ถ้ามีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับประเทศไทยรอบหน้า ไม่ว่าจะในช่วงปีหน้า 2557 นี้หรือปีต่อ ๆ ไปที่ผมขอตั้งไว้ที่ไม่เกินปีงบประมาณ 2559 หรือปีปฏิทิน 2560 ที่รัฐบาลประมาณการไว้ว่าหนี้สาธารณะของประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ขึ้นสู่จุดสูงสุด ลักษณะของวิกฤตที่จะเกิดขึ้นจะแตกต่างกับวิกฤตครั้งหลังสุดเมื่อปี 2540 อย่างมีนัยสำคัญ 2 ประการ
ประการหนึ่งจะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก
อีกประการหนึ่งจะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ ไม่ใช่ภาคเอกชน
เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2555 ขอทบทวนอีกครั้ง
วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 เกิดขึ้นจากประเทศไทยประเทศเดียว เป็นปัจจัยในประเทศเกือบจะล้วน ๆ จากการที่ภาคเอกชนใช้เงินกู้เกินตัวไปในธุรกรรมที่ไม่สร้างสรรค์และในหลายกรณีขาดธรรมาภิบาล เป็นผลมาจากการเปิดเสรีเงินตรา จากนั้นจึงค่อยลามไปสู่ประเทศอื่นบ้าง แต่ก็น้อย สรุปได้ว่าโลกยังไม่เกิดวิกฤต ยังคงมีความต้องการบริโภคสินค้าตามปรกติ ซึ่งก็ให้เกิดผลดีต่อเนื่องตามมา เนื่องจากเมื่อค่าเงินบาทไทยอ่อนลงเพราะวิกฤต สินค้าออกของไทยก็ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพราะราคาถูกลง ในเมื่อโลกยังสบายดีอุปสงค์จึงยังคงดำรงอยู่ขอเพียงเราเยียวยาปัญหาภายในและเร่งการส่งออกทุกอย่างก็จะค่อย ๆ กระเตื้องขึ้นในอัตราเร่ง
ขณะเกิดวิกฤตเมื่อ 16 ปีก่อน ภาครัฐยังมีหนี้สาธารณะน้อยมาก จึงมีกำลังที่จะก่อหนี้เพื่อเข้ามารักษาเยียวยาอาการบาดเจ็บภายในประเทศ อยากกู้ใคร กู้เท่าไร ก็ไม่มีใครปฏิเสธ ประการนี้ก็ต้องยกความดีให้กับการบริหารเศรษฐกิจและการแก้วิกฤตตลอดยุคของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ด้วย ที่ทำให้ประเทศโดยเฉพาะภาครัฐมีความแข็งแรงสั่งสมต่อเนื่องมาตามสมควรตลอด 10 ปีก่อนหน้านั้น
สถานการณ์ ณ วันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง !
วิกฤตเศรษฐกิจวันนี้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์กลางใหญ่ของระบบทุนนิยมโลก เป็นวิกฤตที่นักเศรษฐศาสตร์แทบทุกคนทั่วโลกไม่ว่าจะสำนักไหนยอมรับตรงกันว่ายากจะฟื้นตัวในเร็ววัน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านหนึ่งเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาชะลอเวลา แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการสร้างปัญหาใหม่เพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้น อย่างเช่นมาตรการ QE
ไม่เพียงแต่สหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้จีนเองในปัจจุบันก็เริ่มตระหนักถึงปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
เมื่อวิกฤตเกิดขึ้นภายนอกประเทศที่เป็นแหล่งอุปสงค์หรือดีมานด์ของสินค้าส่งออกไทย ความคาดหมายที่จะได้รายได้มหาศาลเข้ามาภายในประเทศจึงไม่เหมือนเดิม ตลอดระยะเวลาพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมของไทยเราส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรอุตสาหกรรมใหญ่น้อยเพื่อการส่งออกมาโดยตลอด จนรายได้จากการส่งออกมีอัตราส่วนคิดเป็นร้อยละ 70 ของจีดีพี เมื่อรายได้จากการส่งออกลด จะมากจะน้อยแน่นอนว่าย่อมกระทบต่อการขยายตัวของจีดีพี ที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะโตปีละเท่านั้นเท่านี้หรือปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 หรือเท่าไรก็สุดแท้แต่ เอาเข้าจริงมันก็นอกเหนือการควบคุมของเรา
