทำบทวิเคราะห์แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเดือนกันยายน 2556 ว่า การเข้าสู่ภาวะถอถอยของเศรษฐกิจไทยจากGDP ที่ลดลงต่อเนื่อง 2ไตรมาส กดดัน Set Index กลับมาอยู่ในแนวโน้มขาลงอีกครั้ง และความผันผวนของตลาดน่าจะเพิ่มขึ้นสูงเมื่อใกล้การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่การลดวงเงินหรือการยุติมาตรการQE3 จะถูกนำมาพิจารณาอีกครั้ง
“กลยุทธ์ในเดือนนี้ เราเน้นความระมัดระวังสูง ทยอยขายหุ้นที่ผันผวนกว่าตลาด และเลือกลงทุนในหุ้นที่มีกำไรขาขึ้น และผลประกอบการเชื่อมโยงกับการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่ง Top Picks ได้แก่ SVI BCP PTT TUF และ STA”
ทั้งนี้ บล.กรุงศรี เชื่อเศรษฐกิจไทยจะหลุดพ้นภาวะถดถอยในไตรมาส3/56 อย่างไรก็ดีGDP ใน2ไตรมาสที่เหลือ ต้องโตในระดับ 3-4% จากปีที่ผ่านมา แต่ในไตรมาส4/55 GDPเติบโตสูงถึง 19%จากช่วงเดียวกันใสนปี 2554 ซึ่งอาจทำให้ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ การเติบโตออกมาต่ำ
ด้านกำไรสุทธฺ บริษัทจดทะเบียน(ไม่ร่วมmai) เท่ากับ 1.64 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% จากช่วงเดียวกันปี2555 แต่ลดลง 32% จากไตรมาส1/56 ส่งผลให้ในครึ่งปีแรก บจ.กำไร 4.18 แสนล้านบาท โตจากช่วงเดียวกันปีก่อน 27% หรือคิดเป็น50% ของประมาณการกำไรทั้งปี2556
บล.กรุงศรีให้ความสำคัญต่อ การประชุมของเฟด (17-18ก.ย.)มาก เพราะผลสำรวจจากBloomberg บ่งชี้ว่า 65% ของนักเศรษฐศาสตร์ 48 ราย เชื่อว่า เฟด จะลดวงเงินในQE3 เหลือ 7.5 เหมือนล้านบาท/เดือน จากเดิม 8.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบอย่างมากต่อการลงทุน แม้จะประเมินว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีดอกาสฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2557 แต่จากที่ท่าทีของคณะกรรมการเฟด เริ่มแสดงออกถึงการลดวงเงินในQE ค่อนข้างชัดเจนผ่านรายงานการประชุม ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้น และแม้ไม่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้ แต่การประชุมอีก 2 ครั้งช่วงตุลาคมและธันวาคมก็ยังมีโอกาสได้เห็น
นอกจากนี้ แม้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะหดตัวลดลงอีกเป็นปีที่ 2 แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็ฯต่อยไป สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆที่ออกมา
ดังนั้น บล.กรุงศรี จึงประเมินดัชนีหุ้นไทยเดือนกันยายน 2556 ว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,270-1,350 จุด และยังมีโอกาสขึ้นไปทดสอบ1,400 จุดได้ แต่โอกาสผ่านไปได้นั้นตอนนนี้ยังประเมินว่ายากอยู่ โดย ณ ปัจจุบัน ดัชนีหุ้นไทยหลุดกรอบ P/E ที่ 14-15 เท่า ที่เคยซื้อขาย ซึ่งหากเฟดเลือกที่จะไม่ลดหรือถอนมาตรการQE3 ก็จะทำให้หุ้นไทยมีโอกาสกลับขึ้นซื้อขายในค่าระดับP/E เท่าเดิม โดยมีแนวต้านที่ระดับ P/E 15 เท่าที่ระดับ 1,420 จุด
ในทางกลับกันหาก เฟดมีการปรับลดวงเงินลงมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญ/เดือน หรือถอนมาตรการQE3ออก บริษัทมองแนวรับให้เข้าสะสมหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวที่ระดับ P/E ที่ 13 เท่า หรือ 1,220-1,230 จุด อย่างไรก็ตามสถานการณ์การอ่อนค่าของเงินบาทที่มากสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง ทำให้เงินทุนไหลออกนั้น หากภาครัฐไม่มีมาตการใหมาออกมาเพื่อรักษาระดับราคา ก็คาดว่าค่าเงินบาทจะยังอยู่ในทิศทางทีที่อ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นไทย
“ตอนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ10ปี ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2ปี ที่ 2.95% ถือว่าตอกย้ำความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดขนาดQE3”
บล.กรุงศรี ให้ความเห็นต่อแรงขายของนักลงทุนต่างชาติว่า หากพิจารณาการเข้าซื้อสุทธิสะสมมาตั้งแต่มกราคม 2553 หรือหลังเกิดวิกฤตซัพไพรม์ราว 1ปี พบว่ายังมีเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาคงค้างในตลาดหุ้นไทยอีกแล้ว 40,000 ล้านบาท ทำให้ประเมินว่ายังมีโอกาสที่เม็ดเงินดังกล่าวจะถูกเทขายออกมาเพิ่มเติม หากมีการลดวงเงินในQE3 จริง