เมื่อตัวเลขการเติบโตของจีดีพีไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราทั้งหมด อัตราส่วนของหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละต่อจีดีพีจึงมีโอกาสผันแปรได้ในอนาคต เพราะเขาคำนวณจากตัวเลขขยายตัวของจีดีพีตามปรกติ
ตอนนี้ประมาณการจีดีพีของเราก็ปรับลดลงมาแล้ว
ที่คำนวณว่าหนี้สาธารณะจะถึงจุดสูงสุดคือไม่เกินร้อยละ 50 เศษ ๆ ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งจะกินไปถึงปีปฏิทิน 2560 จึงไม่อาจจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป
ตัวเลขหนี้สาธารณะมันอาจจะขึ้นไปแตะเพดานร้อยละ 60 ในปีปฏิทิน 2560 ก็เป็นไปได้
หากเราเกิดวิกฤตครั้งนี้ก็หมายความว่าเป็นวิกฤตที่มาจากโลกทุนนิยม จึงไม่ว่าค่าเงินเราจะอ่อนหรือแข็ง ไม่มีเหตุที่จะทำให้เราฟื้นตัวจากการส่งออกได้ เพราะดีมานด์ของโลกไม่มี นี่คือจุดแตกต่างสำคัญจากปี 2540
และวิกฤตครั้งนี้จะไม่ได้มาจากภาคเอกชน แต่มาจากภาครัฐที่ก่อหนี้ไว้มหาศาลนับแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การเข้าไปอุ้มสถาบันการเงินครั้งนั้นยังคงมีบาดแผลมาจนทุกวันนี้ รัฐบาลทุกรัฐบาลก่อหนี้ รัฐบาลทุกรัฐบาลใช้นโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถมไม่ต่างกันในสาระสำคัญ แตกต่างกันแต่เพียงชื่อโครงการและรายละเอียด เฉพาะ 2 รัฐบาลจาก 2 ขั้วการเมืองที่ตรงกันข้ามกันตั้งแต่ปี 2551 นอกจากจะขาดดุลงบประมาณในระบบงบประมาณตามปรกติปีละ 2 – 4 แสนล้านบาท ซึ่งต้องกู้มาปิดหีบแล้ว ยังได้มีนวัตกรรมใหม่กู้เงินนอกระบบงบประมาณมาจัดทำโครงการอีกต่างหาก เฉพาะ 2 รัฐบาลในรอบ 4 ปีนี้ก็ประมาณ 8 แสนล้านบาทแล้ว เป็นเงินกู้ทั้งสิ้น
คำว่าขาดดุลงบประมาณพูดง่าย ๆ ก็คือประเทศใช้เงินมากกว่าที่หามาได้
ประเทศไทยเก็บภาษีได้ปีละประมาณ 2 – 2.1 ล้านล้านบาท แต่มีโครงการใช้จ่าย ทั้งรายจ่ายประจำประเภทเงินเดือนค่าน้ำค่าไฟและการลงทุนใหม่ปีละ 2.3 – 2.4 ล้านล้านบาท ก็ต้องกู้มาเติมปีละประมาณ 3 – 4 แสนล้านบาทอยู่แล้ว
ประเทศไทยมีระบบงบประมาณที่น่าสงสาร เพราะเป็นรายจ่ายประจำเสียร้อยละ 80 มีงบลงทุนใหม่ในแต่ละปีแค่ไม่ถึงร้อยละ 20 คือไม่ถึง 4 แสนล้านบาท แทนที่จะคิดปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งจะเป็นการปฏิรูประบบงบประมาณด้วย หรือแทนที่จะคิดหารายได้เพิ่ม ไม่ว่าจากภาษี หรือจากค่าทรัพยากรธรรมชาติที่อนุญาตให้เอกชนทั้งต่างชาติและคนในชาติมาขุดไป เรากลับคิดระบบกู้เงินนอกงบประมาณขึ้นมาคู่ขนาน โดยอ้างว่างบลงทุนในงบประมาณปีละแค่ 4 แสนล้านบาทกว่า ๆ ไม่พอยาไส้ ไม่สามารถสร้างความเจริญได้ จึ่งต้องกู้อีกก้อนหนึ่งนอกงบประมาณมาลงทุนชดเชย
แล้วก็ประโคมโหมหลอกคนในชาติว่าภายในปีงบประมาณ 2559 งบประมาณของเราจะสมดุล ไม่ต้องกู้มาปิดหีบงบประมาณอีก
โดยไม่พูดถึงเงินกู้นอกระบบงบประมาณที่กำลังจะเป็นงานใหญ่ของรัฐบาล
มันจึงเป็นเรื่องตลกที่หัวเราะไม่ออก เป็นเรื่องขันรันทด ที่รัฐบาลบอกว่าปีงบประมาณ 2559 เราจะจัดทำงบประมาณสมดุล ไม่ต้องกู้มาปิดหีบงบประมาณ แต่รัฐบาลเดียวกันนี้ก็บอกว่าปีงบประมาณ 2559 จะเป็นปีที่ตัวเลขหนี้สาธารณะขึ้นสู่จุดสูงสุด
ใช้ปัญญาตรองดูก็จะพบความขัดแย้งไม่สมจริงในความจริง 2 ประการนี้ !