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน บล.กรุงศรี แนะนำเข้าลงทุนในหุ้น โดยเน้น Global plays เพื่อสอดคล้องกับภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุมประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก ผสมผสานกับกลยุทธ์ Earnings momentum เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรในครึ่งปีหลังโตขึ้นจากครึ่งปีแรก ซึ่งพบว่า มี 3 กลุ่มที่น่าสนใจ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไตรมาส3ของทุกปีถือเป็นช่วงHigh season ประกอบการเงินบาทที่อ่อนค่า และการฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะช่วยหนุนอุปสงค์ โดยหุ้นเด่นคือ SVI
นอกจากนี้ กลุ่มพลังงาน เพราะราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลความต้องการใช้สูงในสหรัฐฯ และทั้งยังมีแรงผลักดันจากสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง ทั้งซีเรีย และอียิปต์ ซึ่งหุ้นเด่นคือ BCP และ PTT ขณะที่กลุ่มเกษตร-อาหาร คาดว่าน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว โดย TUF และSTA มีความโดดเด่น
ส่วนแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย. 2556 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนียังคงผันผวน โดยที่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ต้องติดตามข้อมูลภาคการผลิตในยูโรโซนและจีน รวมทั้งรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ การใช้จ่ายผู้บริโภค เครื่องชี้ภาคการผลิต(ISM Manufacturing) รายงานสภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) เครื่องชี้ภาคบริการ (ISM Non-Manufacturing) และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,260 และ 1,247 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,328 และ 1,370 ตามลำดับ
ดัชนีหุ้นไทยปิดส่งท้ายเดือนสิงหาคม (30ส.ค.) บวก 1.77 จุด อยู่ที่ระดับ 1,294.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 32,344.68 ล้านบาท สรุปยอดการซื้อขายสะสมในช่วงวันที่ 1-30 สิงหาคมพบว่า นักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิรวม 34,115.52 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิรวม 11,369.58 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิรวม -39,939.09 ล้านบาท และบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ขายสุทธิรวม -5,546.01 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน มูลค่าการซื้อขายสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.2556-30 ส.ค.2556 พบว่า นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิรวม -116,025.32 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิรวม -10,810.24 ล้านบาท ในขณะที่สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิรวม 71,267.53 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิรวม 55,568.02 ล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี จำกัด (มหาชน) จัดทำบทวิเคราะห์แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเดือนกันยายน 2556 ว่า การเข้าสู่ภาวะถอถอยของเศรษฐกิจไทยจากGDP ที่ลดลงต่อเนื่อง 2ไตรมาส กดดัน Set Index กลับมาอยู่ในแนวโน้มขาลงอีกครั้ง และความผันผวนของตลาดน่าจะเพิ่มขึ้นสูงเมื่อใกล้การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่การลดวงเงินหรือการยุติมาตรการQE3 จะถูกนำมาพิจารณาอีกครั้ง
“กลยุทธ์ในเดือนนี้ เราเน้นความระมัดระวังสูง ทยอยขายหุ้นที่ผันผวนกว่าตลาด และเลือกลงทุนในหุ้นที่มีกำไรขาขึ้น และผลประกอบการเชื่อมโยงกับการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่ง Top Picks ได้แก่ SVI BCP PTT TUF และ STA”
ทั้งนี้ บล.กรุงศรี เชื่อเศรษฐกิจไทยจะหลุดพ้นภาวะถดถอยในไตรมาส3/56 อย่างไรก็ดีGDP ใน2ไตรมาสที่เหลือ ต้องโตในระดับ 3-4% จากปีที่ผ่านมา แต่ในไตรมาส4/55 GDPเติบโตสูงถึง 19%จากช่วงเดียวกันใสนปี 2554 ซึ่งอาจทำให้ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ การเติบโตออกมาต่ำ
ด้านกำไรสุทธฺ บริษัทจดทะเบียน(ไม่ร่วมmai) เท่ากับ 1.64 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% จากช่วงเดียวกันปี2555 แต่ลดลง 32% จากไตรมาส1/56 ส่งผลให้ในครึ่งปีแรก บจ.กำไร 4.18 แสนล้านบาท โตจากช่วงเดียวกันปีก่อน 27% หรือคิดเป็น50% ของประมาณการกำไรทั้งปี2556
บล.กรุงศรีให้ความสำคัญต่อ การประชุมของเฟด (17-18ก.ย.)มาก เพราะผลสำรวจจากBloomberg บ่งชี้ว่า 65% ของนักเศรษฐศาสตร์ 48 ราย เชื่อว่า เฟด จะลดวงเงินในQE3 เหลือ 7.5 เหมือนล้านบาท/เดือน จากเดิม 8.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบอย่างมากต่อการลงทุน แม้จะประเมินว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีดอกาสฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2557 แต่จากที่ท่าทีของคณะกรรมการเฟด เริ่มแสดงออกถึงการลดวงเงินในQE ค่อนข้างชัดเจนผ่านรายงานการประชุม ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้น และแม้ไม่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้ แต่การประชุมอีก 2 ครั้งช่วงตุลาคมและธันวาคมก็ยังมีโอกาสได้เห็น
นอกจากนี้ แม้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะหดตัวลดลงอีกเป็นปีที่ 2 แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็ฯต่อยไป สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆที่ออกมา
ดังนั้น บล.กรุงศรี จึงประเมินดัชนีหุ้นไทยเดือนกันยายน 2556 ว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,270-1,350 จุด และยังมีโอกาสขึ้นไปทดสอบ1,400 จุดได้ แต่โอกาสผ่านไปได้นั้นตอนนนี้ยังประเมินว่ายากอยู่ โดย ณ ปัจจุบัน ดัชนีหุ้นไทยหลุดกรอบ P/E ที่ 14-15 เท่า ที่เคยซื้อขาย ซึ่งหากเฟดเลือกที่จะไม่ลดหรือถอนมาตรการQE3 ก็จะทำให้หุ้นไทยมีโอกาสกลับขึ้นซื้อขายในค่าระดับP/E เท่าเดิม โดยมีแนวต้านที่ระดับ P/E 15 เท่าที่ระดับ 1,420 จุด
ในทางกลับกันหาก เฟดมีการปรับลดวงเงินลงมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญ/เดือน หรือถอนมาตรการQE3ออก บริษัทมองแนวรับให้เข้าสะสมหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวที่ระดับ P/E ที่ 13 เท่า หรือ 1,220-1,230 จุด อย่างไรก็ตามสถานการณ์การอ่อนค่าของเงินบาทที่มากสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง ทำให้เงินทุนไหลออกนั้น หากภาครัฐไม่มีมาตการใหมาออกมาเพื่อรักษาระดับราคา ก็คาดว่าค่าเงินบาทจะยังอยู่ในทิศทางทีที่อ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นไทย
“ตอนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ10ปี ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2ปี ที่ 2.95% ถือว่าตอกย้ำความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดขนาดQE3”
บล.กรุงศรี ให้ความเห็นต่อแรงขายของนักลงทุนต่างชาติว่า หากพิจารณาการเข้าซื้อสุทธิสะสมมาตั้งแต่มกราคม 2553 หรือหลังเกิดวิกฤตซัพไพรม์ราว 1ปี พบว่ายังมีเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาคงค้างในตลาดหุ้นไทยอีกแล้ว 40,000 ล้านบาท ทำให้ประเมินว่ายังมีโอกาสที่เม็ดเงินดังกล่าวจะถูกเทขายออกมาเพิ่มเติม หากมีการลดวงเงินในQE3 จริง
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน บล.กรุงศรี แนะนำเข้าลงทุนในหุ้น โดยเน้น Global plays เพื่อสอดคล้องกับภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุมประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก ผสมผสานกับกลยุทธ์ Earnings momentum เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรในครึ่งปีหลังโตขึ้นจากครึ่งปีแรก ซึ่งพบว่า มี 3 กลุ่มที่น่าสนใจ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไตรมาส3ของทุกปีถือเป็นช่วงHigh season ประกอบการเงินบาทที่อ่อนค่า และการฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะช่วยหนุนอุปสงค์ โดยหุ้นเด่นคือ SVI
นอกจากนี้ กลุ่มพลังงาน เพราะราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลความต้องการใช้สูงในสหรัฐฯ และทั้งยังมีแรงผลักดันจากสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง ทั้งซีเรีย และอียิปต์ ซึ่งหุ้นเด่นคือ BCP และ PTT ขณะที่กลุ่มเกษตร-อาหาร คาดว่าน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว โดย TUF และSTA มีความโดดเด่น
ส่วนแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย. 2556 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนียังคงผันผวน โดยที่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ต้องติดตามข้อมูลภาคการผลิตในยูโรโซนและจีน รวมทั้งรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ การใช้จ่ายผู้บริโภค เครื่องชี้ภาคการผลิต(ISM Manufacturing) รายงานสภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) เครื่องชี้ภาคบริการ (ISM Non-Manufacturing) และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,260 และ 1,247 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,328 และ 1,370 ตามลำดับ