คิดดูนะว่าในรอบปีนี้เราต้องกู้เงินจริงเท่าไร ทั้งในระบบงบประมาณและนอกระบบงบประมาณ กู้ปิดหีบงบประมาณปีงบประมาณ 2556 นี้ 3 แสนล้านบาท กู้โครงการป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท กู้เข้ากองทุนประกันภัยในโครงการป้องกันน้ำท่วม 5 หมื่นล้านบาท ตามด้วยการกู้ปิดหีบงบประมาณปีงบประมาณหน้า 2557 อีก 2.5 แสนล้านบาท
เห็น ๆ กันชนิดไม่อาจซุกไม่อาจซ่อนนี่ก็ 1 ล้านล้านบาทภายใน 30 กันยายน 2557 แล้ว !
ยังจะมีกู้อีก 2 ล้านล้านบาทเพื่อลงทุนสาธาณูปโภคพื้นฐานอีกในรอบ 7 ปี ถ้ากฎหมายผ่านทุกด่าน คาดว่าน่าจะให้เริ่มกู้ก้อนแรกภายในปี 2557 ตีเสียว่ากู้ก้อนแรกสัก 1 แสนล้านบาท
ก็จะทำให้ภายใน 30 กันยายน 2557 เราอาจจะมียอดเงินกู้เพิ่ม 1.1 ล้านล้านบาท
ยอดเงินกู้ระดับเกิน 1 ล้านล้านบาท เฉพาะการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อจ่ายดอกเบี้ย ปีหนึ่ง ๆ ก็ตกประมาณ 5 หมื่นล้านบาทบวกลบแล้ว
นี่คือเหวนรกใหญ่ว่าด้วยหนี้สาธารณะที่ประเทศกำลังเดินหน้าไป
ประการหนึ่งจะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก
อีกประการหนึ่งจะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ ไม่ใช่ภาคเอกชน
เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2555 ขอทบทวนอีกครั้ง
วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 เกิดขึ้นจากประเทศไทยประเทศเดียว เป็นปัจจัยในประเทศเกือบจะล้วน ๆ จากการที่ภาคเอกชนใช้เงินกู้เกินตัวไปในธุรกรรมที่ไม่สร้างสรรค์และในหลายกรณีขาดธรรมาภิบาล เป็นผลมาจากการเปิดเสรีเงินตรา จากนั้นจึงค่อยลามไปสู่ประเทศอื่นบ้าง แต่ก็น้อย สรุปได้ว่าโลกยังไม่เกิดวิกฤต ยังคงมีความต้องการบริโภคสินค้าตามปรกติ ซึ่งก็ให้เกิดผลดีต่อเนื่องตามมา เนื่องจากเมื่อค่าเงินบาทไทยอ่อนลงเพราะวิกฤต สินค้าออกของไทยก็ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพราะราคาถูกลง ในเมื่อโลกยังสบายดีอุปสงค์จึงยังคงดำรงอยู่ขอเพียงเราเยียวยาปัญหาภายในและเร่งการส่งออกทุกอย่างก็จะค่อย ๆ กระเตื้องขึ้นในอัตราเร่ง
ขณะเกิดวิกฤตเมื่อ 16 ปีก่อน ภาครัฐยังมีหนี้สาธารณะน้อยมาก จึงมีกำลังที่จะก่อหนี้เพื่อเข้ามารักษาเยียวยาอาการบาดเจ็บภายในประเทศ อยากกู้ใคร กู้เท่าไร ก็ไม่มีใครปฏิเสธ ประการนี้ก็ต้องยกความดีให้กับการบริหารเศรษฐกิจและการแก้วิกฤตตลอดยุคของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ด้วย ที่ทำให้ประเทศโดยเฉพาะภาครัฐมีความแข็งแรงสั่งสมต่อเนื่องมาตามสมควรตลอด 10 ปีก่อนหน้านั้น
สถานการณ์ ณ วันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง !
วิกฤตเศรษฐกิจวันนี้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์กลางใหญ่ของระบบทุนนิยมโลก เป็นวิกฤตที่นักเศรษฐศาสตร์แทบทุกคนทั่วโลกไม่ว่าจะสำนักไหนยอมรับตรงกันว่ายากจะฟื้นตัวในเร็ววัน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านหนึ่งเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาชะลอเวลา แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการสร้างปัญหาใหม่เพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้น อย่างเช่นมาตรการ QE
ไม่เพียงแต่สหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้จีนเองในปัจจุบันก็เริ่มตระหนักถึงปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
เมื่อวิกฤตเกิดขึ้นภายนอกประเทศที่เป็นแหล่งอุปสงค์หรือดีมานด์ของสินค้าส่งออกไทย ความคาดหมายที่จะได้รายได้มหาศาลเข้ามาภายในประเทศจึงไม่เหมือนเดิม ตลอดระยะเวลาพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมของไทยเราส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรอุตสาหกรรมใหญ่น้อยเพื่อการส่งออกมาโดยตลอด จนรายได้จากการส่งออกมีอัตราส่วนคิดเป็นร้อยละ 70 ของจีดีพี เมื่อรายได้จากการส่งออกลด จะมากจะน้อยแน่นอนว่าย่อมกระทบต่อการขยายตัวของจีดีพี ที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะโตปีละเท่านั้นเท่านี้หรือปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 หรือเท่าไรก็สุดแท้แต่ เอาเข้าจริงมันก็นอกเหนือการควบคุมของเรา
เมื่อตัวเลขการเติบโตของจีดีพีไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราทั้งหมด อัตราส่วนของหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละต่อจีดีพีจึงมีโอกาสผันแปรได้ในอนาคต เพราะเขาคำนวณจากตัวเลขขยายตัวของจีดีพีตามปรกติ
ตอนนี้ประมาณการจีดีพีของเราก็ปรับลดลงมาแล้ว
ที่คำนวณว่าหนี้สาธารณะจะถึงจุดสูงสุดคือไม่เกินร้อยละ 50 เศษ ๆ ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งจะกินไปถึงปีปฏิทิน 2560 จึงไม่อาจจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป
ตัวเลขหนี้สาธารณะมันอาจจะขึ้นไปแตะเพดานร้อยละ 60 ในปีปฏิทิน 2560 ก็เป็นไปได้
หากเราเกิดวิกฤตครั้งนี้ก็หมายความว่าเป็นวิกฤตที่มาจากโลกทุนนิยม จึงไม่ว่าค่าเงินเราจะอ่อนหรือแข็ง ไม่มีเหตุที่จะทำให้เราฟื้นตัวจากการส่งออกได้ เพราะดีมานด์ของโลกไม่มี นี่คือจุดแตกต่างสำคัญจากปี 2540
และวิกฤตครั้งนี้จะไม่ได้มาจากภาคเอกชน แต่มาจากภาครัฐที่ก่อหนี้ไว้มหาศาลนับแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การเข้าไปอุ้มสถาบันการเงินครั้งนั้นยังคงมีบาดแผลมาจนทุกวันนี้ รัฐบาลทุกรัฐบาลก่อหนี้ รัฐบาลทุกรัฐบาลใช้นโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถมไม่ต่างกันในสาระสำคัญ แตกต่างกันแต่เพียงชื่อโครงการและรายละเอียด เฉพาะ 2 รัฐบาลจาก 2 ขั้วการเมืองที่ตรงกันข้ามกันตั้งแต่ปี 2551 นอกจากจะขาดดุลงบประมาณในระบบงบประมาณตามปรกติปีละ 2 – 4 แสนล้านบาท ซึ่งต้องกู้มาปิดหีบแล้ว ยังได้มีนวัตกรรมใหม่กู้เงินนอกระบบงบประมาณมาจัดทำโครงการอีกต่างหาก เฉพาะ 2 รัฐบาลในรอบ 4 ปีนี้ก็ประมาณ 8 แสนล้านบาทแล้ว เป็นเงินกู้ทั้งสิ้น
คำว่าขาดดุลงบประมาณพูดง่าย ๆ ก็คือประเทศใช้เงินมากกว่าที่หามาได้
ประเทศไทยเก็บภาษีได้ปีละประมาณ 2 – 2.1 ล้านล้านบาท แต่มีโครงการใช้จ่าย ทั้งรายจ่ายประจำประเภทเงินเดือนค่าน้ำค่าไฟและการลงทุนใหม่ปีละ 2.3 – 2.4 ล้านล้านบาท ก็ต้องกู้มาเติมปีละประมาณ 3 – 4 แสนล้านบาทอยู่แล้ว
ประเทศไทยมีระบบงบประมาณที่น่าสงสาร เพราะเป็นรายจ่ายประจำเสียร้อยละ 80 มีงบลงทุนใหม่ในแต่ละปีแค่ไม่ถึงร้อยละ 20 คือไม่ถึง 4 แสนล้านบาท แทนที่จะคิดปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งจะเป็นการปฏิรูประบบงบประมาณด้วย หรือแทนที่จะคิดหารายได้เพิ่ม ไม่ว่าจากภาษี หรือจากค่าทรัพยากรธรรมชาติที่อนุญาตให้เอกชนทั้งต่างชาติและคนในชาติมาขุดไป เรากลับคิดระบบกู้เงินนอกงบประมาณขึ้นมาคู่ขนาน โดยอ้างว่างบลงทุนในงบประมาณปีละแค่ 4 แสนล้านบาทกว่า ๆ ไม่พอยาไส้ ไม่สามารถสร้างความเจริญได้ จึ่งต้องกู้อีกก้อนหนึ่งนอกงบประมาณมาลงทุนชดเชย
แล้วก็ประโคมโหมหลอกคนในชาติว่าภายในปีงบประมาณ 2559 งบประมาณของเราจะสมดุล ไม่ต้องกู้มาปิดหีบงบประมาณอีก
โดยไม่พูดถึงเงินกู้นอกระบบงบประมาณที่กำลังจะเป็นงานใหญ่ของรัฐบาล
มันจึงเป็นเรื่องตลกที่หัวเราะไม่ออก เป็นเรื่องขันรันทด ที่รัฐบาลบอกว่าปีงบประมาณ 2559 เราจะจัดทำงบประมาณสมดุล ไม่ต้องกู้มาปิดหีบงบประมาณ แต่รัฐบาลเดียวกันนี้ก็บอกว่าปีงบประมาณ 2559 จะเป็นปีที่ตัวเลขหนี้สาธารณะขึ้นสู่จุดสูงสุด
ใช้ปัญญาตรองดูก็จะพบความขัดแย้งไม่สมจริงในความจริง 2 ประการนี้ !
คิดดูนะว่าในรอบปีนี้เราต้องกู้เงินจริงเท่าไร ทั้งในระบบงบประมาณและนอกระบบงบประมาณ กู้ปิดหีบงบประมาณปีงบประมาณ 2556 นี้ 3 แสนล้านบาท กู้โครงการป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท กู้เข้ากองทุนประกันภัยในโครงการป้องกันน้ำท่วม 5 หมื่นล้านบาท ตามด้วยการกู้ปิดหีบงบประมาณปีงบประมาณหน้า 2557 อีก 2.5 แสนล้านบาท
เห็น ๆ กันชนิดไม่อาจซุกไม่อาจซ่อนนี่ก็ 1 ล้านล้านบาทภายใน 30 กันยายน 2557 แล้ว !
ยังจะมีกู้อีก 2 ล้านล้านบาทเพื่อลงทุนสาธาณูปโภคพื้นฐานอีกในรอบ 7 ปี ถ้ากฎหมายผ่านทุกด่าน คาดว่าน่าจะให้เริ่มกู้ก้อนแรกภายในปี 2557 ตีเสียว่ากู้ก้อนแรกสัก 1 แสนล้านบาท
ก็จะทำให้ภายใน 30 กันยายน 2557 เราอาจจะมียอดเงินกู้เพิ่ม 1.1 ล้านล้านบาท
ยอดเงินกู้ระดับเกิน 1 ล้านล้านบาท เฉพาะการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อจ่ายดอกเบี้ย ปีหนึ่ง ๆ ก็ตกประมาณ 5 หมื่นล้านบาทบวกลบแล้ว
นี่คือเหวนรกใหญ่ว่าด้วยหนี้สาธารณะที่ประเทศกำลังเดินหน้าไป